WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 18, 2010

หลายองค์กรแถลงการณ์ ยุติรุนแรง กลับโต๊ะเจรจา

ที่มา ประชาไท


คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เรียกร้องให้รัฐบาลและ นปช. ยุติการใช้ความรุนแรงและเข้าสู่กระบวนการเจรจา ประณามการใช้กองกำลังและอาวุธผู้ที่เอาชีวิตมนุษย์มาแลก เพื่อบรรลุผลประโยชน์และเป้าหมายทางการเมือง ย้ำทุกฝ่ายต้องปฏิบัติในทุกวิถีทางเพื่อปกป้องชีวิตและสวัสดิภาพของผู้ชุมนุมและประชาชน นอกจากนี้ เรียกร้องต่อสื่อมวลชน ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก ในการลดความขัดแย้ง ลดความเกลียดชัง และเปิดพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย ตลอดจนผลักดันการปฎิรูปประเทศไทยร่วมกันในอนาคต

แถลงการณ์
ขอให้รัฐบาลและ นปช. ยุติการใช้ความรุนแรงและเข้าสู่กระบวนการเจรจา

จากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนถึงวันนี้ ชี้ชัดว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และนำพาสังคมออกจากวิกฤตได้

กป. อพช. ขอประณามการใช้กองกำลังและอาวุธผู้ที่เอาชีวิต มนุษย์มาแลก เพื่อบรรลุผลประโยชน์และเป้าหมายทางการเมือง และทุกฝ่ายต้องปฏิบัติในทุกวิถีทางเพื่อปกป้องชีวิตและสวัส ดิภาพของผู้ชุมนุมและประชาชน

นอกจากนี้ กป. อพช. ยังมีข้อเรียกร้องต่อสื่อมวลชน ทั้งสื่อกระแสหลักอันได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อทางเลือก อันได้แก่ วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม ในการความขัดแย้ง ลดความเกลียดชัง และเปิดพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย ตลอดจนผลักดันการปฎิรูปประเทศไทยร่วมกันในอนาคต

กป.อพช. เห็นว่าการเจรจาและแนวทางสันติวิธีเป็นวิถีเดียวใน อันจะแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ และมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ให้รัฐบาล และ นปช. ยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบโดยทันที หยุดสร้างความเกลียดชัง และเข้าสู่กระบวนการเจรจาโดยเร็วที่สุด โดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งประกาศผลการเจรจาต่อสาธารณะ และยึดเป็นสัญญาประชาคมที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
2. ให้รัฐบาลและแกนนำ นปช. ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความรุนแรง และความสูญเสียที่เกิดขึ้น และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
3. ให้ทุกฝ่ายในสังคมหยุดสร้างความเกลียดชัง พร้อมทั้งยึดมั่นแนวทางสันติวิธี ในการแก้ไขความขัดแย้งโดยการมีส่วน ร่วมจากทุกฝ่าย

กป.อพช. เห็นว่ากระบวนการปฏิรูปทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในปัจจุบันยุติลง ดังนั้น ตราบใดที่ยังมีการปะทะและประหัตประหารชีวิตมนุษย์ กป.อพช. ย่อมไม่สามารถเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปตามโรดแม็พใดๆ ของรัฐบาลได้

17 พ.ค. 2553
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

000000

ครส.วอนสองฝ่ายหยุดยิง หยุดเผชิญหน้า ขอทักษิณ-พท.หยุดสั่งการ-ปลุกปั่นผู้ชุมนุม

บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ส่งแถลงการณ์ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอให้คู่ความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ รัฐบาล และผู้นำ นปช. หยุดเผชิญหน้าโดยทันที และให้หันหน้าเข้าสู่การเจรจา ขอให้กองกำลังติดอาวุธทั้งสองฝ่ายทั้งภาครัฐ และ กลุ่มต่อต้านรัฐ ได้หยุดยิง หยุดการก่อวินาศกรรม หยุดการสร้างความหวาดกลัวกับสาธารณชน โดยทันที รวมถึงขอให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความใกล้ชิดและมีอิทธิพล กับแกนนำ นปช. และสนับสนุนการชุมนุมของ นปช. ดำเนินการให้ นปช. ยุติการชุมนุมโดยทันที ตลอดจนยุติการกระทำในลักษณะสั่งการ ยั่วยุ ปลุกปั่น ผู้ชุมนุมของ นปช.

ทั้งนี้ ผู้ที่เห็นด้วยสามารถร่วมลงชื่อได้ที่http://www.petitiononline.com/peacemay/petition.html

เนื้อหามีดังนี้

คำแถลง คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
ในสถานการณ์วิกฤตด้านสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม ฉบับที่ 7
หยุดยิง หยุดก่อวินาศกรรม หยุดเข่นฆ่าชีวิต
หยุดการชุมนุม หยุดเอาประชาชนเป็นตัวประกัน
คืนความสงบให้สังคม ยึดมั่นหลักนิติธรรมโดยเคร่งครัด

ย่างเข้าวันที่ 4 ของการเผชิญหน้าระลอกใหม่ระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมภายใต้การนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ก่อตัวขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมา ยังผลให้มีผู้บาดเจ็บนับพันคน เสียชีวิตแล้วกว่า 60 ศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน 22 เมษายน 28 เมษายน และ ล่าสุด 13-15 พฤษภาคม (ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 24 ราย) เป็นที่น่าเสียใจที่เหตุโศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดนี้ ถือเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยและน่าจะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้นได้

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคู่ขัดแย้ง คือชนชั้นนำต่างยึดมั่นผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ โดยเฉพาะแกนนำของการชุมนุม แทนที่จะคำนึงถึงชีวิตของผู้ชุมนุมเป็นสำคัญและยึดถือแนวทางการต่อสู้แบบสันติตามที่ได้ประกาศไว้แต้ต้น กลับแสดงความไม่เป็นตัวของตัวเอง และตกอยู่ในอำนาจครอบงำของกลุ่มชนชั้นนำที่สูญเสียอำนาจ กระทั่งยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้กองกำลังติดอาวุธเข้ามาเป็นตัวประกอบสำคัญในสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างไม่ต้องสงสัย นับแต่เหตุการณ์การปะทะที่ถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐเป็นจำนวนมาก และกำลังพัฒนาเข้าสู่สถานการณ์ความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธ และสงครามกลางเมือง เป็นลำดับ ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ ประชาชนได้ตกอยู่ในสถานะที่เสมือนถูกจับเป็นตัวประกันโดยคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) และเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ได้เรียกร้องให้คู่ความขัดแย้งได้ใช้แนวทางสันติวิธีมาโดยตลอด ระหว่างนั้นเมื่อได้เห็นว่า การเจรจาระหว่างคู่ความขัดแย้งมีอันต้องสะดุดหยุดลง ด้วยเหตุต่าง ๆ ทำให้การเผชิญหน้าได้ทวีความเข้มข้นขึ้นจนถึงการยึดพื้นที่ชุมนุมใจกลางเมือง เกิดการเผชิญหน้าหลายครั้ง เกิดเหตุวินาศกรรมหลายหน ส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชนอย่างถ้วนทั่ว ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับ นปช. ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และในที่สุดได้แปรสภาพไปเป็นความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ กับ กองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนการชุมนุมของ “คนเสื้อแดง” ไปแล้ว ดังนั้น ครส. และองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเสนอแนะ และเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

1. ขอให้คู่ความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ รัฐบาล และผู้นำ นปช. หยุดเผชิญหน้าโดยทันที และให้หันหน้าเข้าสู่การเจรจา โดยไม่มีการตั้งเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาทั้งนี้การเจรจาพึงหวังผลที่การลดความสูญเสียจากการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ และให้ประชาชน และสังคมได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ไม่ให้มีผู้เสียชีวิตอีกแม้แต่รายเดียว ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองชีวิตของผู้นำ นปช. ด้วย

ทุกฝ่ายพึงตระหนักว่า สิทธิในการมีชีวิตเป็นสิทธิพื้นฐานและมีความสำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดที่จะต้องได้รับการเคารพโดยผู้ถืออาวุธทั้งสองฝ่าย

2. ขอให้กองกำลังติดอาวุธทั้งสองฝ่ายทั้งภาครัฐ และ กลุ่มต่อต้านรัฐ ได้หยุดยิง หยุดการก่อวินาศกรรม หยุดการสร้างความหวาดกลัวกับสาธารณชน โดยทันที การใช้อาวุธสงครามกราดยิงใส่กลุ่มประชาชนที่ไร้อาวุธเป็นสิ่งที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นในสังคมของเรา การก่อวินาศกรรมยิงระเบิดและปล้นสดมภ์ต่อสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ ธนาคาร บริการสาธารณูปโภค โทรคมนาคม และกิจการพลังงาน การคุกคามผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างจากตน และการบุกรุก คุกคาม สถานพยาบาล หรือ การทำร้ายบุคลากรด้านการแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครสันติ มนุษยธรรม และผู้สื่อข่าว เป็นสิ่งที่มิอาจยอมรับได้ในสายตาประชาคมโลก

ทุกฝ่ายพึงตระหนักว่า สิทธิที่ปลอดจาความหวาดกลัว เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะต้องได้รับการเคารพ ประชาชนจำนวนมากตกอยู่ในสภาวะหวาดกลัว หวาดระแวงตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือนที่ผ่านมาว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับตน ความหวาดกลัวนำมาซึ่งการขาดสติยั้งคิดทั้งผู้นำการชุมนุม และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ดังนั้นทุกฝ่ายพึงมีสติสัมปชัญญะในการแสดงออกอย่างอารยะ มีเหตุมีผล ต้องไม่ให้ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว เข้าครอบงำจนตัดสินใจด้วยโทสะจริต และโมหะจริต นำมาซึ่งความผิดพลาดอันส่งผลร้ายต่อสังคมโดยรวม

3. ขอให้คู่ความขัดแย้งทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้ เด็ก สตรี และคนชราที่มาเข้าร่วมการชุมนุมได้ออกจากพื้นที่ความขัดแย้งโดยทันที โดยอาจขอลี้ภัยในเขตอภัยทานบริเวณที่ใกล้ที่สุดไม่ว่าจะเป็นวัด โรงเรียน หรือ โรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อของการปะทะกันด้วยความรุนแรง หรืออาวุธสงคราม

4. ขอให้คู่ความขัดแย้งทุกฝ่าย อำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และสถานพยาบาลตลอดจนอาสาสมัครด้านสันติและมนุษยธรรม สามารถปฏิบัติงานตามภารกิจของตนได้อย่างอิสระ โดยไม่ถูกรบกวน ปิดกั้น หรือถูกคุกคามด้วยวิธีการใด ๆ การปฏิบัติภารกิจของบุคคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Laws) หรือ Geneva Convention ซึ่งจะล่วงละเมิดมิได้ ไม่ว่าจะอยู่สถานการณ์ใด

5. ขอให้คู่ความขัดแย้งทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้สื่อมวลชน นักข่าว สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพได้อย่างเป็นอิสระ มีหลักประกันในด้านความปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่สื่อมวลชนทุกประเภท ทุกแขนง ปลอดจากการถูกคุกคามในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร หรือนำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่ว่ากรณีใด ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นจริงได้โดยรวดเร็ว

6. ขอให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญต่อกระบวนการปรองดองเพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองปัญหารากฐานในเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาความยากจน ปัญหาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่นเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน คนจนเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ เหยื่อจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ เด็ก สตรี คนพิการ และผู้สูงวัย จะต้องได้รับการแก้ไขกระบวนการยุติธรรมต้องมีการปฏิรูป ระบบรัฐสวัสดิการจะต้องมีการพิจารณาทบทวนและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกชั้นชน

7. ขอให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจด้วยการเดินหน้าแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยทันที กล่าวคือ

ในระยะสั้น ให้ตั้งคณะกรรมการอิสระจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับความยอมรับ มีความเป็นกลางได้ทำหน้าที่ตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ 10 เมษายน และ 13-15 พฤษภาคม 2553 โดยมิชักช้า

ระยะกลาง ตามที่ได้ให้คำมั่นกับสาธารณชนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หาใช่เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ต้องเป็นการเอื้อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐจากภาคประชาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหมายรวมถึงกระบวนการสรรหากรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งประชาชนต้องมีส่วนร่วม อาทิ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น การดำเนินการในขั้นตอนนี้ไม่ควรยาวนานเกินกว่า 6 เดือน

ระยะยาว การปฏิรูปประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่ความผาสุกของประชาชนทุกผู้คน ทั้งในด้านการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่มีความสมดุล พัฒนาคุณภาพชีวิต ลดปัญหาการเหลือมล้ำในสังคม ขจัดปัญหาความยากจน และสร้างความเป็นธรรมให้ปรากฏ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ต้องเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลในทุกยุคทุกสมัยจากนี้ไป

8. ขอให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความใกล้ชิดและมีอิทธิพล กับแกนนำ นปช. และสนับสนุนการชุมนุมของ นปช. ดำเนินการให้ นปช. ยุติการชุมนุมโดยทันที ตลอดจนยุติการกระทำในลักษณะสั่งการ ยั่วยุ ปลุกปั่น ผู้ชุมนุมของ นปช. หยุดวีดีโอ-โฟนลิ้งค์ หยุดทวิตเตอร์ นอกจากนี้การแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมของท่าน ด้วยการยอมก้าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและกระบวนการปรองดองแห่งชาติโดยทันที ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความเคารพต่อระบบนิติธรรม จะถือเป็นความเสียสละที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และเชื่อว่าน่าจะมีส่วนทำให้บ้านเมืองสงบลงได้

9. ขอให้รัฐบาลสอบสวนผู้ก่อเหตุและอยู่เบื้องหลังของความรุนแรง ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป็นผู้มีอำนาจและอิทธิพลเพียงใดก็ตามเพื่อนำตัวมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสอบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่กระทำเกินสมควรแก่เหตุ โดยดำเนินการกับผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย ตลอดจนชดเชย เยียวยาแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำดังกล่าวด้วยความเป็นธรรม

องค์กรสิทธิมนุษยชน มีความเห็นใจทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงชั้นผู้น้อยที่ต้องปฏิบัติภารกิจอันหนักหน่วงซึ่งมีความสำคัญ เช่นเดียวกับประชาชนรากหญ้าที่มาร่วมชุมนุมด้วยการแสดงออกทางการเมือง ทั้งที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง บัดนี้ข้อเรียกร้องของท่านได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมแล้ว เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องนำไปวางแผน และนำสู่การปฏิบัติโดยพลัน นอกจากนี้เราขอแสดงความอาลัยและห่วงใยต่อญาติมิตรผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้สูญเสียชีวิต บาดเจ็บ และทุพพลภาพ ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุม ตลอดจนสามัญชนผู้ห่วงใยในสังคมซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเหตุการณ์ความตึงเครียดทางการเมือง จะสงบลงโดยเร็วหากทุกฝ่ายใช้ขันติธรรม ปัญญาธรรม และ จริยธรรมในการแก้ไข และจัดการกับปัญหาให้เกิดสันติสุขของบ้านเมืองอย่างมีสติ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

0000000


เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิ-สสส.-โครงการเข้าถึงความยุติธรรม จี้รัฐหยุดใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม

แถลงการณ์ ฉบับที่ 4
ขอให้รัฐยุติการใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติการสลายการชุมนุม ใ
ห้กลุ่มผู้ชุมนุมยึดมั่นในแนวทางสันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ
และขอให้เปิดการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี

จากการปฏิบัติการกดดันเพื่อให้แนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นปช.) ยุติการชุมนุมโดยกองกำลังทหารติดอาวุธสงครามและกระสุนจริง ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ไม่ว่าจะเป็นมาตรการจำกัดบริการสาธารณะ การตัดการลำเลียงสาธารณูปโภค เสบียงอาหาร การจำกัดการเดินทาง อีกทั้งยังมีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อีก 15 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ชุมนุมซึ่งอยู่นอกพื้นที่และต่างจังหวัดเดินทางเข้ามาร่วมสบทบการชุมนุมในกรุงเทพฯ และทำให้เกิดการตอบโต้จากผู้ชุมนุมและจากกองกำลังติดอาวุธ จนนำไปสู่ความรุนแรงและการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นและอาจทำให้ประเทศไปสู่หายนะ

นับจากเหตุการณ์ลอบสังหาร พล.ตรี ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดงในคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 และตามมาด้วยการปะทะระหว่างทหารและผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสวนลุมพินี มีผู้ชุมนุมถูกยิงเสียชีวิต 1 คน และการปะทะดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง มีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยมดินแดง อนุสาวรีชัยสมรภูมิ ซอยรางน้ำ แยกราชปรารภ ชุมชนบ่อนไก่ และ ถนนพระราม 4 ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิต 33 ราย ซึ่งมีเจ้าหน้าอาสาสมัครหน่วยกู้ชีพและเด็กรวมอยู่ด้วย โดยที่หลายรายเสียชีวิตจากการถูกยิงบริเวณลำตัว หน้าอก และศรีษะ และมีผู้บาดเจ็บกว่า 230 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนผู้ชุมนุม ประชาชนทั่วไป นักข่าวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ดังที่ปรากฎตามรายงานข่าว

องค์กรที่มีรายชื่อข้างท้ายนี้มีความเห็นว่า ปฏิบัติการปิดล้อมพื้นที่การชุมนุม โดยใช้กำลังพลและกำลังอาวุธสงครามร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กำลังต่อพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ จนเกิดอันตรายต่อ บุคคลากรวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ซึ่งจะต้องได้รับความคุ้มครองจากความรุนแรงและจากการตกเป้าหมายของการโจมตีจึงเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ อีกทั้งสถานการณ์ความรุนแรงที่มีแนวโนมที่จะทวีความรุนแรงขึ้น โดยปัจจุบันสถิติผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บับแต่มีการชุมนุมเกิดขึ้น รวมทั้งเหตุการณ์เข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน 2553 นั้นมีผู้บาดเจ็บกว่า 1,000 ราย และเสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 58 ราย ซึ่งหากยังไม่สามารถยุติลงได้โดยเร็ว จึงมีความน่าห่วงกังวลอย่างยิ่ง ว่าสถานการณ์อาจลุกลามกลายเป็นการจลาจลโดยใช้กำลังอาวุธ เป็นการสู้รบระหว่างรัฐกับกลุ่มบุคคลที่รุนแรงและขยายวงกว้างออกไปถึงขั้นสงครามกลางเมือง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

จากเหตุผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เจตนาของรัฐบาลในการคืนความเป็นปกติสุขและความสงบเรียบร้อยสู่บ้านเมือง โดยการใช้กองกำลังทหารและใช้อาวุธเพื่อยุติการชุมนุมเป็นมาตรการที่ไม่สามารถบรรลุผลได้ เพราะได้ก่อให้เกิดการความสูญเสียชีวิตของประชาชนและมีความรุนแรงที่มีการขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อชีวิตร่างกายของประชาชนก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ ไม่ว่าความรุนแรงหรือการสูญเสียจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใดก็ตาม

ดังนั้น องค์กรที่มีรายชื่อข้างท้ายจึงมีข้อเรียกร้องทั้งต่อรัฐบาลและต่อกลุ่มผู้ชุมนุมดังต่อไปนี้

1. ขอให้รัฐบาลยุติการใช้กองกำลังทหารและอาวุธเข้าสลายการชุมนุมโดยทันที และหันกลับมาใช้วิธีการเจรจา เพื่อยุติไม่ให้เกิดการสูญเสียเพิ่ม ขึ้นและป้องกันความรุนแรงที่อาจขยายตัวกลายเป็นสงครามกลางเมืองได้

2. ขอให้แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ยุติการยั่วยุเพื่อให้เกิดความรุนแรงหรือตอบโต้กองกำลังฝ่ายรัฐโดยวิธีการรุนแรง ให้ดำเนินกิจกรรมโดยยึดมั่นในแนวทางสันติ อหิงสา และปราศจากอาวุธอย่างแท้จริง และหันกลับมาเข้าสู่การเจรจาตลอดจนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบกองกำลังอาวุธที่ปะปนอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุม เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปกป้องชีวิตของผู้ชุมนุม

3. ขอให้ทั้งสองฝ่ายเปิดให้มีการเจรจาอีกครั้ง ด้วยการลดเงื่อนไขที่อาจส่งผลให้การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพื่อหาทางออกร่วมกันในการยุติความรุนแรง และเข้าสู่การร่วมกันแก้ปัญหาของประชาชนในระยะยาวต่อไป

4. ขอให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระโดยเร่งด่วน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงและความสูญเสียทั้งหมดจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและการชุมนุมของ นปช. เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และหาผู้รับผิดชอบทั้งทางการเมืองและทางกฎหมายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากทุกฝ่าย

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

0000000

YPD จี้รัฐหยุดใช้อาวุธสงครามกับปชช.ทันที
แนะถอนทหาร-เลิก พรก. แลกกับ นปช.หยุดชุมนุม

แถลงการณ์
ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย
“รัฐบาลต้องหยุดยิงและนำไปสู่การเจรจา”

แผนความปรองดองแห่งชาติโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องเป็นอันโมฆะ และ กลับกลายมาเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อผู้ชุมนุม หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่ม นปช. ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวนี้เองเป็นต้นเหตุให้เกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรงในช่วงเวลาต่อมา

ประกาศของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกฉิน (ศอฉ.) เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแผนการที่จะตัดระบบสาธารณูปโภค การติดต่อสื่อสารและ การคมนาคมทั้งหมดในบริเวณ เพื่อล้อมปราบผู้ชุมนุม โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการกระชับพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีการประกาศอยางชัดเจนในช่วงเวลาต่อมาว่าปฏิบัติการครั้งนี้จะใช้กระสุนจริง

การสูญเสียเพิ่มขึ้นเป็นรายชั่วโมงหลังจากเหตุการณ์ลอบยิง พลเอก ขัตติยะ สวัสดิผล เมื่อช่วงเย็นวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ยิ่งไปกว่านั้นผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่งเป็นเพียงสื่อมวลชนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๕.๓๐ น. มียอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ ๓๓ คน ในจำนวนนี้มีทั้งเยาวชน ผู้หญิง และอาสาสมัครรักษาพยาบาล บาดเจ็บประมาณ ๒๓๙ คน รวมถึงสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีท่าทีว่าจะประกาศยกเลิกคำสั่งกระชับพื้นที่ และมีแนวโน้มจะประกาศใช้กฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสถานการณ์

ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตยมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้

1.รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องหยุดการใช้อาวุธสงครามกับประชาชนทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกมาตรการกดดันทุกชนิด หยุดการปิดกั้นเสรีภาพสื่อถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ และประกาศยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อนำประเทศเข้าสู่สภาวะปกติอีกครั้ง แลกกับการตกลงหยุดชุมนุมของกลุ่ม นปช. เพื่อกลับมาสู่การเจรจา

2.หลังจากนั้น รัฐบาลต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยวิถีทางประชาธิปไตย จะต้องมีการดูแลให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างอิสระและโปร่งใส และทุกฝ่ายต้องให้สัตยาบันว่าจะยอมรับผลการเลือกตั้งที่ปรากฏ

3.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องแสดงความรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เช่นเดียวกับแกนนำกลุ่มนปช.

4.ขอให้ทุกฝ่ายให้ความคุ้มครองกับสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์พยาบาล ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตจลาจลอย่างเต็มกำลังความสามารถ การสังหารเจ้าที่หน่วยแพทย์พยาบาลเป็นการกระทำที่สมควรถูกประณามจากทุกฝ่าย

5.ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบเหตุการณ์จลาจลและความรุนแรง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจะต้องมีผู้รับผิดชอบ และต้องมีมาตรการในการเยียวยาผู้เสียหายอย่างเป็นรูปธรรม

๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย