WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 20, 2009

“มายาคติ - ความเชื่อ” ในสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

ย้อนยุคไปพันปีก่อนพุทธกาล ชาวอารยัน (Aryan) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลาง (เชื้อชาติอินโด-ยุโรป, Indo-European) ได้อพยพเข้าสู่ตอนเหนือของอินเดีย ชาวอารยันถือว่าตัวเองมีความเจริญเหนือกว่าคนพื้นเมืองอินเดีย และเป็นผู้ชนะสงคราม แต่เพราะความกลัวว่าเผ่าพันธุ์ของตัวเองจะถูกวัฒนธรรมดั้งเดิมของอินเดียดูดกลืน จึงมีข้อห้ามไม่ให้ชาวอารยันแต่งงานกับชนพื้นเมือง และแบ่งสังคมเป็น 3 ชนชั้นคือ นักรบ, นักบวช และประชาชน แต่แล้วเมื่อกาลเวลาผ่านไป – อินเดียผู้แพ้กลับเป็นผู้ชนะสงครามวัฒนธรรม.!!!

อีกหลายร้อยปีต่อมา “พราหมณ์” ได้นำเอาคำสอนจากคัมภีร์ฤคเวท (พระเวท) มาเป็นกฎเกณฑ์ กำเนิดระบบ “วรรณะ” (Caste) กลายเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของสังคมอินเดีย, ด้วยคำสอนว่า มนุษย์มีสถานะทางสังคมสูง - ต่ำไม่เท่ากัน, มนุษย์จะประสบผลสำเร็จในชีวิต จะประกอบกิจการใด ๆ รวมไปถึงการบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต [โมกษะ; ภาวะที่อาตมันเข้าไปรวมกับปรมาตมัน (พรหมัน) ทำให้มนุษย์พ้นทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป [1] มนุษย์จึงต้องปฏิบัติตน และเคร่งครัดต่อ "วรรณะ" ของตน.

คำว่า "วรรณะ"[2] ความหมายตามรากศัพท์ภาษาสันสกฤต แปลว่า สี รูป ชาติกำเนิด ลักษณะคุณสมบัติ "วรรณะ" ได้แบ่งชาวอินเดีย ออกเป็น 4 ชนชั้น คือ วรรณะพราหมณ์ ; นักบวชผู้ประกอบพิธีกรรม ครู (แต่งสีขาว), วรรณะกษัตริย์ ; ปกครองบ้านเมือง ทหาร (แต่งสีแดง), วรรณะไวศยะ/แพศย์ ; ค้าขาย เกษตรกรรม (แต่งสีเหลือง), วรรณะศูทร ; กรรมกร ทาส ผู้รับใช้วรรณะอื่น (แต่งสีดำ) – ยังมีวรรณะที่ต่ำกว่าวรรณะศูทร (พวกนอกวรรณะ) ; “วรรณะจัณฑาล” เป็นลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะ เป็นชนชั้นที่ถูกรังเกลียดมากที่สุดในสังคม.

เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคราชาธิปไตย “พราหมณ์” ได้เรียนรู้ว่า “ผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคม คือผู้มีสถานะสูงสุดในสังคม” ดังนั้นเพื่อรักษาวรรณะของตนให้อยู่เหนือวรรณะอื่น และยกศาสนาของตนให้สูงกว่าลัทธิโยคะ ศาสนาเซ็น และศาสนาพุทธซึ่งกำลังเป็นความเชื่อใหม่ในยุคนั้น, พราหมณ์จึงอ้างความเป็น “ผู้แทนของเทพ” ในการเป็นผู้มอบสภาวะความเป็นเทพให้กับ “กษัตริย์” (ซึ่งสภาวะความเป็นเทพ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อสถานะของกษัตริย์ในยุคราชาธิปไตย), เกิดการเปลี่ยนแปลงคติในศาสนาพราหมณ์ (ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) เกิดมีนิกายต่าง ๆ [3] เช่น ไศวะนิกาย นับถือพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพสูงสุด เป็นเทพผู้สร้าง และผู้ทำลาย, ไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) ว่าเป็นผู้ช่วยเหลือมนุษย์ในยามทุกข์เข็ญ ถึงขนาดจะอวตารเป็นพระอนาคตวงศ์ของพระพุทธเจ้า - ยังมีการอ้างถึง, ทั้ง 2 นิกาย ต่างบำเพ็ญตบะด้วยการทรมานร่างกายสารพัดวิธี เพื่อมุ่งมั่นให้วิญญาณของอาตมัน ไปรวมกับปรมาตมัน (ซึ่งเป็นวิธีบำเพ็ญตบะของโยคะ; อัตตกิลมถานุโยค[4]: ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติมาก่อนที่จะตรัสรู้).

ระบบวรรณะของอินเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “อารยธรรมอินเดีย” ที่ไหลบ่าเข้าสู่ดินแดนแห่งภูมิภาคนี้ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ผู้ปกครองในดินแดนซึ่งมีอารยธรรมต่ำกว่า ย่อมต้องการ “องค์ความรู้” จากอารยธรรมที่สูงกว่า ยิ่งเป็นความรู้ที่มาจากดินแดนที่มีวิทยาการสืบทอดกันมานับพัน ๆ ปี ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการสร้างอาณาจักร.

จากการแบ่งแยกชนชั้นด้วย “ระบบวรรณะ” ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการแบ่งแยกด้วย “ระบบศักดินา”[5], จากเมือง “อโยธา” ของพระรามในประเทศอินเดีย กลายมาเป็น “กรุงศรีอยุธยา”.

อิทธิพลความเชื่อที่มาพร้อมกับ “วรรณะ” ได้นำเอากรอบความคิดใหม่ มาให้กับดินแดนนี้ พร้อมกับการสถาปนาความเป็นอวตารของ “พระศิวะ - พระวิษณุ” ให้กับชนชั้นผู้ปกครอง พร้อมทั้งลัทธิพิธีกรรม กฎหมาย[6] โหราศาสตร์ ดารา-ศาสตร์ ไสยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นาฏศิลป์ และวรรณกรรม. จากศาสนาที่เป็นจิตวิญญาณของชุมชนถูกบิดเบือนให้เป็น “ศาสนาเพื่อชนชั้น” จากพระพุทธศาสนา (นิกายเถรวาท) ที่เคร่งครัดในพระวินัย – พระธรรมคำสอน, กลายเป็นพระพุทธศาสนา (นิกายมหายานผสมพราหมณ์ฮินดู) ที่อาศัยพิธีกรรมความเชื่อเรื่องเทพเจ้า – ภูตผี – วิญญาณ ที่คอยหลอกหลอนผู้คนตลอดมา.

ทั้งหมดเพื่อทำให้ผู้ปกครองมีความศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ, มีอำนาจอย่างชอบธรรม – มีอำนาจสูงสุดที่จะปกครอง โดยมีความเชื่อในทางศาสนามารองรับอำนาจของผู้ปกครอง, จนกลายเป็น “มายาคติ” ที่หยั่งรากลึก จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อ จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง.!!!

ความเชื่อแบบเทวนิยม ทำให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนากลายเป็นความเชื่อเรื่อง “นรก – สวรรค์ –กรรมเวร - พรหมลิขิต” เช่น คติความเชื่อใน “ไตรภูมิกถา” ; ชนชั้นในสังคมเกิดจาก “กฎแห่งกรรม” ผู้มีอำนาจ มีชีวิตที่สุขสบาย เป็นเพราะ คนเหล่านั้นได้ทำบุญกุศลมาก่อนในอดีตชาติ ส่วนผู้คนที่อดอยากยากไร้ เป็นเพราะบุคคลเหล่านั้นทำความชั่ว หรือทำบุญกุศลไม่เพียงพอในอดีตชาติ ดังนั้นบุคคลที่มีสถานะสูงสุดในสังคม ก็คือ บุคคลที่เคยสร้างบุญกุศล และสร้างคุณงามความดี มากที่สุดในอดีตชาตินั่นเอง.[7]

ระบบ (วรรณะ) ศักดินา ได้ทำให้ “พระพุทธศาสนา” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเอื้ออาทร ความเป็นพี่น้อง ความเป็นสังคม “ภราดรภาพ” ของเพื่อนมนุษย์ กลายเป็นเรื่องผลประโยชน์ระหว่าง “เจ้านายกับข้าไพร่” (การใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรไม่มีในเกือบทุกประเทศ ถือว่าหน้าที่นี้ไม่ได้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่แต่รักษาประเทศ การรักษาความสุขเป็นหน้าที่ของราษฎรเอง[8]), เกิดระบอบอุปถัมภ์ แต่อุปถัมภ์เฉพาะกลุ่มคนที่ให้ประโยชน์กับชนชั้น (สมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้อพยพต่างชาติมีโอกาสสร้างฐานะความร่ำรวย ในขณะที่ข้าไพร่ คนในชาติ ถูกผูกพันด้วยระบบเกณฑ์แรงงาน คนต่างชาติได้เข้าทำการค้าแทนคนในชาติ และกลายเป็นชนกลุ่มใหม่ที่ทำธุรกิจร่วมกับชนชั้นปกครอง[9]), เกิดอุดมคติที่เป็นการทำลายอิสรภาพ – ความเสมอภาคในสังคม ยึดถือคติการเป็น “เจ้าคนนายคน”, ความเชื่อมั่นในความเป็นปัจเจกชนถูกละทิ้ง ไม่มีจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ไม่มีการปรับตัว - หวังพึ่งพิงจากรัฐบาล ไม่มีความคิดในการพึ่งพาตนเอง. ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อสร้าง “รัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุม”.!!!

วันนี้สังคมไทยก็มี “วรรณะ” : วรรณะเหลือง; ฝ่ายพันธมิตรฯ และผู้เกลียดชังทักษิณ, วรรณะแดง; ฝ่ายทักษิณ, นปช. และผู้เรียกร้องความยุติธรรม, วรรณะน้ำเงิน; ฝ่ายนายเนวิน ภารกิจหลักคือขัดขวางสีแดง, วรรณะขาว; ต้องการให้ทุกสีหันมาพูดคุยกัน.

วันนี้ “ศึกวรรณะสีเสื้อ” จะลงเอยอย่างไร? กลับไม่สำคัญเท่ากับ - สังคมไทยจะได้อะไรจากประสบการณ์ครั้งนี้???

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย, การเปลี่ยนแปลง ยุคสมัยจากกรุงศรีอยุธยา มาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ คือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตาม “บัญญัติแห่งโลกสมมติ” แต่สิ่งที่เป็น “สมมติสัจจะ” ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือ วัฒนธรรมแห่ง “ความเชื่อ” – ตราบเท่าที่สังคมไทยยังไม่สามารถเรียนรู้ และแยกแยะได้ว่า อะไรคือ “มายาคติ” - อะไรคือ “ความเป็นความจริง”.!!!

.......................
[1] www.religions.mbu.ac.th/html/part2/rel11p3.htm
[2] ตรีโลกนาถ ปาวา, “อารยธรรมอินเดีย”, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร : พ.ศ. 2515
[3] “เสถียรโกเศศ”, “ลัทธิของเพื่อน” พ.ศ. 2496 (หน้า77)
[4] http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ที่สุด_๒_อย่าง
[5] http://social.cru.in.th/local/Lesson/PDF/6.pdf (หน้า 149)
[6] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเรียบเรียงจากคำสอนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. 2516, “บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 (หน้า 19, 107)
[7] พระยาธรรมปรีชา, ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิไทย (บานแพนก), ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2506 (มนุสสภูมิ, ฉกามาพจรภูมิ)
[8] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเรียบเรียงจากคำสอนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. 2516, “บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, อ้างแล้ว (หน้า 146)
[9] ศรีศักร วัลลิโภดม, “จีนในเมืองไทย”, เมืองโบราณ, ปีที่ 5 เล่มที่ 6, (ส.ค.-ก.ย. 2522), (หน้า 42).