ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เรียบเรียงโดย Nangfa
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง มูบารัคลาออก
โดย กาหลิบ
ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้
ผู้ประท้วงอียิปต์เป็นแสนๆ กำลังโห่ร้องแสดงความยินดีสุดขีด เมื่อรู้ข่าวว่า
ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค ที่ครองอำนาจมานานกว่า ๓๐ ปี
ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว
ผู้ออกมาแถลงข่าวนี้ทางโทรทัศน์แห่งชาติของอียิปต์คือ
รองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ผู้เป็นเป้าหมายหนึ่งของการประท้วงต่อต้าน
โดยเฉพาะเมื่อเขากล่าวอย่างชัดเจนไปทั่วประเทศและทั่วโลกเมื่อไม่กี่วันนี้ว่า
อียิปต์และคนอียิปต์
ยังไม่พร้อมต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถึงคำพูดสั้นๆ ว่า
“ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัคได้ตัดสินใจลาออก
จากตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐต่อหน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของอียิปต์”
จะเป็นเหตุให้คนอียิปต์ส่วนใหญ่รู้สึกลิงโลดใจ
แต่ก็ยังไม่ชัดนักว่า รักษาการประธานาธิบดีอย่างนายสุไลมาน
จะอยู่ร่วมโลกกับขบวนประชาธิปไตยอียิปต์อย่างไรต่อไป
เมื่อหัวใจและอุดมการณ์แตกต่างกันถึงเพียงนั้น
ในขณะที่เสียงยินดีดังกึกก้องไปทั้งจัตุรัสตาเฮียร์กลางกรุงไคโร
และนครอเล็กซานเดีย
เราควรลองพิจารณาโดยใช้สติว่า
เกิดอะไรขึ้นแน่ในประเทศที่สำคัญในโลกอาหรับประเทศนี้
การลาออก “ต่อหน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของอียิปต์” นั้น
เป็นวิธีสื่อสารที่ค่อนข้างชัดว่า
ผู้นำของอียิปต์คงมิได้ลาออกอย่างสมัครใจหรือด้วยตนเอง
แต่ถูกบังคับด้วยคนถืออาวุธที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตนมากกว่า
มิหนำซ้ำยังเอ่ยถึงคำว่า “สภากลาโหม” ของประเทศ
ในฐานะผู้ “ใช้อำนาจ” แทนเสียด้วย
ครับ มูบารัคคงจะถูกรัฐประหารเงียบเข้าให้แล้ว
วันนี้คือวันศุกร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันนัดหมายประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์
จุดประสงค์อันชัดเจนและเป็นสาธารณะคือ
การกดดันเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมูบารัคลาออกจากตำแหน่ง
ขณะที่แม่ทัพนายกองของอียิปต์ก็รีบเข้าหารือกันว่า
จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร
เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง คำประกาศลาออกก็ปรากฏขึ้น
ภาษาที่ใช้อธิบายอย่างสั้นๆ ก็สื่อความหมายว่า
ชนชั้นปกครองในอียิปต์ได้ตัดสินใจร่วมกันแล้วว่า
จะไม่ท้าทายประชาชนที่กำลังแสดงสิทธิ์ประท้วงอย่างกว้างขวาง
ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
แนวโน้มเมื่อตอนเย็นชี้ว่า
ขบวนประท้วงอาจจะเคลื่อนเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของทำเนียบประธานาธิบดีได้
ซึ่งหากเกิดปรากฎการณ์เช่นนั้น
โอกาสที่จะเกิดการปะทะชนิดเสียเลือดเสียเนื้อคงจะมีมาก
สุดท้ายก็ต้องถอดชนวนสถานการณ์ด้วยการบีบให้ประธานาธิบดีผู้เป็นนายพลเก่า
และเป็นรองประธานาธิบดีของอันวาร์ ซาดัตต้องลาออกไป
ทั้งที่เจ้าตัวไม่สมัครใจและประกาศแล้วว่าจะอยู่ต่อไป
คำถามคือ สิ่งที่ดีใจกันมากว่าเป็น “ชัยชนะ” ของประชาชนชาวอียิปต์ในขณะนี้ คือ
ชัยชนะเหนือตัวบุคคลผู้มีอำนาจล้นพ้นอย่างมูบารัคเพียงคนเดียว
หรือเป็นชัยชนะเหนือเหล่าผู้มีอำนาจในอียิปต์ที่ยังอยู่ในอำนาจกันอีกมากมายกันแน่?
ตัวบุคคลอย่าง โอมาร์ สุไลมาน รักษาการประธานาธิบดี
ที่ประชาชนกำลังโกรธแค้นกันมาก
ในทัศนะว่าอียิปต์ควรเป็นเผด็จการต่อไปและไม่พร้อมต่อระบอบประชาธิปไตย
คณะผู้บัญชาการทหารที่ร่วมกันกดดันอย่างหนัก
จนอาจถึงขั้นเอาปืนจ่อหัวผู้ที่เคยเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ
ให้ลาออกหรือไม่ก็ไม่รู้นั้น คือ
มิตรหรือศัตรูของประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย?
ประชาชนชาวอียิปต์ได้รับ “ชัยชนะ” เปลาะนี้แล้ว
ยังต้องเตรียมใจ
และเตรียมกายไว้รอสู้รบอีกรอบหนึ่งกับ โอมาร์ สุไลมาน
และคณะทหารเหล่านี้หรือไม่?
เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
เพราะเสียงเช่นนี้ย่อมจางหายไปกับเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีของคนที่คิดว่า
ตนเองได้รับชัยชนะแล้ว เช่นในอียิปต์ขณะนี้
เราควรร่วมยินดีกับเพื่อนชาวประชาธิปไตยอียิปต์ที่ออกแรงอย่างได้ผล
สามารถเปลี่ยนตัวหัวของประเทศได้ด้วยความมุ่งมั่นและกล้าหาญของตน
การไล่ประธานาธิบดีเผด็จการออกจากตำแหน่งได้หนึ่งคน
ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างสำคัญที่มองข้ามมิได้
แต่การรุรังเผด็จการเหมือนล้มจอมปลวกลงทั้งอันนั้น
ยังเป็นภารกิจต่อเนื่องที่หัวใจอันเปี่ยมไปด้วยความปีติในค่ำคืนนี้
อาจยังไม่ได้คิดหรือไม่อยากจะคิด
อย่างไรก็ตาม เราต้องแสดงความยินดีจากหัวใจสู่พี่น้องของเราในอียิปต์
และในใจก็หวังอย่างเหลือเกินว่าชาวประชาธิปไตยไทยคงจะตามไปติดๆ ในไม่ช้า.
http://democracy100percent.blogspot.com/2011/02/blog-post_12.html
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง มูบารัคลาออก
โดย กาหลิบ
ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้
ผู้ประท้วงอียิปต์เป็นแสนๆ กำลังโห่ร้องแสดงความยินดีสุดขีด เมื่อรู้ข่าวว่า
ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค ที่ครองอำนาจมานานกว่า ๓๐ ปี
ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว
ผู้ออกมาแถลงข่าวนี้ทางโทรทัศน์แห่งชาติของอียิปต์คือ
รองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ผู้เป็นเป้าหมายหนึ่งของการประท้วงต่อต้าน
โดยเฉพาะเมื่อเขากล่าวอย่างชัดเจนไปทั่วประเทศและทั่วโลกเมื่อไม่กี่วันนี้ว่า
อียิปต์และคนอียิปต์
ยังไม่พร้อมต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถึงคำพูดสั้นๆ ว่า
“ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัคได้ตัดสินใจลาออก
จากตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐต่อหน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของอียิปต์”
จะเป็นเหตุให้คนอียิปต์ส่วนใหญ่รู้สึกลิงโลดใจ
แต่ก็ยังไม่ชัดนักว่า รักษาการประธานาธิบดีอย่างนายสุไลมาน
จะอยู่ร่วมโลกกับขบวนประชาธิปไตยอียิปต์อย่างไรต่อไป
เมื่อหัวใจและอุดมการณ์แตกต่างกันถึงเพียงนั้น
ในขณะที่เสียงยินดีดังกึกก้องไปทั้งจัตุรัสตาเฮียร์กลางกรุงไคโร
และนครอเล็กซานเดีย
เราควรลองพิจารณาโดยใช้สติว่า
เกิดอะไรขึ้นแน่ในประเทศที่สำคัญในโลกอาหรับประเทศนี้
การลาออก “ต่อหน้าผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ของอียิปต์” นั้น
เป็นวิธีสื่อสารที่ค่อนข้างชัดว่า
ผู้นำของอียิปต์คงมิได้ลาออกอย่างสมัครใจหรือด้วยตนเอง
แต่ถูกบังคับด้วยคนถืออาวุธที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตนมากกว่า
มิหนำซ้ำยังเอ่ยถึงคำว่า “สภากลาโหม” ของประเทศ
ในฐานะผู้ “ใช้อำนาจ” แทนเสียด้วย
ครับ มูบารัคคงจะถูกรัฐประหารเงียบเข้าให้แล้ว
วันนี้คือวันศุกร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันนัดหมายประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์
จุดประสงค์อันชัดเจนและเป็นสาธารณะคือ
การกดดันเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมูบารัคลาออกจากตำแหน่ง
ขณะที่แม่ทัพนายกองของอียิปต์ก็รีบเข้าหารือกันว่า
จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร
เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง คำประกาศลาออกก็ปรากฏขึ้น
ภาษาที่ใช้อธิบายอย่างสั้นๆ ก็สื่อความหมายว่า
ชนชั้นปกครองในอียิปต์ได้ตัดสินใจร่วมกันแล้วว่า
จะไม่ท้าทายประชาชนที่กำลังแสดงสิทธิ์ประท้วงอย่างกว้างขวาง
ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
แนวโน้มเมื่อตอนเย็นชี้ว่า
ขบวนประท้วงอาจจะเคลื่อนเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของทำเนียบประธานาธิบดีได้
ซึ่งหากเกิดปรากฎการณ์เช่นนั้น
โอกาสที่จะเกิดการปะทะชนิดเสียเลือดเสียเนื้อคงจะมีมาก
สุดท้ายก็ต้องถอดชนวนสถานการณ์ด้วยการบีบให้ประธานาธิบดีผู้เป็นนายพลเก่า
และเป็นรองประธานาธิบดีของอันวาร์ ซาดัตต้องลาออกไป
ทั้งที่เจ้าตัวไม่สมัครใจและประกาศแล้วว่าจะอยู่ต่อไป
คำถามคือ สิ่งที่ดีใจกันมากว่าเป็น “ชัยชนะ” ของประชาชนชาวอียิปต์ในขณะนี้ คือ
ชัยชนะเหนือตัวบุคคลผู้มีอำนาจล้นพ้นอย่างมูบารัคเพียงคนเดียว
หรือเป็นชัยชนะเหนือเหล่าผู้มีอำนาจในอียิปต์ที่ยังอยู่ในอำนาจกันอีกมากมายกันแน่?
ตัวบุคคลอย่าง โอมาร์ สุไลมาน รักษาการประธานาธิบดี
ที่ประชาชนกำลังโกรธแค้นกันมาก
ในทัศนะว่าอียิปต์ควรเป็นเผด็จการต่อไปและไม่พร้อมต่อระบอบประชาธิปไตย
คณะผู้บัญชาการทหารที่ร่วมกันกดดันอย่างหนัก
จนอาจถึงขั้นเอาปืนจ่อหัวผู้ที่เคยเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ
ให้ลาออกหรือไม่ก็ไม่รู้นั้น คือ
มิตรหรือศัตรูของประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย?
ประชาชนชาวอียิปต์ได้รับ “ชัยชนะ” เปลาะนี้แล้ว
ยังต้องเตรียมใจ
และเตรียมกายไว้รอสู้รบอีกรอบหนึ่งกับ โอมาร์ สุไลมาน
และคณะทหารเหล่านี้หรือไม่?
เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
เพราะเสียงเช่นนี้ย่อมจางหายไปกับเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีของคนที่คิดว่า
ตนเองได้รับชัยชนะแล้ว เช่นในอียิปต์ขณะนี้
เราควรร่วมยินดีกับเพื่อนชาวประชาธิปไตยอียิปต์ที่ออกแรงอย่างได้ผล
สามารถเปลี่ยนตัวหัวของประเทศได้ด้วยความมุ่งมั่นและกล้าหาญของตน
การไล่ประธานาธิบดีเผด็จการออกจากตำแหน่งได้หนึ่งคน
ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างสำคัญที่มองข้ามมิได้
แต่การรุรังเผด็จการเหมือนล้มจอมปลวกลงทั้งอันนั้น
ยังเป็นภารกิจต่อเนื่องที่หัวใจอันเปี่ยมไปด้วยความปีติในค่ำคืนนี้
อาจยังไม่ได้คิดหรือไม่อยากจะคิด
อย่างไรก็ตาม เราต้องแสดงความยินดีจากหัวใจสู่พี่น้องของเราในอียิปต์
และในใจก็หวังอย่างเหลือเกินว่าชาวประชาธิปไตยไทยคงจะตามไปติดๆ ในไม่ช้า.
http://democracy100percent.blogspot.com/2011/02/blog-post_12.html