WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 1, 2009

รัฐบาลเฉพาะกาล

ที่มา บางกอกทูเดย์

รัฐบาลเฉพาะกาล คือ รัฐบาลผู้ “เปลี่ยนสถานการณ์” ของประเทศจากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่จากสถานการณ์ภายใต้ระบอบเผด็จการไปเป็นสถานการณ์ของระบอบประชาธิปไตย เรียกว่า “รัฐบาลในระยะเปลี่ยนผ่าน”การสร้างประชาธิปไตยเป็นภารกิจในระยะผ่าน (Transition Period)ของประเทศชาติ

จากระบอบเผด็จการไปสู่ระบอบประชาธิปไตยถือเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ (Historical Mission)เป็นภารกิจแบ่งยุคแบ่งสมัย นั่นคือ จากประเทศด้อยพัฒนา (Underdevelopedcountry) สู่ความเป็นประเทศกำลังพัฒนา (Developing country) และสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed country)เป็นภารกิจแบ่งยุคประวัติศาสตร์จากยุคสมัยกลางสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ภารกิจในระยะผ่านเป็นภารกิจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์เก่า

ที่ล้าหลังไปสู่สถานการณ์ใหม่ที่ก้าวหน้าการเปลี่ยนระบอบหรือโครงสร้างคือภารกิจในระยะผ่านจึงเป็นภารกิจของรัฐบาลเฉพาะกาลโดยเฉพาะ เท่านั้นตามหลักประชาธิปไตยแบบสากลนั้น การปกครองเฉพาะกาลหรือรัฐบาลเฉพาะกาล หมายถึงการปกครองในระยะผ่าน หรือหัวเลี้ยวหัวต่อ (Turning Point)ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่ง ของระยะผ่าน หรือ ระยะข้ามพ้น จะไปถึงอีกข้างหนึ่งได้หรือไม่ อยู่ที่จะข้ามพ้นหรือไม่พ้นเหมือน

อย่างการเดินทางมาจนถึงระหว่างหน้าผาหนึ่ง ซึ่งอยู่ชิดกันย่อมตัดสินด้วยการกระโดดข้ามว่าจะพ้นหรือไม่พ้น ถ้ากระโดดไม่พ้นก็ตกเหวตาย ไม่มีวันจะไปถึงจุดหมายได้หรือเหมือนการแข่งรถซึ่งจะต้องเลี้ยว 90 องศาก็ตัดสินด้วยการเลี้ยว ถ้ารถคว่ำพลิกกระเด็นตรง “หัวเลี้ยว” นี้ก็อาจคอหักตายไม่มีทางจะไปถึงเส้นชัยได้เลยฉะนั้น “ระยะผ่าน” หรือ“หัวเลี้ยวหัวต่อ” จึงเป็นจุดสำคัญที่สุด...เป็นเครื่อง “ตัดสินชี้ขาด”ว่าจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่จะต้อง “ผ่าน” ให้ได้เสีย

ก่อน “ข้าม” ให้ได้เสียก่อนหรือ “เลี้ยว” ให้ได้เสียก่อน...จึงจะสามารถรุดหน้าไปตาม “วิถีทางใหม่”ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงจาก “สถานการณ์หนึ่ง” ไปสู่“อีกสถานการณ์หนึ่ง” จึงขึ้นอยู่กับความสำเร็จใน “ระยะผ่าน” หรือ “หัวเลี้ยวหัวต่อ”จะเห็นว่า...เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดในกระบวนพัฒนาของสิ่งทั้งปวง “ระยะผ่าน” หรือ “หัวเลี้ยวหัวต่อ” คือ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเช่นเดียวกับการที่คนไทยของเราถือกันว่า “เบญจเพศ” คือ ระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิตใน

ประเทศต่างๆ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่ง และโดยเฉพาะที่ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงอันรุนแรงด้วยนั้นก่อนที่สถานการณ์ “เก่า”จะเปลี่ยนเป็นสถานการณ์ “ใหม่”จะต้องมี “ระยะผ่าน” หรือ “หัวเลี้ยวหัวต่อ”และการปกครองหรือรัฐบาลใน “ระยะผ่าน” หรือในระยะ“หัวเลี้ยวหัวต่อ” นี้เอง เรียกว่า “การปกครองเฉพาะกาล” หรือ “รัฐบาลเฉพาะกาล” (Provisional Government)ภารกิจของรัฐบาลเฉพาะกาล คือ การแก้ปัญหาพื้นฐาน

ต่างๆในสถานการณ์เก่าให้ตกไป คือแก้ปัญหาการเมืองแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาวัฒนธรรม ให้ตกไปโดยพื้นฐานดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของประเทศ จึงหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาพื้นฐานของระบบสังคมอย่างรอบด้านมิใช่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขแต่เฉพาะ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้านใดด้านหนึ่งกล่าวคือ...จะต้องทำให้ “ระบบการเมือง” เป็นประชาธิปไตย คือ การเปลี่ยนการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยให้สำเร็จตามขั้นตอนแล้วทำให้ “ระบบ

เศรษฐกิจ”เป็นประชาธิปไตย คือ ส่งเสริมกรรมสิทธิ์เอกชนด้วยการทำลายการผูกขาดรวมศูนย์ทุนด้วยมาตรการกระจายทุนทางเศรษฐกิจและทำให้ “วัฒนธรรมของชาติ” เป็นวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่เกิดการปฏิบัติร่วมกันของประชาชน คือ การนำปฏิบัติไปสู่วัฒนธรรมที่ดีงามของคนทั้งชาติ ไม่ถูกกำหนดโดยคนเพียงส่วนน้อยในสังคม ดังที่ผ่านมาจะไม่มีรัฐบาลใดทำสังคมให้เป็นสังคมประชาธิปไตยได้หากไม่ทำให้การปกครองเป็นประชาธิปไตย...จะต้องทำ “ระบอบ” การ

ปกครองของเก่าแบบเผด็จการให้เป็นประชาธิปไตย คือทำ “อำนาจอธิปไตย” ให้เป็นของปวงชนให้ได้ เสียก่อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่การรัฐประหารของคณะราษฎรที่ยึดอำนาจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7เปลี่ยนแปลงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช...ไม่มีการสร้างประชาธิปไตยแต่อย่างใดทั้งสิ้นระบอบจึงยังคงเป็นเผด็จการอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เปลี่ยนอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯมาสู่คณะราษฎร เท่า

นั้นคณะราษฎร จึงเป็นผู้ให้กำเนิดระบอบเผด็จการแบบใหม่ คือ “ระบอบเผด็จการรัฐสภา” คือระบอบเผด็จการของคณะบุคคล และ เป็นผู้ให้กำเนิดวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยคือให้กำเนิด“การรัฐประหาร”การรัฐประหารของคณะอื่นๆในภายหลัง จึงตามรอยของคณะราษฎรตลอดมา ความ “ขัดแย้ง” ทุกๆ อย่างจึงยังคงดำรงอยู่เช่นเดิม และกำลังยกระดับพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ หนักว่าเดิม ใกล้ขั้น “แตกหัก”ซึ่งไม่ยุติด้วย การรัฐประหารเป็น “วงจรอุบาทว์” รอบใหม่...ก็อาจเลยเถิด

ไปเป็น “จลาจล” สู่ “สงครามกลางเมือง” สู่ “สงครามประชาชน” ก็เป็นได้ต้องสร้างรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อเปลี่ยนผ่านการปกครองให้สำเร็จจึงจะเป็นทางออกของชาติบ้านเมืองเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนทางด้านการบริหาร ด้วยนโยบายที่ยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง หรือเรียกอีกอย่างว่า “นโยบายสร้างประชาธิปไตยภายใต้จุดยืนประชาชน”อันเป็นการสร้างการปกครองเฉพาะกาล เพื่อเอาชนะความแตกแยกของชาติด้วยมาตรการ

ประชาธิปไตยดังเช่นในอดีตมีการตราพระราชกฤษฎีกา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในสมัย “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา”โดยมีมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหาชาติ ด้วยหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ การขยายอำนาจอธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพบุคคลให้บริบูรณ์การทำให้เกิดอำนาจอธิปไตยของปวงชน และสามารถแก้ไขปัญหาชาติได้ โดยต้องทำให้รัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตย...มีตัวแทนที่แท้จริงของปวงชนตามสัดส่วนสาขาอาชีพและ

ตัวแทนเขตพื้นที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนทางสภานิติบัญญัติเพื่อยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยทำลายสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนเพื่อทำให้ประชาชนมีเสรีภาพบริบูรณ์ทางการเมืองสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน แล้วจึงยุบสภา เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย 