WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 9, 2011

สหประชาชาติขานรับ "ฮุน เซน" "อภิสิทธิ์" หลงเหลี่ยมคาถา"ทวิภาคี"เสื่อมความพ่ายแพ้ซ้ำซากของ "กษิต"

ที่มา มติชน



ทันทีที่เสียงปืนที่ชายแดนไทย-กัมพูชาดังขึ้น รัฐบาลไทยและกัมพูชาต่างก็ชี้นิ้วไปยังฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้น

ไม่มีใครยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สร้างสถานการณ์หรือเริ่มต้นยิงก่อน

ไม่มีใครรู้ว่า"ความจริง" เป็นเช่นใด

แต่การเดินเกมของแต่ละประเทศหลังเสียงปืนสงบลงต่างหาก ที่สะท้อนให้เห็นถึง "เป้าหมาย" แท้จริง หรือ "ความจริง" บางประการที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย

"ฮุนเซน" นั้นทำหนังสือฟ้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเรียกร้องให้ให้มีประชุมด่วน

เรียกร้องถึงขั้นให้สหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาดูแลชายแดนไทย-กัมพูชา

ในขณะที่ประเทศไทยต้องการให้การแก้ปัญหาดำเนินไปแบบ "ทวิภาคี"

คือ จำกัดวงความขัดแย้งให้อยู่กับ "ไทย-กัมพูชา"

ประเทศอื่นหรือองค์กรนานาชาติอื่นไม่ควรจะยุ่งเกียว

ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ หรืออาเซียน

แต่ที่น่าสนใจก็คือ ท่าทีของรัฐบาลไทยหลังเกิดเหตุปะทะกัน ก็คือ การยื่นหนังสือถึง "ยูเนสโก"

ขอให้หยุดการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

เพราะชัดเจนว่าการดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้นมา

"บรรทัดสุดท้าย" หลังเสียงปืนสงบของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการบ่งบอกถึง "เป้าหมาย" ในใจของตนเอง และบอกให้รู้ว่าใครมี "จุดแข็ง-จุดอ่อน" อย่างไร

"ฮุน เซน" เลือกเล่นเกมดึงนานาชาติเข้ามา

รุกไปถึงสหประชาชาติ

ส่วน "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เลือกที่จะยื่นหนังสือถึง "ยูเนสโก"

เป้าหมายชัดเจนคือเรื่องการขัดขวางการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ทั้ง2 ประเทศเลือกเกมที่ตนเองได้เปรียบ
.................

ทำไม "ฮุน เซน" จึงเลือกเล่นเกมดึงนานาชาติเข้ามา

เหตุผลง่ายๆ ก็คือ การเจรจาแบบ "ทวิภาคี" นั้น สิ่งที่ "ไทย" ได้เปรียบ "กัมพูชา" คือ สมรรถนะของกองทัพไทยที่เหนือกว่า

แต่ถ้าสหประชาชาติเห็นด้วยกับ "ฮุนเซน" และส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาเป็นกำแพงกั้นระหว่าง "ไทย-กัมพูชา"

ความได้เปรียบของไทยก็ถูกลดลงเหลือ 0 ทันที

จากนั้นก็เหลือเพียงเกมการทูต และกฎหมายระหว่างประเทศ

ซึ่ง "กัมพูชา" ได้เปรียบ

ได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ ให้ดูจากท่าทีของประเทศไทย

"อภิสิทธิ์" นั้นหลีกเลี่ยงที่จะให้นานาชาติ แม้แต่อาเซียนเข้ามาเป็น "ตัวกลาง" ในการเจรจา

เพราะเขารู้ดีว่าวันนี้ "เพื่อน" ที่สนับสนุนไทยในเวทีโลกลดน้อยลงเรื่อยๆ ในยุค "กษิต ภิรมย์" เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ในขณะเดียวกัน เกมการทูตของไทยก็เดินตามหลัง "กัมพูชา" มาโดยตลอด

"สุรเกียรติ์ เสถียรไทย" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงกับเอ่ยปากว่าที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศต้องประเมินให้ลึกที่สุดว่ากัมพูชาจะเดินเกมอย่างไรต่อไป เพราะที่ผ่านมาตามเกมกัมพูชาไม่ทัน

ครั้งนี้ก็เช่นกัน

ดังนั้น ถ้าผลักเรื่องความขัดแย้ง "ไทย-กัมพูชา" เข้าสู่เวทีสากลเมื่อไร

ไทย เสียเปรียบ กัมพูชา ทันที

ถามว่าวันนี้ใครมั่นใจบ้างว่าหากนำกรณีความขัดแย้งดังกล่าวขึ้นสู่เวทีโลกแล้ว

ไทยจะชนะ

เพราะถ้ามั่นใจจริงๆเหมือนกับที่ออกโทรทัศน์ชี้แจงกับประชาชน หรือบนเวทีปราศรัยของพันธมิตรฯในอดีต

"อภิสิทธิ์-กษิต" คงไม่ท่องคาถา "ทวิภาคี" อยู่ตลอดเวลา

"สุรเกียรติ์" บอกว่าประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ การที่กัมพูชาจะขอร้องให้สหประชาชาติมีความเห็นไปถึงศาลโลก ซึ่งหากสำเร็จจะสร้างความยุ่งยากให้กับประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม

บาดแผลจากความพ่ายแพ้ในศาลโลกเมื่อครั้งก่อน ยังเป็น "หนามยอกอก" ของไทย

และหลายคนรู้อยู่กับใจว่า "ทับซ้อน" แบบคาราคาซัง ยังดีกว่าถูกตัดสินให้เป็นพื้นที่ของกัมพูชาไปเลย

ล่าสุด นางมาเรีย หลุยซา รีไบโร วิอ๊อตติ ทูตบราซิลซึ่งเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าพร้อมจัดการประชุมคณะมนตรีฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

และสนับสนุนให้ "อินโดนีเซีย" ซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยเรื่องนี้

ล่าสุดนายมาร์ตี้ นาตาเลกาวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานอาเซียน ได้เข้าพบ"ฮอ นัม ฮง "และ"กษิต ภิรมย์"เพื่อรับฟังข้อมูลของทั้งสองฝ่าย

นี่คือ การเคลื่อนไหวในเชิงปฏิบัติการครั้งแรกในเรื่องนี้ของ"อาเซียน" หลังจากที่เคยแค่ออกแถลงการณ์เท่านั้น

แม้คำแถลงหลังการเข้าพบ"กษิณ" นายนาตาเลกาวา จะสรุปว่าเขาเข้าใจดีว่าการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่สุด คือการเจรจาทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ

แต่ประโยคที่ตามมาน่าสนใจมาก

"แต่เห็นว่าอาเซียนและองค์กรพหุภาคีก็สามารถมีบทบาทในการช่วยสนับสนุนเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเจรจาทวิภาคีได้"

การขยับตัวของสหประชาชาติและกลุ่มอาเซียน เป็นจังหวะก้าวที่ต้องจับตามอง

"ไทย" กำลังถูกบังคับให้เดินหน้าสู่ "เกม" ที่ "กัมพูชา" ได้เปรียบ

นี่คือ ความล้มเหลวทางการทูตของรัฐบาล "อภิสิทธิ์" อีกครั้งหนึ่ง