WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, February 10, 2011

จากตูนิเซียสู่กลุ่มประเทศอาหรับ

ที่มา มติชน



โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์



ประเทศตูนิเซีย

ประเทศตูนิเซียเป็นประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเหนือมีประชากร 10.5 ล้านคน มีพื้นที่ 163,610 ตารางกิโลเมตร ประมาณขนาดภาคใต้ของประเทศไทย บรรดานักประวัติการทหารทุกคนรู้จักดีว่าตูนิเซียคือประเทศที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรคาร์เธจโบราณที่มีจอมทัพฮันนิบาลผู้เลื่องชื่อ

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมปีที่แล้ว นายโมฮัมหมัด บูอะซิซี่ บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวเมืองซิดี บูซิส วัย 26 ปี ได้เผาตัวตายประท้วงเนื่องจากเขาถูกตำรวจหญิงไล่ไม่ให้ขายผลไม้ในรถเข็นเพื่อเลี้ยงครอบครัว ซึ่งหลังจากการเผาตัวตายเพียง 18 วัน จึงเกิดการปฏิวัติดอกมะลิ (The Jasmine Revolution-ปฏิวัติชื่อเป็นดอกไม้นี่นะครับเป็นการลุกฮือของประชาชนตามประเทศต่างๆ ที่สามารถโค่นล้มระบอบเผด็จการได้สำเร็จภายใน 10 ปีของสหัสวรรษนี้ เช่น ปฏิวัติดอกกุหลาบในจอร์เจีย ปฏิวัติดอกส้มในยูเครน ปฏิวัติดอกทิวลิปในเคอร์กีจิสถาน เป็นต้น) ขึ้นในตูนิเซียโดยประชาชนตูนิเซียลุกฮือขึ้นมาขับไล่ผู้นำเผด็จการที่ครองอำนาจอยู่กว่า 20 ปี จนต้องหนีออกนอกประเทศ

ตูนิเซียนับเป็นประเทศในกลุ่มอาหรับ (ประเทศในกลุ่มอาหรับมีอยู่ 22 ประเทศ-ดูแผนที่) ประเทศแรกที่มีการปฏิวัติของประชาชนขับไล่รัฐบาลเผด็จการ (ไม่ใช่ทหารยึดอำนาจแล้วอ้างว่าปฏิวัติเหมือนบางประเทศ) ซึ่งประเทศในกลุ่มอาหรับทั้ง 22 ประเทศนั้นล้วนแต่มีรัฐบาลเผด็จการเกือบทุกประเทศแหละครับ

กลุ่มประเทศอาหรับ 22 ประเทศ



ที่น่าสังเกตของการปฏิวัติดอกมะลิในประเทศตูนิเซียนี้ก็คือ ประเทศตูนิเซียจัดว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศอาหรับ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP-หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด) ใน พ.ศ. 2551 ถึง 41 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวคิดตามแบบ GDP (PPP) คือ GDP ที่คิดตามหลักความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity หรือ PPP) ซึ่ง PPP เป็นค่าประมาณสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่จำเป็นสำหรับอำนาจซื้อของสกุลเงินที่แตกต่างกัน ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อซึ่งเป็นดัชนีเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ในลักษณะเดียวกับมูลค่าของ GDP สูงถึง 82 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ครับ ! ชาวตูนิเซียมีคุณภาพชีวิตสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับทั้ง 22 ประเทศโดยเทียบจาก GDP (PPP) นอกจากนี้ตูนิเซียยังเป็น 1 ใน 8 สิงโตแห่งทวีปแอฟริกา (8 สิงโตแห่งแอฟริกาก็เหมือนเสือในเอเชียคือเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่เจริญก้าวหน้าของทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วได้แก่ประเทศแอฟริกาใต้ แอลจีเรีย บอตสวานา อียิปต์ มอริตัส ลิเบีย โมร็อกโก และตูนิเซีย) ซึ่งตามรายงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 ของบริษัทที่ปรึกษา Boston Consulting Group ผู้จัดอันดับประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลกรายงานว่ากลุ่มประเทศ 8 สิงโตแห่งแอฟริกานี้มี GDP รวมกันเป็นปริมาณถึง 70% ของ GDP ของทวีปแอฟริกาซึ่งมีประเทศอยู่ 61 ประเทศ

นอกจากนี้ใน พ.ศ.2551 ตูนิเซียเป็นประเทศที่เป็นอันดับหนึ่งในทวีปแอฟริกาในความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและเป็นอันดับที่ 40 ของโลกเชียวนะครับ แต่ปัญหาที่นำไปสู่การปฏิวัติดอกมะลินี่ก็คือการศึกษาเนื่องจากชาวตูนิเซียมีการศึกษาดีที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับเพราะมีการศึกษาภาคบังคับถึง 10 ปี และตูนิเซียถูกจัดเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาดีเป็นอันดับที่ 17 ของโลกและมีระบบการศึกษาระดับประถมศึกษาดีเป็นอันดับที่ 21 ของโลก (รายงานของ The Global Competitiveness Report 2008-9 โดย The World Economic Forum)

แต่เมื่อคนหนุ่มสาวชาวตูนิเซียจบการศึกษาแล้วกลับไม่มีงานทำดังตัวอย่างของนายโมฮัมหมัด บูอะซิซี่ บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ต้องขายผลไม้ในรถเข็นแถมยังถูกห้ามอีกซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคม เมื่อเขาเผาตัวตายแล้วคนรุ่นหนุ่มสาวที่มีการศึกษามีเครื่องมือไอที อันทันสมัยไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนที่มีทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์แต่ไม่มีงานทำเกิดความคับข้องใจในครอบครัวและพรรคพวกของผู้นำเผด็จการที่คอร์รัปชั่นต่างโกงกินกันอย่างเปิดเผย ทั้งยังอวดมั่งมีกันด้วยบ้านและรถยนต์ที่หรูหราแบบไม่เห็นหัวชาวบ้าน คนหนุ่มสาวที่ยังไม่มีครอบครัวให้ห่วงจึงเป็นหัวหอกสร้างเครือข่ายของการปฏิวัติประชาชนขับไล่รัฐบาลเผด็จการออกไปในที่สุด

ปัจจุบันนี้การปฏิวัติประชาชนติดต่อไปถึงอียิปต์ จอร์แดน และเยเมนแล้วและมีท่าทีว่าจะขยายไปสู่ลิเบีย ซูดาน และซาอุดีอาระเบียต่อไป

ครับ ! คิดถึงเมืองไทยเพราะมีคนจบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้วหางานทำไม่ได้แต่มีสมาร์ทโฟนกันเยอะนะครับ