WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 7, 2011

บทบาทกองทัพ

ที่มา thaifreenews

โดย namome




รูปภาพของอยู่เย็น พรหมมุนี

ตราบใดที่สถานการณ์ทางการเมืองยังเต็มไปด้วยแตกแยกและขัดแย้ง ทั้งยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กระแสข่าวการปฏิวัติรัฐประหารหรือเรื่องอำนาจพิเศษก็ยังมีความเป็นไปได้ตลอดเวลาสำหรับการเมืองไทย ไม่ใช่แค่รัฐบาลไร้ประสิทธิภาพหรือนักการเมืองคอร์รัปชัน

เพราะผู้นำกองทัพที่เคยประกาศจุดยืนเป็นทหารอาชีพ และกลับเข้ากรม กอง หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นั้น ถูกทำลายหมดสิ้นหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แม้ผู้นำกองทัพในปัจจุบันจะแสดงจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตย และตระหนักดีว่าการปฏิวัติรัฐประหารไม่ใช่การแก้ปัญหาบ้านเมืองอย่างแท้จริง ทั้งยังมีแต่ทำให้บ้านเมืองถอยหลัง

ดังนั้น กองทัพต้องทำให้สังคมเชื่อถือและมั่นใจในบทบาทของกองทัพที่จะไม่กลับมายุ่งเกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง หรือไม่ให้การเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกองทัพ ไม่ว่าการเมืองจะเกิดปัญหาอย่างไรก็ต้องแก้ไขไปตามกลไกทางการเมือง ไม่ใช่กองทัพออกมาปราบปรามประชาชนเหมือนเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ไม่ได้ทำให้กองทัพเป็นอัศวินม้าขาว แต่กลับทำให้กองทัพวันนี้เข้าสู่จุดเสื่อมและวิกฤต เหมือนสถาบันตุลาการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “ตุลาการวิบัติ” มากกว่า “ตุลการวิวัฒน์”

อย่าง ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัย “บทบาททหารกับการเมือง” โดยพูดถึงการปฏิรูปกองทัพว่า กองทัพควรจะอยู่ตรงไหนในระบบการเมือง ไม่เช่นนั้นกองทัพอาจเกิดความแตกแยก ไม่ต่างจากสภาพสังคมที่แบ่งขั้ว แบ่งสี เพราะกองทัพเองก็ไม่ต้องการถูกดึงมาเป็นพลังทางการเมืองหรือฐานอำนาจทางการเมืองเหมือนในอดีต

แต่การปฏิรูปกองทัพไทยก็เป็นไปได้ยาก เพราะผู้นำกองทัพเองมองความมั่นคงในกรอบของกองทัพที่เกี่ยวโยงกับสถาบันต่างๆ และกลุ่มผู้มีบารมีที่ยังยึดโยงอยู่กับกองทัพ

แม้ตามรัฐธรรมนูญกองทัพจะทำงานภายใต้คำสั่งของรัฐบาล แต่โดยข้อเท็จจริงอำนาจของกองทัพกลับอยู่เหนือรัฐบาล ดังนั้น ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตทางการเมือง กองทัพก็จะถูกการเมืองดึงเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม อย่างการใช้กฎหมายความมั่นคง หรือ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

กอง ทัพจึงแยกไม่ออกจาการเมือง แถมยังถูกมองว่าเป็นศัตรูกับประชาชนอีก ทั้งที่ปัญหามาจากฝ่ายการเมือง แต่กองทัพก็ต้องมีการปฏิรูปกองทัพเพื่อให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศและสังคมโลก และให้เป็นทหารอาชีพอย่างแท้จริง

กองทัพจึงต้องยอมรับความจริง และเริ่มต้นสร้างกรอบความคิดใหม่ทั้งหมด เพื่ออยู่ร่วมกับสังคมในปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างมั่นคง

*************************************
บทบรรณาธิการ
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 12 ฉบับที่ 2986 ประจำวัน จันทร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2011
http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=48927

http://www.facebook.com/home.php#!/photo.php?fbid=165133703534965&set=a.163928396988829.34356.100001150083953