WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 26, 2008

คำถามถึง ‘การเมืองใหม่’ ของพันธมิตรฯ คือ รัฐประหาร...?

คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

สุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์ เขียนบทความ “คำถามถึงการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ คือ รัฐประหาร?” ชี้ให้เห็นว่า การเมืองใหม่ที่พันธมิตรฯ ต้องการ วิถีทางที่จะเป็นไปได้คือ “การรัฐประหาร” เป็นวิถีทางนอกระบบที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง ความดังนี้

“ขออภัยในความไม่สะดวก โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง”

“พันธมิตรฯ เสนอแนวคิดการเมืองใหม่ ยันไม่ใช่สร้างเงื่อนไขสังคม

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 มิถุนายน 2551 เวลา 19:31 น.

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000073871

นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า พันธมิตรฯ เสนอแนวคิดการเมืองใหม่ที่จะขจัดนักการเมืองหน้าเดิม โดยเสนอให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. 30 เปอร์เซ็นต์ คัดสรรจากภาคส่วนต่างๆ อีก 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะเห็นว่าการดำเนินการแบบรัฐสภาไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ ยืนยัน ไม่ใช่การสร้างเงื่อนไขให้สังคม”

ในที่สุดแล้วก็เปิดเผยให้เห็นธาตุแท้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (จริงแล้วควรจะเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อการรัฐประหาร) จากการเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 สู่การขับไล่รัฐบาล สู่เป้าหมายเปลี่ยนอำนาจรัฐ ล้มรัฐธรรมนูญ 2550 เสียเอง และอ้างว่าจะสร้างการเมืองแบบใหม่

ธาตุแท้ของพวกเขาได้เปิดเผยให้เห็นถึงวิธีคิดแบบอำนาจนิยม การเมืองจากเบื้องบน การเมืองแบบขุนนางอำมาตยาธิปไตย และความล้าหลังคลั่งชาติ

การเมืองใหม่ของพวกเขาจึงหาได้เป็นการเมืองใหม่ ในความหมายที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการเมืองการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง และประชาชนต้องมีส่วนร่วมการเมืองด้านอื่นๆ อย่างขยันขันแข็ง ที่มิใช่เพียงการเลือกตั้งเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

พวกเขาจึงหาได้นิยามการเมืองแบบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ แม้ว่าชื่อองค์กรของพวกเขาจะมีคำว่า ประชาธิปไตย พ่วงท้ายอยู่

พวกเขาหาได้นิยมประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ แม้ว่าปากเขาจะพูดถึงประชาธิปไตย เวลาเขาแถลงข่าว สัมภาษณ์สื่อมวลชน ปราศรัยบนเวที ประชาธิปไตยที่เขากล่าวถึง เป็นข้ออ้างฟังดูดี แต่บิดเบือนแฝงด้วยวาระซ่อนเร้น เบื้องลึกในจิตใจของพวกเขาที่ต้องการ อำนาจนิยมเผด็จการ

พวกเขาจึงเอา อ.ปรีดี อ.ป๋วย มากล่าวอ้างอย่างบิดเบือน และเพื่อกลบเกลื่อนให้ประชาชนคล้อยตาม

นับว่าเป็นวิธีการที่สามานย์ยิ่ง

แนวคิดการเมืองใหม่ที่สุริยะใสเสนอคืออะไร? เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ?

ผู้เขียนคิดว่าเป็นการเมืองเก่าๆ มากกว่า เมื่อพันธมิตรฯ เสนอให้มีการเลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์ การคัดสรรอีก 70 เปอร์เซ็นต์

ถามว่าใครเป็นคนคัดสรร?

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคัดสรรหรือ?

เอาอำนาจชอบธรรมคัดสรรมาจากไหนกัน?

พวกเขาคงเชื่อว่า ผู้ปกครองบนผืนแผ่นดินไทยต้องเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่คิดกันเอง ให้ความหมายกันเองว่าเป็นคนดีทรงคุณธรรม จึงต้องให้อภิสิทธิ์ชนเท่านั้นปกครอง เหมือนเช่นการปกครองสังคมทาสสมัยกรีกโบราณ (หรือยุคทาสนั่นเอง) ตามความคิดของอริสโตเติล

เพราะถ้าประชาชนคัดสรร มันมิใช่การคัดสรร แต่เป็นการเลือกตั้งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยรัฐสภาต่างหาก

การเมืองใหม่ที่สุริยะใสเสนอ จึงหาเชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใดไม่

ข้อเสนอของพวกเขาจึงหาต่างกับรัฐบาลแห่งชาติของ ประเวศ วะสี แต่อย่างใด

ดังนั้น การทำให้การเมืองแบบใหม่ตามข้อเสนอพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นจริงได้ มีวิธีเดียวทางเดียวเท่านั้น คือ การเคลื่อนไหวทุกวิถีทางเพื่อให้อำนาจนอกระบบเข้ายึดอำนาจรัฐ นั่นคือ การรัฐประหารนั่นเอง เพื่อสร้างการเมืองแบบใหม่ของพันธมิตรเพื่อรัฐประหาร จึงจะเป็นจริงทางการปฏิบัติได้

เราจะยอมได้หรือ?

รัฐประหารครั้งนี้ ถ้าเกิดขึ้น จะนำไปสู่การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ กำจัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล และอาจไม่ต่างไปจากเผด็จการอำนาจนิยมแบบชนชั้นปกครองพม่ามากนัก

ถามว่า เราจะยอมได้หรือ?

หรือแม้ว่าไม่มีทหารหน่วยไหน ส่วนไหน เสี่ยงทำการรัฐประหารตามเทียบเชิญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

พวกเขาสมควรมีฐานะเป็นผู้นำภาคประชาชน เป็นองค์กรการเมืองภาคประชาชน สืบต่อไปหรือไม่? มิอาจกำหนดพวกเขาได้

แต่ประชาชนตัวจริงเสียงจริง จำต้องประเมินสรุปบทเรียนว่า

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ควรตกจากประวัติศาสตร์เวทีการเมือง-ประชาธิปไตย หรือไม่?...