WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 23, 2008

นักวิชาการดาหน้าการันตีรัฐบาล ทำงานบนวิกฤติแต่สอบผ่านฉลุย

เวทีวิชาการวิพากษ์ “4 เดือนรัฐบาล” ดาหน้าการันตีสอบผ่านฉลุย ระบุแม้จะเจอทั้งศึกใน-ศึกนอก แต่ก็ยังทำได้ดี โดยเฉพาะผลงานกระทรวงการคลังได้คะแนนเต็มสิบ ระบุม็อบทำลายชาติยอมไม่ได้ จี้พลังเงียบออกมาได้แล้ว อย่าปล่อยให้คนส่วนน้อยยึดอำนาจอธิปไตย ด้าน “อ.จรัล” เปิดมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย ให้ความรู้และวิจัยองค์ความรู้ ปชต.

ท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่าทีและบทบาทที่ไม่เหมาะสมของนักวิชาการบางกลุ่ม ที่ออกมารุมด่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งว่าไม่ชอบธรรม ขณะเดียวกันนักวิชาการบางคนก็ไปขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ด่าทอรัฐบาลอย่างเสียหาย นั้น

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนา “ 4 เดือน รัฐบาลสมัคร สอบผ่านหรือสอบตก” โดยมีนายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายกิตติ ลิ่มสกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเสวนา

นายวรพล กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลทำข้อสอบท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกโครม ไม่มีสมาธิ และระยะเวลายังสั้นในการทำข้อสอบ ที่สำคัญรัฐบาลยังต้องเจอกับการชุมนุมประท้วง นอกเหนือจากศึกในแล้ว รัฐบาลยังต้องเผชิญปัญหาหนักของโลกอีก 3 เรื่องคือ ปัญหาวิกฤติการเงิน วิกฤตการณ์พลังงานและวิกฤตการณ์อาหาร จึงอยากเสนอให้รัฐบาลหันมาทบทวนและเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วน

โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน ที่ไทยใช้น้ำมันถึงวันละ 8 แสนบาร์เรล คิดเป็น 8 % ของจีดีพี เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชีย ไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาน้ำมันมากที่สุด รัฐบาลควรจะเร่งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดการใช้น้ำมัน นอกจากนี้จะต้องเร่งสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถส่วนตัว สร้างระบบขนส่งสินค้าเชื่อมต่อกัน

* ภาพรวมรัฐบาลสอบผ่าน
นายวรพล ยังเสนอแนะให้รัฐบาลส่งเสริมให้ภาคเกษตรกรปลูกพืชที่เป็นอาหารหลัก ไม่เช่นนั้นภายในปี 2553 ไทยจะประสบปัญหาวิกฤติพลังงานอย่างหนัก และอาจเป็นวิกฤติรอบใหม่ที่ร้ายแรงกว่า ปี 2540 ประกอบกับปัจจัยต่างๆ ที่ทั่วโลกประสบอยู่ไทยก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น ทั้งนี้กระทรวงหลัก 5 กระทรวง คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานที่มีรัฐมนตรีจากต่างพรรคต้องหันมาร่วมมือแก้ปัญหา

ด้าน นายกิตติ กล่าวว่า 4 เดือนรัฐบาลเมื่อเทียบกับเด็กที่กำลังเรียน อยู่ในระหว่างการสอบเก็บคะแนน ยังไม่ถึงกับสอบปลายภาคที่จะวัดผลว่า สอบตกหรือสอบได้ แต่ในภาพรวม 4 เดือน ถือว่า ครม.ชุดนี้สอบผ่าน แต่ถ้ามองเป็นรายกระทรวงพบว่า กระทรวงการคลังสอบผ่านมาตรการยกเลิกกันสำรอง 30 % ส่วนมาตรการลดภาษีถือว่าเป็นนโยบายที่ไม่รอบคอบทำให้รัฐต้องเสียเงิน 3 -4 หมื่นล้านบาท ส่วนการออกคูปองคนจนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมสอบคะแนนได้ไม่ถึงครึ่ง ก็คือว่า สอบตก เพราะมีแค่ปรับเปลี่ยนนโยบายบางอย่างเท่านั้น ส่วนกระทรวงพาณิชย์ถือว่าพอใช้ได้ รัฐมนตรีก็พอดูแลได้ ซึ่งรัฐบาลสมัครก็เหมือนเป็น ” เรือไม้ ” ที่ต้องประสบกับคลื่นที่มาจากในและนอกรัฐบาลต้องพยายามประคองเรือให้แล่นไปได้ด้วยดี

* ซัดประชาธิปไตยของคนกลุ่มน้อย
ขณะที่ รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้คงดูยากว่ารัฐบาลสอบตกหรือสอบผ่าน เพราะเวลา 4 เดือน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้เข้ามาพร้อมกับความคาดหวังสูงมาก แต่รัฐบาลก็มีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองภายในและภายนอก ในส่วนของผู้ขับเคลื่อนหรือทีมบริหารประเทศก็ไม่รู้จริงไม่มีความเชี่ยวชาญ เป็นทีมสำรอง

ส่วนทีมจริงก็ติดอยู่ที่บ้านเลขที่ 111 แม้แต่ตัวนายสมัครเองก็เป็นนักการเมืองเก่า ไม่รู้เรื่องนโยบายเท่าไร ไม่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์น้อย ที่สำคัญเป็นนักการเมืองที่มีภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่ง เป็นคนก้าวร้าว ไม่ทำให้การเมืองสร้างสรรค์ การพูดสวนกลับก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของนายกฯ ซึ่งนายสมัครเป็นถึงนายกฯต้องเสียสละ สงบสติอารมณ์ เพื่อบริหารบ้านเมืองให้ดี

รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวว่า รัฐบาลถูกท้าทายจากปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอก บวกกับปัญหาการเมืองนอกสภา ทำให้รัฐบาลไม่มีสมาธิในการแก้ปัญหา ถามว่า รัฐบาลหมดเวลาสอบหรือยังก็คงตอบไม่ได้ เพราะรัฐบาลทำงานเพียง 4 เดือน มีคนที่ไม่พอใจรัฐบาลก็ออกมาประท้วง ปิดถนน เอาคนไปชุมนุมปิดล้อมทำเนียบ ไม่กลับบ้าน แล้วบอกว่าหมดเวลาสอบแล้วเอาข้อสอบคืนมา

* พลังเงียบออกมาได้แล้ว
ทั้งนี้ ถ้าประสบผลสำเร็จจะเป็นความเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย ซึ่งการได้ชัยชนะแบบนี้เป็นตัวอย่างที่ยอมรับไม่ได้ มันเป็นตัวอย่างที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างลึก กว้าง และยาวนานในระบอบสังคมการเมือง ไม่ได้บอกว่า รัฐบาลชุดนี้มีประสิทธิภาพสูงแต่รัฐบาลจากการเลือกตั้งจากประชาชนส่วนใหญ่ แม้ว่าตนจะไม่ได้เลือกพรรคพลังประชาชน แต่ตนก็เคารพคนอื่นที่เลือกพรรคนี้เข้ามา กลุ่มพันธมิตรเองไม่เคยพูดถึงคนส่วนใหญ่ที่เลือกตั้งพรรคนี้มาเลย มีแต่พูดถึงวาระแคบๆ ของตัวเอง มันเป็นการยึดระบอบประชาธิปไตยไทยด้วยคนกลุ่มน้อยที่มีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเราจะยอมไม่ได้

รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้กลุ่มพลังเงียบ ถ้ายังเงียบอยู่ก็จะโดนคนกลุ่มน้อยยึดระบอบประชาธิปไตยนี้ไป ทำไมกลุ่มพันธมิตรฯต้องมากำหนดชะตากรรมของประเทศไทย ตนไม่เข้าใจเหมือนกัน อนาคตของไทยมันเป็นของคนทั้งประเทศ ต้องดูด้วย ถ้าเป็นสมัยนายกฯ ทักษิณ ตนเห็นด้วยเอาด้วยที่จะขับไล่ เพราะการเมืองครรลองต่างๆ มันโดนครอบงำผูกขาดจริง เป็นง่อยถูกบิดเบือน ทำให้เกิดการปู้ยี่ปู้ยำ ทับซ้อนผลประโยชน์แอบแฝง ตอนนี้รัฐบาลสมัครยังไม่เป็นถึงสมัยรัฐบาลทักษิณ ยังมีการคานอำนาจกันอยู่ เพราะ รธน. ปี 40 กับ รธน. ปี 50 มันต่างกัน

“ ผมคิดว่าตอนนี้มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย คือไม่ได้ชอบรัฐบาลสมัคร แต่ก็ไม่ชอบที่กลุ่มพันธมิตรฯ มาขับไล่ แต่กลุ่มพลังเงียบนี้บางคนก็ไม่อยากจะเปลืองตัว เจ็บตัว หากออกมาคัดค้านแล้วก็ถูกโจมตี ผมเชื่อว่าหากมีคนออกมาเพียง 2 คน มันเจ็บตัว แต่ถ้าเป็นพันเป็นหมื่นคนที่แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีการแบบนี้ เขาก็จะทำอะไรเราไม่ได้ มันถึงเวลาที่พลังเงียบต้องออกมาได้แล้ว โดยอาจใช้ริบบิ้นสีขาว หรือสวมเสื้อเหลืองผูกริบบิ้นสีขาว หรือให้มีการทำวิจัยเรื่องนี้ให้ชัดเจน ” รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าว

* ฉะวาระประชาชนแค่พูดให้ดูดี
รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวว่า รู้สึกเสียดายที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสนอทางออก การชูวาระประชาชนก็เป็นเพียงคำโฆษณาผิวเผินและฉาบฉวยเพื่อชนะการเลือกตั้งเท่านั้น นอกจากนี้ ปชป. ยังทำตัวเหมือนเป็นพันธมิตรฯ ในสภา คือ มีการเอื้อกัน ส.ส.ในพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นพันธมิตรฯ ขอถามว่าเขายังได้รับเงินเดือน ส.ส. อยู่หรือไม่ ถ้าได้รับเงินตรงนี้แล้วทำไมต้องไปทำหน้าที่นอกสภา ถ้าอ้างสิทธิก็อ้างได้ แต่ถ้ามีสิทธิแล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย ไม่เช่นนั้นสังคมเราจะมึนเมากับเรื่องสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสม

“พรรคนี้คว่ำบาตรการเลือกตั้งมาครั้งหนึ่ง และการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็แพ้ เขาบอกว่าเขาได้ส.ส.มากสุดในประวัติการณ์ คุณจะมองยังไงล่ะ กรรมการก็อยู่ข้างคุณ กติกาก็อยู่ข้างคุณ คู่ต่อสู้ก็ถูกมัดมืออยู่ข้างหลัง แต่คุณก็ยังแพ้ขนาดนี้ แล้วหากยังคิดว่าเป็นชัยชนะก็อาจจะเข้าข้างตัวเองมากไปนิดหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วต้องพิจารณาเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ไม่งั้นเราก็จะเป็นได้แค่นี้ ไม่มีทางออก เราต้องการให้ ปชป. ช่วยเราหาทางออก เขาเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภา เราต้องการหาคำตอบจากในสภา ” รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าว

รศ.ดร.ฐิตินันท์ ยังกล่าวถึงการสลับขั้วเปลี่ยนรัฐบาลโดยชู นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯ ว่า มีความเป็นไปได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสมเพชเวทนา น่าอับอาย และน่าละอายใจมากที่สุด

“ อยากเป็นแกนนำรัฐบาลแต่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ ต้องมาอาศัยกระบวนการนอกสภาเอื้อกันระหว่างประชาธิปัตย์กับกลุ่มพันธมิตรฯ ท้ายสุดได้มาเป็นนายกฯโดยเข้าทางประตูหลัง มันเป็นนิมิตหมายที่ไม่ดีในระบอบประชาธิปไตย เป็นผมคงละอายมาก ที่เล่นตุกติกทางการเมืองแล้วมาสวมรอยยึดอำนาจแทนกัน ” รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าว

เปิดตัวมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย
วันเดียวกัน ที่ห้องธาราทิพย์ โรงแรมอิมพิเรียล ธารา สุขุมวิท 26 ได้มีการเปิดตัวมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย โดย นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ในฐานะประธานมูลนิธิ เป็นคนกล่าวเปิดงาน ท่ามกลางประชาชนที่เข้าร่วมกว่า 100 คน สำหรับบรรยากาศในงานเปิดตัวมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย มีอดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เข้าร่วมด้วย เช่น นพ.เหวง โตจิราการ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นอกจากนี้ยังมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมด้วย

โดยนายจรัล กล่าวว่า มูลนิธิสถาบันประชาธิปไตยเปิดตัวภายใต้สถานการณ์ที่จะครบ 76 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน ท่ามกลางการเคลื่อนไหว การต่อสู้ของประชาชนกลุ่มหนึ่ง นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่แนวโน้มจะกระทบกระเทือนต่อระบบประชาธิปไตย ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ประชาธิปไตยไทยยังไม่มั่นคง

ให้ความรู้-ทำวิจัยเรื่อง ปชต.
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 แม้ไม่พอใจ แต่ก็ยังดีกว่าระบบเผด็จการทหาร ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะตั้งมูลนิธิขึ้น เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจประชาธิปไตยให้กว้างขวางลึกซึ้งขึ้น เพื่อทำให้คนเชื่อเรื่องประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะเวลานี้คนจำนวนมากไม่เชื่อว่าอำนาจอยู่ที่ประชาชน ขณะที่ประเทศไทยก็มีองค์การทางประชาธิปไตยน้อยที่สุดไม่ถึง 10 องค์การ น้อยกว่ากัมพูชา

“การตั้งองค์การประเภทนี้มีความจำเป็นมาก แต่จะทำได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้สนับสนุน ทั้งกำลังใจ การเมือง การเงิน อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการของมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย ตอนนี้วางไว้ 3 โครงการใหญ่ๆ 1.โรงเรียนประชาธิปไตย หรือโรงเรียนการเมือง เชิญประชาชนทุกกลุ่มศึกษาประชาธิปไตย 2.การเคลื่อนไหว เช่น มีกฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน ต้องเคลื่อนไหว และ 3.ศึกษาวิจัย เพราะองค์ความรู้ประชาธิปไตยในสังคมไทยยังมีไม่มากพอ” นายจรัล กล่าว

แย่มากที่คนเห็นต่างอยู่ร่วมไม่ได้
ต่อมา ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การสร้างประชาธิปไตย ในทรรศนะของคนรุ่นใหม่” โดยระบุตอนหนึ่งว่า อยากให้ทุกคนเข้าใจว่าการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านเมืองนั้นควรทำกันได้ ไม่เฉพาะกลุ่มคนที่เห็นด้วย แต่ตอนนี้ปรากฏว่าคนที่เห็นแตกต่างไม่สามารถนั่งอยู่ร่วมกันได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก มาถึงจุดที่สังคมแบ่งออกเป็นซีกๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องจุดยืนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความคิดของคน

“ผมมองว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทบสิทธิคนทั่วไป เช่น นักเรียนที่เรียนหนังสือ การจราจร ข้าราชการที่ทำงาน นี่เป็นปัญหา หากมีการตั้งเวทีสวนลุม หรือสนามหลวง แล้วมีการปราศรัยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตรงนี้น่าจะทำได้ เพราะทุกอย่างอยู่ในกรอบเขตความสงบ” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวและว่า ประเทศไทย มีปรากฏการณ์ที่เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทการเคลื่อนไหวของประชาชนในการโค่นล้มรัฐบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเรียกว่า อารมณ์ค้างจากอดีต ในยุคสมัยที่ไทยมีรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ สมมติว่า อยู่ในยุคที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นทหารปกครองเรื่อยๆ ทั้งนี้การระดมมวลชน เคลื่อนไหวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะไปทำเนียบ ไปรัฐสภา พยายามเข้าไปให้ได้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลเป็นเผด็จการ จึงจะเป็นสิ่งที่ควรจะมี

“ปลื้ม” ชี้ต้องเลิกเล่นนอกระบบ
ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าจะเอาเขาออกไป เห็นว่าต้องเล่นตามระบบและกรอบของรัฐธรรมนูญ ขณะนี้เชื่อว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและทหาร เริ่มเข้าใจบริบทสังคมตอนนี้แล้ว คงจะไม่มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นในช่วงนี้อย่างแน่นอน ซึ่งการที่จะมาเล่นนอกระบบมันไม่ได้ เพราะนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

“ระบบการเมืองของประเทศของไทย ไม่ได้คานอำนาจกันอยู่แค่ 3 อำนาจ คืออำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ อย่างที่เคยเรียนมา แต่มีอีก 3 อำนาจที่เข้าร่วมด้วย เช่น 1.สื่อมวลชน ที่ตรวจสอบนักการเมือง ส่งผลดีคือ รัฐบาลจะถูกตรวจสอบ แต่ผลเสียคือโครงการต่างๆ เดินไปได้ช้า 2.กลุ่มมวลชนและเอ็นจีโอ ที่รับรู้ข้อมูลจากสื่อมวลชน ทำการเคลื่อนไหว และ 3. กองทัพที่มีหน้าที่บริหารความสงบของประเทศ หากรัฐบาลไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับ 3 อำนาจที่เพิ่มมานี้ จะบริหารประเทศด้วยความยากลำบาก ดังนั้นการเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าว