WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 24, 2009

มุสลิมไทยดอทคอม: วาดฝันมหานครปัตตานี ฟื้นชีวิตชีวาของระเบียงแห่งมักกะห์

ที่มา ประชาไท

ศ.พลโท ดร.สมชาย วิรุฬหผล

เลขาธิการคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคประชาชน

ศ.พลโท ดร.สมชาย วิรุฬหผล เลขาธิการคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคประชาชน หนึ่งในคณะทำงานของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวมุสลิมไทยดอทคอม เกี่ยวกับพิมพ์เขียวของ มหานครปัตตานี ตามกรอบและยุทธศาสตร์ภาคประชาสังคม ที่ได้ลงไปทำงานเชิงยุทธศาสตร์เพื่อความสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามยุทธศาสตร์ ปัญหาภาคใต้แก้ได้ด้วยประชาสังคมว่า

“มหานครปัตตานี เกิดจากการระดมความคิดจากเวทีภาคประชาสังคมในพื้นที่ เราจะเริ่มต้นการสร้างศูนย์ราชการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในพื้นที่ 3 อำเภอที่เป็นเขตเชื่อมต่อ 3 จังหวัด คือ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี, อ.รามัน จ.ยะลา และ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยใช้พื้นที่ขั้นต้นประมาณ 10,000 ไร่ โดยจะมีการวางผังเมืองอย่างดี ผังเมืองดังกล่าวจะไม่ให้แพ้เมืองปุตราญายา (Putra Jaya) ในรัฐเซอลางอ ประเทศมาเลเซีย”

“โดยจะมีการสร้างคลองเชื่อมเพื่อทดน้ำมาจากแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุด หากไม่เป็นแม่น้ำปัตตานี ก็จะเป็นเขื่อนบางลาง โดยจะทำเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำ และที่นี่จะเป็นสวนสาธารณะและแหล่งบันเทิงที่ฮาลาลด้วย”

เลขาธิการคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างสันติสุขฯ กล่าวต่อว่า “ภายในพื้นที่ศูนย์ราชการแห่งนี้เราจะสร้างมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ที่สามารถจุคนได้ไม่น้อยกว่า 30,000 คน จากนั้นก็จะจำลองวัดช้างไห้และศาลเจ้าแม่กวนอิมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายพี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนที่อยู่ในบริเวณนี้ และที่สำคัญเราจะสร้างมหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปสอดรับกับความยิ่งใหญ่ในอดีตของปัตตานี ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งวิชาการ ที่เคยได้รับขนานนามว่า “เป็นระเบียงแห่งมักกะห์”

“มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็นมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ ถือเป็นศูนย์การแห่งการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ ไม่ใช่ปอเนาะหรือแค่โรงเรียนสอนศาสนา ที่นี่จะเป็นตักศิลาแห่งความเป็นเลิศในศาสตร์ทุกแขนงสาขา โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งเราจะมีคณะวิทยาศาสตร์ฮาลาล เพื่อผลิตบุคลากรป้อนให้กับโรงงานฮาลาลเพื่อจัดระบบต่างๆ ในอุตสาหกรรมฮาลาลปัตตานีและโลก ซึ่งเราต้องการจะฟื้นฟูความเป็นศูนย์กลางทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการศาสนา ศิลปะวิทยาการ หรือศูนย์กลางทางการค้าที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต”

“โดยจะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ จ.ปัตตานี ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางหรือเพชรเม็ดงามแห่งภูมิภาค ดั่งที่ปัตตานีเคยเป็นมาในอดีต เป็นนูซันตารา (Nusantara) สุวรรณภูมิ หรือแผ่นดินทอง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยของเรา ก็จะเป็น University of Nusantara ส่วนมัสยิดก็จะเป็น Masjid of Nusantara นี่คือแลนด์สเคป (Landscape) ที่ตั้งไว้ แล้วก็จะมีเครือข่ายของการคมนาคม เป็นรางที่เชื่อมต่อทั้ง 3 จังหวัด แล้วก็เชื่อมโยงไปสู่สงขลาและสตูลได้ ซึ่งจะทำให้คนในพื้นที่มีความสามารถเดินทางค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น”

ศ.พลโท ดร.สมชาย กล่าวต่อว่า “เราจะมีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ที่ปัตตานีและสตูล แล้วก็ทำแลนด์บริจเชื่อมโยง 2 จังหวัดดังกล่าวให้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยง 2 ฝั่งทะเล ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางทางทะเลของประเทศไทยทั้งชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยต่อไปในอนาคตเราสามารถเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ทางเรือ โดยใช้เรือสำราญขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับฮุจญาตได้ครั้งละ 3,000-4,000 คน มีเงินแค่ 60,000-80,000 บาท ก็สามารถเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้แล้ว ใช้เวลาเดินทางแค่เพียง 3 วัน ตลอดเวลาของการเดินทางยังสามารถจัดอบรมหรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการฮัจญ์ที่ถูกต้องอีกด้วย เพราะในเรือสำราญดังกล่าว มีห้องประชุมขนาดใหญ่ มีสถานที่พักผ่อนเครื่องอำยวนความสะดวกครบถ้วนเหมือนพักอยู่ในโรงแรมระดับห้าดาว นอกเหนือจากนี้ ยังสามารถนำสินค้าประเภทโอทอป หรืออาหารฮาลาลที่ผลิตในมหานครปัตตานีไปขายได้อีกด้วย ไม่ต้องอื่นไกลแค่ปลาเค็ม ปลากะตัก บูดูหรืออาหารทะเลตากแห้ง ก็สามารถพาไปขายให้กับฮุจญาตที่เดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์จากประเทศต่างๆ และยังสามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้อีกด้วย”

“ปัตตานีในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อป้อนให้กับโลก โดยทำให้ครบวงจร ยกตัวอย่าง เช่น เราจะมีฟาร์มไก่ระบบปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีโรงเชือดที่ถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ มีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไก่อย่างครบวงจร ส่วนเรื่องสินค้าที่ได้จากการทำประมงเราก็จะนำมาแปรรูปให้เป็นอาหารกระป๋องและอาหารแห้งอย่างครบวงจร จะมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ที่จะเป็นสัญลักษณ์ของมหานครปัตตานี เพื่อให้พี่น้องมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมจากทั่วโลกได้รู้จักและช่วยอุดหนุนสินค้าของเรา เพราะสินค้าฮาลาลไม่ใช่สินค้าที่ผลิตขึ้นมาสำหรับมุสลิมเท่านั้น หากแต่สินค้าฮาลาล เป็นสินค้าที่พระผู้เป็นเจ้าทรงออกแบบมาสำหรับมนุษยชาติ โดยมนุษยชาติ เพื่อมนุษยชาติ นอกจากนี้เราจะได้จัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินและการลงทุนตามหลักชารีอะห์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับแหล่งเงินทุนอันมหาศาลในตะวันออกกลางและโลกมลายู ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับรัฐทางตอนเหนือและตะวันออกของมาเลเซีย คือ รัฐเปอร์ลิส เคอดะห์ กลันตัน และตรังกานู”

เลขาธิการคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างสันติสุขฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “University of Nusantara จะเป็น Center of excellence หรือตักศิลาแห่งฮาลาลไซน์ส (Halal Science) ที่มหาลัยแห่งนี้เป็นสำนักคิดที่มีความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภาคเอกชน ทำนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล และก็ Logistic Halal และ Marketing มหา’ลัย อาจจะมีการดึง รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน มาเป็น ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ของ นูซันตารา ยูนิเวอร์ซิตี้ อีกหนึ่งตำแหน่งก็ได้ถ้าท่านไม่รังเกียจ เพราะเราทำเรื่องนี้เพื่ออัลลอฮฺ ไม่ได้หวังความโปรดปรานจากมนุษย์”

“อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่เราได้เลือก อ.กะพ้อ อ.รามัน อ.รือเสาะ ก็เพราะว่า 3 อำเภอนี้มันอยู่กึ่งกลางระหว่างจังหวัดทั้งสาม ซึ่งเป็นเขตรอยต่อที่เราสามารถพัฒนาร่วมกันได้ ส่วนท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันออก เราจำเป็นที่จะต้องสร้างที่ปัตตานีเดิม เพื่อเป็นการคืนชีวิตของนครปัตตานีให้กลับมามีชีวิตชีวาดั่งเดิม ส่วนท่าเรือน้ำลึกที่สตูลเราก็จะต้องสร้างขึ้นมา แม้ว่าจังหวัดสตูล จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหานครปัตตานีก็ตาม แต่สตูลก็จะเป็นเมืองหน้าด่านของชายฝั่งทะเลตะวันตกของมหานครปัตตานี ที่นี่จะเป็นประตูไปสู่มักกะห์ ซึ่งภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า “เมกกะ” หมายถึงความยิ่งใหญ่ในอนาคต

ตอนนี้เราได้ร่วมกันร่างสัญญาประชาคมกับคนในพื้นที่ 3 อำเภอนี้ ว่าต่อไปจะไม่มีการเกิดเหตุร้ายใน 3 อำเภอนี้อีก เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจของชาวบ้าน ซึ่งเราจะร่วมระวังป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาทำลายความสงบสุขในอำเภอของเราอีกต่อไป” ศ.พลโท ดร.สมชายกล่าว

*หมายเหตุ : ศ.พลโท ดร.สมชาย วิรุฬหผล หรือ ฮัจญีชัยนุลอาบีดีน บินมูซา เลขาธิการคณะทำงานเพื่อเสริมสร้างสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการฯ จากการโหวตของคณะทำงาน เพื่อเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.2547

ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หลังจากครบวาระท่านก็มาเป็นผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาล คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ก่อนที่จะไปเป็นประธานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจนครบวาระตามวิถีทางการเมือง แต่ในขณะที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ ท่านก็ได้ทำงานการเมืองภาคประชาชนในนามคณะทำงานเพื่อความสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่ไปด้วย เพียงแต่คณะทำงานดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จัก และไม่ได้ถูกยอมรับจากรัฐบาลในสมัยนั้น (รัฐบาลทักษิณ)

แต่หลังจากพลเอกชวลิตได้จุดประเด็นเรื่อง “นครปัตตานี” และ “ดอกไม้หลากสี” ทำให้การทำงานของของคณะทำงานดังกล่าวโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ จนถึงกับได้มีการลงสัตยาบันว่า ในพื้นที่ 3 อำเภอดังกล่าว คือ กะพ้อ, รามัน, รือเสาะ ทางภาคประชาสังคมจะใช้พลังภาคประชาสังคม ทำการสอดส่องดูแล ป้องปรามและป้องกันไม่ให้เหตุร้ายเกิดขึ้นมาอีกในพื้นที่ดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายนเป็นต้นมา

ที่มา: สำนักข่าวมุสลิมไทยดอทคอม