WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 19, 2010

นี่คือการสังหารหมู่

ที่มา Thai E-News



ที่มา เวบไซต์ โลกวันนี้
19 พฤษภาคม 2553



อำมาตย์ทมิฬ -กองกำลังทหารกระชากจีวรออกพระภิกษุรูปหนึ่ง( AP)ทิ้งกองไว้บนพื้น แล้วใช้เชือกมัดมือไพล่หลัง โดยเข้าจับกุมพระที่เข้าสนับสนุนการชุมนุมคนเสื้อแดง(ภาพ: AP )


สำนักข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 53 ได้ลงบทความแสดงความคิดเห็นของนายโนแอม ชอมสกี (Mr.Noam Chomsky) ศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำคณะภาษาศาสตร์และปรัชญาสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. เป็นต้นมา ภายใต้หัวข้อ “นี่คือการสังหารหมู่” มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งหนึ่งโนแอม ชอมสกี แสดงทรรศนะว่า เมื่อตอนที่สหภาพโซเวียตส่งทหารเข้าไปยังอัฟกานิสถาน ผู้ประกาศของสถานีวิทยุของโซเวียตก็ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการบุกรุก แน่นอนว่า การที่ชอมสกีกล้าหาญแสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้ออกไป แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับมา คือการที่ทางการโซเวียตส่งตัวเข้าไปกักกันในโรงพยาบาลจิตเวช ชอมสกีแย้งว่า แม้ว่าประชาชนสหภาพโซเวียตรู้ดีว่า เหตุการณ์แบบไหนที่เรียกกว่าการบุกรุก แต่ก็เสี่ยงกับการที่จะแสดงความคิดความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวออกไปยังสาธารณชน

ในทางตรงข้าม ในยุคทศวรรษที่ 1960 ไม่มีสื่อกระแสหลักของสหรัฐสื่อใดตั้งข้อสังเกตว่า การที่สหรัฐกรีฑาทัพเข้าไปในเวียดนามเป็นสิ่งที่เรียกว่า “การบุกรุก” คำนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยตามหน้าสื่อสหรัฐแม้ว่าคำไม่พึงประสงค์เช่นนี้จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตของชาวเวียดนามราว 2-3 ล้านคน เช่นเดียวกับทหารสหรัฐที่ตายในการต่อสู้อีกกว่า 50,000 คน แต่กระนั้นก็ไม่อาจใช้คำว่าบุกรุกหรือรุกรานได้ นอกเสียจากการเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเวียดนามเหนือในครั้งนั้นว่า “การต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์”

ความล้มเหลวที่จะแสดงความกล้าหาญที่กล่าวมาตอนต้นขณะนี้กำลังเกิดขึ้นกับสังคมไทย ที่ก่อนหน้านี้เคยมีเหตุการณ์สังหารนักศึกษาที่ออกมาประท้วงในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 1976 อย่างน้อย 40 คน เช่นเดียวกับเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม 1992 ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้ผู้นำลงจากอำนาจ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเช่นเดียวกัน และตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมามีผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ หรือถ้ามีอาวุธก็เป็นเพียงหนังสติ๊ก ถูกสังหารไปแล้วกว่า 50 คน มีผู้สื่อข่าวต่างชาติมากมายที่เป็นสักขีพยานในการเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธถูกสังหารโดยกองทัพในวันที่ 10 เมษายน และ 2-3 วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ถูกประกาศโดยรัฐบาลว่าเป็นพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีชายชุดดำออกมาต่อสู้กับกองทัพเมื่อวันที่ 10 เมษายน จนส่งผลให้มีทหารเสียชีวิต 5 นาย เช่นเดียวกับการบาดเจ็บของทหารในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่กระนั้นก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ชุมนุมประท้วงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้ติดอาวุธหรือไม่นิยมความรุนแรง แต่กลับต้องถูกโจมตีด้วยกระสุนจริงทั้งจากกองทัพและตำรวจ ทั้งนี้ หากเสื้อแดงติดอาวุธและเป็นพวกหัวรุนแรงจริงเหตุการณ์เช่นนี้คงไม่ออกมาอย่างที่เห็น

กล่าวคือจากการปะทะ 2 วัน ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนจำนวน 29 คน ขณะที่ไม่มีทหารหรือตำรวจที่เสียชีวิตเลย จากจุดนี้จึงแสดงให้เห็นว่ามีการใช้กำลังกับกลุ่มผู้ชุมนุมไปอย่างกว้างขวางโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล แน่นอนว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตคงไม่หยุดเท่านี้แน่เพราะการสร้างสถานการณ์ของรัฐบาลได้เปิดประตูกว้างให้เกิดความรุนแรงขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย

นิยามของคำว่า “สังหารหมู่” คือการกระทำหรือเข่นฆ่ามนุษย์จำนวนมากที่มีความคิดเห็นแตกต่างด้วยความโหดร้าย ดังนั้น จึงแน่ชัดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนท้องถนน กทม. จึงนิยามได้ว่าเป็นการสังหารหมู่ และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเสื้อแดงโดยทหารและตำรวจขณะนี้บางทีตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจมากกว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยทหารตลอดช่วงเวลา 50 ปีผ่านมา และยิ่งรัฐบาลไทยสัญญาว่าจะพยายามนำความสงบสุขมามอบคืนให้กับคนไทยโดยเร็ว ก็ยิ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสังหารหมู่อย่างช้าๆมากยิ่งขึ้น

หากนี่ไม่ใช่การสังหารหมู่แล้วเมื่อไรถึงจะเป็น จะให้มีผู้เสียชีวิต 80 คนก่อน หรือมีผู้เสียชีวิตแตะหลัก 100 คนก่อนจึงจะเรียกว่าการสังหารหมู่ ซึ่งการสังหารหมู่ในครั้งนี้มีความแตกต่างจากเหตุการณ์เดียวกันที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อหลายๆครั้งที่ผ่านมาหลายประการ

ข้อแรก หลายๆประเทศลังเลที่จะประณามการกระทำของรัฐบาลไทย ขณะที่องค์กรทางสิทธิมนุษยชนได้เรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายยุติความรุนแรงและหันหน้ามาเจรจากันอีกครั้ง แตกต่างจากเหตุการณ์ในปี 1976 และ 1992 ที่การเสียชีวิตของผู้ประชุมนุม ซึ่งเป็นนักศึกษาและชาวบ้าน ได้รับการประท้วงและประณามทั้งจากคนในประเทศและต่างประเทศ

แต่นั่นไม่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ มีแต่เสียงแสดงความชื่นชมและดีใจที่ทางกองทัพพยายามผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านจากต่างจังหวัด ออกไปจากท้องถนนใน กทม. ไม่ว่าจะต้องใช้วิธีการใดๆก็ตามโดยไม่คำนึงถึงว่ากลุ่มคนที่ถูกฆ่านั้นเป็นคนไทยด้วยกันที่มีความเห็นแตกต่าง หากคนๆหนึ่งเชื่อสิ่งที่รัฐบาลไทยทำอยู่ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าสังหารหมู่อยู่ดี ต่อให้คนๆหนึ่งพยายามทำให้ตัวเองสบายใจด้วยการบอกกับตัวเองว่า คนเหล่านั้นได้รับการเตือนจากทางรัฐบาลแล้วให้ออกมาจากพื้นที่ชุมนุมเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง หรือหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อจากแดงฆ่าแดงด้วยกัน หรือเข้าใจว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ก่อการร้าย เข้าใจและยอมรับมัน นั่นก็จะนำไปสู่การสังหารหมู่อย่างต่อเนื่องต่อไป

สำหรับใครที่ไม่ยอมรับสิ่งเหล่านี้ โดยเฉพาะกับโอกาสที่ผู้บริสุทธิ์จะพลอยติดร่างแหไปด้วย ก็ได้เวลาแล้วที่จะแสดงจิตสำนึกและความรับผิดชอบทางจริยธรรมออกมา ได้เวลาแล้วที่จะพุ่งเป้าไปที่ความรับผิดชอบของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะมาจากความตั้งใจหรือไม่มีการเตรียมการที่ดีพอจนทำให้รัฐบาลตัดสินใจสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2010

ทั้งนี้ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่นายอภิสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในแง่ของความสำนึกและกฎหมาย คนที่ตายเหล่านี้ควรมีโอกาสขึ้นศาลเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์กับคนที่สั่งฆ่าเขา หากรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่สามารถหาใครมารับผิดชอบกับการตายที่เกิดขึ้นได้ก็ควรจะลาออกจากตำแหน่งเสีย เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่สนใจเรื่องเหล่านี้ขึ้นมารับผิดชอบแทน

การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมในเวลากลางคืนช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาไม่ว่าจะด้วยวิธีใดหรือสาเหตุใดก็ตาม ถูกหยิบยกให้เป็นหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาคือ “ผู้ก่อการร้าย” และรัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะสังหารกลุ่มคนเหล่านี้ และยิ่งมีคำกล่าวอ้างที่ว่ามีกลุ่มผู้ก่อการร้าย 500 คนแอบแฝงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ก็ยิ่งสร้างความชอบธรรมเข้าไปใหญ่ อย่างที่ผู้นำการชุมนุมครั้งหนึ่งเคยกล่าวว่า การที่รัฐบาลพูดออกมาเช่นนี้เท่ากับเป็นการประกันว่าผู้ชุมนุมมีสิทธิถูกฆ่าถึง 500 คน ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นผู้บริสุทธิ์หรือผู้ก่อการร้ายก็ตาม

ดังนั้น สำหรับรัฐบาลที่กระหายที่จะยอมรับการสังหารหมู่เช่นนี้ จึงควรเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมประชาธิปไตยและสังคมที่มีเกียรติแต่อย่างใด