WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 15, 2011

คำถามที่ไร้คำตอบ คืนความเป็นธรรม พัชรวาท วงษ์สุวรรณ "อภิสิทธิ์"ยื้อ-ซื้อเวลา

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานปทุม



กว่า 2 ปีเศษในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปัญหาการโยกย้ายข้าราชการประจำ จนเกิดการฟ้องร้องศาลปกครอง และหน่วยงานต่างๆ บ้างก็สำเร็จ บ้างก็ไม่สำเร็จ

สำหรับวงการตำรวจถือว่าเป็นยุคที่นักการเมืองยื่นมือเข้ามาล้วงลูกมากที่สุดก็ว่าได้ การโยกย้ายมีปัญหาในทุกระดับ

ที่เป็นเรื่องใหญ่เห็นจะไม่พ้นกรณี พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุเด็กนักการเมืองแย่งเก้าอี้

ถัด มาคือการปล่อยให้ตำแหน่งผบ.ตร.ว่างลงนานนับปี เพียงเพราะไม่พอใจที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กตช.) ไม่ยอมรับคนที่ตัวเองสนับสนุนขึ้นเป็นผู้นำองค์กรสีกากี

นายอภิสิทธิ์ จึงใช้วิธีตั้งรักษาการไปเรื่อยๆ

และ สุดท้ายที่ยังเป็นปัญหาคาราคาซัง คือกรณีปลด "พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" อดีตผบ.ตร. จากเหตุตำรวจปะทะม็อบเสื้อเหลืองที่ปิดล้อมรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ในวันแถลงนโยบายของรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง

นายอภิสิทธิ์ อาศัยมติป.ป.ช.ชี้มูลความผิดพล.ต.อ.พัชรวาท ปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552

พล.ต.อ.พัชรวาท จึงร้องไปยังคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เพื่อขอความเป็นธรรม

ก.ตร.พิจารณา แล้วเห็น ว่าการกระทำของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์ สุวรรณ ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและให้ยกโทษปลดออกจากราชการ โดยเหตุผลประการสำคัญ คือการไต่สวนพิจารณาและการชี้มูลความผิดทางวินัยของ ป.ป.ช.เป็นการกระทำเกินกว่าขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามที่กฎ หมายกำหนด

นายอภิสิทธิ์ ใช้วิธียื่นเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อได้คำตอบกลับมาก็ยื่นเรื่องซ้ำหารือกับ ป.ป.ช. อีกรอบ

เรียกว่าใช้วิธีการคล้ายๆ การตั้งผบ.ตร.รักษาการ คือถ่วงเวลาไปเรื่อยๆ

วิเคราะห์ กันว่าสาเหตุสำคัญเพราะกลัว "เสียหน้า" เท่านั้น เนื่องจากถึงยกเลิกคำสั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ไม่ได้กลับมานั่งเก้าอี้ผบ.ตร. เนื่องจากเกษียณอายุราชการไปแล้ว

แต่ที่พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม และต้องการให้เป็นบรรทัดฐานป้องกันตำรวจนายอื่นๆ ถูกนักการเมืองกระทำเช่นนี้

จนทุกวันนี้นายอภิสิทธิ์ เป็นเพียงนายกฯ รักษาการ ในช่วงยุบสภาเพื่อรอเลือกตั้งใหญ่

แต่พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม

มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปของกรณีนี้ที่รวบรวมเอาไว้ และจากนั้นคือบทความที่ตีแผ่แง่มุมกฎหมายเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างน่าสนใจยิ่ง

กรณี ป.ป.ช.ไต่สวนชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 และนายกรัฐมนตรีอ้างมติ ป.ป.ช.ดังกล่าวออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2552 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ออกจากราชการนั้น

ต่อมา คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในฐานะองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ ได้พิจารณาอุทธรณ์ของพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ แล้ว มีมติว่าการกระทำของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและให้ยกโทษปลดออกจากราชการ โดยเหตุผลประการสำคัญคือ การไต่สวนพิจารณาและการชี้มูลความผิดทางวินัยของ ป.ป.ช.เป็นการกระทำเกินกว่าขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็น ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็น 2 ประเด็น ดังนี้

ประเด็น ที่หนึ่ง เป็นการตอบข้อหารือว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 ผูกพัน ก.ตร.หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าองค์กร พิจารณาอุทธรณ์จะมีอำนาจพิจารณาได้เพียงใด โดยวินิจฉัยว่า องค์กรกลางจะพิจารณาได้แต่เฉพาะดุลพินิจในการสั่งลงโทษเท่านั้น ไม่อาจก้าวล่วงไปถึงข้อเท็จจริงและฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลไว้ได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงผูกพันทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรกลางตาม กฎหมายใด

แต่เนื้อหาของมติ ก.ตร.ในกรณีนี้ มิใช่การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัยตามนัยยะ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว แต่อย่างใด

เนื้อหาของมติ ก.ตร.เป็นการพิจารณาว่า การไต่สวนและชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช.เป็นการกระทำที่เกินกว่าหรือนอกเหนือขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนด ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ ป.ป.ช.มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยในกรณีร่ำรวยผิดปกติ กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่านั้น แต่การชี้มูลความผิดของป.ป.ช.ในกรณีนี้ เป็นการชี้มูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นความผิดนอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดของป.ป.ช.

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ประเด็นที่สอง ก็สอดคล้องกับข้อพิจารณาตามมติของ ก.ตร.ดังกล่าวเช่นเดียวกัน กล่าวคือ คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า "..ฯ..ข้อพิจารณาของ ก.ตร.ว่าการไต่สวนชี้มูลความผิดกรณีนี้ของป.ป.ช.เป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจ หน้าที่ มีเหตุผลอันควรพิจารณาอยู่...ฯ.."

กล่าวโดยสรุปคือ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 250 (3) จะบัญญัติอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.เพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง คือ "การกระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต" แต่อำนาจดังกล่าวนี้จะเป็นประการใดยังจะต้องมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรม นูญฯ ตราออกมากำหนดเสียก่อน แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญฯ พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้องกับบทบัญ ญัติของรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวแต่อย่างใด อำนาจที่เพิ่มขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จึงไม่อาจระบุได้ว่าครอบคลุมถึงความผิดฐานใดบ้าง"

คณะกรรมการกฤษฎีกา จึงมีความเห็นในประเด็นนี้ว่า "..ฯ..การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ว่ามีความผิดนอกเหนือไปจากฐานความผิดในเรื่องร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการ ยุติธรรม จึงอาจเป็นการเกินอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช.ตามที่ ก.ตร.โต้แย้งได้..ฯ.."

บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ยืนยันสนับสนุนข้อ กฎหมายในประเด็นนี้ ได้แก่ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 29 ซึ่งบัญญัติว่า "การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้"

บท บัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติว่า ราชอาณาจักรไทยเป็นนิติรัฐ ซึ่งหมายความว่าการกระทำขององค์กรใช้อำนาจรัฐทุกประเภท ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรตามรัฐธรรมนูญล้วนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมาย

หาก ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจกระทำการแก่องค์กรไว้ องค์กรก็ไม่อาจกระทำการอย่างใดๆ ที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลได้เลย และถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ การใช้อำนาจรัฐก็ยังจะต้องกระทำภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่และตามรูปแบบขั้นตอน วิธีการที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องมีความมุ่งหมายอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อำนาจ นั้นอีกด้วย

ป.ป.ช.เองก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมายตามหลักนิติรัฐนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

การ ที่ ป.ป.ช.อ้างเหตุผลว่า "..ฯ..แม้ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จะยังมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 250 ก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการที่จะไต่สวนและวินิจฉัยความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่คณะ กรรมการได้รับไว้พิจารณาดำเนินการ..ฯ.." เหตุผลเช่นนี้นับว่าขัดแย้งอย่างชัดแจ้งต่อหลักนิติรัฐและหลักกฎหมายว่าด้วย อำนาจขององค์กรใช้อำนาจรัฐต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย

เพราะ ว่า แท้จริงแล้ว ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยเรื่องอื่นที่นอกเหนือไปจากเรื่องที่ กฎหมายกำหนดไว้ 4 ประการ อันได้แก่ เรื่องร่ำรวยผิดปกติ กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมนั้นแต่อย่างใดเลย

กรณี จึงมิใช่เป็นการตัดอำนาจหรือไม่ตัดอำนาจของป.ป.ช. แต่เป็นเรื่องที่ ป.ป.ช.ไม่เคยมีอำนาจ ไต่สวนวินิจฉัยชี้มูลความผิดทางวินัยมาตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่ ป.ป.ช.ไว้

หากจะพิจารณา อย่างละเอียดไปถึงระบบการตีความเพื่อการใช้กฎหมาย ระบบกฎหมายของราชอาณาจักรไทยเป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การใช้กฎหมายจึงต้องตีความตามบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งในกรณีนี้คือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และมิใช่การตีความโดยการอ้างคำ พิพากษาของศาลเป็นหลัก ในระบบกฎหมายของราชอาณาจักรไทย คำ พิพากษาของศาลเป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง นอกจากนี้ การอ้างคำพิพากษาของศาลยังมีข้อจำกัดเฉพาะการเป็นบรรทัดฐานสำหรับกรณีที่มี ข้อเท็จจริงเหมือนกันเท่านั้น

ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลซึ่งเป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นการ แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงความมีอยู่ของหลักเกณฑ์ที่ศาลใช้วินิจฉัยในคดี นั้นๆ ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านั้นต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมาย แต่คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษานั้นเองมิใช่กฎหมายและมิใช่ที่มาของกฎหมาย ดังนั้น ในแต่ละกรณีจึงต้องพิเคราะห์ถึงเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญของข้อเท็จจริงเฉพาะ ของแต่ละเรื่องด้วย

ดังนั้น การมีผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมิได้หมายความว่า คำวินิจฉัยของศาลมีอำนาจบังคับเท่ากับตัวกฎหมายที่จะต้องยึดถืออย่างเคร่ง ครัด แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลผูกพันองค์กรอื่นก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเท่านั้น

ในประเด็นนี้ปรากฏว่า มติ ก.ตร.เป็นการพิจารณาว่า ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเกินกว่าหรือนอกเหนือขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนด ซึ่งมีผลทำให้การชี้มูลของ ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 เป็นการวินิจฉัยว่าองค์กรพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาได้เพียงดุลพินิจในการลงโทษ แต่ไม่อาจจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและฐานความผิดทางวินัยได้ ซึ่งมติของ ก.ตร.มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและฐานความผิดทางวินัยแต่อย่างใด

คำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 จึงมีเนื้อหาที่แตกต่างกันกับมติของ ก.ตร.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงไม่อาจจะนำมาอ้างเพื่อลบล้างมติ ของ ก.ตร.ได้

อีกประการหนึ่ง การตีความเพื่อการใช้กฎหมายนั้นต้องตีความเพื่อการอำนวยความยุติธรรมและเป็น การแสวงหาข้อยุติที่สมเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่เป็นการวางหลักเกณฑ์เฉพาะเรื่องหรือเพื่อความมุ่ง หมายอย่างอื่นที่อยู่นอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย หรือที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งได้ในภายหลัง

เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ป.ป.ช.ก็ไม่มีเสรีภาพที่จะตีความเพื่อใช้กฎหมายนอกเหนือไปจากถ้อยคำในบท บัญญัติของกฎหมายนั้นได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเป็นการตีความที่ขยายขอบเขตอำนาจออกไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพที่รัฐ ธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เพราะการตีความเช่นนั้นย่อมขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 29 โดยตรง

บทบาทอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ในฐานะองค์กรไต่สวนพิจารณาเรื่องร้องเรียนกล่าวหากรณี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.ในเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้สิ้นสุดลงไปแล้วตั้งแต่สรุปสำนวนลงมติชี้มูลความผิดเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งตามมตินั้นแล้ว

การอุทธรณ์คำสั่งปลดออก จากราชการของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.เป็นการดำเนินการตามระบบอุทธรณ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่ง ชาติ และ ก.ตร. เป็นองค์กรตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายรวมถึงความเหมาะสมของการใช้อำนาจตามพระ ราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ

ต่อมาเมื่อ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติยกโทษดังกล่าวโดย พิจารณาว่า ป.ป.ช.ไต่สวนวินิจฉัยและชี้มูลความผิดนอกเหนือขอบเขต อำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดและคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือนายก รัฐมนตรีว่า ตามข้อโต้แย้งดังกล่าวของ ก.ตร. มีความเป็นไปได้ที่การไต่สวนชี้มูลความผิดทางวินัยของ ป.ป.ช.เป็นการกระทำที่เกินอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและเสนอความเห็นว่า กรณีนี้นายกรัฐมนตรีอาจปฏิบัติได้สองทางคือ หนึ่ง ปฏิบัติตามมติของ ก.ตร.โดยการเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 228/2552 เรื่องปลด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการ หรือสอง นายกรัฐมนตรีอาจโต้แย้งมติของ ก.ตร.โดยขอให้ ก.ตร.พิจารณาทบทวนใหม่

ก.ตร.ได้ ประชุมพิจารณาและมีมติให้ยกโทษ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์ สุวรรณ ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ทั้งได้มีการทบทวนและแจ้งมติดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีทราบเพื่อดำเนินการเพิก ถอนคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553

เป็น เวลา นานเกือบ 2 ปีมาแล้วที่นายกรัฐมนตรีซึ่งใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามมติ ก.ตร.ซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมายมาโดยตลอด ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุอ้างตามกฎหมายและโดยไม่มีความชอบธรรม

ถึงวันนี้ แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้ตอบข้อหารือชัดเจนแล้ว แต่นายกรัฐมนตรีก็ยังหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ตามมติ ก.ตร.ด้วยการสร้างขั้นตอนอันไม่จำเป็น โดยการหารือกับ ป.ป.ช.ในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.นั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่า ป.ป.ช.ย่อมจะต้องยืนยันในสิ่งที่ตนได้วินิจฉัยและมีมติไปแล้ว

กรณี นี้จึงเห็นได้ว่า การหารือข้อกฎหมายกับ ป.ป.ช.ในเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยง ไม่ยอมตัดสินใจในฐานะผู้บังคับบัญชา และเป็นการสร้างขั้นตอนการหารือกับองค์กรที่ไม่มีอำนาจหน้าที่และโดยไม่จำ เป็น ทั้งมิใช่หน้าที่อันสมควรและไม่เป็นธรรม เพื่อยืดถ่วงเวลาตัดสินใจออกไป

นับเป็นการกระทำที่มีผลกระทบอันไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งต่อ สิทธิตามกฎหมายของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ