WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 23, 2008

รุมจวกพันธมิตรฯ ประกาศชัยชนะบนความย่อยยับของชาติ

นักวิชาการ จุฬาฯ จวกพันธมิตรฯ ประกาศชัยชนะบนความย่อยยับของชาติ ปลุกพลังเงียบตื่นแสดงพลัง ก่อนระบอบประชาธิปไตยจะถูกยึดไปจากความต้องการของคนเพียงกลุ่มเดียว ฉะ ปชป. น่าสมเพชเวทนา น่าอับอายแพ้เลือกตั้ง แต่อยากเป็นรัฐบาล

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2551 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนา “ 4 เดือน รัฐบาลสมัคร สอบผ่านหรือสอบตก ” โดยมีนายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายกิตติ ลิ่มสกุล อาจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเสวนา

นายวรพล กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลทำข้อสอบท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกโครม ไม่มีสมาธิ และระยะเวลายังสั้นในการทำข้อสอบ ที่สำคัญรัฐบาลยังต้องเจอกับการชุมนุมประท้วง นอกเหนือจากศึกในแล้ว รัฐบาลยังต้องเผชิญปัญหาหนักของโลกอีก 3 เรื่องคือ ปัญหาวิกฤตการเงิน วิกฤตการพลังงานและวิกฤตการอาหาร จึงอยากเสนอให้รัฐบาลหันมาทบทวนและเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วน โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน ที่เราใช้น้ำมันถึงวันละ 8 แสนบาร์เรล คิดเป็น 8 % ของจีดีพี เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียเราเป็นประเทศที่พึ่งพาน้ำมันมากที่สุด รัฐบาลควรจะเร่งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดการใช้น้ำมัน นอกจากนี้จะต้องเร่งสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถส่วนตัว สร้างระบบขนส่งสินค้าเชื่อมต่อกัน

นายวรพล ยังเสนอแนะให้รัฐบาลส่งเสริมให้ภาคเกษตรกรปลูกพืชที่เป็นอาหารหลัก ไม่เช่นนั้นภายในปี 2553 ไทยจะประสบปัญหาวิกฤตพลังงานอย่างหนัก และอาจเป็นวิกฤตรอบใหม่ที่ร้ายแรงกว่า ปี 2540 ประกอบกับปัจจัยต่างๆที่ทั่วโลกประสบอยู่เราก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น ทั้งนี้กระทรวงหลัก 5 กระทรวง คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานที่มีรัฐมนตรีจากต่างพรรคต้องหันมาร่วมมือแก้ปัญหา

ด้าน นายกิตติ กล่าวว่า 4 เดือนรัฐบาลเมื่อเทียบกับเด็กที่กำลังเรียน อยู่ในระหว่างการสอบเก็บคะแนน ยังไม่ถึงกับสอบปลายภาคที่จะวัดผลว่า สอบตกหรือสอบได้ แต่ในภาพรวม 4 เดือน ถือว่า ครม.ชุดนี้สอบผ่าน แต่ถ้ามองเป็นรายกระทรวงพบว่า กระทรวงการคลังสอบผ่านมาตราการยกเลิกสำรอง 30 % ส่วนมาตราการลดภาษีถือว่าเป็นนโยบายที่ไม่รอบคอบทำให้รัฐต้องเสียเงิน 3 -4 หมื่นล้านบาท ส่วนการออกคูปองคนจนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมสอบคะแนนได้ไม่ถึงครึ่ง ก็คือว่า สอบตก เพราะมีแค่ปรับเปลี่ยนนโยบายบางอย่างเท่านั้น ส่วนกระทรวงพาณิชย์ถือว่าพอใช้ได้ รัฐมนตรีก็พอดูแลได้ ซึ่งรัฐบาลสมัครก็เหมือนเป็น ” เรือไม้ ” ที่ต้องประสบกับคลื่นที่มาจากในและนอกรัฐบาลต้องพยายามประคองเรือให้แล่นไปได้ด้วยดี

ขณะที่ รศ.ดร. ฐิตินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้คงดูยาก ว่ารัฐบาลสอบตกหรือผ่าน เพราะเวลา 4 เดือน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้เข้ามาพร้อมกับความคาดหวังสูงมาก แต่รัฐบาลก็มีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองภายในและภายนอก ในส่วนของผู้ขับเคลื่อนหรือทีมบริหารประเทศก็ไม่รู้จริงไม่มีความเชี่ยวชาญ เป็นทีมสำรอง ส่วนทีมจริงก็ติดอยู่ที่บ้านเลขที่ 111 แม้แต่ตัวนายสมัครเองก็เป็นนักการเมืองเก่า ไม่รู้เรื่องนโยบายเท่าไร ไม่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์น้อย ที่สำคัญเป็นนักการเมืองที่มีภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่ง เป็นคนก้าวร้าว ไม่ทำให้การเมืองสร้างสรรค์ การพูดสวนกลับก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของนายกฯ ซึ่งนายสมัครเป็นถึงนายกฯต้องเสียสละ สงบสติอารมณ์ เพื่อบริหารบ้านเมืองให้ดี

รศ.ดร. ฐิตินันท์ กล่าวว่า รัฐบาลถูกท้าทายจากปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอก บวกกับปัญหาการเมืองนอกสภา ทำให้รัฐบาลไม่มีสมาธิในการแก้ปัญหา ถามว่า รัฐบาลหมดเวลาสอบหรือยังก็คงตอบไม่ได้ เพราะรัฐบาลทำงานเพียง 4 เดือน มีคนที่ไม่พอใจรัฐบาลก็ออกมาประท้วง ปิดถนน เอาคนไปชุมนุมปิดล้อมทำเนียบ ไม่กลับบ้าน แล้วบอกว่าหมดเวลาสอบแล้วเอาข้อสอบคืนมา

ทั้งนี้ ถ้าประสบผลสำเร็จจะเป็นความเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย ซึ่งการได้ชัยชนะแบบนี้เป็นตัวอย่างที่ยอมรับไม่ได้ มันเป็นตัวอย่างที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างลึก กว้าง และยาวนานในระบอบสังคมการเมือง เราไม่ได้บอกว่า รัฐบาลชุดนี้มีประสิทธิภาพสูงแต่รัฐบาลจากการเลือกตั้งจากประชาชนส่วนใหญ่ แม้ว่าตนจะไม่ได้เลือกพรรคพลังประชาชน แต่ตนก็เคารพคนอื่นที่เลือกพรรคนี้ขึ้นมา กลุ่มพันธมิตรเองไม่เคยพูดถึงคนส่วนใหญ่ที่เลือกตั้งพรรคนี้มาเลย มีแต่พูดถึงวาระแคบๆของตัวเอง มันเป็นการยึดระบอบประชาธิปไตยไทยด้วยคนกลุ่มน้อยที่มีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเราจะยอมไม่ได้

รศ.ดร. ฐิตินันท์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้กลุ่มพลังเงียบ ถ้ายังเงียบอยู่ก็จะโดนคนกลุ่มน้อยยึดระบอบประชาธิปไตยนี้ไป ทำไมกลุ่มพันธมิตรฯต้องมากำหนดชะตากรรมของประเทศไทย ตนไม่เข้าใจเหมือนกัน อนาคตของไทยมันเป็นของคนทั้งประเทศ เราต้องดูด้วย ถ้าเป็นสมัยนายกฯทักษิณ ตนเห็นด้วยเอาด้วยที่จะขับไล่ เพราะการเมืองครรลองต่างๆมันโดนครอบงำผูกขาดจริง เป็นง่อยถูกบิดเบือน ทำให้เกิดการปู้ยี้ปู้ยำ ทับซ้อนผลประโยชน์แอบแฝง ตอนนี้รัฐบาลสมัครยังไม่เป็นถึงสมัยรัฐบาลทักษิณ ยังมีการคานอำนาจกันอยู่ เพราะรัฐธรรมนูญปี 40 กับรธน.ปี 50 มันต่างกัน

“ ผมคิดว่าตอนนี้มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย คือไม่ได้ชอบรัฐบาลสมัคร แต่ก็ไม่ชอบที่กลุ่มพันธมิตรมาขับไล่ แต่กลุ่มพลังเงียบนี้บางคนก็ไม่อยากจะเปลืองตัว เจ็บตัว หากออกมาคัดค้านแล้วก็ถูกโจมตี ผมเชื่อว่าหากมีคนออกมาเพียง 2 คน มันเจ็บตัว แต่ถ้าเป็นพันเป็นหมื่นคนที่แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีการแบบนี้ เขาก็จะทำอะไรเราไมได้ มันถึงเวลาที่พลังเงียบต้องออกมาได้แล้ว โดยอาจใช้ริบบิ้นสีขาว หรือสวมเสื้อเหลืองผูกริบบิ้นสีขาว หรือให้มีการทำวิจัยเรื่องนี้ให้ชัดเจน " รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าว

รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวต่อว่า รู้สึกเสียดายที่พรรคประชาธิปปัตย์ ไม่ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสนอทางออก การชูวาระประชาชนก็เป็นเพียงคำโฆษณาผิวเผินและฉาบฉวยเพื่อชนะการเลือกตั้งเท่านั้น นอกจากนี้ปชป.ยังทำตัวเหมือนเป็นพันธมิตรฯในสภาฯ คือ มีการเอื้อกัน ส.ส.ในพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นพันธมิตรฯ ขอถามว่าเขายังได้รับเงืนเดือนส.ส.อยู่หรือไม่ ถ้าได้รับเงินตรงนี้แล้วทำไมต้องไปทำหน้าที่นอกสภาฯ ถ้าอ้างสิทธิ์ก็อ้างได้ แต่ถ้ามีสิทธิ์แล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย ไม่เช่นนั้นสังคมเราจะมึนเมากับเรื่องสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสม

“ พรรคนี้คว่ำบาตรการเลือกตั้งมาครั้งหนึ่ง และการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็แพ้ เขาบอกว่าเขาได้ส.ส.มากสุดในประวัติการณ์ คุณจะมองยังไงละ กรรมการก็อยู่ข้างคุณ กติกาก็อยู่ข้างคุณ คู่ต่อสู้ก็ถูกมัดมืออยู่ข้างหลัง แต่คุณก็ยังแพ้ขนาดนี้ แล้วหากยังคิดว่าเป็นชัยชนะก็อาจจะเข้าข้างตัวเองมากไปนิดหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วต้องพิจารณาเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ไม่งั้นเราก็จะเป็นได้แค่นี้ ไม่มีทางออก เราต้องการให้ปชป.ช่วยเราหาทางออก เขาเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาฯ เราต้องการหาคำตอบจากในสภาฯ ”

รศ.ดร.ฐิตินันท์ ยังกล่าวถึงการสลับขั้วเปลี่ยนรัฐบาลโดยชูนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายก ว่า มีความเป็นไปได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสมเพชเวทนา น่าอับอาย และน่าละอายใจมากที่สุด

“ อยากเป็นแกนนำรัฐบาลแต่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ ต้องมาอาศัยกระบวนการนอกสภาเอื้อกันระหว่างประชาธิปัตย์กับกลุ่มพันธมิตรฯ ท้ายสุดได้มาเป็นนายกฯโดยเข้าทางประตูหลัง มันเป็นนิมิตรหมายที่ไม่ดีในระบอบประชาธิปไตย เป็นผมคงละอายมาก ที่เล่นตุกติกทางการเมืองแล้วมาสวมรอยยึดอำนาจแทนกัน ” รศ.ดร.ฐิตินันท์