WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 17, 2011

คุยกับปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: จับใจความสำคัญท่าทีของคลินตันต่อรัฐบาลพลเรือนของไทย

ที่มา ประชาไท

พิณผกา งามสม

สัมภาษณ์ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ต่อกรณีการแถลงข่าวร่วมระหว่างนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยซึ่งสาระสำคัญไม่ใช่การให้ความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมและการ กู้สนามบินดอนเมือง

อะไรเป็นสัญญาณที่น่าสนใจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐวานนี้
ผมคิดว่ามีทั้งหมด 5 เรื่อง เรื่องแรกคือรัฐบาลสหรัฐยืนอย่างเข้มแข็งอยู่เบื้องหลังรัฐบาลพลเรือนของไทย สอง คือสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันถ้า ประชาธิปไตย สาม คือสนับสนุนให้ไทยเคารพในหลักของกฎหมาบยแหลักการปกครองที่ดี หรือ Good Governance และสี่ คือสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ห้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสมานฉันท์ด้านการเมือง ผมคิดว่านี่เป็นสาระที่สำคัญของรัฐบาลสหรัฐ

และที่สำคัญคือผมคิดว่าสหรัฐสหรัฐเริ่มเข้าใจการเมืองไทยมากขึ้นในแง่ที่ ว่าที่ผ่านมา 20-30 ปีที่ผ่านมา ความสนใจขอสหรัฐอยู่ที่การคงไว้ซึ่งมิตรภาพที่มีอยู่กับกองทัพและสถาบัน อื่นๆ รวมถึงสถาบันกษัตริย์ด้วย แต่ว่าเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยที่ผ่านมาทำให้สหรัฐต้องเปลี่ยนจุดยืน ไม่เช่นนั้นจะสามารถปรับตัวให้กเข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยได้ และผมคิดว่าสหรัฐปรับตัวช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น จีน เป็นต้น แต่ปรับตัวช้าก็ยังดีกว่าไม่ปรับตัวเลย

อาจารย์เคยให้สัมภาษณ์ กับประชาไท เมื่อหลายเดือนมาแล้วว่าสหรัฐได้ข้อมูลที่ช้าไม่อัพเดท ท่าทีของฮิลลารี คลินตันครั้งนี้น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงในด้านการรับข้อมูลข่าวสารด้วยหรือ เปล่า

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งอาจจะใช่ เพราะมีการเปลี่ยนตัวของเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเทพฯ ด้วย และตั้งแต่การเปลี่ยนตัว ทูตคริสตี้ (เคนนีย์) ก็ออกมาแสดงบทบาททางการเมืองของไทยค่อนข้างมาก มีการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผมคิดว่านี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ

อีกส่วนหนึ่งคือ เคิร์ท แคมพ์เบล มาเมืองไทยเมื่อก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุม และอยากพบกับผู้นำคนเสื้อแดง ผมคิดว่านั่นก็เป็นสัญญาณที่สำคัญว่าสหรัฐอยากจะรู้จริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น และผมคิดว่ามีตัวแปรหลายอย่างเช่น ความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น สิ่งที่เกิดในอินโดนีเซีย หรือพม่า ฉะนั้น สหรัฐต้องกลับมาเน้นบทบาทนี้เหมือนเดิม คือ สนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

อีกเรื่องที่สำคัญคือจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองในสหรัฐเอง

สหรัฐกังวลกับการที่จีน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นด้วย

แน่นอน แน่นอนมาก ในแง่ของภูมิภาค เราต้องเข้าใจว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มันเป็นภูมิภาคที่อยู่ใต้อิทธิพลจีน มานานนับเป็นพันปีแม้ในปัจจุบันด้วยความใกล้ชิดกันด้านภูมิศาสตร์ เราบอกได้เลยว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเหมือนสนามหลังบ้านของจีน

สหรัฐเองก็รู้สึกยากที่จะเข้าถึง แต่บทบาทก็ต้องเปลี่ยนไปเพราะจีนแผ่บทบาทมากเลย ในส่วนของไทยเองที่สำคัญเอง จีนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในเมืองไทย ไม่ว่าจะช่วงวิกฤตการเมืองหรือวิกฤตน้ำท่วมก็ตาม แล้วจีนมีบทบาทสำคัญ คือไม่ได้เข้ามาเล่นกับการเมืองโดยตรง คือจีนคบได้กับทุกคนในเมืองไทย แต่แต่สหรัฐมีข้อบกพร่องอย่างที่เคยให้สัมภาษณ์ประชาไทไป นี่เป็นจุดสำคัญที่สหรัฐต้องกลับเข้ามาเพื่อมาสร้างความสัมพันธ์ด้าน ยุทธศาสตร์ที่มีต่อไทยให้เข้มแข็งมากขึ้น

วิธีพูดของคลินตันเมือ วาน เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญมากแค่ไหน เพราะที่ผ่านสหรัฐให้ความสำคัฐกับตัวเล่นทางการเมืองกลุ่มหนึ่ง แต่ท่าทีเมื่อวานเหมือนเป็นการย้ำว่ากำลังจะเปลี่ยนตัวผู้ที่สหรัฐกำลังจะ ให้การสนับสนุน

ผมก็ผิดหวังมากที่สื่อไทยไม่ได้ลงในรายละเอียดที่คลินตันพูด อาจจะเป็นเพราะสื่อนั้นทำรับใช้คนบางกลุ่ม ก็เลยไม่อยากพูดถึงประเด็นนี้ ผมคิดว่ามีความสำคัญ คือความสำคัญมีหลายๆ ด้าน ในแง่ของระดับรัฐมนตรีต่างประเทศมาเยือนไทยเอง และคนนี้ก็เป็นอดีตสตรีหมายเลขหนึ่ง และเขามาเยือนไม่กี่ประเทศและเลือกมาไทย มันก็มีนัยยะสำคัญ

การมานั้นส่งสัญญาณหลายอย่าง สำคัญที่สุดก็คือ การให้ความชอบธรรมต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และคลินตันเองก็ดีเฟนด์ให้ยิ่งลักษณ์หลายเรื่อง ดีเฟนด์กระทั่งว่ายิ่งลักษณ์ไม่ไปปรากฏตัวที่ฮาวายเพราะยิ่งลักษณ์ติดภารกิจ แต่เป็นสิ่งสำคัญมากที่ยิ่งลักษณ์จะต้องไปบาหลี ซึ่งเป็นการตีปลาหน้าไซ ถ้าหากใครจะโจมตียิ่งลักษณ์ว่าน้ำท่วมแล้วยังจะไปบาหลีอีก ผมคิดว่านี่จะช่วยได้เยอะมาก

แต่เราก็อาจจะพูดได้ว่า สหัฐตอนนี้มีสถานภาพง่อนแง่น และตามปกติ ขณะที่คลินตันเดินทางไปที่อื่น ก็พบปะและแถลงร่วมกับรมต. ต่างประเทศของประเทศนั้นๆ ไทยเองต่างหากที่ให้ความสำคัญกับสหรัฐมากเกินไป

ผมว่านั่นไม่ใช่ประเด็นเลย เพราะแม้สหรัฐจะง่อนแง่น หรือลดบทบาทลงมา แต่สหรัฐเองก็ยังเป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นซูปเปอร์พาวเวอร์ ไม่มีใครปฏิเสธความจริงได้ และที่สำคัญคือไทยให้ความสำคัญกับสหรัฐโดยตลอด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐมาเยือนไทยก็ต้องได้พบกับ นายกอยู่แล้ว มันไม่ได้หมายความว่าเราไปให้ความสำคัฐกับสหรัฐจนเกินเหตุ ผมว่าไม่ใช่

ถ้ามองในแง่การเมือง ธรรมเนียมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็คงต้องหาโอกาสในการสร้างประเด็นทางการเมือง ของตัวเอง และมีผู้นำระดับสูงขนาดนี้มาก็ต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องผิด

ยิ่งลักษณ์เมื่อวานได้คะแนนไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำวิพากษ์วิจารณ์ที่สำคัญก็คือเรื่องการสื่อสารของยิ่งลักษณ์
เข้าใจครับ ผมเห็นแล้วผมก็เหนื่อยใจ แต่ทำอย่างไรได้ละครับ คนเราไม่ได้พัฒนากันแบบข้ามคืนน่ะ ยิ่งลักษณ์มีความสามารถแค่นี้ก็คือมีแค่นี้ และผมคิดว่าไฮไลท์อยู่ที่ฮิลลารี มากกว่าอยู่ที่ยิ่งลักษณ์ ผมบอกตรงๆ ว่ายิ่งลักษณ์เป็นตัวประกอบแล้วกัน ถ้าเกิดว่าฮิลลารีเป็นผู้นำแสดงฝ่ายหญิง ยิ่งลักษณ์ก็เป็นผู้สนับสนุนฝ่ายหญิงและแมสเสจ อยู่ที่ฮิลลารีไม่ใช่อยู่ที่ยิ่งลักษณ์

อาจารย์สรุปเรื่อง 5 ประเด็นหลักที่คลินตันพูดเมื่อวาน แต่ทั้ง 5 ประเด็นนั้นเป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งในตัวเองของสหรัฐทั้งนั้นเลย

ถูกต้อง มันก็เป็นเป็นเกมPower Politic คือส่วนหนึ่งอาจจะมองได้ว่าเป็น Lip Service เราคงไม่คาดหวังให้สหรัฐออกมาพูดว่าเราไม่สนับสนุนรัฐบาลประชาธิปไตยเราสนับ สนุนรัฐบาลทหาร แต่ผมคิดว่ามันมันมีนัยยะที่สำคัญเพราะว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ถ้าสหรัฐมาพูดแบบนี้ในสถานการณ์ธรรมดาที่เราไม่มีความขัดแย้งกัน เราก็ยังพอเข้าใจได้ว่ามันเป็น Lip Service แต่เมื่อสถานการณ์เราเป็นแบบนี้สิ่งที่สหรัฐพูดก็เลยมีความหมายขึ้นมา

และอย่างที่เรพูดกันตั้งแต่แรกที่มีความต้องการของสหรัฐที่ต้องการเข้ามา มีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากขึ้น มามีบทบาทกับเมืองไทยมากขึ้นมากกว่าแค่ลิปเซอร์วิส

อาจารย์มีข้อสังเกตอย่างไรต่อท่าทีของสื่อไทยที่ไม่เสนอ 5 ประเด็นที่อาจารย์กล่าวมา
สื่อไทยมีการแบ่งแยกออกเป็นฝักฝ่ายเป็นหลายสี และทีเป็นสื่อกระแสหลัก เราก็รู้ว่าสื่อกระแสหลักอยู่ข้างใคร ฉะนั้นสาระสำคัญของที่คลินตันพูดมันไปจี้จุดเขา เขาก็มีเหตุผลที่เขาไม่อยากตีพิมพ์ ไม่อยากที่จะนำเสนอข่าว อาจจะอ้างว่าปิดต้นฉบับเร็วอะไรก็แล้วแต่ ก็คงต้องให้โอกาส ก็ดูเขาวันนี้อีกทีแล้วกัน ถ้าวันนี้ไม่เสนอข่าวอีกผมก็คิดว่าแย่มาก ถือว่าใช้ไม่ได้ ขาดความรับผิดชอบ ฝากถึงไทยโพสต์ด้วยว่าเขาแย่มาก มีการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบทั้งสิ้น

ฉะนั้นก็ดูกันต่อไป ให้เวลาอีกวันหนึ่งถ้าสื่อในเมืองไทยยังไม่เสนอข่าวนี้ ซึ่งเป็นข่าวใหญ่และออกไปทั่วโลก และหัวใจสำคัญที่คลินตันพูดมันไม่ใช่เรื่องดอนเมืองอะไรหรอก มันเป็น 5 ข้อที่ผมพูด ถ้าเขาไม่เสนอก็คือประเด็นทางการเมืองที่อยากจะเก็บซ่อนไว้

สุดท้ายฮิลลารีพูดเรื่อง การสนับสนุนกระบวนการปรองดอง แต่ดูมุ่งหวังในด้านเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่าเรื่องความเป็นธรรมของผู้ ได้รับผลกระทบหรือการค้นหาความจริง

ฮิลลารีจะลงรายละเอียดก็คงไม่รู้มากน้อยสักขนาดไหน แต่เป็นการพูดในภาพรวม คือถ้ามีเสถียรภาพก็ไม่ใช่แค่ดีกับเรา แต่มันดีกับเขาด้วย ทั้งในแง่เศรษฐกิจที่เขามาลงทุนกับเรา เขาคงไม่ลงลึกเพราะไม่เช่นนั้นจะผูกมัดตัวเองเกินไป ว่าต้องมีการค้นหาความจริง แล้วมีการลงโทษผู้กระทำผิด

แต่มีคำถามหนึ่งที่ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่องการนิรโทษกรรมและอภัยโทษ แล้วคลินตันพูดว่า หวังว่าประเทศไทยจะมีการสมานฉันท์ต่อไป แต่ผมคิดในใจ ถ้าผมจะตีความคือ เหมือนฮิลลารีบอกว่าจะมีการสมานฉันท์ก็ต้องให้ทักษิณมีส่วนร่วมด้วย ถ้าทักษิณไม่มีส่วนร่วมด้วย การสมานฉันท์ก็จะไม่สำเร็จ