WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, November 18, 2011

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์: ว่าด้วยล่าม (On interpretation)

ที่มา ประชาไท


แถลงข่าวร่วมไทย-สหรัฐ - งานแถลงข่าวในวาระเยือนไทยของ รมว.กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ
ฮิลลารี คลินตัน เมื่อวันพุธ (15 พ.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งลักษณ์ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ว่า
สำเนียงและการสื่อสารภาษาอังกฤษของเธอไม่คล่องแคล่วเท่าที่ควรจะเป็น

ภาพจากเพจ US Embassy Bangkok

ด้านหนึ่งผมเห็นด้วยว่าไม่ควรโจมตีใคร รวมทั้งผู้นำประเทศ เพียงเพราะ “สำเนียง” การพูดอีกภาษาหนึ่ง และผมเลือกคนเป็นนายกฯ โดยไม่ได้สนใจหรอกว่าเขามีภาษาอังกฤษเลิศเลอแค่ไหน แต่อีกด้านหนึ่งผมเห็นว่า ในฐานะผู้นำประเทศ คุณยิ่งลักษณ์ควรตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อความในภาษาอื่นอย่างถูกต้อง ด้วย โดยเฉพาะในประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่างเรื่องการเมือง ความจริงท่านอาจจะตระหนักเรื่องนี้ดีอยู่แล้วก็ได้

เท่าที่ผมติดตามคุณยิ่งลักษณ์ (ด้วยความสนใจส่วนตัวในฐานะคนแปลหนังสือและล่าม) ผมว่าท่านนายกฯ เข้าใจ (follow) ภาษาอังกฤษได้ดี เพียงแต่การแสดงออก (express) มันยังไม่เต็มที่ ก็เหมือนคนไทยทั่วไปที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับกลาง ๆ จะเข้าใจแต่สื่อออกไปไม่ชัดเจน (บางทีคิดว่าสิ่งที่พูดออกไปชัดเจน แต่ความจริงไม่ชัดเจน) โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นเรื่องซึ่งสลับซับซ้อนกว่าบทสนทนาประจำวัน (colloquialism) บางครั้งทราบถึงคำที่จะใช้สื่อออกไป แต่ก็จนใจด้วยการออกเสียงคำต่าง ๆ ไม่คุ้นเคย การ stress คำผิดก็ทำให้ผู้รับสารเข้าใจความไม่ได้ทั้งหมดอยู่ดี การใช้ล่ามจึงยังเป็นสิ่งจำเป็น

อย่างท่านทะไลลามะ ประมุขทางจิตวิญญาณของทิเบต จะเห็นว่าท่านลี้ภัยไปตะวันตกเกินครึ่งศตวรรษแล้ว ความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษของท่านคงไม่เป็นที่น่าสงสัย แต่เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษจริงจัง อย่างเช่นที่ท่านสนทนาแลกเปลี่ยนกับนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องสมองและจิต ท่านต้องใช้ล่ามครับ หรือบางครั้งท่านเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ ก็ต้องเหลือบกลับไปมองล่ามและปรึกษาการใช้คำบางคำ เช่นเดียวกับติชนัทฮันห์ พระภิกษุเวียดนามที่ดังพอ ๆ กัน และใช้ภาษาอังกฤษได้ดีพอกันก็ต้องพึ่งล่ามเหมือนกัน กรณีที่เป็นทางการ

การใช้ล่ามแปลภาษาไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย ไม่ว่ากับผู้นำหรือคนทั่วไป บางครั้งเป็นเรื่องชาตินิยมด้วยซ้ำ เวลาเป็นล่าม ผมสังเกตว่าคนเกาหลี จีน และญี่ปุ่นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเหมือนเรา มักชอบพูดผ่านล่าม โดยเฉพาะเกาหลีอันดับหนึ่งเลย บางท่านเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ (และผมทราบว่าพูดภาษาอังกฤษได้ดีเลย) ก็ยังเลือกใช้ล่ามสำหรับการประชุมอย่างเป็นทางการ การใช้ล่ามมันเป็นการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีของประเทศเขาครับ เขากำลังบอกว่าภาษาอังกฤษไม่ได้วิเศษวิโสอะไรนักหนา และถอยไปห่าง ๆ เลย พวกอดีตเจ้าอาณานิคมทั้งหลาย

มนุษย์เราเกิดมาย่อมเชี่ยวชาญในภาษาแม่ (ฝรั่งเรียกว่า mother tongue) นั่นแล โอกาสที่จะเป็น bilingual หรือ trilingual มันมี แต่มีไม่มากหรอกครับจากประสบการณ์ของผม โดยเฉพาะที่เป็น bilingual หรือ trilingual แท้ ๆ ไม่ใช่แบบพิกลพิการ

จงภูมิใจในภาษาที่ท่านพูดได้ครับ และพูดและเขียนให้ดีสุดในภาษาของท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็ขอให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้ภาษาอื่นด้วย การพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงแปร่ง ๆ ตะกุกตะกักไม่ใช่เรื่องน่าอายฉันใด การใช้ล่ามในกรณีที่จำเป็นก็ไม่ใช่การเสียหน้าฉันนั้น