ที่มา Thai E-News
คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งก้าวขึ้นมามีอำนาจบนซาก ศพ และความเสียสละอาจหาญของวีรชน 92 ศพ มีคนบาดเจ็บพิการ สูญเสียอิสรภาพอีกไม่นับ และยังคอยตามสนับสนุนปกป้องรัฐบาลนี้ราวผนังทองแดงกำแพงเหล็กก็คือว่า เมื่อไหร่ที่ฝ่ายถูกฆ่าจะได้ออกจากคุกสู่อิสรภาพ และเมื่อไหร่จะนำฝ่ายฆ่าเข้าไปอยู่ในคุกแทน เมื่อประจักษ์หลักฐานตำตาอยู่ต่อหน้าต่อตาเช่นนี้
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
18 พฤศจิกายน 2554
พันธมิตรฯยึดสนามบินเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2551 ผ่านมาจะครบรอบ 3 ปีในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ ยังไม่มีใครต้องติดคุก
ทั้งที่มีข้อหาอุกฉกรรจ์ก่อการร้าย โทษถึงประหารชีวิต เพราะไปติดอยู่กับตำรวจ 2 ปีครึ่ง
เรื่องมาถึงมืออัยการเมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนบัดนี้ผ่านไปอีก 6 เดือน รวมจะครบ 3 ปี อัยการสั่งเลื่อนคดีครั้งแล้วหนเล่า เรื่องยังไม่ถึงศาล
คำถามตัวโตๆต่อกระบวนการยุติธรรมไทยก็คือว่า เมื่อไหร่อัยการจะสั่งฟ้อง เมื่อไหร่ศาลจะได้พิจารณาคดี เมื่อไหร่คดีจะสิ้นสุด..เมื่อไหร่ผู้ก่อการร้ายยึดสนามบินจะติดคุก
คำถามตัวโตๆต่อมาก็คือว่า ทำไมคดีก่อการร้ายของเสื้อแดงไม่ต้องรออะไร ติดคุกไปนานแล้ว และไม่ยอมให้ประกันตัวสู้คดี
หากคำตอบมีอยู่ว่าโทษก่อการร้ายหนัก กลัวให้ประกันตัวแล้วจะหลบหนี
คำถามตัวโตๆมีว่า แล้วทำไมข้อหาก่อการร้ายของเสื้อเหลืองถึงไม่ต้องติดคุก ถึงไม่กลัวหลบหนี (อ่านรายงาน ครบรอบ3ปียึดสนามบินลอยนวล )
การสังหารประชาชนกรณี 10 เมษา-19 พฤษภา 2553 ผ่านมา 1 ปีครึ่ง ผู้สั่งการ ผู้ลงมือฆ่า ยังไม่มีใครต้องติดคุก
เรื่องไปค้างอยู่ที่DSI ปีเศษ รัฐบาลใหม่เข้ามาให้โอนคดี 16 ศพ
ซึ่งรวมทั้ง 3 ศพวัดปทุมฯที่มีหลักฐานทหารยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้าBTS
ซึ่งDSIชี้ว่า เกิดจากการฆ่าของเจ้าหน้าที่รัฐ(ทหาร)ไปให้ตำรวจนครสอบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติม
ล่าสุดพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกของศอฉ.เข้าให้การกับตำรวจเมื่อ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระบุว่า "ศอฉ." ไม่ใช่องค์กรที่เกิดขึ้นเอง แต่มีขึ้นโดยคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ขณะนั้น และมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในขณะนั้น เป็นผอ.ศอฉ.
สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทหารจะไม่สามารถนำกำลังเข้าสลายม็อบแดงได้เลย
หากไม่มีคำสั่งพิเศษจาก "ศอฉ." ! หากไม่เพราะอภิสิทธิ์-สุเทพสั่ง (อ่านรายงานข่าว:ทหารออกตัวล้อฟรีไก่อูเปิดปากซัดทอดมาร์ค-เทือกเต็มๆ มัดคอเป็นผู้สั่งการสังหารเมษา-พฤษภาเลือด)
ไก่อูเปิดแถลงข่าวอีกครั้งเมื่อวานนี้สำทับว่า เขาเป็นพยานบอกเล่า
คำ ให้การไม่ได้ไปชี้นำหรือพุ่งเป้าไปที่ใคร ส่วนนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะเข้าใจหรือไม่นั้น ผมไม่มั่นใจว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร แต่คิดว่าต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง ท่านก็ทำหน้าที่ของท่าน ทหารก็ทำหน้าที่ของเรา
คำถามตัวโตๆมีว่า เช่นนั้นเมื่อไหร่จะดำเนินคดีกับอภิสิทธิ์-สุเทพ?
พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดี 16 ศพ บอกว่า พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ไต่สวนการเสียชีวิต ส่วนการดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องนั้น เป็นหน้าที่ของดีเอสไอ ที่พิจารณาว่าจะดำเนินคดีกับใครบ้าง
คำถามตัวโตๆมีต่อไปว่าแล้วเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าDSIจะดำเนินคดีเอาอภิสิทธิ์-สุเทพ และผู้นำทหาร ผู้ลั่นไกสังหารเข้าคุก?
ในเมื่อ BBC เคยเปิดเผยในสารคดี Thailand - Justice Under Fire (ประเทศไทย-ความยุติธรรมที่ปลายกระบอกปืน) โดยอ้างรายงานการสัมภาษณ์เ้จ้าหน้าที่DSIว่า
"มีนโยบายให้กล่าว โทษคนเสื้อแดงในทุกกรณีเท่าที่จะเป็นไปได้ มีความพยายามจะออกคำสั่งว่า หากไม่พบผู้กระทำผิดให้โยนข้อกล่าวหาำไปให้ฝา่ยเสื้อแดง โดยอธิบดี DSI เป็นผู้ออกคำสั่ง"
"มีคำสั่งว่า หากไม่สามารถหาบุคคลที่เหนี่ยวไกปืนได้ เราจะต้องสันนิษฐานว่า ฝ่ายเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเป็นคนทำ" (อ่านรายละเอียดข่าว: โลกตลึงDSIแฉผ่านBBCหมดเปลือกปกปิดทหารฆ่าประชาชนปี53 ธาริตใบสั่งโยนผิดเสื้อแดงฆ่ากันเอง)
คำถา่มตัวโตๆมีว่า ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี DSI ยังคงมีนโยบายเช่นนั้นต่อไปหรือไม่หลังเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว
คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาของธาริตมีว่า หากธาริตเป็นอุปสรรคจะปล่อยไว้ทำติ่ง ให้เป็นปัญหาต่อไปทำไม
คนเสื้อแดงติดคุกจากกรณีั 19 พฤษภาคม 53 มาปีครึ่งแล้ว อย่างรวดเร็วฉับไว ไม่ให้ประกันตัว เร่งตัดสินคดี ทั้งที่ คอป.ชุดนายคณิต ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์แต่งตั้ง ได้เสนอแนะต่อรัฐบาลไปอีกทางหนึ่ง
คอป.ยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 15 กันยายน 2554 (ดูรายละเอียดหนังสือ)ความชัดเจนว่า
คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสาคัญ ที่นามาสู่ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องใน ความขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่ เกิดขึ้นในสังคมในภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้
เพราะการกระทาความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง ดังนั้น แม้พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่บุคคล และส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทาต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ในทางกฎหมายที่เหมาะสม แต่ในหลายกรณี ความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจากผู้กระทาความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน
การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในการสร้างความ ยับยั้งหรือความหลาบจา (deterrence) ให้กับผู้กระทาความผิดเองและสังคมโดยรวมตามหลักทฤษฎีในการลงโทษทั่วไปได้ นอกจากนี้การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมี ปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดของกระบวนการในการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและ โน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอานาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ คอป. จึงมีความเห็นว่าการดาเนินคดีอาญาในคดีความผิดตามพระราชกาหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา ๒๑๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐ ประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตาม มาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดาเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้
-เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจาเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดำเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่
-ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐาน ของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจากัดเสรีภาพ โดย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจำเลยว่ามีเหตุที่จะ หลบหนี เหตุที่จะทำลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคม หากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่
หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิ ได้รับการปล่อยชั่วคราว และในการปล่อยชั่วคราวนั้น แม้ตามมาตรา ๑๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะไม่เรียกร้องหลักประกันก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมยังมีการกาหนดให้มีหลักประกัน อันเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายเสมอมานั้น ทาให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก
ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวแต่กำหนดให้มีหลักประกันด้วยนั้น ก็ชอบแล้วที่รัฐบาลจะจัดหาหลักประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนที่ไม่สามารถจัดหาหลักประกันได้ตามทางปฏิบัติที่ผ่านมา
อนึ่ง ต้องพึงตระหนักว่าการที่ผู้ต้องหาและจำเลยถูกตั้งข้อหาร้ายแรงนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวตามกฎหมาย
-เนื่องจากผู้ต้องหาและจาเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจาเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจาปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจาเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต
-เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดาเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาโดย ผู้กระทาผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีรากเหง้าที่สาคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition)
การนำเอาหลัก ความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนาเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนำหลักการและแนวทางของหลักวิชาการดังกล่าว ตลอดจนประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนามาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดาเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานาคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งคดี ข้อมูลในภาพรวมของสาเหตุของปัญหา ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในด้านวิชาการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในกรอบของความ ยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เพื่อให้อัยการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการประเมินความเหมาะสมทางด้าน ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งมาตรการทางอาญาที่เหมาะสมก่อนการสั่งคดี
สรุปก็คือ คอป.ให้ปล่อยตัวชั่วคราว อย่าเพิ่งให้ศาลตัดสินคดี ให้ชลอคดีไว้ก่อน เพราะเป็นเหตุทา่งการเมือง ไม่ใช่การก่ออาชญากรรมปกติ แต่ความเป็นจริงก็คือศาลได้ตัดสินจำคุก 6 เืดือนบ้าง 1-2 ปีบ้าง 20-30 ปีบ้างในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งที่อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร มหาสารคาม ฯลฯ ให้หลังจากที่คอป.เสนอรัฐบาลไปเพียงเดือนเดียว
โดยที่รัฐบาลก็เพียงแต่ตั้ง ปคอป.ที่มีรองนายกฯยงยุทธ วิชัยดิษฐ ขึ้นมาติดตามและจะดำเนินงานตามข้อเสนอของคอป. เพิ่งจัดประชุมไปหนเดียวเมื่อ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างประชุม ตั้งคณะทำงาน ศาลก็็ตัดสินจำคุกคนเสื้อแดงไปเรื่อยๆ คนละ10 ปี 20-30 ปี ทั้งที่คอป.ให้ชลอคดีไว้ก่อน
ทั้งที่รัฐบาลจะเร่งนำมติคอป.ไปเสนอนโยบายต่อกระวบการยุติธรรมโดยไม่ชัก ช้า และมีสิทธิธรรมอย่างเต็มที่ เพราะคอป.ชุดนี้รัฐบาลนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นเองเลย แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ แต่งตั้งมาแท้ๆ และยังมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูญเสียอิสรภาพเพราะต่อสู้ทางการเมือง ให้มีรัฐบาลนี้ขึ้นมาแท้ๆ แล้วยังจะช้าไม่ทันการณ์ไปิอีกนานแค่ไหน
คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งก้าวขึ้นมามีอำนาจบนซากศพ และความเสียสละอาจหาญ มีคนบาดเจ็บพิการสูญเสียอิสรภาพอีกไม่นับ และยังคอยตามสนับสนุนปกป้องรัฐบาลนี้ราวผนังทองแดงกำแพงเหล็กก็คือว่า เมื่อไหร่ฝ่ายถูกฆ่าจะได้ออกจากคุกสู่อิสรภาพ เมื่อไหร่จะนำฝ่ายฆ่าเข้าไปอยู่ในคุกแทน
หากคำตอบยังเป็นสูตรเดิมว่า ต้องปรองต้องสมานฉันท์ คนเสื้อแดงที่ติดคุกก็ต้องติดคุกต่อไป ผู้ลั่นไกสังหารรอด ผู้สั่งการลอยนวลรอนิรโทษกรรม ผู้บงการยังมีคนทั้งแผ่นดินกราบไหว้บูชาราวไม่เคยเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้สึกรู้สา
ตราบนั้นคำถามตัวโตๆก็ยังจะมีต่อไป
คำถามตัวโตๆนั้นมีอยู่ว่า เมื่อไหร่จะเกิดความยุติธรรม เพราะเมื่อไม่มีความยุติืธรรม ก็ไม่มีความสงบ ไม่มีสันติภาพ
No justice , No peace!