โดย มุทิตา เชื้อชั่ง และชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
ที่มา ประชาไท
24 มกราคม 2550
หลังประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 23 ธันวาคม 2550 สถานการณ์ทางการเมืองก็ดูเหมือนจะเข้าร่องเข้ารอยมากขึ้น และพรรคใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศก็ลดระดับความแข็งแกร่งลงไป นี่เป็นการโผล่พ้นจากปัญหาประชาธิปไตยแล้วหรือยัง? เส้นทางข้างหน้าจะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง? ระหว่างเส้นทางฟื้นฟู ‘คุณธรรม จริยธรรม’ ในพื้นที่การเมืองเราเสียต้นทุนอะไรไปแค่ไหน? และถึงที่สุดแล้ว หลายคนอาจกำลังงงว่า การรัฐประหารที่ผ่านมาบรรลุจุดหมายใด? ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาว่าด้วยหลักกฎหมายที่ต่างคนก็ต่างอ้าง กระทั่งหลักนิติธรรมก็ยังถูกบิด เพื่อรับใช้เป้าหมายทางการเมือง
ท่ามกลางคำถามมากมาย ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’ เป็นนักกฎหมายมหาชนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คน ที่จำต้องกลาย ‘เสาหลัก’ แม้อาจไม่มีผลฉุดรั้งผลลัพธ์ทางการเมืองที่เกิดมากมายตลอดสองปีที่ผ่านมา แต่อย่างน้อยก็เป็นเสาหลักเพื่อตอบคำถาม ให้ความคิดเห็นด้านกฎหมาย กระทั่งหลังรัฐประหารเขากลายเป็นนักวิชาการส่วนน้อยที่ป๊อบปูล่าร์มากที่สุดคนหนึ่ง ในฐานะที่กล้ายืนยันต่อต้านการรัฐประหารอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา ขณะที่กระแสสังคมเป็นไปในทางตรงข้าม
แม้สถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย แต่ช่วยไม่ได้ที่หลายคำถามยังค้างคาเป็นหนามยอกอก ‘ประชาไท’ ถือโอกาสพูดคุยกับนักกฎหมายเสียงข้างน้อยคนนี้อีกครั้ง เพื่อสรุปรวมประเด็นปัญหาสังคมการเมืองไทยที่ผ่านมาในเชิงหลักการและปรัชญาความคิด รวมทั้งสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่ ทั้งเรื่องการยุบพรรค การแจกใบเหลือง-ใบแดง การแก้รัฐธรรมนูญ ฯ ซึ่งน่าจะเป็นบทสรุปที่ลึก (และยาว) ที่สุดบทหนึ่ง
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ เว็บไซต์ประชาไท http://www.prachatai.com/05web/th/home/10967
“อ้างพระเจ้าในนามของพระเจ้าโดยศาสนจักร ทำให้ศาสนจักรกลับกลายเป็นคนที่กุมอำนาจ ทำอะไรหลายอย่างที่ปัจจุบันก็ยอมรับว่ารับไม่ได้ เช่น การทรมานคน การเผาทั้งเป็นฯ สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคกลางนั้น คล้ายกันกับบ้านเรา เรากำลังบอกว่าประชาชนของเราไม่รู้เรื่อง ต้องเลือกคนดี ต้องเชิดชูคุณธรรม จริยธรรม ตัวคุณธรรม ตัวจริยธรรมนั้นดี แต่คนมากุมอำนาจแล้วอ้างคุณธรรมจริยธรรมนั้นก็คล้ายกับศาสนจักรในยุคกลาง และนี่คือสิ่งที่บ้านเมืองกำลังเผชิญอยู่”
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
18 มกราคม 2551จาก Thai E-News