WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 15, 2011

ประกันว่างงานตื่นขึ้นมาทำงานได้แล้ว

ที่มา ประชาไท

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
14 พฤศจิกายน 2554

ถ้าเราเปรียบระบบประกันการว่างงานของไทยเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ก็ต้องบอกว่าเป็นมนุษย์ที่อืดอาด เกียจคร้าน ไม่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ

การประกันการว่างงานมีไว้เพื่อช่วยแบ่งเบาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างใน ยามที่ประสบกับภาวะวิกฤติจนทำให้ไม่มีงานทำ ขาดรายได้ ระบบประกันการว่างงานก็คล้ายๆ กับการประกันชีวิตนั่นเอง คือ ลูกจ้างต้องจ่ายเงินซื้อประกัน (จ่ายเงินสมทบ) และเมื่อว่างงานก็จะได้รับเงินชดเชย ใครที่ไม่เคยจ่ายเงินสมทบย่อมไม่มีสิทธิได้รับการประกัน

การประกันการว่างงานในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ในยุคของรัฐบาลที่นำโดยพรรคไทยรักไทย ต้นตระกูลของพรรคเพื่อไทย กล่าวได้ว่าประกันว่างงานเป็นมรดกที่รัฐบาลทักษิณได้ทำไว้ก็ว่าได้

หลักการสำคัญของการประกันการว่างงาน คือ การให้เงินชดเชยแก่ลูกจ้างที่ตกงานเมื่อมีวิกฤติการณ์เกิดขึ้นโดยไม่ได้เป็น ผลมาจากการกระทำของลูกจ้าง เช่น ให้เงินประกันการว่างงานกับลูกจ้างที่ว่างงานเพราะสถานประกอบการปิดกิจการ แต่ไม่ให้เงินการประกันแก่ลูกจ้างที่อยู่ๆ ก็ลาออกจากงาน หรือลูกจ้างที่ถูกไล่ออกจากงานเพราะทำให้นายจ้างเสียหาย

อีกหลักการหนึ่ง คือ เงินชดเชยที่จ่ายและระยะเวลาการจ่ายควรที่จะจำกัด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างติดลมบนกับการว่างงาน ลูกจ้างเป็นกลไกที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ถ้าไม่เจ็บป่วยก็ควรที่จะทำงาน จึงมักจะมีการบังคับให้ผู้รับเงินขึ้นทะเบียนหางานทำด้วย

เงินชดเชยการว่างงานเป็นเพียงการแบ่งเบาภาระระยะหนึ่ง เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาหางานทำและยังสามารถมีเงินจับจ่ายใช้สอยไปด้วย ในขณะเดียวกันยังช่วยไม่ให้เศรษฐกิจตกต่ำมากเกินไปเมื่อเกิดภาวะที่อัตราการ ว่างงานสูงมากๆ เพราะช่วยให้ครัวเรือนยังมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย

สิ่งที่ไม่ควรทำสำหรับระบบประกันการว่างงานของไทยคือ การจ่ายเงินให้แก่ผู้ลาออกจากงานโดยสมัครใจ นับตั้งแต่ปี 2547 ถึงสิ้นปี 2552 (การได้ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม หรือ สปส. นั้นยากเย็นมาก) สปส. จ่ายเงินให้แก่ผู้ลาออกจากงานโดยสมัครใจทั้งหมดรวม 5,600 ล้านบาท มีรายการขอรับเงินทั้งหมด 2.3 ล้านรายการ และจ่ายเงินให้แก่ผู้ว่างงานแบบไม่สมัครใจทั้งหมด 6,700 ล้านบาท มีรายการขอรับเงินทั้งหมด 1.6 ล้านรายการ

เราจะสามารถประหยัดเงินไปได้ประมาณ 45% และสามารถลดงานหน้าเคาท์เตอร์กับการทำลายกระดาษอีก 2.3 ล้านรายการ (เกินกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณงาน) ถ้าหากว่าระบบประกันการว่างงานของเราไม่ทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำ

สิ่งที่ระบบประกันการว่างงานของเราควรทำแต่ไม่ทำ คือ การให้หลักประกันแก่ลูกจ้างที่ว่างงานเพราะนายจ้างประสบภัยพิบัติจนต้องหยุด กิจการชั่วคราวไม่ว่าภัยพิบัตินั้นจะเกิดขึ้นเพราะธรรมชาติหรือน้ำมือมนุษย์ แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากความประมาท เลินเล่อ ในกระบวนการทำงานของลูกจ้าง หรือมิได้เกิดจากความเกียจคร้านของลูกจ้าง มันเป็นเหตุที่นอกเหนือการควบคุมของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง

ลูกจ้างคนหนึ่งที่ได้ค่าจ้างวันละ 200 บาทหรือประมาณเดือนละ 6,000 บาทจะต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อการประกันการว่างงานเดือนละ 30 บาท โดยนายจ้างช่วยสมทบอีก 30 บาทและรัฐช่วยอีก 15 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการประกันการว่างงานเดือนละ 75 บาท หรือปีละ 900 บาท ถ้าจ่ายมาโดยตลอด 7 ปีก็รวมประมาณ 6,300 บาท มาวันนี้ลูกจ้างที่สมทบเงินมาตลอด ขาดรายได้เพราะสถานประกอบการประสบภัยพิบัติต้องหยุดดำเนินการ สมควรเป็นอย่างยิ่งที่ระบบประกันการว่างงานจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เหล่านี้ ยกเว้นเสียแต่ว่า นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนและมิได้หยุดการจ่ายเงินเดือนแม้ว่าจะหยุด ดำเนินการก็ตาม

นี่คือ หลักการและความเหมาะสม เป็นเจตนาของการมีระบบประกันการว่างงาน

ถ้าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการก็มิได้มีอะไรยากเกินกว่าที่จะทำได้ ต้องอาศัยความว่องไวต่อการตอบสนองปัญหา ทัศนคติที่เหมาะสม และความขยัน ของคณะกรรมการประกันสังคม ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายใดๆ สามารถปฏิบัติได้โดยการออกกฎกระทรวงเช่นเดียวกับปี 2552 แต่ที่สำคัญต้องยึดหลักการให้ชัดเจนและไม่เปะปะจนเข้าข่ายประชานิยม

จำนวนเงินที่จะต้องใช้เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ขาดรายได้เพราะภัยพิบัติ ก็มิได้มากเกินความสามารถในการจ่ายของกองทุนประกันการว่างงานที่ในขณะนี้มี เงินสะสมเกือบ 60,000 ล้านบาท (เมื่อเงินสะสมมากเกินจำเป็น สปส. ควรลดอัตราเงินสมทบลงเพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างมีเงินเหลือจับจ่ายใช้สอยมาก ขึ้น)

ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีและอยุธยามีลูกจ้างผู้ประกันตนประมาณ 8 แสนคน และสถานประกอบการในระบบประกันสังคมประมาณ 17,000 แห่ง ถ้าเหตุภัยพิบัตินี้ทำให้ลูกจ้างรายวันขาดรายได้ประมาณ 2 แสนคน กองทุนประกันการว่างงานจะใช้เงินประมาณ 600 ล้านบาทในการจ่ายเงินชดเชย 30 วัน ในขณะเดียวกันการจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในจังหวัดอื่นๆ คาดว่าจะใช้เงินน้อยกว่านี้

ถึงเวลาที่ระบบประกันการว่างงานตื่นขึ้นมาทำงานได้แล้ว หยุดอืดอาด และควรทำในสิ่งที่ควรทำได้แล้ว