WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 2, 2008

ครม.เบรกแถลงการณ์ร่วม ส่งกฤษฎีกาอุทธรณ์ศาลปค.

ครม. เห็นชอบส่งคำสั่งศาลปกครองให้รัฐบาลกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อระงับใช้แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาไว้ก่อน เตรียมส่งกฤษฎีกาพิจารณาเห็นควรอุทธรณ์หรือไม่ ด้านเลขาฯ กฤษฎีกา รับเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุดก่อนส่งเรื่องกลับ ขณะที่"นพดล" ระบุรัฐบาลมีทิศทางการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น

หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้มีการดำเนินการใดๆตามแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและกัมพูชากรณีที่กัมพูชาจดขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาโดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งหลายฝ่ายได้พยายามแก้ปัญหามาโดยตลอดนั้น

* เขาพระวิหารแค่การเมือง
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม โดยนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับชุมชนไทยในปักกิ่ง ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง และได้ชี้แจงกรณีปัญหาปราสาทเขาพระวิหารว่าเป็นเรื่องการเมือง และมีการนำมาพูดกันในที่ประชุมสภาฯ นำมาฟาดฟันกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ เพราะกว่าจะประคับประคองไมตรีระหว่าง 2 ประเทศให้กลับคืนมาได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามดำเนินการใดๆ ตามแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา กรณีสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 รัฐบาลก็ต้องปฏิบัติตาม และนายกรัฐมนตรี 2 ประเทศ เพิ่งคุยโทรศัพท์กัน ว่าไม่มีอะไร เมื่อศาลสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม เราต้องเคารพศาล เรื่องนี้เป็นเรื่องสด ๆ ร้อน ๆ ที่ต้องการให้รับทราบกัน

นายสมัคร กล่าวถึงกรณีที่โทรศัพท์คุยกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่า ไม่ต้องการให้เกิดความตึงเครียด และแจ้งคำสั่งศาลปกครอง ที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้รัฐบาลกัมพูชาทราบ ต้องเคารพศาล และในฐานะหัวหน้ารัฐบาลทั้งสองก็จะช่วยกันรักษาสถานการณ์ โดยให้รัฐบาลกัมพูชาช่วยดูแลสถานทูตไทยในกัมพูชา ในทางกลับกัน ไทยก็จะดูแลสถานทูตและคนเขมรทางนี้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเขาพระวิหาร และที่ให้ช่วยดูแล เพราะเคยเกิดเรื่องกันมาแล้ว ทั้งนี้ตนมีความกังวลใจเหมือนกันเพราะซวยทั้งคู่ ทางโน้นอยู่ก็โดนด่า ว่าเสียรู้ประเทศไทย ไทยก็โดนด่าว่าเสียรู้เขมร

* ส่งคำสั่งศาลให้กัมพูชา
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวผลการประชุมเกี่ยวกับคำสั่งศาลปกครองที่สั่งระงับมติครม.วันที่ 17 มิถุนายน 2551 และห้ามดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

นายสมชาย กล่าวว่า ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครองและขอให้กระทรวงต่างประเทศมีหนังสือชี้แจงไปทางรัฐบาลกัมพูชาและยูเนสโก คณะกรรมการมรดกโลก ที่เริ่มประชุมกันได้ทราบว่า มีคำสั่งศาลปกครองกลางออกมาให้ระงับการนำมติ ครม.นี้ไปใช้ เอาไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำสั่งของศาลเป็นที่สุด ส่วนวิธีการจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก็ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา นำไปพิจารณาเพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป

นายสมชาย ยังกล่าวถึงท่าทีของ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพียงสั้นๆ ว่า นายนพดลไม่ได้พูดอะไร ส่วนตนเองไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะเกรงจะเสียหายส่วนที่นายนพดลไม่ได้แถลงข่าวเอง เพราะติดภารกิจ

* ยันรัฐบาลมีทิศทางดี
ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า นับเป็นทิศทางที่ดี แต่ตนต้องพารมว.ต่างประเทศมาเลเซีย ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่หัวหิน ทุกอย่างเรียบร้อย และครม.ก็ไม่ได้คุยเรื่องการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัคร คุยกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แล้วใช่หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ใช่แต่ตนไม่รู้คุยอะไรบ้าง แต่ทุกอย่างจะดีขึ้น และตนจะทำหนังสือถึงกัมพูชาเพราะจะทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น

* ทหารต้องรักษามิตรประเทศ
พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. ให้สัมภาษณ์กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ว่า ไม่อยากพูดเพราะเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งทางตนเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้รับผิดชอบ หากไปพูดจะเกิดความสับสน ให้กระทรวงการต่างประเทศพูดดีกว่า ตนยืนยันได้อยู่อย่างเดียวว่า ทหารต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับกรณีจะใช้การเจรจาทางทหารเพื่อช่วยรัฐบาลหรือไม่นั้น พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เรื่องนี้ทหารของทั้งสองฝ่ายไม่เกี่ยว เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายไม่เกี่ยวกับทหาร ส่วนการที่ให้ผู้ช่วยทูตทหารไปช่วยเจรจาหรือไม่นั้น ผู้ช่วยทูตทหารก็ไปไม่ถึงเพราะไม่รู้ กระทรวงการต่างประเทศเขารู้จริง ให้เขาคุยกัน คิดว่าเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะประชาชนก็ไม่รู้รายละเอียด เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเขารู้ดี

“เราต้องเชื่อมั่นกระทรวงการต่างประเทศ เพราะเขาเป็นข้าราชการมีความรักและหวงแหนประเทศชาติเหมือนทุกคน ต้องเชื่อเขา ต้องไว้ใจเขา ต้องให้เกียรติกระทรวงการต่างประเทศ เพราะเขาคลุกคลีเรื่องนี้มาตลอด ซึ่งกระทรวงต่างประเทศรับผิดชอบเรื่องนี้เราเป็นทหารต้องเชื่อใจเขา เราเป็นทหารไม่รู้กฎหมายทั้งหมด”

* แจ้งกัมพูชา-กก.มรดกโลก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทบทวนการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ว่า ต้องฟังความเห็นจากครม.ทั้ง 35 ท่าน กระทรวงการต่างประเทศ และทางคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาเช่นนี้แล้วข้อยุติควรเป็นประการใดและต้องดำเนินการอย่างไร โดยส่วนตัวเห็นว่าความเห็นของ กระทรวงการต่างประเทศควรจะต้องเอามาเป็นน้ำหนักว่าท่านเห็นอย่างไร

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศจะเสนอให้มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองนั้นตนคิดว่าสุดแต่จะเห็นอย่างไร คำสั่งศาลปกครองยังเป็นเพียงการคุ้มครองชั่วคราว ยังไม่มีข้อยุติประเด็นพิพาท ถ้าอุทธรณ์ว่าไม่ควรคุ้มครองซึ่งท้ายที่สุดประเด็นหลักก็ไม่ได้รับการวินิจฉัยอยู่ดี ดังนั้นทางออกจะเป็นอย่างไรต้องถามครม.ทั้ง 35 ท่าน

อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีความเป็นห่วงว่าหากมีการยื่นอุทธรณ์จะยิ่งทอดเวลาออกไปและไม่ทันต่อการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก นายชูศักดิ์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวดีที่สุดที่ตนจะเสนอความเห็นต่อครม.คือควรมอบให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งข้อเท็จจริงไปยังกัมพูชาและฝากตัวแทนฝ่ายไทยไปแจ้งทางคณะกรรมการมรดกโลกไปว่ากระบวนการของฝ่ายไทยยังอาจมีปัญหาอยู่ โดยขณะนี้มีคำสั่งศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราวระงับมติครม. และมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้ตีความว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเข้าข่ายสนธิสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งอาจมีปัญหาในภายหลังได้ หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเข้ามาตรา 190 ก็จะทำให้กระบวนการของครม.ไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายตามมา ก็แจ้งตามข้อเท็จจริง

นายชูศักดิ์ ส่วนจะมีผลกระทบต่อแถลงการณ์ร่วมที่ไทยได้ลงนามกับกัมพูชาไปแล้วหรือไม่ก็เป็นปัญหากฎ หมายระหว่างประเทศที่อาจต้องไปดูหลักกฎหมายว่าเมื่อลงนามไปแล้วจะสามารถทบทวนได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่

* กฤษฎีการับพิจารณาด่วน
นางพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปออกมาว่า จากนี้ไปคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง หลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยและกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งจะต้องดูด้วยว่าจะนำคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดปกติหรือจะต้องแต่งตั้งคณะพิเศษขึ้นมาทำงาน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาแต่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการโดยเร็วที่สุดเพื่อนำกลับเข้าคณะรัฐมนตรี

นางพรทิพย์ ยังกล่าวถึงกรณีจะมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พิจารณาในมาตรา 190 ว่า โดยหลักการแล้วแถลงการณ์ร่วมไม่ใช่หนังสือสัญญาก็จะต้องกลับไปดูสาระของหนังสือด้วยว่าเป็นหรือไม่ อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ คณะรัฐมนตรีไม่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปดูแล

* ย้ำไทยหมดสิทธินานแล้ว
นายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ แถลงว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าคดีนี้ ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แต่ไม่ได้พิพากษาว่าเขตแดนบริเวณดังกล่าว เป็นไปเช่นใด ไทย- กัมพูชามีความเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาที่ต่างกัน โดยไทยเห็นว่า เส้นเขตแดน ควรเป็นไปตามสันปันน้ำ ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา สยาม – ฝรั่งเศส ค.ส. 1904 และ 1907 ส่วนกัมพูชาเห็นว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตามแผนที่ ของคณะกรรมการที่กัมพูชา ใช้ประกอบในคำฟ้อง

นายกฤต กล่าวว่า ขณะนี้ในเรื่องสิทธิการทบทวนคำพิพากษา มีนักวิชาการและนักกฎหมายบางท่าน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสิทธิการเรียกร้องปราสาทเขาพระวิหารคืน โดยให้ความเห็นว่า ในการปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไทยได้สงวนสิทธิ์ ในการเรียกร้องปราสาทเขาพระวิหารคืน โดยอ้างถึง หนังสือของรมต.ต่างประเทศ ดร. ถนัด คอมันตร์ ที่ได้แจ้งต่อองค์การสหประชาชาติว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา แต่ก็ปฏิบัติตามพันธกรณีข้อ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ และไทยได้สงวนสิทธิ์ในการเรียกร้อง ปราสาทเขาพระวิหารคืน โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความสัมพันธ์ 2 ประเทศ ต่อความมั่นคงของชาติ

“ตอนนี้เวลาได้ล่วงเลยมาแล้ว 46 ปี และรัฐบาลไทยเองก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อขอทบทวนคำพิพากษา ซึ่งได้มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาไปแล้ว ดังนั้นสิทธิที่สงวนไว้ในการทบทวนคำพิพากษา จึงสิ้นสุดตามบทบัญญัติ ข้อ 61 (5) ภาษากฎหมายเรียกว่า คดีหมดอายุความ สำหรับข้อวิจารณ์ที่ว่า คำพิพากษามิได้มีมติเป็นเอกฉันท์ และในอนาคตความเห็นแย้ง อาจเป็นที่ยอมรับปฏิบัติ หรือแม้จะมีการพัฒนาทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ก็ไม่อาจมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีนี้ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักกฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น สิทธิในอนาคตในการเรียกร้องปราสาทเขาพระวิหารคืน ที่ไทยได้สงวนไว้ถือว่าสิ้นสุดไปแล้ว”

* กัมพูชาเข้าใจการเมืองไทย
ทางด้าน เว็บไซต์หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ ของกัมพูชารายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ของ นายพัย สีปาน โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ระบุว่า รัฐบาลกัมพูชาจะเดินหน้าผลักดันให้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ขึ้นทะเบียนให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อไป แม้ว่า ศาลปกครองของไทยจะตัดสินว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถให้การสนับสนุนการเสนอชื่อปราสาทเขาพระวิหารของรัฐบาลกัมพูชาได้ก็ตาม

นายพัย กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาภายในของไทย พร้อมกับยืนยันว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาก็ต้องการให้ปราสาทเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ดังนั้นกัมพูชาจึงไม่ได้ให้ความสนใจกับคำตัดสินของศาลปกครองของไทย พร้อมกับบรรเทาความวิตกที่ว่าอาจจะเกิดเหตุวุ่นวายในกัมพูชาจากความไม่พอใจในความพยายามขัดขวางในเรื่องนี้ของคนไทยบางกลุ่ม โดยบอกว่าตอนนี้ร้านอาหารไทยยังมีชาวกัมพูชาไปอุดหนุนแน่นร้าน