WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 17, 2011

อาเซียนมีมติให้พม่าเป็นเจ้าภาพประชุมสุดยอดผู้นำฯ ปี 2557

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. มีรายงานว่า บรรดารัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอาเซียน ได้ตกลงอนุมัติยอมรับข้อเสนอของพม่าที่ต้องการเป็นประธานกลุ่มในปี 2014 โดยพม่าจะสามารถจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มอาเซียนได้ ภายหลังพม่าส่งสัญญาณด้านบวกที่ดีจากการปฎิรูปด้านประชาธิปไตยในช่วงที่ผ่าน มา

นายอานิฟาห์ อามาน รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เปิดเผยระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่เกาะบาหลีของ อินโดนีเซียว่า ทุกประเทศได้ตกลงให้พม่าเป็นประธานจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพราะที่ผ่านมา พม่าได้เคลื่อนไหวเชิงบวกหลายด้านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และผู้นำกลุ่มอาเซียนได้อนุมัติการให้พม่าเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้ นำอาเซียนตามการเสนอแนะของรัฐมนตรีชาติอาเซียน

อาเซียนมีมติให้พม่าเป็นเจ้าภาพประชุมสุดยอดผู้นำฯ หลังการปฏิรูปปชต. เป็นไปในทางบวก

ที่มา: Gunkarta Gunawan Kartapranata [CC-BY-SA-3.0 ]

รายงานระบุว่า เมื่อปี 2006 พม่าถูกบีบให้ทิ้งตำแหน่งประธานกลุ่มหลังจากเผชิญกระแสโจมตีว่าละเมิดสิทธิ มนุษย์ชนและเสรีภาพอย่างรุนแรง แต่ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว ซี่งรัฐบาลทหารพม่าได้ถ่ายโอนไปสู่รัฐบาลพลเรือน รัฐบาลใหม่ได้เดินหน้ามาตรการเชิงบวกต่าง ๆ ที่สร้างความแปลกใจและพอใจแก่หลายฝ่าย ขณะที่การตัดสินใจให้พม่าเป็นประธานกลุ่มอาเซียน รวมทั้งการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก จะทำให้พม่าต้องพบกับตัวแทนจากชาติสหรัฐ ซึ่งเป็นชาติผู้สังเกตการณ์ของกลุ่มด้วย และที่ผ่านมา พม่ายังคงเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอยู่

นายวันนา หม่อง เลวิน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่า กล่าวว่า พม่ารู้สึกยินดีกับการที่อาเซียนได้สนับสนุนให้พม่าได้เป็นประธานจัดการ ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มอาเซียนในปี 2014

นักวิเคราะห์มองว่าการเปลี่ยนแปลงในพม่ามีการพัฒนาด้านประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยตัวนักโทษการเมืองกว่า 6 พันคนในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การลดความเข้มงวดในการปิดกั้นสื่อ การตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้พรรคเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจีได้ลงแข่งขัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. นางออง ซาน ซู จี ผู้นำเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของพม่าได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าว เนื่องในวันครบรอบ 1 ปีที่นางได้รับการปล่อยตัวว่า รัฐบาลพม่าได้ดำเนินมาตราการในทางที่ดีต่อการปฏิรูปประเทศนับตั้งแต่นางได้ รับการปล่อยตัว อย่างไรก็ตามนางซู จี กล่าวว่ารัฐบาลจำจะต้องดำเนินการในอีกหลายเรื่องต่อไปซึ่งรวมถึงการปล่อยตัว นักโทษการเมืองอีกหลายร้อยคนด้วย

ซูจียังกล่าวว่า การที่นางได้พบปะกับนายออง จี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานกับประธานธิบดีเต็ง เส็งของพม่านับเป็นความคืบหน้าที่ที่สำคัญยิ่ง นางกล่าวว่า นางเชื่อว่า ประธานาธิบดีเต็ง เส็งซึ่งมีแนวคิดที่เป็นกลางและเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้การปกครอง ของทหารมาเป็นเวลานานจะเป็นผู้ดำเนินการปฏิรูปประเทศ แต่กระนั้นก็ตามนางซู จี กล่าวว่า นางยังไม่ได้รับทราบข่าวว่าจะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองแต่อย่างใด

ที่มา: เรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์, สำนักข่าวแห่งชาติ