WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 25, 2008

การสร้างประชาธิปไตยในทรรศนะ “คุณปลื้ม”

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

ในงานเปิดตัวมูลนิธิสภาบันประชาธิปไตย ซึ่งมีหลักการและเหตุผลสอดคล้องหลังจากการทำรับประหาร 19 กันยายน 2549 โดยมูลนิธิดังกล่าวมี นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ดำรงตำแหน่งเป้นประธาน ซึ่งในวันนั้นมีการเชิญ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ “คุณปลื้ม” สื่อรุ่นใหม่ไฟแรง ที่กำลังลงสนามการเมืองโดยการลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในสมัยที่กำลังจะถึงนี้ ร่วมบรรยายพิเศษมนหัวข้อ “การสร้างประชาธิปไตย ในทรรศนะคนรุ่นใหม่” โดยมีสาระสำคัญในแง่มุมมองทางการเมืองดังนี้

....ผมมาวันนี้ อยากเรียนให้ทุกท่านเข้าใจความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองในบ้านเรา มันเป็นเรื่องที่สามารถจะทำกันได้ คือไม่จำเป็นที่จะต้องแบ่งเป็นกลุ่มเฉพาะว่าเห็นด้วยกับผู้พูด น่าที่จะสามารถทำได้โดยที่ไม่จัดเป็นจะต้องเชิญคนที่เป็นตัวแทนของคนกลุ่มนั้นขึ้นพูด สิ่งที่ผมได้ค่อยๆ เห็นใน 3-4 ปีที่ผ่านมาก็คือ คนไทยที่ไม่เห็นด้วนกับการเมือง ไม่สามารถนั่งอยู่ในโต๊ะเดียวกันได้หรือนั่งอยู่ในที่ประชุมเดียวกันได้ หรือนั่งอยู่ในที่เสวนาเดียวกันได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่แย่มาก

มันเริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 ตอนนั้นทางคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เชิญไปพูดเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปี 2547 ที่หอประชุมเล็กมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากผมก็ยังมี คุณสุกัญญา กรานณรงค์ ที่เป็นผู้ฟ้องคดีหุ้นชินคอร์ป มี สุริยะใส กตะศิลา ซึ่งตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่ได้เจอ และ พิภพ ธงไชย และก็มี ส.ส. จากพรรการเมืองจำนวนหนึ่งที่เข้ามานั่งฟัง คนกลุ่มนี้ก็วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวนโยบายเศรษฐกิจทำงานของรัฐบาลในสมัยคุณทักษิณ ก็มี ส.ส. ท่านหนึ่งถามผมว่า “คุณมานั่งตรงนี้ทำไม...ไม่รู้ว่าคนกลุ่มนี้จ้องเล่นงานคุณทักษิณ” ผมก็ตอบว่าเวทีนี้มันเป็นเวทีเสวนานี่ เป็นที่ที่เราจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไม่ใช่หรือ??

เรื่องนี้คือสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในไทยคือว่า เมื่อคุณมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง คุณไปนั่งอยู่ที่เดียวกันไม่ได้ มาถึงในปัจจุบันคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.จรัส สุวรรณมาลา ไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ก็เจอรองคณบดีมาวิพากษ์วิจารณ์ ว่าคุณไปขึ้นเวทีได้อย่างไร มันมาจุดหนึ่งที่ชัดเจน ว่าเราแบ่งสังคมออกเป็นซีกๆ เพราะจริงๆ เราก็ไม่ใช่จุดยืนทางการเมืองที่มีความแตกต่างกัน แต่มันเป็น ลักษณะนิสัยของคนไทยกันเองที่รู้สึกว่าถ้าคุณคิดอย่างนั้น คุณก็ไม่ต้องมานั่งกับเรา

ที่ผมมาวันนี้อยากสร้างความเข้าใจให้กับทุกๆ คนที่นั่งอยู่ที่นี้และสื่อมวลชนได้ทราบว่า ลักษณะของการที่เคลื่อนไหวหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ไม่ได้ไปเกี่ยวกับการที่จะหาเสียงเลือกลงสมัครเป็น ส.ส. จะตั้งพรรคการเมืองหรือการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ถ้าทำอะไรที่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมันไม่มีอะไรที่เสียหายเลย ตราบใดที่ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้อื่น

เรื่องพันธมิตรฯ มันมีผลกระทบตรงที่การเคลื่อนไหวส่งผลกระทบต่อคนอื่น นักเรียนมาเรียนหนังสือโรงเรียนก็ต้องมาปิด วิธีการเคลื่อนไหวแบบดาวกระจาย ที่มันส่งผลกระทบต่อการจราจร หรือความปลอดภัยของข้าราชการ การเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดไม่ยั่ง แล้วก็สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น กับการทำงานของตำรวจหรือการรักษาความสงบ สิ่งนี้ในที่สุดก็เป็นปัญหา

ที่ผ่านเขาก็ได้ไปตั้งเวทีที่สวนลุมฯ สนามหลวง มีการเสวนาทางวิชาการ มีการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อันนั้นผมสนับสนุนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นมันอยู่กรอบในสิ่งที่จะทำ การแลกเปลี่ยนความคิดทางการเมืองไม่ใช่สิ่งที่เสียหายไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย การที่จะแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของความสงบ และไม่ใช่ไปเพ่งเล็งที่จะมาโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือแม้แต่จะมาถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง

ที่ผ่านมาไม่มีใครรู้มากนักว่าผมเคยทำงานที่ ASTV ในช่วงตอนต้นปี 2548 ตอนนั้นผมทำงานอยู่ที่ช่อง 11 เฉยๆ และก็ทำรายการภาษาอังกฤษตอนกลางคืน ส่วนทาง ASTV นั้นทางคุณสโรชาดูแลทางช่องข่าวภาษาอังกฤษ ผมไม่ได้คิดอะไรที่ทำ ซึ่งตอนนั้นผมประเมินว่าเป็นเพียงช่องโทรทัศน์ที่วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง พอได้ทำงานก็เริ่มชัดเจนขึ้นว่าจะเป็นการขับเคลื่อนเพื่อโค้นล้มรัฐบาล จากรายของคุณสนธิ มีเพื่อนร่วมงานจากช่อง 11 เตือนผมว่าผู้ใหญ่ไม่แฮปปี้กับการที่ผมทำงานที่นั่น แต่ผมคิดว่า บทบาทสื่อก็คือบทบาทสื่อ ผมจึงทำงานไปสักระยะและออกตอนหลังปฏิวัติ เพราะบทบาทมันเปลี่ยนไป เนื่องจากไม่ได้เป็นสื่อมวลชนแบบเพียวๆ สื่อยุ่งกับการเมือง การเมืองยุ่งกับสื่อจนแยกกันไม่ออก

ผมคิดว่าเราเข้าใจผิดในบทบาทการเคลื่อนไหวของประชาชน การเคลื่อนไหวเพื่อโค้นล้มรัฐบาล โดยการใช้สื่อปลุกระดมคนออกมาแล้วขับไล่รับบาล นี่คืออารมณ์ค้างจากอดีตในสมัยที่ไทยมีรัฐบาลแบบเผด็จการจริงๆ แบบยุคของจอมพลสฤษดิ์ ในไทยเราผ่านช่วงนั้นมาแล้ว แต่ความรู้สึกของคนไทย และสื่อมวลชน เรายังเจอกับรับบาลที่ไม่ได้ให้สิทธิและเสรีภาพเท่าที่ควร เราจะอยู่ในบรืบทว่าพอมีรับบาลไหน แสดงท่าทีว่ามีอำนาจการบริหารอย่างเต็มที่ ทุกคนที่ต่อต้านรับบาลที่มาจากการรับประหาร ก็คิดว่าพวกนี้ทำตัวเหมือนเผดก็จการ เป็นอารมณ์ค้างที่ปลุกขึ้นมาได้ เป็นการจุดความรู้สึกในอดีต และคิดว่านักการเมืองนายทุน หรือนัการเมืองที่โกงกิน ในที่สุดก็จะบริหารแบบทหาร ฉะนั้นหากอารมณ์ค้างนี้ยังเหลืออยู่ โดยเชื่อว่านักการเมืองที่ได้มาโดยการซื้อเสียงก็มไม่ต่างจากทหารที่บริหารประเทศแบบเผด็จการ

ดังนั้นกลุ่มมวลชนที่ชุมนุมพันธมิตรฯ มีการปลุกความรู้สึกของตนเองว่า รัฐบาลมีการยึดอำนาจโดยการซื้อเสียง และอยู่ในอำนาจรวมทั้งบริหารราชการแผ่นดินโดยที่ไม่ให้ความยุติธรรมของประชาชน จึงต้องใช้วิธีโค่นแบบเดียวกับอดีต ซึ่งมันเป็นบริบทเดิมจนคุณลืมนึกไปว่า เราอยู่ในยุคสมัยที่หากต้องการให้ใครออกจากตำแหน่ง มันต้องทำในระบบ ในเกมรัฐธรรมนูญ เพราะนายกสมัยนี้มาจากการเลือกตั้ง อย่างน้อยต้องใช้วิธีระบบตุลาการ ระบบรัฐสภา และระบบบริหาร แต่ผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายคนที่เคยหนุนให้เกิดการรัฐประหาร 2549 ก็เริ่มจะเข้าใจแล้วว่าต้องทำในกรอบระบบ เพราะคนที่เป็นนายกมาจากกระบวนการความเป็นประชาธิปไตยจริงๆ

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเชื่อว่าในตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่ทิ้งอารมณ์ค้างในอดีต และกำลังกลับเข้าสู่จุดยืนที่เข้าใจแล้วว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะซื้อเสียงก็ต้องทำการโค้นล้มตามกระบวนการ กกต. ต้องพิจารณา สภาอภิปรายไม่ไว้วางใจเอาจนลงให้ได้ แต่ ณ ตอนนี้ผมได้มีการพูดคุยกับนายทหารหลายคนแล้ว ต่างก็คิดว่าต้องมีการทำตามระบบ นี่คือความเชื่อของผมที่ว่าจะไม่มีการปฏิวัติอีกแแล้ว ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่ว่าใครอยู่ในตำแหน่ง ผบ.ทบ แต่ผมก็มั่นใจใน ผบ.ทบ. คนปัจจุบัน ซึ่งหามีการปฏิวัติอีกรอบ ก็ต้องเผชิญกับสิ่งที่อาจคาดไม่ถึง

ส่วนการเคลื่อนไหวใในสภา ซึ่งสอดคล้องกับเกมนอกสภา และชูให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่หากอยู่ในสภาก็ต้องยอมรับในความเป็นจริง แน่นอนว่านอกสภาเป็นตัวกดดัน และอาจเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น ตอนนี้ผมเริ่มที่จะเรียนรู้ และติตามการการเมืองแบบไทย จึงเข้าใจแล้วว่าบทบาทการเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศนี้ยากกว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศอื่น คุณต้องทันเกมทุกฝ่าย ในระบบรัฐสภาของประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทยเรา ที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้ล้อมรอบคนไม่กี่คนที่เป็นผู้นำของพรรคการเมืองนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ ส.ส. ค่อนข้างจะอยู่ในอาณัติของหัวหน้าพรรค และหัวหน้าพรรคที่เป็นนายกฯ หรือเป็นรัฐมนตรี ก็สามารถควบคุมผ่ายนิติบัญญัติ ส.ส. ได้ในระดับหนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติในที่สุดจะทำงานใต้ฝ่ายบริหาร

แต่นายกรัฐมนตรีในไทย คุณต้องสู้กับ 3 กิ่งแห่งอำนาจ รีแอ็กติ้งเอเจน คือ 1. สื่อมวลชน ในแต่ละประเทศจะมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน ในสำหรับไม่แอ็กทีฟในการตรวจสอบนักการเมือง วัฒนธรรมของสื่อไทยแอ็กทีฟมาก ซึ่งผมมองว่าอยู่ในระดับเหมาะสม แต่ก็ขึ้นอยู่กับบางฉบับ ซึ่งไม่ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี หากนายกฯ กระตุ้นให้สื่อโมโห สื่อก็จะเล่นอย่างนั้นไม่ว่าจะกี่ปีกี่ชาติ นี่คือปัญหาในการบริหารประเทศ

ซึ่งสื่อต้องนำข้อมูลมานำเสนอ แต่วัฒนธรรมจะทำหน้าที่สวนทางในทางข้อมูลหน่วยงานที่กลั่นกรองความคิด และตอบโต้จุดยืนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกฯ ต้องดูการคานอำนาจจากฝ่ายตุลาการ และพยายามควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติด้วย การพูดคุยของนายกรัฐมนตรีจะเป็นตัวชี้วัดการตอบโต้ความรุนแรงของสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องดีในการตรวจสอบ แต่ยากในการที่รับบาลจะขยับเขยื่อน เพราะต้องสู้ทุกวัน

อันดับ 2 คือ กลุ่มเอ็นจีโอบางกลุ่มที่จะโค้นล้มรัฐบาล การเคลื่อนไหวของมวลชนในไทย จะสอดคล้องกับสื่อมวลชน บางฉบับมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเคลื่อนไหวบางกลุ่ม หาก ครป. แถลงข่าว ไทยโพสต์อาจจะลงหน้าหนึ่งให้มากกว่าเล่มอื่น หนังสือพิมพ์ไทยจะให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของมวลชน เพราะมีความเชื่อลึกๆ ว่าสื่อของตนเองมีบทบาทในการคานอำนาจของรัฐบาล หากอยู่ในความพอดีก็จะดี นอกจากนี้กลุ่มมวลชนเอ็นจีโอมีการคานอำนาจรัฐบาลในยามที่ควรและไม่ควร แต่สมมติว่า

ในปัจจุบันพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวตามแผนดาวกระจายทุกมุม และพาดหัวทุกวัน ผมก็สงสัยว่าทำไมต้องให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ในทุกรูปแบบของมวลชนกลุ่มหนึ่งขนาดนั้น ซึ่งจะถือเป็นความชอบธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนที่ตัดสิน แต่ผมกำลังบอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชน อยู่ที่สื่อเลือก สังคมจะมองในบริบทที่มีความชอบธรรมหรือไม่อยู่ที่หนังสือพิมพ์หลักๆ ของประเทศ ซึ่งหากสื่อบางกลุ่มกับเอ็นจีโอบางกลุ่มทำการร่วมมือกันเพื่อโค่นล้มรัฐบาล จะเป็นเรื่องที่เหนื่อย

สิ่งที่ทำให้ชาวต่างชาติมาถามผมว่าทำไมถึงมีการชุมนุม และเป็นเรื่องใหญ่เหลือเกิน จริงๆ แล้วมันก็อยู่ที่สื่อให้ความสำคัญ และเล่นเป็นข่าวหน้าหนึ่งทุกวัน ก็ชัดว่าต้องการกดดันรัฐบาล ซึ่งแสดงว่าสื่อมีอำนาจมากในการที่จะกำหนดว่านายกฯคนหนึ่งสามารถอยู่ได้กี่ปี ซึ่งเมื่อก่อนผมไม่เชื่อ แต่ตอนนี้เพิ่มเริ่มเข้าใจแล้วว่า หากทำให้หนังสือพิมพ์เป็นศัตรูก็ยากที่จะมีอนาคตในทางการเมือง นอกจากฐานเสียงจะแข็งจริง ตอนนี้ผมพยายามจะปรับตัวให้เข้าใจกับระบบอย่างนี้ สำหรับประเทศไทย จะไม่มีวันที่คุณจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แล้วคิดที่จะมาครอบงำกลุ่มเอ็นจีโอ และหนังสือพิมพ์ได้ หากคิดอย่างนั้นในที่สุดไปไม่รอด ก็ต้องมีการประนีประนอมกัน หากมีการฆ่า ดังนั้นผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายคือ นายกรัฐมนตรี และ สื่อต้องเรียนรู้ที่จะทำงานซึ่งกันและกัน

ส่วนอันดับสุดท้ายคือกองทัพ กองทัพไทยมีบทบาทที่แตกต่างจากประเทศอื่น เช่น บทบาทในการปกป้องเขตแดน ซึ่งเรื่องเขาพระวิหารน่าจะจบได้แล้ว เมื่อ ผบ.ทบ. บอกว่าเราไม่เสียดินแดน แต่ทหารนอกจากที่จะปกป้องแผนดินไทยแล้ว ยังมีบทบาทที่เข้ามาคานอำนาจฝ่ายบริหาร ที่ไม่ควรจะมี ซึ่งถือว่าเปลี่ยนยาก

แต่หากจะมีการลดบทบาทนี้ลง ก็ถือว่าเป็นเป้าหมายที่ถูกต้อง แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเป็นจริง แต่ต้องไม่ลืมว่า วิธีการลดบทบาท ต้องทำให้ทหารไม่รู้สึกว่าบทบาทลดลงไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่ต้องทำให้ทหารไม่รู้สึกว่าเขากำลังถูกลดบทบาท คือต้องทำการสื่อสารผ่านยังสื่อมวลชน และกลุ่มเอ็นจีโอสายหลักๆ เหล่านี้ ภาพรวมของปัญหาหลักเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ที่ยังไม่สามารถปรับตัวเข้าหาได้

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละประเทศที่จะวิวัฒนาการขั้นตอนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้น ต้องเจอกับความวุ่นวายจากการเรียกร้องของมวลชนอย่างแน่นอน ในที่สุดแล้วก็จะเจอกับรูปแบบของประชาธิปไตยที่เข้ากับวัฒนธรรมของสังคมนั้น ซึ่งความจริงมันไม่ควรเป็นอย่างนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปถ้าประชาธิปไตยแบบไหนจะอยู่ได้นานจริง ต้องสามารถเข้ากันได้รับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

แม้ว่าผมบอกว่าอยากที่จะเปลี่ยนนั่นเปลี่ยนนี่ แต่ผมก็เข้าใจว่ามันเปลี่ยนทุกอย่างไม่ได้ มันต้องเป็นไปในรูปแบบพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไปในจุดที่มีความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น