ที่มา มติชน เช่นเดียวกับการถวายฏีกา แต่ละคณะรัฐมนตรีแต่ละคณะมีหน้าที่ตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบใคร และขอยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีทำตามกฎหมาย ไม่ได้เจาะจงใครเป็นผู้ใดเป็นพิเศษ และพ.ร.ฏ.อภัยโทษ ก็มีมา 36 ฉบับ ออกในปีมหามงคล ซึ่งการออกพ.ร.ฏ.อภัยโทษ ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ต้องอยุ่ในกรอบของกฎหมาย
วันที่17พ.ย. ที่อาคารรัฐสภา จากกรณีที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้สดถามไปยังรัฐบาลในการประชุมลับเรื่องการพพิจารณาผ่านร่างพระ ราชกฤษฏีกาพระราชทานอภัยโทษ (พ.ร.ฏ.อภัยโทษ) นั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ตอบกระทู้ในช่วงแรกว่า การตั้งกระทู้ถาม รัฐมนตรีมีสิทธิ์ที่จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผย เป็นเรื่องของความปลอดภัย เมื่อมีการถามมาก็ต้องตอบ แต่อันไหนเป็นเรื่องลับ ก็ไม่สามารถเปิดเผยได้
ข้อต่อมาก็คือว่า จะอยู่ในหลักเกณฑ์เดิมหรือไม่นั้น รัฐบาลก็มีสิทธิ ผมมีความรู้ความเข้าใจ กระทรวงยุติธรรมตั้งคณะกรรมการ 20 คน ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข มีการยกร่าง ก่อนจะเสนอมายังกระทรวงยุติธรรม ต่อมาก็เสนอต่อครม. ก่อนที่ครม.จะพิจารณา อยากบอกว่ารัฐบาลไม่ได้ยกร่าง เขามีหลายหน่วยงานเสนอมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็เสนอเข้าครม. แต่ที่ยังไม่เปิดเผยหรือต้องเป็นความลับนั้น เพราะไม่เสร็จ และยังไม่รู้เลยว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะเห็นด้วยหรือไม่ ก่อนถึงเลขาฯครม. และถึงจะมีการถวายพระราชกฤษฎีกา