WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 26, 2008

ยังอึมครึม [26 ม.ค. 51 - 17:51]

คมช.ประกาศยุติบทบาทการเมืองทันทีที่มีการเปิดประชุม สภาผู้แทนฯไปเรียบร้อยแล้วหลังจากยึดอำนาจมาได้ 1 ปี 4 เดือน บรรดาแม่ทัพนายกองต่างกลับเข้ากรมกองยืนยันจะไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง

แต่เรื่องปฏิวัติก็ต้องว่ากันไป เพลง ผบ.ทบ.ดูเหมือนจะยืนยันหนักแน่นกว่าใครเพื่อนว่าไม่ยุ่งแล้วการเมือง การปฏิวัติ แต่นายทหารบางท่านก็บอกว่ายืนยันไม่ได้ แล้วแต่สถานการณ์ นั่นแสดงว่ายังไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ

เพราะเหตุผลนี้มันเกี่ยวโยงกับการเมืองโดยตรง อย่างเรื่องที่ คมช.พยายามจะผลักดันรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ

1. เป็นกลาง 2. ไม่สังกัดพรรคการเมือง 3. ต้องเป็นทหาร

แม้จะออกตัวว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะไม่ได้กดดันหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่เพื่อไม่ให้กองทัพเกิดปัญหา

นี่ถือว่าเป็นข้อเสนอที่แหลมคม ถือว่าเปิดเกมรุกใส่การเมือง โดยเฉพาะพรรคพลังประชาชนและผู้มีบทบาทอยู่ข้างหลังและมีการตั้งตุ๊กตาอย่าง พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ.ว่าน่าจะเหมาะกับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม

คำตอบก็ชัดทันควันว่าไม่สนใจในข้อเสนอ แต่ทว่าก็ไม่ได้ ปฏิเสธเพราะข่าวที่ออกมาทำนองว่าจะให้ พล.อ.สมทัต อัตตะนันท์ มานั่งเก้าอี้ตัวนี้ก็พอจะเห็นว่ามีแนวทางประนีประนอมมากขึ้น แม้จะรู้ดีว่ามีความใกล้ชิดกับอดีตผู้นำประเทศ

หรือพูดง่ายๆก็คนของเขา เพียงแต่ห่างมานิดหนึ่ง

แน่นอนว่าตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมนั้นถือว่าเป็นการประลองกำลังกันกลายๆและวัดใจว่าจะ “สมานฉันท์” กันได้แค่ไหน?

ณ วันนี้ต้องยอมรับว่าการเมืองเข้ามาเต็มตัว คมช.หรือกองทัพก็คงได้แค่ตั้งรับและหาทางออกเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆไม่ ตึงเครียดเกินไป

หากมองอีกมุมหนึ่งการตัดสินใจจะตั้งใครเป็นรัฐมนตรีกลาโหมนั้น พรรคพลังประชาชนก็ต้องคิดหนักเหมือนกัน เพราะหากตั้งคนใกล้ชิด พวกเดียวกัน แต่ไร้ประสิทธิภาพหรือกองทัพรับไม่ได้

ก็ยุ่งเหมือนกัน

จริงๆแล้วหากพลังประชาชนคิดจะแก้ไขปัญหาขัดแย้งจริงๆก็ต้อง หาคนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ มีความรู้ความสามารถ ประสานกับกองทัพและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งจะทำให้ช่องว่างต่างๆแคบเข้า

เพราะปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยนั้น ไม่ใช่การเมืองเรื่องเดียว ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ยังเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องระดมศักยภาพในการแก้ไข รัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นระดับนำที่จะใช้กำลังกาย กำลังสมองเข้าไปคลี่คลาย

อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเพราะอำนาจการเมืองไปอยู่ในมือนักการเมืองแล้ว คมช.ก็แทบจะหมดน้ำยา เพียงแต่ต้องแปลงร่างคืนกลับไปสู่กองทัพ ดังนั้น ก้าวต่อไปก็คือจะทำยังไงให้ความสัมพันธ์ กับการเมืองราบรื่นมากขึ้น เพราะมันคงไม่มีทางเลือกมากนัก

1 ปี 4 เดือนที่ผ่านมาคงเป็นฉากผ่านการเมืองเท่านั้น และอย่าได้คิดที่จะทำเป็นอันขาด เพราะมันไม่ใช่หนทางที่จะแก้ไขปัญหา

เช่นกันรัฐบาลใหม่ก็ต้องหยิบบทเรียนที่ผ่านมาสดๆร้อนๆเมื่อมีอำนาจ ก็ต้องใช้อย่างถูกต้องเป็นธรรม เพราะเวลามีอำนาจก็ใช้อย่างไร้สติ ไม่มีความยั้งคิด ทีเวลาโดนบ้างทำมาร้องโอดโอยชวนสงสาร

ยังเชื่อว่าพลังประชาชนคงไม่ต้องการเปิดศึกกับทหาร โดยตรงเพราะยังมีปัญหาอีกมากที่ต้องยุ่ง เช่น เศรษฐกิจ คดีความของอดีตหัวหน้าพรรคเก่า แค่ 2 เรื่องนี้ก็หนักเอาการ

อยู่ที่ว่าจะเล่นแบบไหนเท่านั้น...ต้องวัดใจกันล่ะครับ.

"สายล่อฟ้า"

คอลัมน์ กล้าได้กล้าเสีย