WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 17, 2011

แค่ฟ้องรัฐบริหารจัดการน้ำผิดพลาดไม่เพียงพอ ต้องเก็บภาษี “ผู้ไม่ยอมเปียก”

ที่มา ประชาไท

การเรียกร้องให้ฟ้องรัฐบริหารจัดการน้ำผิดพลาดของ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ โดยตั้งประเด็นฟ้องร้องรัฐไว้ 5 กรณี 1.กรณีความเสียหายทางปกครอง 2.กรณีประมาทเลินเล่อ 3.กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ 4.กรณีความเสียโอกาส อาทิ ทำให้ผู้มีรายได้แต่ต้องเสียโอกาสทางรายได้และ 5.กรณีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน นี่เป็นเรื่องที่ดี แต่ทว่าจะครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลของน้ำท่วมทั้งหมดหรือไม่

เนื่องจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นมีการปกป้องพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วม หรือลดผลกระทบของน้ำท่วม เช่น ปกป้องพื้นที่กรุงเทพมหานคร การเร่งฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาและปทุมธานี โดยลดการระบายน้ำฝั่งตะวันออกเจ้าพระยา เช่น ระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์เพียง 3.5 ล้าน ลบ.ม. ปิดประตูเขื่อนพระรามหก ขณะที่น้ำในอยุธยาตอนล่างลดลง จนใกล้จะฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมได้ แต่ระบายน้ำมาฝั่งตะวันตกเจ้าพระยามากขึ้น ทั้งจากแม่น้ำน้อยและอยุธยาตะวันตก ทำให้นนทบุรีฝั่งตะวันตกมีระดับน้ำสูง คาดว่าไม่น้อยกว่า 1 เดือนจึงจะมีโอกาสลดระดับลง ถึงแม้จะมีการลดการระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนจากประตูระบายน้ำพลเทพและคลอง มะขามเฒ่า จาก 60 ล้าน ลบ.ม. ลงหรือ 15 ล้าน ลบ.ม.ก็ตาม

ในส่วนกรุงเทพฯ มีการเร่งซ่อมแซมประตูระบายน้ำ พนังกั้นน้ำ ของคลองระพีพัฒน์ตะวันตก คลองรังสิต รวมถึงการวางบิ๊กแบกด้านคลองรังสิต จนทำให้สามารถควบคุมน้ำไม่ให้ไหลเข้ากรุงเทพฯ เพิ่มเติม กรุงเทพมหานครสามารถระบายน้ำออกได้ จนทำให้ระดับในหลายพื้นลดลง

เราจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติมีการจำแนก ระหว่างทั้งการปกป้องกันน้ำท่วมบางพื้นที่ การเลือกพื้นที่ในการระบาย จึงมีความไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อเรียกร้อง ณรงค์ ไม่ได้ครอบคลุมความไม่เป็นธรรมนี้ ขณะเดียวกันได้ละเลยต่อผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการป้องกันน้ำ

เราควรจะถือหลัก “ผู้ได้ประโยชน์จากการป้องกันท่วม ต้องจ่ายให้กับผู้เสียประโยชน์จากน้ำท่วม” เพราะการเรียกร้องภาครัฐเป็นผู้จ่าย แน่นอนการจ่ายย่อมมาจากภาษี ซึ่งมาจากผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์จากน้ำท่วม และผู้ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียจากน้ำท่วม ดังนั้น ผู้ได้ประโยชน์ไม่ได้จ่ายเต็มที่ แต่ผลักภาระให้ผู้อื่นด้วย สิ่งที่ควรจะดำเนินการคือ การเก็บภาษีปกป้องน้ำท่วม เพื่อนำมาใช้จ่ายในการรับมือน้ำท่วม ชดเชยผู้เสียหาย เพื่อไม่ได้ทำให้เกิดสภาพ “free rider”

การเรียกร้องให้เก็บภาษีป้องกันน้ำท่วมนั้นเคยเกิดขึ้น เมื่อ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ถูกคัดค้านจนเรื่องตกไป อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าจะชดเชยให้กับผู้เสียหายอย่างไร เรื่องนี้นำมากลับพิจารณาใหม่

การจัดภาษีสำหรับ “ผู้ไม่ยอมเปียก” สามารถพิจารณาได้จากมูลค่าสินทรัพย์ ประโยชน์ใช้สอย ความเสี่ยงต่อน้ำท่วม และระดับการป้องกัน เช่น สยามพารากอน อาจจะจัดเก็บตารางเมตรละ 1,000 บาทต่อปี แต่แฟชัน ไอร์แลนด์ อาจจะจัดเก็บตารางเมตรละ 300 บาทต่อปี ส่วนอาคารสูงที่อยู่อาศัยก็จัดเก็บลดหลั่นลงไปจนบ้านอยู่อาศัยทั่วไป

ภาษีนี้สามารถใช้ในการชดเชยเมื่อเกิดน้ำท่วม ใช้ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ผู้อยู่นอกพื้นที่ปรับปรุงให้สามารถลดกระทบจาก น้ำท่วม ใช้เป็นค่าบ้านเช่าเมื่อเกิดน้ำท่วมและไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เป็นต้น

การจัดเก็บภาษีนี้ ควรจะให้ความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม มากกว่าข้อเสนอให้เรียกให้ฟ้องรัฐ เพราะค่าชดเชยที่ผู้เสียได้รับก็มาจากภาษีของตัวเองและผู้ไม่มีส่วนเกี่ยว ข้องด้วย

การเก็บภาษี “ผู้ไม่ยอมเปียก” ควรจะเป็นทางออกที่ดี เพราะการป้องกันน้ำท่วมยังคงต้องมีต่อไป มีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมทั้ง มีความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีทั้งหมดด้วย