การไม่ตั้งอยู่บนหลักของนิติธรรม ย่อมอยู่ได้ไม่นาน และเป็นหนทางสู่ความเสื่อม เหมือนผู้มากบารมีทั้งหลาย ที่ประสพกับความเสื่อมในเวลานี้
สมัยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. รูสเวลล์ ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา หลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก ปี 1930s ซึ่งเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลก รูสเวลล์ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่อุปสรรคที่สำคัญของ รูสเวลล์ คือ ออกกฎหมายอะไรมา ศาลสูงของสหรัฐอเมริกา ก็วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญทั้งหมด เนื่องจาก "ศาลสูง" อเมริกาตอนนั้นส่วนใหญ่แต่งตั้งมาจากพรรคการเมืองตรงกันข้ามกับ รูสเวลล์ และมีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน
จนกระแสความชอบธรรมของศาลสูงตกลงไปมาก เพราะเอาตัวเข้ามายุ่งกับความขัดแย้งทางการเมือง สุดท้ายเมื่อสถานการณ์ด้านมวลชนสุขงอมพอ รูสเวลล์ ก็รณรงค์จะแก้ไข รธน. โดยเสนอให้อำนาจประธานาธิบดี ตั้งผู้พิพากาศาลสูงเพิ่มจาก 9 คนเป็น 15 คน (ผู้พิพากษาศาลสูงอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต) ถึงตอนนั้นศาลสูงสหรัฐจึงยอมและเลิกเป็นปฎิปักษ์กับประธานาธิบดี และสุดท้ายก็ไมได้แก้ไข รธน.
ตุลาการวิวัฒน์ของไทยก็เหมือนกันครับ หากพวกเขายุ่งการเมืองมากๆ ก็จะนำความเสื่อมมาสู่วงการตุลากาเอง และเมื่อความชอบธรรมของพวกเขาหมดไป และคาดว่าต้องหมดไปแน่นอน เพราะหากทำอะไรที่ขัดแย้งกับมหาชน และเลือกข้าง ความเสื่อมย่อมมาเยือนอยางแน่นอน เมื่อความชอบธรรมหมดไป มันก็ถึงเวลาที่ประชาชนจะรณรงค์เพื่อ "ชำระล้างวงการตุลาการ"
ถึงตอนนั้นก็ไม่ใครช่วยพวกเขาได้อย่างแน่นอน เพราะพวกเขา เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขัดแย้งทางการเมือง เป็นตัวปัญหาทางการเมือง ย่อมมีฝ่ายตรงกันข้ามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมไม่ได้เกรงกลัว หรือหวั่นวิตกต่อพวกตุลาการวิวัฒน์แต่อย่างใด เพราะถึงอย่างไรอำนาจอธิปไตยก็เป็นของปวงชน เมื่อบีบบังคับประชาชนมากๆ "เขื่อนแห่งความศรัทธาก็จะพังทลายลง" ใครก็ช่วยไม่ได้
เมื่อพวกนี้ใช้อำนาจศาลบ่อยครั้ง มันก็สร้างแรงต่อต้านขึ้นมาในระบบ
ศาล อาจกำจัดศัตรูบางคนได้ แต่ไม่อาจ "ทำให้ชนะเลือกตั้งได้" และยิ่งประชาชนรู้สึกว่า "ศาลไม่เป็นธรรม" ประชาชนจะออกคะแนนเสียงตรงกันข้าม หากพวกเขาใช้อำนาจศาลยับยั้งอีก พวกเขาก็ยิ่งตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
"ตุลาการวิวัฒน์" คือ ปราการสุดท้ายของพวกเขา เป็นเครื่องมือที่มีความบกพร่อง และไม่สะเด็ดน้ำ ยิ่งใช้ ยิ่งสร้างความเสื่อมมากยิ่งขึ้น
เครื่องมือของพวกอำมาตย์/ศักดินา เดี้ยงไปหลายอย่างแล้ว ตั้งแต่ให้ทหารทำรัฐประหาร ซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดแล้วสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย ไม่มีอะไรแย่ไปกว่านั้นแล้ว ใช้ม็อบพันธมิครก็ไม่ได้ผล ใช้ ปชป. กับ สว. ก็ไม่อาจแย่งอำนาจทางการเมืองไปได้
ตอนนี้ เหลืออาวุธ ที่ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ ไม่มีอานุภาพสูงสุดเท่ารัฐประหาร คือ ตุลาการวิวัฒน์
อาวุธที่บกพร่องนี้ จะทำให้พวกศักดินานี้อยู่รอดได้นานเท่าใด
กลโกง ความอยุติธรรม ไม่มีทางทำลายศรัทธาของประชาชนต่อคนที่เขานับถือได้หรอกครับ
ฝายประชาธิปไตยตอนนี้อาจเกิดความรู้สึกว่า เมื่อไหร่ประชาชนจะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินสักที เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงสักที และผู้มีอำนาจทั้งหลายต้องทำตามความต้องการของประชาชน
สำหรับผมนั้น ผมคิดว่าตอนนี้ประชาชนเป็นใหญ่แล้ว พวกเขาถึงได้หวาดกลัว และระดมเอาอาวุธต่างๆ ออกมาสู้กับประชาชน เพื่อรักษาป้อมปราการสุดท้ายของเขาไว้ให้ได้ แต่ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะรักษาเอาไว้ได้ เพราะไม่อย่างนั้น โลกมันก็คงหยุดนิ่งไม่พัฒนาไปนานแล้ว การเปลี่ยนแปลงทุกครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ พวกที่เสียผลประโยชน์ พวกล้าหลังจะออกมาต่อต้านเสมอ แต่สุดท้ายมันก็ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะไม่อย่างนั้น โลกก็คงไม่มาถึงจุดๆ นี้อย่างแน่นอน
ตอนนี้ พวกเขาพยายามอุดรูรั่วของเขื่อนที่กำลังใกล้จะแตกเต็มที แต่จะอุดได้นานสักเท่าใด จะขวางอำนาจของประชาชนไปได้กี่น้ำ
ผมไม่ได้กังวลเลยครับ เพราะผมเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้เกิดที่ "ผู้เลือกตั้ง" ไปแล้ว
คนชั้นนำ ที่เสวยประโยชน์จากโครงสร้างสังคมเดิม เท่านั้นที่กำลังดิ้นทุรนทุรายอย่างสิ้นหวัง เพื่อต่อต้านกระแสการเปลี่ยนแปลง
อย่าไปคิดเลยว่า ประเทศไทยจะหยุดนิ่งอยู่กับที่
จักรวรรดิ ที่ยิ่งใหญ่และทรงอำนาจมากที่สุดในโลก หลายจักรวรรดิ ต่างก็พังทลายไปหมดสิ้น ราชวงศ์ ที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก หลายๆ ราชวงศ์ ก็โดนโค่นล้มไปแล้วนับไม่ถ้วน ผู้นำที่เข็มแข็งทรงอำนาจ ก็ถูกปราบไปแล้วนับไม่ถ้วน
ตุลาการวิวัฒน์ เป็นแค่อุปสรรคอันสุดท้ายของ ฝ่ายประชาธิปไตยเท่านั้น เพราะการต่อสู้ที่แท้จริงเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศในยุคใหม่นั้น จะต้องต่อสู้กันในสนามเลือกตั้ง ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง "การสนับสนุนและลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง" จากประชาชน ตรงนี้เป็นภาคบังคับ ถึงอย่างไร หากไม่ชนะเลือกตั้ง พวกเขาก็ไม่มีทางได้อำนาจรัฐไป ไม่ว่าดิ้นรนอย่างไรก็ตาม เมื่อการเลือกตั้งใหญ่มาถึง พวกศักดินา อำมาตยาธิปไตยไม่ชนะเลือกตั้ง พวกเขาก็ไม่ได้อำนาจรัฐอยู่ดี
ดังนั้น การต่อสู้นอกเหนือไปจากนี้ ไม่ได้ส่งผลต่อการได้อำนาจทางการเมืองแต่อย่างใด เป็นเพียงแต่เกมการเมือง ที่ผู้มีอำนาจหลงไปเท่านั้นว่า เล่นเกมตรงนี้แล้ว พวกตนจะได้อำนาจรัฐ ได้อำนาจทางการเมือง แต่พวกเขาไม่เฉลียวใจว่า ที่จริงหากไม่ชนะเลือกตั้ง พวกเขาก็ไม่มีทางที่จะได้อำนาจรัฐอย่างแน่นอน
ต่อให้มีเลห์เพทุบายอย่างไร เมื่อไม่ได้คะแนนเสียงจากประชาชน ก็ไม่ได้อำนาจรัฐไป ฝ่ายประชาธิปไตยจึงไม่จำเป็นต้องใจร้อน พวกศักดินา จะทุ่มเทใช้เล่ห์กลอย่างไร หากเปลี่ยนใจราษฎรไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
จงมองข้ามภาพลวงตา และมองไปสู่จุดที่เป็นสาระที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลง
แม้พวกเขาจะลงทุนทำรัฐประหาร แต่สุดท้าย พวกเขาก็ครองอำนาจไม่ได้ เพราะประชาชนไมได้อยู่ข้างพวกเขา ดังนั้น อำนาจใดๆ ในการปกครองประเทศ มันก็ไม่มีทางสู้กับอำนาจที่มาจากประชาชนได้ พยายามทำลายล้างฝ่ายประชาชนอย่างไร คนที่ประชาชนสนับสนุนก็ไม่มีทางสูญสลาย
ตุลาการวิวัฒต์ ยิ่งเข้ามา ยิ่งทำให้ความขัดแย้งยุ่งเหยิงยิ่งขึ้น สุดท้ายวงการตุลาการก็จะเสื่อมลง เมื่อไม่สามารถรักษาความเป็นกลาง ความเที่ยงธรรมเอาไว้ได้ สุดท้ายก็จะเสื่อมโทรมไปในที่สุด เกียรติภูมิของตุลาการจะด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ และตุลาการก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง
แต่ตุลาการวิวัฒน์ จะไม่มีทางเปลี่ยนกระแสความขัดแย้งทางการเมืองได้ และไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางการเมืองได้ด้วย
ตุลาการวิวัฒน์มีแต่ "เติมฟืนลงไปใต้กระทะ ทำให้น้ำเดือดแรงยิ่งขึ้น"