WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 4, 2008

จี้ปปช.สางคดีปรส.หลังดองนานนับปีส่อช่วยพรรคปชป.

“วีระ มุสิกพงศ์” จี้ ป.ป.ช.เร่งรัดคดี ปรส. สมัยนายหัวชวน แห่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯ ระบุทำรัฐสูญห้าแสนเจ็ดหมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่ ดีเอสไอ สอบสวนเสร็จแล้วนานนับปี ข่าวสะพัดอ้างมีการวิ่งเต้นกันหนัก เตือนขืนยึกยักเสี่ยงผิดรัฐธรรมนูญหากคดีหมดอายุความหรือผู้ต้องหาลอยนวล ระบุในสำนวนการสอบสวนมีชื่อ “ชวน หลีกภัย-ธารินทร์ นิมมานเหมินท์” ชัดเจน

นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ถึงประธานและกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ให้เร่งรัดดำเนินคดีกับคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)

ทั้งนี้เนื่องจากตนได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2549 ให้ดำเนินคดีกับคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่ง ปรส.นี้ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลที่จงใจขายทรัพย์สินสถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่ปิดกิจการในราคาขาดทุน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย รวมทั้งสิ้นเป็นเงินกว่า 570,000,000.00บาท (ห้าแสนเจ็ดหมื่นล้านบาท) ซึ่งพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคำร้องทุกข์และดำเนินการสอบสวนมาโดยตลอด และดำเนินการสอบสวนแล้วเสร็จ ส่งสำนวนให้ ป.ป.ช. แล้ว

นายวีระกล่าวว่า นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เปิดเผยอย่างชัดเจนเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษว่า กรณี ปรส.ขายทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้บริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเซีย ไฟแนนซ์ จำกัด ที่ไม่มีการประมูลหรือแข่งขันตามกฎหมาย ซึ่ง ปรส. ขายทรัพย์สินมูลค่า 115,890 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 19 ของมูลค่าทรัพย์สิน จากนั้นบริษัท โกลด์แมน แซคส์ฯ ได้ให้กองทุนรวมบางกอกแคปปิตอลเข้าทำสัญญากับ ปรส. ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำการสอบสวนเสร็จสิ้น และส่งให้ ป.ป.ช. ไต่สวน เมื่อต้นเดือนเมษายน 2550 ในฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวหรือมีแถลงการณ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือผลการสอบสวนจาก ป.ป.ช.ในคดีทุจริตที่สำคัญนี้แต่อย่างใด แต่มีกระแสข่าวแพร่หลายออกสู่สาธารณะในทำนองว่า คดีนี้มีการวิ่งเต้นกันขนาดหนัก รวมทั้งมีการเรียกรับประโยชน์จากคดี ซึ่งตนยังมองในทางที่ดีว่า ประธาน ป.ป.ช.กับพวก จะไต่สวนด้วยความเป็นธรรม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติมิให้ถูกโกงไป ประกอบกับ ป.ป.ช.ได้ดำเนินการสอบสวนมาเป็นเวลานานแล้ว โดยได้ครอบครองสำนวนการสอบสวนไว้เพื่อการสอบสวนมากกว่า 1 ปีแล้ว แต่สำนวนการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังไม่มีการชี้มูลความผิด ผู้ต้องหาทั้งหมดยังไม่ถูกส่งตัวขึ้นดำเนินคดีแต่อย่างใด

“ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้เริ่มต้นการร้องทุกข์ เพื่อนำคดีทุจริตรายใหญ่ของประเทศไทย ไปสู่กระบวนการสอบสวนพิจารณา หาผู้กระทำความผิด จนพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำการสอบสวนแล้วเสร็จ ส่งให้ท่านในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับกรรมการทุกท่านดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่นั้น ขอเรียนว่า ตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นั้น คดีที่ข้าพเจ้าร้องทุกข์จะต้องได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม แต่เท่าที่ผ่านมา เห็นว่าท่านในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” หนังสือของ นายวีระ มุสิกพงศ์ ระบุ

และยังระบุด้วยว่า หากคดีที่พนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษรับไว้เกิดหมดอายุความไปบางข้อหา หรือทำให้บรรดาผู้ต้องหาที่ได้รับแจ้งข้อหาแล้วพ้นผิดไป เพราะผลของอายุความ จะเสี่ยงต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ จึงขอให้เร่งรัดการสอบสวนโดยมิชักช้า และแจ้งให้ทราบภายในกำหนดระยะเวลา 15 วันด้วย

ในการที่ไปยื่นหนังสือต่อดีเอสไอนั้น นายวีระ กล่าวว่ามีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1.ต้องการกระตุกต่อมสำนึกของคนบางคน เพราะตอนนั้นแกนนำพรรคประชาธิปัตย์และแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวหาพรรคไทยรักไทยขายชาติ ไร้จริยธรรมทางการเมือง ซึ่งคำกล่าวหาเหล่านี้แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ บางคนก็เคยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่อง ปรส. ตนอยากถามว่าคนเหล่านั้นยังจำได้ไหม

ประการที่ 2 เรื่องของ ปรส. เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540-2541 เวลาผ่านมานานจนใกล้จะหมดอายุความแล้ว จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ตนจึงได้ออกมากระตุ้น และประเด็นที่ 3 ที่ตนร้องเรียนต่อดีเอสไอนั้น คือต้องการให้มีการสอบสวนผู้ที่เคยเป็นกรรมการ ปรส. ผู้บริหาร ปรส. และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่าใครสร้างความเสียหายอย่างไร

“กรณีที่ ปรส.ว่าจ้าง บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส (ประเทศไทย ) จำกัด มาเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ มีการต่อสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 แต่มีการทำสัญญาย้อนหลังไปถึงวันที่ 16 มีนาคม 2541 ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร” นายวีระกล่าวและว่า และตอนที่ ปรส.เปิดให้มีการประมูลในวันเดียวกัน หมายความว่าอย่างไร รวมทั้งการที่บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส อิงค์ เป็นผู้ชนะการประมูลครั้งนั้น ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทต่างชาติที่มาถือหุ้นในบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของ ปรส. ถึง 99.99% ทำได้อย่างไร อย่างนี้เป็นการขายชาติและไร้จรรยาบรรณหรือไม่

นายวีระได้ตั้งข้อสังเกตว่า การขายทรัพย์สิน ปรส.ในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ เป็นการนำทรัพย์สินมูลค่า 8 แสนล้านบาท ออกประมูลไปในราคาที่ต่ำมาก ทำให้ผลกำไรตกอยู่กับผู้ประมูลรายใหญ่ที่เป็นบริษัทต่างชาติ รวมทั้งมีลูกหนี้รายใหญ่หลายรายได้ว่าจ้างผู้ประมูล เพื่อประมูลทรัพย์สินของตัวเองออกมา ก่อนแบ่งปันผลประโยชน์กัน ขณะเดียวกันลูกหนี้หลายรายถูกเรียกเก็บหนี้เต็มทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ทั้งๆ ที่ผู้ประมูลหนี้ซื้อมาในราคาต่ำ เพียงไม่ถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้ยังไม่มีการดำเนินคดีกับผู้บริหาร 56 ไฟแนนซ์ที่ถูดสั่งปิดกิจการ

อนึ่ง แหล่งขาวดีเอสไอ เปิดเผยว่า การสรุปสำนวนคดีดังกล่าวมีผู้ที่มีชื่อเกี่ยวข้องด้วยกันหลายคน รวมทั้ง นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีต รมว.คลัง ด้วย