WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 12, 2011

อวสาน 'มู' บทเรียน 'มาร์ค'

ที่มา บางกอกทูเดย์





ยอมแพ้แล้ว!!...แต่ยังกั๊ก?
ไม่คืนอำนาจให้ประชาชน
เลี่ยงคืนอำนาจให้ทหาร
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ หมาดๆในัวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ว่า ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ ในวัย 82 ปี ได้กล่าวปราศรัยทางโทรทัศน์เผยแพร่ไปทั่วประเทศ

ประกาศยังไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง หรือเดินทางออกนอกประเทศ ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงขับไล่

แต่ได้ตกลงที่จะทำการถ่ายโอนอำนาจการบริหารประเทศให้กับ พล.อ.โอมาร์ สุไลมาน รองประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีมูบารัคยืนกรานว่า จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงเดือนกันยายนนี้ ซึ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี และจะขอตายอยู่ในแผ่นดินอียิปต์

แน่นอนว่าคำแถลงดังกล่าวย่อมสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยังคงปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่จัตุรัสตาหรีร์ใจกลางกรุงไคโร และเรียกร้องให้กองทัพออกมาปฏิบัติการเพื่อขับไล่ผู้นำอียิปต์ให้ลงจากตำแหน่งให้ได้

เพราะการที่บอกว่าจะถ่ายโอนอำนาจให้ พล.อ.โอมาร์ สุไลมาน ก่อให้เกิดความสงสัยว่า มีข้อตกลงลับอะไรระหว่างทหารกับรัฐบาลหรือไม่

เนื่องจากไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าการประกาศทางโทรทัศน์ มีการประชุมสภากลาโหมซึ่งประกอบด้วยจอมพลฮุสเซน ตันตาวี รมว.กลาโหม และนายทหารระดับสูงของกองทัพอียิปต์ ระบุว่า จะเข้ามาดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ

และยังได้ให้นายทหารระดับสูงออกไปพบกับผู้ชุมนุมที่จัตุรัสตาหรีร์ ยืนยันว่าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้รับการตอบสนอง จึงเกิดกระแสข่าวว่ามีความขัดแย้งกันหรือไม่ ระหว่างประธานาธิบดีอียิปต์ กับทางกองทัพ

และตามมาด้วยกระแสข่าวแพร่สะพัดไปทั่วว่า ประธานาธิบดีมูบารัคกำลังจะลาออกจากตำแหน่ง???

แต่แล้วสภากลาโหม ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ระบุว่า กองทัพจะเป็นหลักประกันในเรื่องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามคำสัญญาของประธานาธิบดีมูบารัค เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้ กองทัพจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม

นอกจากนั้นกองทัพก็ยังเรียกร้องให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และเตือนว่า จะต่อต้านภัยคุกคามทุกชนิดที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด
ถ้อยแถลงดังกล่าวกลายเป็นสิ่งสะท้อนว่า กองทัพหันมาสนับสนุนอีกครั้งให้กับประธานาธิบดีมูบารัคที่ตัดสินใจไม่ลาออก แต่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับรองประธานาธิบดี

ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงไม่พอใจกับแถลงการณ์ของกองทัพที่น่าผิดหวัง

และแสดงให้กองทัพเห็นว่า ประชาชนไม่ได้กลัวกองทัพ โดยได้มีผู้ชุมนุมหลายร้อยคนไปชุมนุมกันบริเวณด้านหน้าวังอัล-อูรูบา ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไคโร เพื่อเรียกร้องให้มูบารัคลาออกจากตำแหน่งเสียที แม้ว่าจะมีรถถังของกองทัพ 4 คัน และรั้วลวดหนามตั้งขวางกั้นไว้ก็ตาม!!!

เมื่อประชาชนไม่ยอมถอย และปักหลักชุมนุมต่อเนื่องต่อไป โดยไม่ยี่หระต่อคำแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ของกองทัพ ก็กลายเป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้รัฐบาลและกองทัพได้รู้ว่า เอาไม่อยู่แน่แล้ว

ทำให้สุดท้ายนายมูบารัค ก็ต้องยอมจำนน!!!

โดย พล.อ.โอมาร์ สุไลมาน รองประธานาธิบดีอียิปต์ ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์ว่า ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้ว ตามข้อเรียกร้องของประชาชนนับล้านคนที่ชุมนุมขับไล่เขามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 18 วันติดต่อกัน

และ มูบารัคได้ส่งมอบอำนาจในการปกครองประเทศให้แก่คณะผู้บัญชาการกองทัพ ซึ่งมี นายโมฮาเหม็ด ฮุสเซ็น ตันตาวี รมว.กลาโหม เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อปกครองดูแลประเทศเป็นการชั่วคราว

หลังจากทราบข่าวการสละตำแหน่งของผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ ประชาชนชาวอียิปต์ต่างออกมาร่วมกันเฉลิมฉลองตามท้องถนน

อย่างไรก็ตามยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า การที่กองทัพกลายเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากมูบารัคนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทำรัฐประหาร

ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญแล้ว มูบารัคควรจะคืนอำนาจให้แก่ประธานรัฐสภาไม่ใช่ผู้นำกองทัพแต่อย่างใด

ทั้งนี้คณะผู้บัญชาการกองทัพได้ประกาศว่าจะทำการยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งถูกประกาศบังคับใช้มาเป็นเวลา 30 ปี ทันทีที่สถานการณ์จลาจลในประเทศสงบลง

นอกจากนี้ก็จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นมีความเป็นอิสระและยุติธรรม

เป็นการปิดฉาก มูบารัค อดีตผู้นำอียิปต์ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าๆได้เดินทางออกจากกรุงไคโร ไปแล้ว พร้อมกับสมาชิกทั้งหมดของครอบครัว แต่เบื้องต้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไปไหน

กรณีของนายมูบารัค ถือเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะเป็นเวลานานแล้วที่ กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ถูกตั้งคำถามในเรื่องประชาธิปไตยเต็มใบ

เพราะนอกจาก อิสราเอล ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องประชาธิปไตยเต็มใบเพียงประเทศเดียวแล้ว ที่เหลือถูกมองว่าไม่ชัดเจนเลย โดยในบรรดา 17 ประเทศที่เหลือของภูมิภาคดังกล่าว มีที่กึ่งเสรีหรือนัยหนึ่งประชาธิปไตยครึ่งใบ 3 ประเทศ

ส่วนอีก 14 ประเทศล้วนเข้าข่ายไม่เสรีหรือเผด็จการ

ในกลุ่มหลังนี้รวมทั้งตูนิเซีย จอร์แดน เยเมน และอียิปต์ ซึ่งเกิดกรณีมวลชนชุมนุมประท้วงหรือลุกขึ้นสู้โค่นรัฐบาลในรอบเดือนที่ผ่านมา

เพราะระบอบเผด็จการในกลุ่มประเทศดังกล่าวไม่เพียงผูกขาดอำนาจการเมือง หากยังทำให้ระบบเศรษฐกิจมีปัญหาอย่างหนักด้วย โดยเฉพาะปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

จากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้ข้อมูลข่าวสารกว้างขึ้น นักศึกษาปัญญาชน รู้ควมจริงที่รัฐบาลปิดบัง ความล้มเหลวของรัฐบาลที่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มองเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะที่ช่องว่างของความร่ำรวยและความยากจนเพิ่มมากขึ้น จำนวนคนตกงานที่บ่าล้นเพิ่มขึ้นทุกที ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โฆษณาป่าวร้องว่า อียิปต์ ตูนิเซีย จอร์แดน ยังไปได้ดี

แถมได้รับคำยกย่องชมเชยจากรายงานขององค์กรโลกบาลทางการเงินอย่างไอเอ็มเอฟ?

ได้ถูกพิสูจน์ชัดขึ้นว่า เป็นตัวเลขที่อำพรางความยากจนและเหลื่อมล้ำที่ร้ายแรงขึ้นทุกทีเอาไว้

สุดท้ายการต่อสู้ของพลังประชาชนที่ต้องการขับไล่รัฐบาล โดยไม่กลัวเกรงกองทัพอีกต่อไปจึงเกิดขึ้น
การเผ่นจากตำแหน่งของนายซีเน่ เอล อบิดีน เบน อาลี ประธานาธิบดีตูนิเซีย กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือลุกขึ้นสู้

และชะตากรรมของ ฮอสนี มูบารัค ก็ไม่ต่างจาก ซีเน่ เอล อบิดีน เบน อาลี

ฮอสนี มูบารัค ผู้เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1981ปิดฉากลงแล้ว หลังกุมอำนาจนาน 30 ปี

เช่นเดียวกับซีเน่ เอล อบิดีน เบน อาลี ผู้เข้ายึดอำนาจในตูนิเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 กุมอำนาจอยู่ 24 ปี

เลยทำให้มีการกล่าวถึงข้อมูลของบรรดาผู้นำ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนาน ซึ่งปรากฏว่า มูบารัค และเบน อาลี ก็ไม่ใช่คนที่ครองตำแหน่งยาวนาน เพราะยังมี นายอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ผู้ขึ้นมามีอำนาจในเยเมนตั้งแต่ปี ค.ศ.1978 อยู่อีกคน หรือมีอำนาจนานถึง 33 ปีแล้ว

แต่ที่เหนือกว่าก็คือ พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้ยึดอำนาจขึ้นเป็นผู้นำลิเบียมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 กุมอำนาจมานานกว่า 42 ปี

และกำลังเตรียมซาอิฟ อัล-อิสลาม มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้เป็นลูกชายให้สืบทอดอำนาจต่อจากไปอีก

ซึ่งหากนับการสืบทอดอำนาจแล้ว จะพบว่าแม้แต่กัดดาฟี ก็ยังกลายเป็นเด็กๆไปเลย เพราะปรากฏว่ากษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดนที่ขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1999 ก็จริง แต่เป็นการขึ้นมาโดยสืบพระราชอำนาจจากกษัตริย์ฮุสเซ็นผู้เป็นพระราชบิดา ซึ่งขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1952 หรือเมื่อ 59 ปีก่อนแล้ว

ขณะที่กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่หกแห่งโมร็อกโก ผู้ขึ้นครองราชย์แทนกษัตริย์ฮัสซันที่สองผู้เป็นพระราชบิดาตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 เช่นกัน โดยที่พระราชบิดาเองก็ได้ทรงรัฐมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1961 หรือเท่ากับสืบทอดกันมา 2รุ่น รวมกว่า 50 ปี

และคู่สืบทอดอำนาจอีกคู่ ก็คือ นายบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซีเรียแทนฮาเฟซ อัล-อัสซาดผู้เป็นพ่อในปี ค.ศ.2000 โดยที่ตัวผู้พ่อเข้ายึดอำนาจมาได้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 หรือเมื่อ 41 ปีมาแล้ว

กระแสของโลกกำลังเปลี่ยน เพราะจะเห็นว่า การซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐ หลังจากที่นายฮอสนี มูบารัก ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์ ดัชนีหุ้นสหรัฐปรับเพิ่มขึ้น

โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดบวก 43.97จุด เพิ่มขึ้น 0.36% ปิดที่ระดับ 12,271.26 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ขยับขึ้น 0.55% หรือ 7.30 จุด ปิดที่ระดับ 1,329.17 จุด แนสแดคเพิ่มขึ้น 0.68% หรือ 18.99 จุด ปิดที่ระดับ 2.809.44จุด

บทเรียนของมูบารัค จึงถือเป็นบทเรียน ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีควรจะระมัดระวัง
โดยเฉพาะกับการรับใช้ขั้วอำนาจพิเศษและกองทัพบางกลุ่ม

เพราะใครจะรู้ว่า “ มู” กับ “มาร์ค”อาจจะเผชิญชะตากรรมไม่ต่างกันก็ได้???

หากฝืนกระแสประชาธิปไตยเต็มใบที่แท้จริง!!!