WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 16, 2011

SIU: กสทช.–กรีนเวฟ เมื่อ “ความถูกต้อง” ไม่สอดคล้องกับ “ความถูกใจ”

ที่มา ประชาไท

กลายเป็นเรื่องใหญ่เมื่อที่ประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีมติเรียกคืนคลื่นวิทยุ 9 สถานีในกรรมสิทธิ์ พร้อมเดินหน้าจัดทำแผนแม่บทฯ คาดแล้วเสร็จต้นปี 2555 โดยหนึ่งในคลื่นที่ถูกเรียกคืนเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ก็คือ “กรีนเวฟ” 106.5 MHz ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเหล่าดีเจ กลุ่มผู้ที่ได้รับประโยชน์ สปอนเซอร์ รวมไปถึงกลุ่มแฟนเพลงที่ติดตาม จนเกิดปรากฏการณ์การรวมตัวเรียกร้องเพื่อคลื่นที่เขารัก (ที่จริง F.M.อีกคลื่นที่ถูกเรียกคืนก็คือ Good F.M. 98.5 MHz แต่ไม่มีกระแสกดดันทางสังคมเช่นนี้)


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ปะทะกันระหว่าง “ความถูกต้อง” และ “ความถูกใจ” ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และจะขอเก็บประเด็นต่างๆ มานำเสนอ และเปรียบเทียบผ่านโมเดลของตลาดตามหลักเศรษฐศาสตร์เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างกฏแบบเก่าและแบบใหม่

กสทช.กับหน้าที่และภารกิจในการจัดสรรคลื่นความถี่

หลังจากได้รับการโปรดเกล้าฯคณะ กสทช. ทั้ง 11 คนเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย หนึ่งในภารกิจที่นอกจากการจัดประมูล 3G และการปรับโทรทัศน์ให้ไปสู่ระบบดิจิทัลแล้ว ก็คือเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ของวิทยุกระจายเสียง (รายละเอียดเกี่ยวกับ กสทช. ดู ที่นี่)

มติดังกล่าวถือว่าสอดคล้องกับข้อปฏิบัติกฎหมายที่ กสทช. ต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ หลังจัดตั้งหน่วยงานแล้ว โดยนำร่องเรียกคืนสถานีวิทยุดังกล่าว เนื่องจากเป็นสถานีวิทยุที่อยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์เดิมของกรมไปรษณีย์โทรเลข ก่อนจะรับโอนมายังหน่วยงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เดิม และ กสทช. ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ (กสท.) ไปหารือเพิ่มเติมว่าจะบริหารจัดการคลื่นวิทยุที่เรียกคืนนี้อย่างไรต่อไป โดยแนวทางหลักจะต้องนำมาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น (ซึ่ง กสท. เป็นคณะกรรมการย่อยของ กสทช.)


หน้าเพจของ GreenWave ที่มีแฟนๆ เข้าไปแสดงความคิดเห็น

หากพูดให้ถูกต้อง กสทช. นั้นดำเนินบทบาทหน้าที่ของตัวเองถูกต้องตามกฏหมาย จากนี้งานของ กสทช.ก็คือการจัดทำแผนแม่บทในการจัดการบริหารและใช้ประโยชน์คลื่นวิทยุและ โทรทัศน์ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมดที่เอกชนรายใดทำสัญญาไว้กับองค์กรเจ้าของคลื่น เดิมก่อนการเกิด กสทช. ก็สามารถดำเนินกิจการได้ต่อไป จนครบอายุสัญญา แต่ไม่สามารถทำสัญญาใดๆ ได้อีกต่อไป เมื่อครบอายุสัญญาก็ต้องส่งคลื่นคืนไปให้กับกสทช. เพื่อจัดสรรใหม่

กรีนเวฟ ก็ไม่ได้รับการยกเว้นเพราะอยู่บนคลื่นของวิทยุในเครือ 1 ปณ. ของกรมไปรณีย์โทรเลข (เดิม) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ กสทช. ดังนั้นจึงสามารถนำมาจัดสรรได้ก่อนโดยไม่ต้องรอแผนแม่บท ทำให้การจัดสรรและเรียกคืนเพื่อจัดสรรใหม่ย่อมทำได้ หลักการนี้เป็นไปตามโมเดลตลาดแข่งขันมากราย เมื่อคลื่นถูกเรียกคืนก็จะถูกกระจายให้กับเจ้าของสถานีวิทยุที่มีความหลาก หลายมากขึ้นรายเล็กรายน้อยก็มีสิทธิเข้าถึงคลื่นความถี่มากขึ้น เปลี่ยนจากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาต

นี่คือสิ่งที่ดีกว่าระบบสัมปทานคลื่นความถี่ที่ถูกจำกัดเฉพาะกลุ่มทุน ขนาดใหญ่ ธรรมชาติของระบบสัมปทานคือการเสนอผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานที่มีสิทธิออก สัมปทาน จ่ายค่าเช่ารายเดือนตามที่ตกลง และมีระยะเวลาการทำสัญญาที่ค่อนข้างยาวและผูกขาด ที่สำคัญไปกว่านั้นคือเปิดโอกาสให้มีการทุจริตได้มากกว่า โดยใช้ความสนิทหรือผลประโยชน์พิเศษเพื่อให้ได้สัมปทานในราคาที่ถูกลง และไปจ่าย “ใต้โต๊ะ” ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแทน แทนที่หน่วยงานที่ให้สัมปทานจะได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ตามหลักเศรษฐศาสตร์เราเรียกสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์นี้ว่า “การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ” (rent seeking) โดยกลไกที่เอื้อต่อการผูกขาด ซึ่งส่วนต่างที่รัฐจะต้องสูญเสียไปตกอยู่ในมือผู้ได้รับสัมประทาน และผู้ที่มีอำนาจในการให้สัมปทานแทน

กรีนเวฟ – เอไทม์ แรงกระเพื่อมที่มากับการเปลี่ยนแปลง

เอไทม์ มีเดีย บริษัทสื่อวิทยุในเครือสื่อยักษ์ใหญ่อย่างแกรมมี่มีวิทยุทั้งหมด 4 คลื่น คือ Chill F.M.89, Hot F.M. 91.5, EFM 94 และ Green Wave 106.5 โดยสามคลื่นที่เหลือใช้คลื่นสัญญาณของกองทัพบกซึ่ง กสทช. ยังไม่สามารถเข้าไปจัดระเบียบได้ในขณะนี้

กรีนเวฟเองมีกลุ่มคนฟังส่วนใหญ่คือกลุ่มคนที่ชอบเพลงแนวสบายๆ อีซีลิสเทนนิ่ง มีภาพลักษณ์ของคลื่นรักสิ่งแวดล้อม มองโลกสวยงาม มีความสุขกับสิ่งเล็กๆ เป็นกันเอง และเหมือนครอบครัว โดยเฉพาะช่วง “คลับฟรายเดย์” ซึ่งเปรียบเสมือนไฮไลท์ทุกๆ วันศุกร์เย็นๆ ค่ำๆ กับ 2 ดีเจผู้บริหาร ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ที่ปรึกษาหัวใจ” ดีเจพี่ฉอด – สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา และดีเจพี่อ้อย – นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล ซึ่งแฟนๆ หลายคนนับถือเสมือนครอบครัว นอกจากนั้นก็ยังมีดีเจชื่อดังอื่นๆ อีกหลายท่าน

เมื่อ กสทช. มีคำสั่งให้คืนคลื่นเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ในสิ้นปี ปฏิกิริยาจากกลุ่มดีเจกรีนเวฟนั้นค่อนข้างสะเทือนพอสมควร ดีเจพี่ฉอดให้สัมภาษณ์ว่า “ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องเป็นราวที่จะเรียกเรา เข้าไปคุยเลยค่ะ ไม่มีอะไรทั้งสิ้นค่ะ มีแต่เพียงข่าวที่ออกมา จริงๆ ต้องเรียนว่ายังไม่อยากออกมาพูดอะไร มันเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน ควรจะเป็นเรื่องของการหารือระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานทางภาครัฐกับเราก่อน จะออกไปสู่สื่อ” (ดูรายละเอียด ที่นี่) ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่คนระดับผู้บริหารจะไม่รู้จริงหรือไม่?


ข้อความของดีเจพี่อ้อย ผ่านทวิตเตอร์ @djpeeaoy

หลังจากที่มีคำสั่งออกมาจาก กสทช. แฟนๆ หลายคนเริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อคลื่นวิทยุที่เขารัก แต่ดูเหมือนความปรารถนาดีจะถูกนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มเหล่าดีเจที่กำลังใช้กระบวนการกดดันทางสังคมผ่านแฟนๆ เพื่อส่งแรงกระเพื่อมไปถึง กสทช. ทั้งการทวิตโดยใช้แท็ก #welovegreenwave หรือการแสดงความเห็นผ่านหน้าเพจของกรีนเวฟ รวมไปถึงการตั้งกลุ่มคนที่สนับสนุนกรีนเวฟไม่อยากให้โดนยึด อยากเตือนสติว่าการแสดงความรู้สึกได้แต่ทำได้ในขอบเขต อย่าให้เป็นการแสดงออกที่เหมือนว่ากฎหมู่จะต้องอยู่เหนือกฎหมาย

ดีเจพี่อ้อย ออกมาทวิตผ่าน @djpeeaoy “ประชุมแล้ว สรุปว่า เราบ๊ายบายกรีนเวฟ 31 ธค.นี้จ้ะ กสทช.ขอยึดไปทำคลื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แปลว่าที่ผ่าน คลื่นเราทำอะไรหรือ” เรื่องนี้ถือว่าเป็นการสร้างความเข้าใจที่ค่อนข้างคลาดเคลื่อน สิ่งที่ กสทช.กระทำคือการนำคลื่นความถี่คืนเพื่อจัดสรรใหม่เพื่อสาธารณะประโยชน์ กสทช.ไม่ได้เห็นว่าคลื่นกรีนเวฟไม่มีประโยชน์ ปัญหาไม่ใช่เรื่องเนื้อหาแต่เป็นเรื่องระเบียบการ โดย กสทช.ก็ไม่ได้นำคลื่นไปใช้เองเพื่อประโยชน์ กสทช. และแผนการจัดสรรฉบับใหม่มีการพูดถึงสัดส่วนเนื้อหาที่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ สาธารณะ เช่น คลื่นธรรมะ คลื่นเพื่อการช่วยเหลือป้องกันภัย เป็นต้น ที่โดยปรกติคลื่นเหล่านี้จะไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้เท่ากับทุนใหญ่

หรือการที่ดีเจโอปอล์ ปาณิสรา พิมพ์ปรุ ทวิตว่า “ถ้า "กรีนเวฟ" หายไป…คำว่า "ทำดีได้ดี" อาจพิสูจน์ได้ว่า "ไม่จริง" เสมอไปสินะ…T___T” สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนภาพความคิดแบบไทยๆ ที่ว่าถ้าเราทำดี เราก็ไม่ต้องไปสนใจเพราะผลดีจะส่งถึงเราเอง ซึ่งมันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปเพราะสิ่งต่างยังต้องพึ่งพิงกับกฏกติกาสากล ด้วย และเชื่อว่าถ้าเป็นคลื่นที่เป็นสาธารณะประโยชน์มากกว่า เช่น จส.100 หรือ สวพ.91 หากอยู่ในกำกับของ กสทช. ก็คงต้องดำเนินการแบบนี้ต่อไป แน่นอนว่าหลายๆ คนย่อมเห็นว่ากรีนเวฟเป็นคลื่นที่ดี แต่กฎก็ย่อมเป็นกฎ (น่าสนใจว่าตอนที่ คลื่นร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นเพื่อสาธารณะประโยชน์หายไปจากหน้าปัด 2 ปี ก็ไม่มีกระแสกดดันใดๆไปถึงคณะทำงาน)


ข้อความของดีเจโอปอล์ ผ่านทาง @chocoopal

ดังนั้นที่แฟนๆ บางท่านบอกว่าทำไมคลื่นที่เปิดเพลงไร้สาระ เล่นเกมส์ หรือทะลึ่งตึงตังถึงไม่ถูกยึดคืน ก็ต้องทำความเข้าใจว่าไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาแต่อยู่ที่ขอบเขตการรับผิดชอบ แต่ถ้าหากมีการจัดทำแผนแม่บทเสร็จก็อาจจะมีการเรียกคืนได้ ดังนั้นเรื่องที่ดีเจอั๋น ภูวนาท คุณผลิน ทวิตฯว่า “ถามมาเรื่องกรีนเวฟถูกยึดคลื่นคืนเป็นไง ขอถามกลับว่านั่นสิ!!!กสทช.จะมาจัดสรรให้สื่อเท่าเทียมกันไม่ใช่รึแล้วทำไม ไม่ทำอย่างเท่าเทียม แปลก” ก็ตอบได้ด้วยกรณีเดียวกัน เป็นเรื่องปรกติที่ผู้ผิดหวังจะต้องแสดงออกซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้


ข้อความของดีเจ อั๋น ภูวนาท ผ่านทาง @aunpuwanart

แต่สิ่งที่ไม่สมควรคือการที่ ดีเจเอกกี้ - เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ์ ออกมาขุดคุ้ยข่าวของคณะกรรมการ กสทช.บางท่าน เพื่อลดความชอบธรรมในอำนาจนั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง จนมีแฟนๆ หลายคนทวิตข้อความไปถึง น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกสทช. ในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแง่ลบ

อันที่จริงกรีนเวฟยังมีช่องทางในการสื่อสารอีกทางนั่นคือ ช่องสถานีโทรทัศน์ Green Channel ทางเคเบิลทีวี ซึ่งหากดูอัตราการเติบโตของโทรทัศน์ดาวเทียมในรอบ 2 – 3 ปีนั้นเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่สิ่งที่ยังมีมูลค่าเทียบไม่ได้กับวิทยุนั่นก็คืออัตราการโฆษณา

ดีเจพี่ฉอดให้สัมภาษณ์ถึงกรณีโฆษณาว่า “ความเสียหายตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นลูกค้าถอนโฆษณาอะไร แต่มันสูญเสียสิ่งที่เราดูแลกันมาตลอด ที่ผ่านมาฉอด เอ-ไทม์ มีเดีย หรือแม้แต่กรีนเวฟเองเราไม่เคยที่จะไม่ดูแลในเรื่องของความน่าเชื่อถือที่ ลูกค้ามีต่อเรา เพราะฉะนั้นเมื่อลูกค้าถามมาว่าหมดสัญญาแล้วทำไมไม่บอก ความจริงแล้วมันไม่ได้หมดไงคะ เลยต้องไล่แก้และชี้แจง” ที่น่าจะเป็นประเด็นความเดือดร้อนแท้จริงมากกว่า ซึ่งประเด็นโฆษณานั้นคู่สัญญาคือสถานีและเอเยนซี่โฆษณาจำเป็นต้องตกลงไกล่ เกลี่ยกันเอง

แต่ดูเหมือนสารที่ถูกส่งออกไปจะมีลักษณะว่า “ต่อไปนี้จะไม่มีคลื่นกรีนเวฟแล้ว” ซึ่งในข้อเท็จจริงก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก คือถ้าหากกรีนเวฟสามารถชนะการประมูลและสามารถกลับมาจัดรายการได้ดังเดิม ก็ปราศจากข้อกังขาใดๆ หรือการให้ความเห็นของดีเจพี่ฉอดประมาณว่า กสทช.จะยึดคลื่นกลับไปทำไม ในเมื่อก็ไม่สามารถจัดรายการได้เอง ถูก! ที่กสทช.ไม่สามารถจัดรายการได้เอง แต่ก็ถูกมากกว่าว่า กสทช.นั้นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ แต่ปัญหาคือเพราะเหตุใดจึงไม่เชื่อในการจัดสรรที่ทุกคนจะต้องกลับไปนับหนึ่ง เหมือนทุกๆ คลื่นที่เขากำลังรอประมูลอยู่ หรือว่ากรีนเวฟจะต้องรับสิทธิพิเศษอย่างไร ที่จะต้องมีสองมาตรฐานที่แตกต่างกันจากคลื่นอื่นๆ ?

ข้อสรุปในเรื่องนี้อาจจะต้องติดตามต่อกันอย่างเร็วที่สุดก็ถึงสิ้นปีนี้ สิ่งเหล่านี้สะท้อนความรู้สึกที่บางครั้งทำในสิ่งที่ถูกต้องก็ไม่ใช่สิ่งที่ ถูกใจ หรือจะทำในสิ่งที่ถูกใจก็ไม่ถูกต้องมากนัก ขอให้กำลังใจคณะกรรมการ กสทช. ที่เริ่มทำงานทันทีและเชื่อว่าหลังจากครั้งนี้จะต้องเจอกับแรงเสียดทานอีก หลายๆ กรณี และต้องทำหน้าที่ซื่อตรงสมกับที่ประชาชนได้ฝากความหวังไว้โดยหวังว่าจะไม่มี การผ่อนปรนกับกรณีไหนเป็นพิเศษ และรีบจัดทำแผนแม่บทให้เสร็จภายในเร็ววัน

ขอให้กำลังใจแฟนๆ กรีนเวฟและครอบครัวคลับฟรายเดย์ทุกคน ขอให้คลื่นวิทยุที่คุณรักได้ต่อสัญญาผ่านวิธีการใหม่ที่ถูกต้อง เมื่อถึงเวลานั้นแฟนก็จะได้สบายใจ แต่ถ้าหากไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตก็อยากให้ทำใจเพราะทุกอย่างล้วนเป็น วัฏจักร คลื่นวิทยุระดับตำนานอย่าง ไพเร็ท ร็อก หรือ สไมล์ เรดิโอ (รายหลังนี้ถูกทางเอไทม์เข้ามายึดคลื่นต่อ) ก็ย่อมมีวันอำลาแฟนๆ ไป ก่อนที่จะมีดีเจพี่อ้อยและดีเจพี่ฉอด ทุกคนก็ยังคงมีความรัก แอบรัก สมหวัง ผิดหวัง ฯลฯ เพราะเป็นความรู้สึกทั่วไปของคนเลือกเก็บความรู้สึกดีๆ ไว้ หากไม่มีก็ต้องอยู่ได้ (เห็นแฟนๆ หลายท่านฟูมฟายว่าจะขับรถกลับบ้านอย่างไรถ้าไม่มีกรีนเวฟ ก็ขอแนะนำว่าให้จับพวงมาลัยแน่นๆ อย่าฝ่าไฟแดง ระวังถนนลื่น รับรองกลับบ้านปลอดภัย!)

และก็ขอให้กำลังใจคลื่นดีๆ สีเขียวอย่างกรีนเวฟ ถ้าหากได้รับใบอนุญาตตามกลไกที่ถูกต้องเท่าเทียมกับคลื่นอื่นๆ ที่กำลังรอการจัดสรรคลื่นความถี่ที่จะเปิดโอกาสไม่ให้เกิดการผูกขาด ก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีคลื่นดีๆ คู่สังคมไทย แต่ถ้าไม่ได้รับการต่อก็อยากจะขอให้ทบทวนคำที่เคยพร่ำสอนให้กำลังใจแฟนๆ ว่าให้คิดบวก มีความสุขกับชีวิต มีความสุขกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และพอใจในสิ่งที่มี อยากให้เอาคำเหล่านี้มาสอนใจทีมงานและเหล่าดีเจ และขอให้ทำอย่างพี่พูดให้ได้ เพราะถ้าหากไม่ได้รับการต่อสัญญาและแสดงออกในแง่ไม่ดี คำพูดที่เคยพร่ำสอนคนอื่นก็คงไม่มีความหมายหากเหล่าดีเจพูดออกไปในสิ่งที่ ตัวเองไม่เคยเชื่อถือ!!