WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 24, 2008

ให้สิทธิผู้ลี้ภัยทำงาน ดีหรือไม่ใครได้เสีย [24 ม.ค. 51 - 17:08]

ปี พ.ศ. 2550 ภายใต้การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลขิงแก่ ไทยมีผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่ากว่า 150,000 คน

ตัวเลขนี้มาจากองค์การยูเอสซีอาร์ไอ. ผู้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

มะปราง...ชาวกะเหรี่ยงปาด่อง ผู้อพยพ 1 ใน 150,000 ที่หนีภัยการสู้รบมาจากประเทศพม่า เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านห้วยปูแกง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เธอเข้ามาอยู่ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ปัจจุบันอายุ 24 ปีแล้ว ได้บัตรประจำตัวคนต่างด้าวประเภทสีฟ้า หมายถึงอยู่ในประเทศได้ชั่วคราว ออกไปนอกพื้นที่ได้ในขอบเขตจำกัด

มะปรางมีอาชีพขายของที่ระลึก “บางวันขายดี บางวันก็ขายไม่ค่อยได้” เธอพูดภาษาไทยด้วยสำเนียงแปลกแปร่ง แต่ฟังง่ายกว่าเพื่อนๆอีกหลายคน มะปรางมีความรู้ถึง ม.ปลาย เป็นครูสอนชาวกะเหรี่ยงอีกด้วย

หมู่บ้านห้วยปูแกงริมแม่น้ำปาย มีชนเผ่าถึง 4 เผ่า คือ กะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงขาว กะเหรี่ยงคอยาว และคยา ชาวบ้านยึดอาชีพหาปลาในแม่น้ำปาย และขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว ที่ล่องแม่น้ำปายไปน้ำเพียงดิน แล้วแวะดูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงในขากลับ

มะปรางเป็นผู้ลี้ภัย ได้สิทธิอย่างผู้ลี้ภัย และยังต้องทำมาหากินในประเทศ ไทยอย่างผู้ลี้ภัย แม้จะอยู่มาเกือบ 20 ปีแล้วก็ตาม

มองผ่านๆเหมือนสิทธิของมะปรางจะถูกลิดรอน แต่ถ้ามองไปยังผู้ลี้ภัยในศูนย์อพยพแล้วจะพบว่า เธอได้สัมผัสสิทธิ มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ดีกว่ามากนัก

ผู้ลี้ภัยตาม “หลักการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติผู้ลี้ภัย รับรองโดยคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายเอเชีย-แอฟริกา” ระบุความหมายว่า...

“คือบุคคลซึ่งได้ออกมาจากรัฐซึ่งตนมีสัญชาติ หรือประเทศแห่งสัญชาติของตน หรือรัฐหรือประเทศซึ่งตนมีถิ่นฐานพำนักประจำ ในกรณีที่ตนเป็นบุคคลไร้สัญชาติ หรือไม่สามารถ หรือไม่สมัครใจที่จะกลับสู่รัฐหรือประเทศนั้น หรือ ขอความคุ้มครองจากรัฐหรือประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ โดยได้อยู่นอกอาณาเขตรัฐ หรือประเทศนั้น”

ทั้งนี้ “เนื่องจากการประหัตประหาร หรือความหวาดกลัวอันเป็นมูลอันจัก กล่าวอ้างได้ว่า จักได้รับการประหัตประหาร ด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ความเชื่อในทางการเมือง หรือสมาชิกกลุ่มเฉพาะทางสังคม”

ผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า เฉพาะที่อยู่ในค่ายรวม 9 ค่าย มีกว่า 60,000 คน

อาศัยอยู่ในค่ายบ้านต้นยาง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1,644 คน ค่ายแม่สุรินทร์ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1,771 คน ค่ายบ้านใหม่ในสอย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 9,435 คน

ค่ายบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 22,485 คน ค่ายบ้านแม่ลาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 5,503 คน ค่ายบ้านแม่ละอ่อน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 6,644 คน ค่ายบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จำนวน 5,395 คน ค่ายบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 3,451 คน ค่ายบ้านอุ้มเปี้ยม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 9,414 คน

นอกเหนือจากนี้อยู่นอกค่าย บางคนอยู่อย่างมะปราง ขณะที่บางคนอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ และไม่น้อยเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานเถื่อนข้ามชาติ

ทำไม? ชนกลุ่มน้อยในพม่าจึงพอใจลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย ในงานเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง ผู้ลี้ภัยกับโอกาสในการทำงาน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมเอเชีย วิเชียร เจษฎากานต์ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกร ผู้คลุกคลีอยู่กับแรงงานต่างด้าว และยังเป็นรองประธานมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บอกว่า

“เพราะเขามองว่าคนไทยมีจิตใจเมตตา จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คนไทยกับกะเหรี่ยง มอญเคยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความรู้สึกเหล่านี้ยังคงอยู่ในจิตใจเขา ปัญหาของพวกเขาคือ ความไว้วางใจผู้ปกครองเท่ากับศูนย์ เขาคิดว่าพม่าไม่คิดว่าเขาเป็นประชากรของประเทศ จึงไม่มีพื้นฐานความเมตตา ส่งกองทัพเข้ามากวาดล้างเขาทุกปี เขาต้องเดินทางเข้ามาด้วยความยากลำบาก สมบัติติดตัวมามีเพียงถุงเก่าๆใบเดียว”

วิเชียรเล่าว่า การอพยพครั้งหนึ่ง มีแม่คลอดลูกกลางทาง สัตว์อย่างเก้ง กวาง ยังมีเวลาเลียลูกมันให้เนื้อตัวแห้ง แต่กะเหรี่ยงเป็นคนแท้ๆ กลับไม่มีเวลาแม้แต่จะพักเอาแรง ต้องหอบหิ้วกันมาให้ถึงชายแดนไทย ถ้าพลัดหลงกับกลุ่มก็หมายถึงต้องถูกฆ่าตาย

เป็นภาพโหดร้ายเพียงใด เมื่อเห็น “ลูกน้อยหลับตาดูดนมแม่ที่กำลังบาดเจ็บสาหัส ในที่สุดแม่ก็ตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว”

วิเชียรแสดงทรรศนะต่อว่า “เมื่อเข้ามาอยู่ในศูนย์อพยพ ความจริงน่าจะปลอดภัย แต่ความจริงเขาก็เหมือนถูกกักขังไว้ สิ้นอิสรภาพ สัตว์ถูกขังไว้นานๆ เมื่อปล่อยออกมาก็จะหากินไม่เป็น คนก็เหมือนกัน ดังนั้น เราน่าจะต้องช่วยกันหาทางให้เราออกมาเป็นคนอีกครั้งหนึ่ง” วิเชียรชี้เรียกร้อง

หันไปดูการดูแลผู้ลี้ภัยของรัฐบาลไทย

นอกจากจัดค่ายให้พักพิงแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2548 รัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้บุตรผู้ลี้ภัยได้รับการศึกษาโดยจัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษา พิเศษสอนภาษาไทย ต่อมาปี พ.ศ.2549 กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้องค์กรพัฒนาเอกชนสนับสนุนกิจกรรมฝึกอาชีพ เพื่อทักษะและสร้างโอกาสในการทำงานและหารายได้ในอนาคต

สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายเปิดโอกาสให้ทำงานได้ แต่ยังไม่ได้ระบุชัดว่า จะให้เอางานเข้าไปทำในศูนย์ หรือว่าออกมาทำนอกศูนย์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นโยบายดังกล่าวก็สิ้นสุดลง

คล้ายเป็นประเพณีปฏิบัติว่า เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว นโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะลงทุนไปเท่าใด มีผลดีต่อประชาชนอย่างใดก็ต้องล้างให้สิ้นซาก เพื่อจะได้สร้างนโยบายตนเองขึ้นมาบริหารจัดการ แม้บางเรื่องจะไม่ดีกว่าเดิม

โอกาสที่ผู้ลี้ภัยจะออกไปทำงานนอกศูนย์ได้ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ ปรับทุกข์ว่า ประเทศที่สามคัดคนเอาไปก่อน คนใช้ได้ก็เอาไป ใช้ไม่ได้ก็ทิ้งไว้ให้

ถ้าเอาผู้ลี้ภัยไปทำงานนอกศูนย์ เราต้องดูว่า กระทบกับคนพื้นที่หรือไม่ และการทำงานในภาคเกษตรกรรมไม่ใช่มีตลอดปี

“ผมว่าถ้าจะจ้างเขาจริง จะเอาไปไกลไม่ได้ อาจเอางานมาทำในค่าย ฝีมืออาจไม่ดีนัก แต่เราต้องให้แรงจูงใจ เพื่อเสริมสร้างอาชีพเล็กๆ น้อยๆ การจะเอาเขาออกมา เราต้องสร้างระบบบริหารจัดการให้ดี ต้องมีคนรับผิดชอบ”

ดร.ยงยุทธแนะ

วิเชียรชี้ว่า “การนำเอาผู้ลี้ภัยออกมาทำงานภายนอกศูนย์ ผลดีนอกจากนำคนออกจากกรงขังแล้ว นายจ้างยังรู้ที่มาที่ไปของลูกจ้างอย่างชัดเจน สืบค้นประวัติได้ ผิดกับรับแรงงานเถื่อนเข้าทำงาน นอกจากผิดกฎหมายแล้ว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา เราไม่อาจสืบหาตัวผู้กระทำผิดได้ด้วย”

ผู้ลี้ภัยมีสิทธิทำงานได้หรือไม่นั้น สมชาย หอมลออ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา อธิบายว่า ผู้ลี้ภัยในบางประเทศทำงานได้ แต่ถ้ามีจำนวนมาก ก็อยู่ที่เจ้าของบ้านจะพิจารณา ประเทศไทยเราไม่ได้อยู่ในสนธิสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ตามอนุสัญญาผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ แต่คนท ี่หนีภัยสู้รบเข้ามา ก็ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ

เรื่องการทำงาน เนื่องจากคนเหล่านี้อยู่ในประเทศยาวนานมาก พม่าก็ยังขัดแย้งกันอยู่ ทำให้เขากลับบ้านไม่ได้ จึงเป็นภาระของประเทศไทย และองค์กรต่างๆ

ถ้ามีการผ่อนปรนให้คนเหล่านี้ประกอบบางอาชีพที่ไม่แย่งงานคนไทยทำ จะแบ่งเบาภาระของประเทศได้มาก ผู้ลี้ภัยจะมีชีวิตสมบูรณ์ขึ้นในความเป็นมนุษย์ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมทักษะ ฝีมือ และอาชีพติดตัวเมื่อกลับประเทศ

ดังนั้น “เมื่อรัฐบาลที่แล้วมีนโยบายส่งเสริมอย่างชัดเจน รัฐบาลนี้และรัฐบาลหน้า ก็น่าจะมีการสานต่อ”

นับวันผู้ลี้ภัยยิ่งเพิ่มขึ้น ประเทศไทยคล้ายหนองรับน้ำ รองรับผู้ลี้ภัยสงครามจากพม่า และภัยเศรษฐกิจจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง

จริงหรือไม่...การกักน้ำไว้นานๆโดยไม่บริหารจัดการ เท่ากับจงใจให้น้ำนั้นเน่า.