WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 3, 2008

เสรีภาพทางวิชาการของ ดร.วรเจตน์

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

ข่าว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวคดีฟ้องร้องรัฐบาลให้ความยินยอมการขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก กำลังจะบานปลายเมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยส่งทนายไปยื่นต่อศาลปกครอง ขอให้เรียกตัว ดร.วรเจตน์ ฐานละเมิดอำนาจศาลดังกล่าว ผมจึงขอให้กำลังใจและแสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้ด้วยคน

ผมติดตามการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ประเด็นปัญหาเหตุการณ์บ้านเมืองของ ดร.วรเจตน์ มาหลายปี โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดวิกฤติทางการเมืองเมื่อปลายปี พ.ศ.2548 อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ของ สนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งต่อมาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อันนำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ในช่วงเผด็จการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ดร.วรเจตน์ ก็ยังคงออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและต่อการพิจารณาของศาล เช่น คดียุบพรรคไทยรักไทย ต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2550 หลายครั้ง ดร.วรเจตน์ ใช้ความรู้ ความคิดเห็น และจุดยืนทางหลักการของกฎหมายมาพิจารณาปัญหาต่างๆ โดยไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่แทบทุกครั้งจะมีพวกพันธมิตรฯ ทั้งที่เป็นสื่อมวลชนและผู้นำขบวนการตอบโต้ โจมตีว่าเป็นฝ่ายเอาทักษิณ ฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.)

ครั้งนี้ก็เช่นกัน เป็นไปตามที่คาดไว้ พันธมิตรฯ จะเล่นงาน ดร.วรเจตน์ อย่างรุนแรง โดยการไปร้องต่อศาลปกครองเหมือนกับคนอื่นๆ ที่แสดงท่าทีหรือพูดเขียนไม่เข้าหูพวกเขา ดัง ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อ.จอน อึ๊งภากรณ์ ดร.โคทม อารียา ฯลฯ ที่ถูกแกนนำหรือผู้ปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ เรียงแถวโจมตีคนละหลายครั้ง

ท่านทั้งหลายคงทราบว่า ดร.วรเจตน์ ไม่ได้เป็นอาจารย์สอนกฎหมายเท่านั้น หากยังเป็นหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน เมื่อเห็นว่าการรับฟ้องและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองในคดีนี้ ไม่น่าจะมีอำนาจตามหลักการทางการเมืองการบริหารประเทศ และตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งศาลปกครอง ย่อมแสดงความคิดเห็นออกมา ผมถือว่าเป็นความกล้าหาญทางจริยธรรม และก็ยังเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน พิมพ์ การโฆษณา และการสื่อสารโดยวิธีอื่น”

โดยเฉพาะเป็นเสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 50 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ” เสรีภาพประการหลังนี้ย่อมได้รับความคุ้มครอง ตราบใดที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองและศีลธรรมอันดีของประชาชน การแสดงความคิดเห็นของ ดร.วรเจตน์ มิได้ขัดต่อข้อจำกัดนี้เลย

แน่นอน ที่ผ่านมากฎหมายและจารีตประเพณีของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ จะมีข้อห้ามแสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการพิจารณา และคำพิพากษาคดีโดยเฉพาะของศาลยุติธรรม โดยเห็นว่าละเมิดอำนาจของศาล ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่กล้าพูดหรือเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้

ในช่วงที่ผมเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เคยได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” แก่ผู้พิพากษาอาวุโสและระดับกลางหลายครั้ง และเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะได้รับความยุติธรรม และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมบ่อยๆ ผมจึงเสนอความคิดเห็นเชิงขอร้องต่อผู้พิพากษา ให้ยอมรับเสรีภาพนี้บ้าง เพราะในทางความเป็นจริง ผู้คนทั้งหลายก็นำเรื่องโรงศาลมาวิจารณ์ตามร้านกาแฟและวงสนทนาอยู่เสมอ ซึ่งมีผลร้ายมากกว่าดี แต่ยอมให้ประชาชนพลเมืองมีเสรีภาพในการพูด การเขียนแสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างเปิดเผย น่าจะมีผลดีมากกว่า

กล่าวเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ซึ่งเป็นศาลทางการเมือง และเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผมคิดว่าประชาชนน่าจะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วิจารณ์คำวินิจฉัยและการพิพากษาตัดสินในระดับที่ไม่ไปขัดขวางให้เสียรูปคดี ผู้พิพากษาเสื่อมเสียศักดิ์ศรี เกียรติยศ และความเชื่อถือต่อศาล

ความคิดเห็นของ ดร.วรเจตน์ มิได้ส่งผลถึงระดับดังกล่าว พันธมิตรฯ พึงสำเหนียก อย่าคิดจะเล่นงานใครต่อใครที่ไม่ใช่พวกตนทุกเรื่องไป

จรัล ดิษฐาอภิชัย