WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 25, 2009

Like father, like son วันคริสต์มาส 2009

ที่มา Thai E-News



ตอนเด็กๆ พ่อผมจะส่งเสริมความสนใจของผมในการจับผีเสื้อ..ในทะเลและในน้ำตก พ่อจะพาผมไปเล่นน้ำ และหลังจากที่เล่นน้ำก็พาไปกินปลาทอด และสอนว่าคนจีนชอบกินหางและหัวปลา ผมเลยชอบไปด้วย และพยายามให้ลูกชายผมมีประสบการณ์แบบนี้กับผม(ภาพ:ใจพาลูกชายเล่นหิมะช่วงเทศกาลคริสต์มาส)


โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
25 ธันวาคม 2552



หมายเหตุไทยอีนิวส์: ไทยอีนิวส์เคยขอให้รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ เขียนบทความเกี่ยวกับดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 21 สิงหาคม 2552ที่ผ่านมา ในชื่อบทความ"คิดถึงพ่อ คิดถึงคนชื่อป๋วย" ซึ่งท่านผู้อ่านจะได้พบความงดงามและสัจจะอันเรียบง่าย การนำเสนออีกครั้งก็เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศวันคริสต์มาส วันแห่งความสุขในครอบครัว..ใจเคยกล่าวว่าดูเหมือนข้อดีในความย่ำแย่สารพัดที่เขาได้มาในชีวิตช่วงลี้ภัยคดีหมิ่นฯไปต่างประเทศ ก็คือการได้อยู่ใกล้ชิดกับลูกชายวัย 10 ขวบ เหมือนกับที่วัยเด็กเขาเคยได้รับจากพ่อของเขา


*ดร.ป๋วย กับใจ อึ๊งภากรณ์ ในวัยเด็ก

ผมจำไม่ได้ว่าพ่อผมเสียชีวิตในวันที่เท่าไรปีไหน จำเหตุการณ์ได้ จำงานศพได้ และจำได้ว่าผมไปซื้อต้นลั่นทม ดอกสีขาว มาปลูกไว้เพื่อระลึกถึงพ่อที่บ้านซอยอารี

ซึ่งเป็นบ้านที่เขากับแม่อาศัยอยู่หลายปี มันเป็นบ้านที่ผมเกิดด้วย เพราะตอนนั้นแม่ไม่อยากไปคลอดที่โรงพยาบาล

บ้านซอยอารีนี้เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวงดงาม แต่คนอย่างจอมพลสฤษดิ์ เผด็จการทหารจอมโกงกิน มองว่า “เล็กไปไม่หรูพอ” เลยอาสาจะซื้อบ้านใหม่ให้ พ่อไม่ยอม

ผมจำงานศพพ่อผมได้ที่จัดที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ผมมีหน้าที่พาอัฐิของพ่อที่พี่ชายนำมาจากอังกฤษไปงานนี้ ผมขับรถนิสสันเก่าของผมมาที่ประตูหน้าธรรมศาสตร์ ยามและเจ้าหน้าที่ไม่ให้เข้า!

เพราะมองว่ารถเก่าแบบนี้ไม่มีทางนำอัฐิดร.ป๋วยมาได้ แต่เขาลืมว่าพ่อผมขับรถธรรมดาๆ มาตลอด ไม่ชอบอะไรที่แพงเกินเหตุ

วันนั้นผมใส่เสื้อผ้าไหมไทยตัวที่ดีที่สุดที่ผมมีมางานนี้ บังเอิญสีแดงเข้มๆ นสพ.ไทยรัฐ ด่าผมว่าผมเอาการเมืองตัวเองมาสร้างภาพ!

เหตุการณ์แบบนี้ทำให้ผมระลึกถึงประโยคหนึ่งของ เลนิน นักปฏิวัติรัสเซีย ตอนต้นๆ ของหนังสือ รัฐกับการปฏิวัติ เลนินเขียนไว้เกี่ยวกับ คาร์ล มาร์คซ์ ว่า
ในยุคที่นักปฏิวัติหรือนักต่อสู้มีชีวิต ฝ่ายชนชั้นปกครองจะคอยปราม ด่า ทำร้าย อย่างต่อเนื่อง แต่พอตายไปแล้วก็นำความคิดมาบิดเบือนให้เป็นเรื่องตรงข้าม


พ่อผมไม่ใช่มาร์คซิสต์ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ผมพูดบ่อย บางครั้งออกโทรทัศน์ผมก็พูดอย่างนี้ แต่ผมเองเป็นมาร์คซิสต์ประเภทที่คัดค้านเผด็จการ สตาลิน-เหมาเจ๋อตุง พ่อผมเป็นแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat)

หลายคนในขบวนการเสื้อเหลืองพันธมิตรฯ มักจะขึ้นเวทีแล้วอ้างว่าเคารพพ่อผม แล้วด่าผมว่าไม่เหมือนพ่อ บางคนก็มองว่าผมชิงหมาเกิด คนอย่างบรรจง นะแส นักเอ็นจีโอจากสงขลา หรือพิภพ ธงไชย อ้างว่าชื่นชมดร.ป๋วย แต่เขาเองไปจับมือกับเผด็จการ ชื่นชมรัฐประหาร และดูถูกคนจนที่ลงคะแนนให้ ไทยรักไทย พฤติกรรมของคนแบบนี้ทำให้ผมคิดถึงคำเขียนของเลนิน

ผมเกิดและเติบโตที่เมืองไทย ที่บ้านซอยอารีขณะกินอาหารเย็นก็จะฟังพ่อแม่วิจารณ์เผด็จการทหารและการคอร์รับชั่นของพวกนี้เป็นประจำ แม่ผมเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตยและคนที่เกลียดสงครามและทหาร พ่อผมเคยเป็นทหารเสรีไทยแต่เกลียดเผด็จการทุกรูปแบบ และคัดค้านรัฐประหารอย่างสม่ำเสมอ

ผมได้ยินคนพูดซ้ำๆ ว่าพ่อผมรับใช้เผด็จการสฤษดิ์กับถนอม ไม่จริงครับ

พ่อผมอธิบายว่า ได้โอกาสไปเรียนที่อังกฤษจากทุนรัฐบาล ทุนนี้มาจากการทำงานและการเสียภาษีของชาวไร่ชาวนายากจน พ่อผมมองว่าต้องใช้คืนโดยการทำงานภาครัฐ แต่ชัดเจนมากว่าไม่มีวันรับตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งรัฐมนตรี

และในขณะที่พ่อผมทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธรรมศาสตร์ พ่อผมไม่เคยกลัวที่จะวิจารณ์เผด็จการสฤษดิ์ ถนอม หรือทหารอื่นๆ ตรงๆ และอย่างเปิดเผย

นอกจากนี้พ่อผมชัดเจนในอีกเรื่องคือ จะไม่รับเงินเดือนจากหลายแห่ง ทั้งๆ ที่อาจถูกเชิญไปทำงานหลายที่ เงินเดือนเดียวเพียงพอ โดยเฉพาะในยุคที่คนไทยยากจนมาก

รัฐไทยได้ก่ออาชญากรรมต่อนักประชาธิปไตยและนักสังคมนิยมไทยในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ตอนนั้นพ่อผมถูกกล่าวหาโดยฝ่ายอำมาตย์ (รวมถึงสมัคร สุนทรเวช) ว่าเป็น “คอมมิวนิสต์ และต้องการล้มสถาบัน” ใครที่มีสติปัญญาและความซื่อสัตย์จะรู้ว่าไม่จริง

ในยุคนี้มีคนกลับคำว่าพ่อผมนิยมเจ้ามากๆ นั้นก็ไม่จริงด้วย พ่อผมไม่ชอบราชาศัพท์ ไม่ชอบระบบลำดับชั้น การหมอบคลาน และต้องการสังคมที่เป็นธรรม และเล่าให้ลูกฟังว่าสถาบันเบื้องบนใกล้ชิดกับทหารที่ไม่รักประชาธิปไตย นี่คือสาเหตุที่พ่อผมเสนอรัฐสวัสดิการ “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” และนี่คือสาเหตุที่พ่อผมเคารพรักอาจารย์ปรีดีเป็นพิเศษ

ผมจำได้ว่าพ่อผมต้องออกจากประเทศไทยอย่างเร่งด่วนในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เพราะมีอันธพาลทางการเมืองที่จะฆ่าพ่อ เขาฆ่านักศึกษาที่ธรรมศาตร์ไปแล้ววันนั้น และลูกเสือชาวบ้านก็ตามพ่อไปที่สนามบิน แต่หาไม่เจอ ตำรวจฝ่ายขวาและอาจารย์ธรรมศาสตร์ฝ่ายขวาด่าและพยายามทำร้ายพ่อที่สนามบิน แต่ไม่เจ็บ พ่อผมรีบออกจากประเทศจนไม่มีเสื้อนอกใส่ ต้องรออยู่ที่เยอรมันท่ามกลางความหนาวเพื่อมาอังกฤษ

ผมจำได้เพราะไปรับพ่อที่สนามบินลอนดอน ตอนนั้นมีใครบ้างในสังคมไทยที่ออกมาสนับสนุนพ่อผมอย่างเปิดเผย? มีนักศึกษา มีนักเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ มีอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์และพรรคพวก และมีปัญญาชนที่รักความเป็นธรรมไม่กี่คน ที่เหลือเงียบสนิท ดังนั้นในหมู่คนที่ปัจจุบันอ้างว่าชื่นชมดร.ป๋วย มีคนหน้าไหว้หลังหลอกจำนวนมาก

ในหนังสือคำให้การเรื่อง ๖ ตุลาคม ของพ่อผม พ่อผมเขียนว่าพวกมีอำนาจและอภิสิทธิ์ชนหัวเก่ากลัวว่าประชาธิปไตยจะทำลายผลประโยชน์ของเขา เขาเลยก่ออาชญากรรมที่ธรรมศาสตร์ พ่อผมพูดต่อว่า...ชนชั้นปกครองไทยไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเคลื่อนไหวอย่างสันติ เขาเลยไปเข้ากับ พ.ค.ท. แต่พ่อผมไม่ได้สนับสนุน พ.ค.ท.

ประมาณหนึ่งหรือสองอาทิตย์หลังจากที่พ่อผมตาย มีเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังติดต่อมาที่จุฬาฯ เพื่อทวงคืนเครื่องราชฯของพ่อ ผมอธิบายว่าพ่อผมต้องออกจากประเทศอย่างเร่งด่วนในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และของแบบนี้หายไปหมดแล้ว แต่ทั้งๆ ที่ผมยังเศร้าใจที่พ่อพึ่งตาย เจ้าหน้าที่ก็ขู่ผมว่าถ้าไม่คืนจะถูกปรับเงินเป็นพันๆ ผมไม่เชื่อว่าในหลวงสั่งให้คนพวกนี้มีพฤติกรรมแบบนี้ แต่มันเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่คนอ้างกษัตริย์เพื่อฝ่าฝืนจิตใจประชาชน รัฐประหาร ๑๙ กันยาก็เช่นกัน

หลายคนพูดว่าพ่อผมมีชีวิตเรียบง่าย คงจะจริงบ้าง แต่ก็มีฐานะดีกว่าคนยากคนจนจำนวนมาก ความเรียบง่ายของพ่อผม ไม่เหมือนแนวคิด “พอเพียง” เพราะพ่อผมเชื่อมั่นว่าต้องมีการกระจายรายได้จากคนรวยไปให้คนจน

พ่อแม่ผมสอนให้ผมคัดค้านรัฐประหารและอิทธิพลของทหาร สอนให้ผมรักประชาธิปไตย สอนให้ผมรักความเป็นธรรมในสังคม และสอนให้ผมเป็นคน “สากล” ไม่ใช่คนที่ “รักชาติ” ต้องรักเพื่อนมนุษย์แทน เวลามีคนมาด่าผมในเรื่องส่วนตัว ผมจะจำคำพูดของพ่อ ที่ถ่ายทอดจากแม่เขาอีกที..
“เวลาคนวิจารณ์เรื่องส่วนตัว มันแปลว่าเขาไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะวิจารณ์แนวคิดหรือการกระทำทางการเมืองของเรา”


ในแง่ส่วนตัวพ่อผมเคยให้ความเคารพกับผมอย่างที่ผมไม่คาด เพราะเมื่อผมอายุ 17 พ่อถามผมว่าผมสามารถแนะนำหนังสือเรื่องการเมืองกรีนให้พ่อไปอ่านได้ไหม?

ตอนนั้นผมเป็นกรีนที่อยากปกป้องสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะมาเป็นแดงสังคมนิยม ไม่เคยมีผู้ใหญ่ให้ความเคารพกับผมแบบนี้ นอกจากนี้ตอนที่ผมเรียนที่สาธิตจุฬาฯ พ่อผมจะส่งเสริมความสนใจของผมในการจับผีเสื้อ (เดี๋ยวนี้ไม่จับแต่ถ่ายรูปแทน) และสอนให้ผมชอบผลไม้ต่างๆ รวมถึงทุเรียนด้วย ในทะเลและในน้ำตก พ่อจะพาผมไปเล่นน้ำ และหลังจากที่เล่นน้ำก็พาไปกินปลาทอด และสอนว่าคนจีนชอบกินหางและหัวปลา ผมเลยชอบไปด้วย และพยายามให้ลูกชายผมมีประสบการณ์แบบนี้กับผม

ผมไม่ต้องการให้ใครๆ มารักหรือเคารพพ่อผม ถ้าเขาไม่อยากรักหรือเคารพ มองต่างมุมได้ วิจารณ์ได้ มันเป็นเรื่องจุดยืนส่วนตัวของแต่ละคนในสังคม ซึ่งควรจะเป็นเรื่องเสรี แต่ในไทยตอนนี้ไม่มีเสรีภาพที่จะมองต่างมุม

ใครที่พูดว่ารักและเคารพความคิดพ่ออย่างซื่อสัตย์ จะต้องคัดค้านรัฐประหารและเผด็จการโดยไม่มีเงื่อนไข (เงื่อนไขก็เช่นคำพูดว่า “ผมไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร..แต่...กรณี ๑๙ กันยาเป็นกรณีพิเศษ”) คุณต้องเห็นด้วยกับการสร้างรัฐสวัสดิการ ถ้วนหน้า ครบวงจร และการเก็บภาษีอัตราสูงจากคนรวย และคุณต้องคัดค้านระบบอภิสิทธิ์และการคอร์รับชั่น

นี่คือจุดยืนของพ่อผม และท่านสามารถอ่าน “แถลงการณ์จุดยืน” ของพ่อผมในบทความ “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”