ที่มา มติชน "ส่วนเรื่อง พ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษ ต้องเป็นเรื่องของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะทำได้โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไม่ต่ำ 20 คน ไปศึกษาข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ของคนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้นจะเสนอ รมว.ยุติธรรมก่อนเสนอ ครม. เมื่อเห็นชอบก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา หากเห็นด้วยก็จะส่งกลับมาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำความขึ้นกราบบังคม ทูล ซึ่งเป็นเรื่องของพระราชอำนาจโดยแท้และยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ทำผิดกฎหมาย โดยเด็ดขาดและรัฐบาลก็จะไม่ยอมให้ใครทำผิดกฎหมายเช่นกัน และเมื่อยังไม่มีบทสรุปผมยังไม่สามารถพูดได้ เพราะหากพูดไปก่อนแล้วภายภาคหน้าไม่เป็นไปตามนั้นผมก็เสียคน" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว ส่วนที่ระบุว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นคนเสนอเรื่องดังกล่าว ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ไม่พูดเพราะเป็นเรื่องลับ คนที่เอาไปพูดแสดงว่าไม่รักษาความลับ เขาเรียกรัฐมนตรีไม่มีจิตวิญญาณ เรื่องประชุมลับก็อยากสอพลอนักข่าว ก็เอาไปบอก ตนต้องกล่าวหาเพราะไม่เกรงใจใคร เมื่อวานที่ตนไม่ให้สัมภาษณ์ เพราะอยากรู้ว่ารัฐมนตรีคนไหนที่เอาข่าวมาแพลม และตอนนี้ก็รู้ตัวแล้วว่าเป็นใคร เพราะไม่ค่อยประสีประสา ไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่เข้าท่าอยากได้หน้านักข่าว แต่คงไม่กล้าไปติติงเพราะไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ด้าน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกระแสข่าว ครม.มีมติออก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ ซึ่งมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่ทราบว่า ครม.มีการออกมติ ครม.ดังกล่าวจริงหรือไม่ เพราะไม่ได้อยู่ประชุมด้วย เนื่องจากติดประชุมร่วมรัฐสภา เรื่องไทย-กัมพูชา แต่เท่าที่ติดตามข่าวเรื่องการออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษดังกล่าว เห็นว่าเป็นการออกในโอกาสครบรอบ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการทำเป็นประจำทุกปี ไม่ใช่การลักไก่ออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษในช่วงน้ำท่วม และไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะทราบว่ามีผู้ได้รับการพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ 26,000 คน แต่ไม่รู้ว่ารวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ และขั้นตอนสุดท้ายขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจว่า จะพระราชทานอภัยโทษให้หรือไม่ "การออกพระราชกฤษฎีกาถือเป็นอำนาจของ ครม.ที่มีสิทธิทำได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำเข้าสภาหารือ เหมือนสมัยที่รัฐบาลประชาธิปัตย์เคยออกพระราชกฤษฎีกากู้เงิน 4 แสนล้านบาท เชื่อว่าพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษจะไม่จุดชนวนให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองให้ มีการปลุกม็อบสีต่างๆ ตามมาภายหลัง เพราะเราเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 15 ล้านเสียง ซึ่งทุกประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น ก็ต้อนรับประเทศไทยที่เข้าสู่ประชาธิปไตย มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง "นายสุรพงษ์ กล่าว
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีการประชุมลับ คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีการพิจารณาเรื่องการออก พ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าตนทำหน้าที่ประธานการประชุม ครม.แทนนายกรัฐมนตรี ทุกคนก็ทราบว่านายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติภารกิจที่ จ.สิงห์บุรี พร้อมนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี จึงเป็นหน้าที่ของตนต้องทำหน้าที่ประธานในฐานะรองนายกฯหมายเลข 2 ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำไมรัฐบาลต้องประชุมลับเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอยืนยันว่าที่ประชุมลับ ครม.พิจารณา 2 เรื่อง แต่เรื่องลับเขาไม่ให้พูด เพราะงานใดก็ตามที่ยังไม่มีบทสรุป ยังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนและไม่ใช่อำนาจของรัฐบาลโดยลำพัง