WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 14, 2011

เสื้อแดง′54

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 13 มกราคม 2553)

9 มกราคม 2554 ขณะที่นายกรัฐมนตรีประกาศมอบของขวัญปีใหม่แพคเกจสวยหรูให้แก่ประชาชน

"กลุ่มคนเสื้อแดง" ก็ประเดิมศักราชใหม่ ด้วยการนัดชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ก่อนเคลื่อนขบวนไปยังสี่แยกราชประสงค์

ด้วยจำนวนคนเข้าร่วมหลายหมื่นอีกเช่นเคย

(เจ้าหน้าที่รัฐประมาณว่า 3 หมื่น ขณะที่ "สมบัติ บุญงามอนงค์" ทวีตข้อความว่า คนเสื้อแดงไปรวมตัวกัน ณ สี่แยกราชประสงค์ในวันนั้นมากที่สุด นับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นมา)

ดังนั้น ใครที่พยายามทำนายทายทักว่าในปี 2554 ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้ากับอนาคตแบบไหนบ้าง

จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะนับรวม "คนเสื้อแดง" เป็นปัจจัยหนึ่งในการทำนายดังกล่าวไปได้พ้น

แต่ก็มีหลายเรื่องที่เราต้องขบคิดเกี่ยวกับ "คนเสื้อแดง" เช่น

เมื่อวันที่ 9 มกราคม "ทักษิณ ชินวัตร" โฟนอินมายังเวทีเสื้อแดงอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน

บางคนบอกว่า ณ ตอนนี้ ทักษิณดูจะเป็นฝ่ายเลือกเกาะ "คนเสื้อแดง" ที่มีจำนวนหนาแน่นคงเส้นคงวา

มากกว่าที่คนเสื้อแดงจะเลือกยกทักษิณเป็น "สัญลักษณ์นำสูงสุด" ในการเคลื่อนไหว

อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่นอนว่า "คนเสื้อแดง" ไม่มีทาง "ก้าวข้าม" ให้พ้นไปจากทักษิณได้อย่างสมบูรณ์

เพราะ "คนเสื้อแดง" และทักษิณ รวมทั้งปัญหาของทั้งสองฝ่าย ล้วนมีจุดกำเนิดร่วมกันอยู่

และอย่าว่าแต่ "คนเสื้อแดง" เลย เพราะคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมไทยต่างก็ก้าวข้ามไม่พ้นไปจากอะไรหลายๆ อย่างด้วยกันทั้งนั้น (เช่น ประเด็นชาตินิยม เป็นต้น)

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ควรตั้งคำถามก็คือ "คนเสื้อแดง" ในปี 2554 จะจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับทักษิณอย่างไรและแบบไหน

เหมือนกับที่หลายท่านกำลังเรียกร้องให้สังคมการเมืองไทยต้องจัดวางความสัมพันธ์ทางอำนาจของตนเองเสียใหม่นั่นแหละ

ประเด็นต่อมา คือ คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่า "แกนนำ นปช.รุ่นใหม่" กำลังใช้กลไกที่เป็น "อาวุธร้ายแรง" ทางกฎหมาย (ซึ่งขบวนการประชาธิปไตยไม่ควรใช้) มาทำลายล้างกลุ่มคนบนอีกฝั่งฟากทางการเมือง

ถ้ามองในเชิงหลักการ "แกนนำ นปช." จึงกำลังทำในสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามของตนเองเคยทำ

และแทนที่จะรณรงค์ให้สังคม "เปิดกว้าง" มากขึ้น พวกเขากลับเลือกใช้วิธีการที่จะทำให้สังคมไทย "เงียบ" ต่อไป

แต่บางคนบอกว่านี่เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองของ "แกนนำ นปช."

ปัญหาคือ แกนนำกลุ่มนี้จะเลือกอะไร ระหว่าง "หลักการที่ดี" หรือ "กลยุทธ์ที่ซับซ้อน"

จะเลือกอะไรระหว่างการไปถึง "เป้าหมาย" อย่างอ้อมๆ หรือ การเคลื่อนไหวอย่างถูกต้องทั้งในเชิง "วิธีการ" และ "เป้าหมาย"

ประเด็นสุดท้าย เป็นเรื่องเกี่ยวกับสื่อกระแสหลักและ "คนเสื้อแดง"

2-3 ปีที่ผ่านมา สื่อมีโอกาสมากมายที่จะสัมภาษณ์พูดคุยเจาะลึกเรื่องราวหลากหลายมิติของ "คนเสื้อแดง"

"คนเสื้อแดง" ที่ไม่ใช่แค่ "มวลชน" อันน่าเกลียดน่ากลัว หรือ "มวลชน" จำนวนมากมายมหาศาลอันน่าตื่นตาตื่นใจ

แต่เป็น "ปัจเจกบุคคล" ที่มีปัญหาเบื้องหลังแตกต่างกันไป ทว่าอาจมีจุดยืนบางอย่างร่วมกันอยู่หลวมๆ

น่าเสียดาย ที่สื่อกระแสหลักฉวยโอกาสนั้นไว้ไม่ได้มากนัก

หลังวันที่ 19 พฤษภาคมปีก่อน เป็นต้นมา "คนเสื้อแดง" ถูกผลักให้มีจุดยืนบางประการร่วมกันอย่างหนักแน่นมั่นคงจริงจังยิ่งขึ้น

พวกเขาสร้าง "ไวยากรณ์" ใหม่ๆ มาสื่อสารกันเองในที่ชุมนุมมากขึ้น

ซึ่งทำให้สื่อมวลชนเข้าถึง "ชุดภาษา" เหล่านั้นยากขึ้น

กระทั่งส่งผลให้สังคมไทยคาดเดาอนาคตของตนเองที่ยึดโยงอยู่กับ "คนเสื้อแดง" ได้ลำบากขึ้นตามไปด้วย