WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 23, 2008

“หม่อมปลื้ม” ฟันธงไร้ปฏิวัติ เชื่อมั่นรัฐบาลคุมม็อบไหว

“จรัล” เปิดตัวมูลนิธิประชาธิปไตย เผยแนวคิดตั้งโรงเรียนประชาธิปไตย หรือโรงเรียนการเมือง เชิญประชาชนทุกกลุ่มศึกษาประชาธิปไตยร่วมกัน พร้อมทั้งเคลื่อนไหว ศึกษาวิจัย ด้าน ”หม่อมปลื้ม” เผย 3 อำนาจนายกรัฐมนตรีควรสมานฉันท์

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ห้องธาราทิพย์ โรงแรมอิมพิเรียลธารา สุขุมวิท 26 ได้มีการเปิดตัวมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย โดยนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ในฐานะประธานมูลนิธิ เป็นคนกล่าวเปิดงาน ท่ามกลางประชาชนที่เข้าร่วมกว่า 100 คน สำหรับบรรยากาศในงานเปิดตัวมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย มีอดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เข้าร่วมด้วย เช่น น.พ.เหวง โตจิราการ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นอกจากนี้ยังมีนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมด้วย

นายจรัล กล่าวว่า มูลนิธิสถาบันประชาธิปไตยเปิดตัวภายใต้สถานการณ์ที่จะครบ 76 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน ท่ามกลางการเคลื่อนไหว การต่อสู้ของประชาชนกลุ่มหนึ่ง นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่แนวโน้มจะกระทบกระเทือนต่อระบบประชาธิปไตย

ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ประชาธิปไตยไทยยังไม่มั่นคง สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 แม้เราไม่พอใจ แต่ก็ยังดีกว่าระบบเผด็จการทหาร ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะตั้งมูลนิธิขึ้น เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ เข้าใจ ประชาธิปไตยให้กว้างขวางลึกซึ้งขึ้น เพื่อทำให้คนเชื่อเรื่องประชาธิปไตยที่แท้ด้วย เพราะเวลานี้คนจำนวนมากไม่เชื่อว่าอำนาจอยู่ที่ประชาชน ขณะที่ประเทศไทยก็มีองค์การทางประชาธิปไตยน้อยที่สุดไม่ถึง 10 องค์การน้อยกว่ากัมพูชา

“การตั้งองค์การประเภทนี้มีความจำเป็นมาก แต่จะทำได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้สนับสนุน ทั้งกำลังใจ การเมือง การเงิน อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการของมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย ตอนนี้วางไว้ 3 โครงการใหญ่ๆ 1.โรงเรียนประชาธิปไตย หรือโรงเรียนการเมือง เชิญประชาชนทุกกลุ่มศึกษาประชาธิปไตย 2.การเคลื่อนไหว เช่น มีกฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน ต้องเคลื่อนไหว และ 3.ศึกษาวิจัย เพราะองค์ความรู้ประชาธิปไตยในสังคมไทยยังมีไม่มากพอ” นายจรัล กล่าว

ต่อมา ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การสร้างประชาธิปไตย ในทรรศนะของคนรุ่นใหม่” โดยระบุตอนหนึ่งว่า อยากให้ทุกคนเข้าใจการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านเมืองควรทำกันได้ ไม่เฉพาะกลุ่มคนที่เห็นด้วย แต่ตอนนี้ปรากฏว่าคนที่เห็นแตกต่างไม่สามารถนั่งอยู่ร่วมกันได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก มาถึงจุดที่สังคมแบ่งออกเป็นซีกๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องจุดยืนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความคิดของคน

“ผมมองว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทบสิทธิคนทั่วไป เช่น นักเรียนที่เรียนหนังสือ การจราจร ข้าราชการที่ทำงาน นี่เป็นปัญหา หากมีการตั้งเวทีสวนลุม หรือสนามหลวง แล้วมีการปราศรัยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตรงนี้น่าจะทำได้ เพราะทุกอย่างอยู่ในกรอบเขตความสงบ”

ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีปรากฏการณ์ที่เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทการเคลื่อนไหวของประชาชนในการโค่นล้มรัฐบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเรียกว่า อารมณ์ค้างจากอดีต ในยุคสมัยที่ไทยมีรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ สมมติว่า เราอยู่ในยุคที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นทหารปกครองเรื่อยๆ ทั้งนี้การระดมมวลชน เคลื่อนไหวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะไปทำเนียบฯ ไปรัฐสภา พยายามเข้าไปให้ได้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลเป็นเผด็จการ จึงจะเป็นสิ่งที่ควรจะมี

ม.ล.ณัฏกรณ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าจะเอาเขาออกไป เห็นว่าต้องเล่นตามระบบและกรอบของรัฐธรรมนูญ ขณะนี้เชื่อว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราและทหาร เริ่มเข้าใจบริบทสังคมตอนนี้แล้ว คงจะไม่มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นในช่วงนี้อย่างแน่นอน ซึ่งการที่เราจะมาเล่นนอกระบบมันไม่ได้ เพราะนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

“ระบบการเมืองของประเทศของไทย ไม่ได้คานอำนาจกันอยู่แค่ 3 อำนาจ คืออำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ อย่างที่เคยเรียนมา แต่มีอีกสามอำนาจที่เข้าร่วมด้วย เช่น 1.สื่อมวลชน ที่ตรวจสอบนักการเมือง ส่งผลดีคือ รัฐบาลจะถูกตรวจสอบ แต่ผลเสียคือโครงการต่างๆเดินไปได้ช้า 2.กลุ่มมวลชนและเอ็นจีโอ ที่รับรู้ข้อมูลจากสื่อมวลชน ทำการเคลื่อนไหว และ 3. กองทัพที่มีหน้าที่บริหารความสงบของประเทศ หากรัฐบาลไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับ 3 อำนาจที่เพิ่มมานี้ จะบริหารประเทศด้วยความยากลำบาก ดังนั้นการเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย” ม.ล. ณัฏกรณ์ กล่าว