WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 4, 2008

วิพากษ์แนวคิด 30:70 ทางออกของพันธมิตรฯ (จบ)

คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

ฉบับวานนี้ ‘ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์’ ได้ชำแหละแนวคิดของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กรณีข้อเสนอ “การเมืองใหม่” ที่จะประกาศกันในวันนี้ โดยได้วิพากษ์เอาไว้น่าฟังว่าข้อเสนอดังกล่าว ในรูปแบบ 70: 30 เป็นแนวคิดถอยหลังเข้าคลอง อนุรักษนิยม ปฏิกิริยาล้าหลัง คลั่งชาติขึ้นเรื่อยๆ

“พูดได้ว่าแนวคิด 70: 30 เป็นแนวคิดที่ถอยหลังเข้าคลอง เป็นแนวคิดที่ดูเหมือนก้าวหน้า แต่จริงๆแล้วเป็นแนวคิดแบบปฏิกิริยาล้าหลัง เป็นความคิดแบบอนุรักษนิยมที่พยายามโจมตีการเลือกตั้ง ทุกคนรู้ว่าการเลือกตั้งมีปัญหา การเลือกตั้งทำให้คนบางกลุ่มมีอำนาจมากเกิน แต่วิธีการโจมตีสร้างกระแสแบบนี้ขึ้นมาเป็นคนละเรื่องกับทางออกที่กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอ

คือพันธมิตรฯ พูดถึงปัญหาที่ทุกคนบนโลกรู้ว่า มันมีอยู่แต่ทางออกที่เอาระบบแต่งตั้งขึ้นมามันไม่ได้แก้ปัญหา พูดได้ว่าเป็นการมั่วประเด็น มีปัญหาในเรื่องการเลือกตั้งเลยบอกว่าไม่เลือกตั้ง เลยเอาแต่งตั้งมาดีกว่า นี้คือการมั่วประเด็นทางการเมือง ถ้าการเลือกตั้งมีปัญหาวิธีแก้ต้องจัดการเลือกตั้งให้มีปัญหาน้อยลง เช่น ให้พรรคการเมืองตั้งได้อิสระมากขึ้น ควบคุมบริหารการใช้เงินมากขึ้น จัดเขตเลือกตั้งให้เล็กลงเพื่อให้คนที่เป็นตัวแทนระดับรากฐานจริงๆมีโอกาสเข้าสู่การเลือกตั้งแล้วชนะได้ เช่น ในสมัยรัฐธรรมนูญปี 2540 ชัดเจนเพราะเขตเลือกตั้งเล็ก ตัวแทนจำนวนหนึ่งเป็นตัวแทนที่ประชาชนชอบและเข้าไปได้จริงๆ

ปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง โยงกับวิธีจัดการเลือกตั้ง วิธีการบริหารการเลือกตั้ง ไม่ได้มีทางออกที่บอกว่า เลิกการเลือกตั้ง แล้วนำการแต่งตั้งเข้ามาแทน ในแง่ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองทั่วโลก ปัญหาที่มีมา คือการต่อสู้ของอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง และอำนาจที่มาจากการแต่งตั้ง ใครควรถือว่าเป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริงมากกว่ากัน”

สังคมประชาธิปไตยทั้งหมดอยู่บนหลักการที่ว่า อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง คืออำนาจที่มาจากประชาชน พันธมิตรฯ โจมตีเรื่องการเลือกตั้ง โจมตีได้ แต่ว่าทางออกของพันธมิตรฯ ไม่ใช่ทางออกที่ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น ทำให้คนบางกลุ่มที่มีอำนาจในการแต่งตั้งมีอำนาจขึ้นมาเองนั้นคือการกลับไปสู่ ‘การเมืองของอภิสิทธิ์ชน’

หลักการสำคัญ คือประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประชาชน หมายถึงประชาชนระดับปัจเจก คือคนแต่ละคน ประชาธิปไตยทำงานบนความเชื่อที่คนแต่ละคนเท่ากัน หมายความว่า คนแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกได้ว่า อยากยกคะแนนเสียงของตนให้ใคร อยากให้ใครเป็นนายกฯ

*แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมา พันธมิตรฯ ไม่เชื่อในหลักการแบบนี้ ?

ปัญหาคือ พันธมิตรฯ ไม่เชื่อเรื่องนี้ พันธมิตรฯเชื่อว่า ประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศของเราโง่ การศึกษาต่ำไม่เข้าใจการเมืองดีพอ ถึงถูกหลอกให้ซื้อเสียงแล้วก็ไปเลือกนักการเมืองที่ไม่ดีขึ้นมา ความคิดว่าการเมืองควรจะเป็นเรื่องของคนที่มีการศึกษา มีความคิดดี มีความเข้าใจการเมืองดีแล้วเท่านั้น ความคิดแบบนี้ เป็นความคิดแบบชนชั้นสูง อนุรักษนิยม พวกปฏิกิริยา

การเมืองแบบประชาธิปไตยไม่ได้วัดว่า ใครฉลาดกว่ากัน ใครเป็นคนดีกว่า ใครมีการศึกษาสูงกว่ากัน แต่มีความเชื่อว่าแม้กระทั่งคนที่มีการศึกษาต่ำที่สุด ก็มีเสียงเท่ากับคนที่มีการศึกษาดีที่สุดของประเทศ เพราะฉะนั้น จึงใช้วิธีว่าหนึ่งคนหนึ่งเสียงในที่สุดทุกคนเท่ากันหมด ฐานในการสร้างการเมืองใหม่ต้องยึดเรื่องความเชื่อที่ว่า คนแต่ละคนเท่ากัน ถ้าไม่เอาเรื่องนี้เป็นหลักการ เสนอข้อเสนอใดๆ ก็จะออกทะเล หรือเข้ารกเข้าพงไป

แม้กระทั่งในฝ่ายพันธมิตรฯเองยังรับเรื่อง 70: 30 ไม่ได้ จากที่ได้อ่านในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่คุณสุริยะใส ให้สัมภาษณ์เองว่า พวกพันธมิตรฯ เองก็ไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง 70:30 ถ้าพูดเล่นๆ ก็ไม่รู้ว่าจะมีแต่คุณสุริยะใสที่เข้าใจคนเดียวหรือเปล่า? โดยกระแสสังคมยังเข้าใจได้ยาก เพราะว่าไม่มีหลักประกันว่า คนแต่ละกลุ่มอาชีพจะถูกดึงเข้าไปอยู่ใน 70 เปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร เป็นข้อเสนอที่ในทางการเมืองเลื่อนลอย เหมือนกับบอกให้ประชาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองเซ็นเช็คเปล่า ยกอำนาจให้พันธมิตรฯ ไป แล้วเชื่อว่าพันธมิตรฯ จะเอาเช็คไปใช้เพื่อเราจริงๆ

เมื่อก่อนพวกพันธมิตรฯ ชอบโจมตีพวกนักการเมืองว่า เป็นพวกที่มาจากการเลือกตั้ง 5 วินาที ประชาชนก็เหมือนเซ็นเช็คเปล่าให้นักการเมืองไปทำอะไรตามอำเภอใจ แต่ว่าระบอบใหม่ของพันธมิตรฯ แย่กว่านั้น เพราะหลอกประชาชนให้ไปเซ็นเช็คให้ใครก็ไม่รู้ ในระบบเลือกตั้ง เรายังรู้ว่าเซ็นเช็คให้ใคร ยังรู้ว่าจะไปยึดเช็คคืนจากใครได้ แต่ในระบบ 70: 30 ไม่มีใครรู้ว่าระบบเป็นอย่างไร อาจเป็นแนวทางที่เคยเกิดในการเลือกตั้ง ส.ว.ที่ผ่านมาหลังรัฐประหาร ซึ่งพันธมิตรฯ ไม่เคยคัดค้านเลย คือคน 7 คนมีอำนาจในการเลือก ส.ว.เท่ากับคน 30 ล้านคน เป็นไปได้อย่างไรที่ระบบประชาธิปไตยในประเทศนี้อ้างว่าคน 7 คนมีอำนาจเท่ากับคน 30 ล้านคน ในการเลือก ส.ว. พันธมิตรฯ ไม่เคยพูดเรื่องพวกนี้ว่าเป็นเรื่องที่ผิด

*มาถึงตรงนี้ มองการขับเคลื่อนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?

กลุ่มพันธมิตรฯ มาจากองค์ประกอบหลายส่วน เฉพาะพวกที่เรียกว่าตนเองเป็นภาคประชาชน หรือพวกที่เป็นนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย มีปัญหาคือ ไม่เคยเจอการเมืองมวลชนหรือการเมืองบนท้องถนนที่มีขนาดเท่าพันธมิตรฯ มาก่อน เลยคิดว่าการมีมวลชนจำนวนมาก เท่ากับเป็นการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่

การเมืองแบบมวลชนในหลายประเทศ ไม่ได้หมายถึงการเมืองแบบประชาธิปไตย การเมืองแบบมวลชนอาจจะเป็นการเมืองแบบอนุรักษนิยม การเมืองชาตินิยม ราชาชาตินิยมก็ได้ คนที่ฆ่านักศึกษาตอน 6 ตุลา ก็มีมวลชนจำนวนมากบนท้องถนนที่พร้อมจะฆ่านักศึกษาเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น การเมืองมวลชนไม่เท่ากับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อให้มีมวลชนบนท้องถนนแค่ไหน ถ้าขบวนทั้งขบวนไม่ยึดหลักว่า ‘คนทุกคนเท่ากัน’ ไม่ว่าจะมีชาติกำเนิด ฐานทางสังคมแบบไหน หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน นั่นก็ไม่ใช่ขบวนการประชาธิปไตย โดยส่วนตัว เชื่อว่าพวกพันธมิตรฯ จะเป็นพวกคลั่งชาติขึ้นมาเรื่อยๆ

*มีความเห็นอย่างไรที่หลายฝ่ายบอกว่าขณะนี้สังคมไทยใกล้วิกฤติ มีการแบ่งขั้ว มีการเผชิญหน้ากัน ?
การเผชิญหน้าทางการเมืองไม่ได้หมายถึง การมีความรุนแรงทางการเมือง ถ้าเราเชื่อจริงๆว่าการชุมนุมเป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย พันธมิตรฯ ก็จะชอบพูดว่าการชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย ถ้าเช่นนั้นการชุมนุมก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร โดยส่วนตัวก็คิดว่า ไม่ต้องสนใจอยากจะชุมนุมก็ชุมนุมไป เป็นสิทธิเสรีภาพของคนที่เชื่อแบบพันธมิตรฯ แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงแล้ว ทั้งฝั่งรัฐบาลกับฝั่งพันธมิตรฯ คล้ายๆ กัน คือพยายามทำให้คนในสังคมรู้สึกว่า สถานการณ์ในประเทศแบ่งขั้ว แล้วประชาชนต้องเลือกข้าง

การแบ่งขั้ว ไม่ได้หมายถึงความรุนแรงในตัวมันเอง อย่างเช่น ถ้าพันธมิตรฯ พยายามให้การแบ่งขั้ว มันยกระดับไปสู่ความรุนแรงในหลายเรื่อง เช่นเรียกทหารออกมา เวลาผู้นำพันธมิตรฯ ขึ้นปราศรัย ก็จะพูดว่าให้ทหารที่รักบ้านเมืองออกมาได้แล้ว ประเด็นคือ เป็นการยกระดับจากการชุมนุมทางการเมือง การแบ่งขั้วทางการเมืองไม่ได้เป็นเรื่องน่าตกใจอะไร แต่การเรียกทหารออกมาเป็นเรื่องอันตราย เป็นปัญหาของพันธมิตรฯ ที่แยกไม่ได้ว่า การต่อสู้เพื่อพันธมิตรฯ เองไม่ได้เพื่อตอบปัญหาสังคมแล้ว

การชุมนุมของพันธมิตรฯ เองก็แปลกประหลาด จากการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยหลายเรื่อง เช่น วิธีจัดชุมนุมวิธีเคลื่อนชุมนุมแบบทางทหาร ในส่วนตัวคิดว่าไม่มีการชุมนุมที่ไหนในโลกที่ทำแบบที่พันธมิตรฯ ทำ แบบที่บุกทำเนียบ ที่แบ่งประชาชนเป็นกลุ่มต่างๆ แล้วเคลื่อนเพื่อให้ยึดพื้นที่ได้มากที่สุด วิธีการยึดพื้นที่เป็นเรื่องของการทหาร ไม่ใช่วิธีของการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของการจูงใจคนในสังคมให้อยู่กับฝ่ายเรา

การต่อสู้ทางการเมืองในแบบพันธมิตรฯ มีมิติหลายๆ เรื่องที่เราต้องถกเถียงต่อว่า เป็นการชุมนุมแบบประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตยแฝงอยู่เยอะ อย่างเช่น การชูเรื่องชาตินิยม ศาสนา พระมหากษัตริย์ ใครที่ไม่เห็นด้วยกับพันธมิตรฯ คือคนที่ไม่จงรักภัคดี เป็นคนที่ทำลายชาติ การชุมนุมแบ่งนี้เป็นการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยหรือเปล่า อย่างเช่น ในสมัยตอน 6 ตุลา คนจำนวนมากก็ออกไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปฯ แล้วอ้างว่าสู้เพื่อปกป้องชาติศาสน์ กษัตริย์ แล้วก็ฆ่าคนไปเป็นจำนวนมาก

เพราะฉะนั้น การชุมนุมแบบที่เน้นเรื่องความมั่นคงของชาติ เน้นเรื่องชาตินิยม การจงรักภักดี เป็นการชุมนุมแบบประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า!?