WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 3, 2008

จวก‘การเมืองใหม่’ทำลายปชต.ชี้ขัดรธน.-ส่อเข้าข่ายเป็น‘กบฏ’

นักวิชาการรุมจวกแนวคิด “การเมืองใหม่” ของพันธมิตรฯ ขัดขวาง-ทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ซ้ำยังขัดรัฐธรรมนูญ ส่อเข้าข่ายเป็นกบฏ แถมยังจะทำให้ระบบพรรคการเมืองเกิดความอ่อนแอ เป็นแนวคิดโบราณย้อนยุคไปหลังการปกครอง 2475 ระบุแกนนำพันธมาร ลอกไอเดียคนอื่นแต่หยิบมาไม่หมดและขาดความเข้าใจลึกซึ้ง

ความพยายามของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จัดการชุมนุมขับไล่รัฐบาลมาอย่างยืดเยื้อต่อเนื่อง และพยายามจะประกาศตัวเป็นอิสระจากกฎกติกาของบ้านเมือง รวมไปถึงการออกมาเสนอรูปแบบ “การเมืองใหม่” ที่ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาจุดประเด็น โดยมีสาระสำคัญ อย่างเช่นการ เสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีที่มาจากการเลือกตั้งเพียงร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ให้มาจากการสรรหานั้น

ได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถึงแนวคิดที่หลุดไปจากกรอบประชาธิปไตย ดังกล่าว

รศ.ตระกูล มีชัย อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องนี้จะต้องมีการถกเถียงกันอย่างมาก หากจะถามว่าการเมืองรูปแบบนี้ถือว่าเป็นโครงสร้างที่เป็นธรรมหรือไม่ คงไม่สามารถตอบได้ เพราะยังไม่ทราบรายละเอียดทั้งหมด แต่ไม่คิดว่าการเมืองรูปแบบนี้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด หรือจะเป็นการเมืองทางเลือกใหม่ อย่างที่พันธมิตรฯ ต้องการให้มีการกระจายอำนาจให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ

อย่างไรก็ตาม การเมืองรูปแบบใหม่ที่ฝ่ายพันธมิตรประกาศนั้น มาจากแนวคิดการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของระบบการเมืองที่ อ.ปราโมทย์ นาครทรรพ ได้เขียนไว้ในคอลัมน์หนึ่งของผู้จัดการเท่านั้น และความหมายที่ อ.ปราโมทย์ เขียนก็ไม่ได้หมายความอย่างที่ฝ่ายพันธมิตรฯ เอามาอ้าง

การที่นำมาขยายต่อตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดความหวาดกลัวของประชาชนว่าบ้านเมืองกำลังจะเข้าสู่ระบบช่วงการปกครอง พ.ศ.2475 และระบบการเมืองใหม่ที่นายสุริยะใสเสนอก็ไม่ใช่สิ่งที่นายสุริยะใสคิดเอง ว่าในระบบนี้เป็นการไม่ให้น้ำหนักสภามากเกินไป แต่จะเพิ่มกลไกและพิจารณาโครงสร้างการเมืองใหม่เท่านั้น

ประการที่สองที่พันธมิตรต้องการผลักดันให้เกิดการเมืองรูปแบบใหม่เพราะว่าองค์ประกอบการเมืองภาคประชาชนที่มีอยู่หลากหลาย อย่างกลุ่มเอ็นจีโอก็คิดว่าจะทำอย่างไรที่จะเข้ามาเป็นตัวแทนในสภาได้ ซึ่งก็มีทางนี้เท่านั้นคือเปลี่ยนรูปแบบการเมืองใหม่

อย่างไรก็ตาม รศ.ตระกูล เห็นว่าการเมืองรูปแบบดังกล่าวไม่อาจใช้ได้ในทันทีทันใด เพราะความจริงต้องมองที่ตัวโครงสร้างออกแบบการเมือง ไม่ใช่มามองที่ตัวบุคคล

“ตามหลักการถ้าจะให้ดีการสรรหาจะต้องไม่เป็นแบบวุฒิสภา แต่ต้องได้มาจากตัวแทนของกลุ่มชุมชนที่ประชาชนเลือก จะไม่มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อสรรหา คล้ายๆ เป็นตัวแทนที่ไม่มีสังกัด ซึ่งก็แสดงว่าจะได้กลุ่มที่หลากหลาย”
รศ.ตระกูล ยืนยันว่า รูปแบบดังกล่าวจะไม่สมบูรณ์แบบในตัวเอง เป็นเพียงการตกผลึกในเชิงความคิด ซึ่งไม่ใช่การคลายปมการเมืองไทย อีกทั้งยังมองว่าขณะนี้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการการเมืองที่มีเสถียรภาพและตรวจสอบได้ กลไกตรวจสอบต้องมาจากประชาชนที่หลากหลายอาชีพ และไม่ต้องการภูมิคุ้มกันจากทหาร แต่สิ่งที่พันธมิตรคิดเป็นเรื่องยากต่อความเข้าใจของประชาชน พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการเมืองรูปแบบใหม่นี้แน่นอน

ส่วนทางด้าน รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ำชัดว่า การเมืองรูปแบบดังกล่าวที่กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอนั้นไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพราะไม่ทราบที่มาที่ไปของคณะรัฐมนตรีว่าจะมาจากที่ไหนได้

“ไม่คิดว่ามีสาระที่จะเกิดขึ้นได้จริง เพราะฉะนั้นไม่ต้องมาดูถึงความชอบธรรมหรือขั้นตอนการได้มาของคณะรัฐมนตรีเลยว่าจะซ้ำซ้อน”

ถึงอย่างไร ยังไม่สามารถวิจารณ์ความคิดได้ว่าย้อนยุคไปสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรเมื่อปี พ.ศ.2475 หรือไม่ เพราะพันธมิตรไม่ได้เสนอรูปแบบอย่างละเอียดชัดเจน อีกประการหนึ่งยังขอยืนยันว่ารูปแบบการเมืองนี้ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย

ด้าน รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเมืองรูปแบบนี้เป็นการเสนอแนวทางใหม่ให้กับรัฐสภา แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เพราะแท้จริงแล้วการเมืองภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เป็นภาคที่มาเสริม ไม่ใช่มาแทนระบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งมีต้องถามกลับไปยังกลุ่มพันธมิตรฯ ว่าต้องการมาเสริมหรือมาแทนรัฐสภากันแน่

อีกทั้งต้องเกิดการถกเถียงในเรื่องของสัดส่วนของการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่เป็นธรรม ซึ่งการที่เกิดความไม่เป็นธรรมนั้นมาจากความคิดของพันธมิตรที่มองว่ารัฐสภาไม่เป็นธรรม จึงต้องการให้มีความหลากหลายของตัวแทน และมีการทำประชามติได้บ่อยครั้งขึ้น

“ระบบการสรรหาใช้เพียงเสริมเท่านั้น เพราะผู้แทนที่ได้มาจากภาคประชาชน เราจะยอมรับมากกว่า ความห่างของความสัมพันธ์ของประชาชนกับตัวผู้บริหารก็จะมากขึ้น เพราะไม่ได้มาจากคนที่ประชาชนรู้จักและเลือกมาเอง อีกทั้งจะเกิดความไม่ชอบธรรมที่ได้ผู้บริหารมาด้วย”

รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวเพิ่มเติมในหลักการว่าด้านตัวเลขสัดส่วนผู้แทนฯ ควรจะมีการเพิ่ม ควรจะอิงระบบการเลือกตั้งเป็นหลัก แล้วแต่งตั้งมาเสริม ซึ่งจะทำให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่า ทั้งนี้ รศ.ดร.ปณิธาน ได้แนะกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า ต้องมีการเสนอว่าจะได้มาซึ่งผู้แทนฯ อย่างไรให้เกิดความชอบธรรม คนกลุ่มใหม่จะมาจากที่ไหนอย่างไร เป็นกลุ่มตัวแทนอาชีพที่หลากหลายหรือไม่ และเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะผลักดันทุกอย่างไม่ว่าจะต่อต้านรัฐบาล หรือเรียกร้องในเรื่องต่างๆ ทางการเมืองต่อไป

ด้าน ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า ความคิดที่กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอมองผิวเผินเป็นเรื่องใหม่ แต่ความจริงแล้วเป็นความคิดแบบเก่า ยิ่งกว่าย้อนไปสมัยการปกครองก่อน พ.ศ.2475 อีก

ซึ่งต้องยอมรับว่าการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และต่อต้านรัฐบาล ไม่เป็นผล จึงต้องพยายามผลักดันแนวคิดใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ เพราะไม่สามารถหวังพึ่ง คมช. ได้แล้ว รัฐประหารก็ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งก็ไม่เป็นอย่างที่กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการ

ถึงแม้ว่ากลุ่มพันธมิตรจะเน้นอุดมการณ์ การเมืองต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นความคิดเดียวกันกับกลุ่มเอ็นจีโอ กลุ่มดังกล่าวจึงพยายามผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยแก่นสาร ไม่ใช่ประชาธิปไตยรูปแบบ

“ความคิดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโดยประชาชน ที่ไม่เชื่อว่าอำนาจประชาธิปไตยเป็นของประชาชน เขาไม่เชื่อระบบการเลือกตั้ง ไม่ชอบพรรคการเมือง เขาจึงพยายามคิดระบบใหม่ๆ จากที่ฟังมันยังกระท่อนกระแท่น ไม่สมบูรณ์ พอประกาสออกมาประชาชนจึงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก”

นอกจากนี้ยังเห็นว่า หากวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ จะปราศรัยเรื่องการเมืองรูปแบบใหม่อย่างครบเครื่อง ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะถือว่าเป็นกบฏทันที และรูปแบบดังกล่าวจะส่งให้พรรคการเมืองยิ่งอ่อนแอ ประชาชนจะไม่มีอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริง อำนาจหลักจะตกไปอยู่ที่กลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่มเป็นการสร้างความห่างให้กับประชาชนที่มีต่อผู้บริหารประเทศ

ถึงแม้ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ จะอ้างว่าผู้แทนบางส่วนได้มาจากการเลือกตั้งร้อยละ 30 ก็ตาม อย่างไรก็ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากรับสภาต้องได้มาจากการเลือกตั้งร้อยเปอร์เซ็นต์

“รูปแบบนี้เป็นไปไม่ได้ ยกเว้นจะเข้าไปยึดอำนาจรัฐ ซึ่งทหารไม่ยอมหรอก เพราะการยึดอำนาจไม่ใช่แค่ไปยึดล้อมทำเนียบ แต่หมายถึงการยึดอำนาจทุกอย่างของรัฐในประเทศ เมื่อประเมินแล้วการเมืองรูปแบบนี้เกิดผลเสียแน่นอน สื่อมวลชนก็ไม่ยอมรับ ยกเว้นจะมีการดีไซน์ใหม่ และการเมืองใหม่จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดภายหลังการแกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งก็ต้องมาถามกันอีกว่าใครจะเป็นคนแก้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติโดยประชาชน” ผศ.จรัล กล่าว

และทางด้านองค์กรอื่นมีความคิดเห็นต่อต้านแนวความคิดของกลุ่มพันธมิตรฯ เช่นเดียวกันกับนักวิชาการ โดย นายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน กล่าวว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอรูปแบบการเมืองแนวใหม่แบบนี้ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าคนรุ่นนี้จะมีความโบราณและไร้สาระได้ขนาดนี้

เนื่องจากไม่อยู่ในกระแสโลกแล้วยังล้าหลังอีก เพราะรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยก็ได้กำหนดเอาไว้ว่าตัวแทนของประชาชนที่จะสามารถเป็นปากเป็นเสียงได้ต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งรูปแบบที่พันธมิตรฯ เสนอมา ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ อีกทั้งนักวิชาการหลายคนคงไม่มีใครสามารถรับแนวคิดนี้ได้ และทั่วโลกคงต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์กลับมาแน่ ส่วนคนที่สามารถรับแนวคิดแบบนี้ได้ก็มีเพียงผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรซึ่งมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

ทั้งนี้เรื่องที่กลุ่มพันธมิตรฯเสนอมาทิศทางคงไม่น่าเป็นไปได้และก็คงไม่มีผล ซึ่งเป็นเรื่องโจ๊กเท่านั้น ถ้าจะเอาการเมืองรูปแบบนี้แล้วอ้างว่าทำเพื่อระบอบประชาธิปไตยคงไม่มีใครรับได้ และคนไม่ตอบรับข้อเสนอแน่นอน ซึ่งวิธีการยังมองว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เป็นการเสนอแนวคิดรวบอำนาจของกลุ่มอำมาตยาที่จะทำลายระบอบประชาธิปไตย