WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 14, 2011

เวทีเรียนรู้‘ผังเมืองชาวบ้าน’ สีอุตสาหกรรมที่‘ปากบารา-จะนะ-นาปรัง’

ที่มา ประชาไท

เวทีเรียนรู้‘ผังเมืองชาวบ้าน’ ที่ภาคใต้ พื้นที่ลงโครงการใหญ่ของรัฐ มุมมองต่อสีอุตสาหกรรมและแนวคิดในการทำผังเมืองเอง กำหนดโซนในหมู่บ้านเองของชาวบ้านปากบารา จะนะ และบ้านนาปรัง

ผังเมืองชาวบ้าน น่าจะเป็นตัวสะท้อนถึงความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งความขัดแย้งที่มีต่อโครงการพัฒนาของรัฐ ได้อย่างหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ โครงการร่วมสร้างสรรค์สุขภาวะ : นโยบายสาธารณะด้านผังเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดโดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (มบน.) ร่วมกับ เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมีขึ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านผังเมือง ในการมองอนาคต สำหรับนโยบายสาธารณะเชิงพื้นที่ด้านผังเมือง

เป็นเวทีที่จัดขึ้น เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวางและจัดทำผังเมือง สร้างสรรค์ประเภทพื้นที่และข้อกำหนดของชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคใต้ ที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เมื่อวันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา เป็นคิวของภาคใต้ จัดขึ้น ณ ศูนย์โภชนาการ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นเวทีการเรียนรู้และปฏิบัติการผังเมือง ครั้งที่ 2

ผู้เข้าร่วม เป็นชาวบ้านจากจังหวัดสงขลา และสตูลประมาณ 50 คน โดยมีอาจารย์ภารนี สวัสดิรักษ์ และอาจารย์ชุณหเดช พรหมเศรณี 2 นักวิชาการอิสระจากเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม นำเสนอการวางแผนพัฒนาพื้นที่และผังเมือง การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่และผังเมือง แนวคิดและขั้นตอนการวางแผนพัฒนาพื้นที่และผังเมืองโดยชุมชน
ทั้งสองคน เริ่มเวทีด้วยการทำความเข้าใจปัญหาที่ประสบอยู่ในพื้นที่ว่า เกี่ยวข้องกับวิธีการทำผังเมืองอย่างไร โดยหยิบยกผังเมืองของมาบตาพุดเป็นกรณีตัวอย่าง

จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มชาวบ้านออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือกลุ่มชาวบ้านอำเภอจะนะ กลุ่มชาวบ้านอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และกลุ่มชาวบ้านอำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยให้แต่ละกลุ่มพิจารณาว่า พื้นที่มีศักยภาพของชุมชนของตัวเองกับโครงการแผนพัฒนาของภาครัฐอยู่ตรงไหนบ้าง

ดังนั้น ในการเรียนรู้เรื่องผังเมือง ต้องรู้ว่า จะมีโครงการอะไรลงมาในพื้นที่บ้าง ซึ่งชุมชนต้องขับเคลื่อนด้วยกระบวนการภาคประชาชน โดยเสนอผ่านสภาองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) แล้วออกเป็นข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดเป็นผังชุมชนออกมา

การทำผังเมืองโดยผ่านสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จนมีผลบังคับใช้ได้ จะต้องยื่นเรื่องไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกครั้ง ก่อนที่ประกาศใช้เป็นกฎกระทรวงต่อไป

สีผังเมืองกำหนดบทบาทแบบชาวบ้าน
ในการทำผังเมืองชาวบ้าน โดยให้ชาวบ้านใช้สีต่างๆ ดังนี้
สีเหลืองกำหนดพื้นที่ชุมชน ที่อยู่อาศัย
สีแดงเป็นพื้นที่ตลาดพาณิชย์
สีเขียวเข้มเป็นพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้น
สีเขียวเส้นทแยงเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว
สีม่วงเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม
สีเขียวอ่อนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
สีน้ำตาลเป็นพื้นที่ศาสนาและวัฒนธรรม
สีน้ำเงินเป็นพื้นที่สถานที่ราชการ
สีฟ้าเป็นทะเลและแหล่งน้ำ

พื้นที่แต่ละสีสามารถกำกับพื้นที่นั้นๆ ได้ เช่น พื้นที่สีม่วงใช้รองรับอุตสาหกรรมครัวเรือน ห้ามเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเคมี พื้นที่ชุมชนห้าม มีอาคารสูงกว่า 3 ชั้น รอบๆโรงเรียน มัสยิดและวัด ห้ามมีสถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะใกล้ 500 เมตร พื้นที่ตลาดพาณิชย์ ห้ามมีห้างร้านต่างชาติ เป็นต้น

สองวัฒนธรรม แนวคิดผังเมืองชาวบ้านจะนะ

นายร่อหีม หมะสะมะ ชาวบ้านบ้านป่างาม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ออกมาอธิบายถึงสภาพปัจจุบันพื้นที่อำเภอจะนะเป็นพื้นที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม ทะเล แหล่งน้ำ ป่าอนุรักษ์ ตลาดนัดอำเภอจะนะ ถนนจะนะ โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซและแนวท่อก๊าซไปสะเดา โดยชี้ไปตามสีจากการระดมความคิดที่ระบายบนกระดาษไขทับแผนที่อำเภอจะนะ
นายร่อหีม อธิบายต่อไปว่า อนาคตอยากจะมีชุมชนที่อยู่อาศัยที่ไม่มีมลพิษ ห้ามมีสถานบันเทิง แหล่งอบายมุขและมีอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ตลาดพาณิชย์ไม่ต้องการโลตัส แม็คโคร ห้างร้านต่างชาติ

“บริเวณป่าพรุ ป่าชายเลน แม่น้ำ ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ไม่อยากให้มีการกั้นคันเขื่อนในทะเล ห้ามมีรีสอร์ท นอกจากโฮมสเตย์ของชาวบ้านเท่านั้น” นายร่อหีม กล่าว

นายร่อหีม กล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่อยากให้ขุดลอกฝายคลองปลักปลิง-นาปรัง เขื่อนนาปรัง ป่าสันทราย(หาดสะกอม-ตลิ่งชัน) พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

“ดำรงชีพแบบเกษตรกรรมพอเพียงตามคำขวัญของอำเภอจะนะ คือนกเขาชวาเสียงดี สำเนียงสะกอม วัฒนธรรมหล่อหลอม กองทัพเจนดัง ส่วนอีกหนึ่งคำขวัญคือ แตงโมรสหวาน ตำนานนกเขา ถิ่นเก่าสองวัฒนธรรม งามล้ำหาดตลิ่งชัน” นายร่อหีม กล่าว

ปากบาราคือพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้น

นายดาดี ปากบารา ชาวบ้านท่ามาลัย ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล อายุ 73 ปี ออกมานำเสนอในนามตัวแทนกลุ่มว่า สภาพพื้นที่จังหวัดสตูลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีอุทยานแห่งชาติถึง 3 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง

ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติทะเลบัน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด

นายดาดี อธิบายต่อไปว่า ในจังหวัดสตูล มีโครงการแผนพัฒนาของรัฐลงมาถึง 5 - 6 โครงการ คือโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา รถไฟรางคู่เชื่อมท่าเรือน้ำลึกปากบารากับท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 หรือรถไฟแลนด์บริดจ์ คลังน้ำมันและท่อขนถ่ายน้ำมัน

นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรม1แสน 5 หมื่นไร่ อุโมงค์สตูล-เปอร์ลิศ ประเทศมาเลเซีย และอ่างเก็บน้ำคลองช้าง(เขื่อนทุ่งนุ้ย)

นายดาดี กล่าวว่า การสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะต้องนำทรายจากบ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านปากละงูและบ้านหัวหิน อำเภอละงู และระเบิดภูเขาอีก 10 ลูกมาสร้างท่าเรือน้ำลึก

นายดาดี บอกว่า ในอนาคตในส่วนของตำบลปากน้ำ อยากให้ตัดถนนเส้นใหม่จากบ้านท่ามาลัยไปบ้านปากบารา และต่อไปยังบ้านบ่อเจ็ดลูก ส่วนบ้านเรือนและร้านค้าสองข้างถนน ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ห้ามมีบ้านจัดสรร พื้นที่การเกษตรห้ามใช้สารเคมี และมีพื้นที่สงวนไว้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

นายดาดี อธิบายต่อไปว่า บริเวณโรงเรียนและมัสยิดในระยะ 500 เมตร ห้ามมีร้านวิดีโอเกมส์หรือเกมส์คอมพิวเตอร์ สถานบันเทิง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้น ซึ่งมีปะการัง หญ้าทะเล แหล่งหากินของพะยูนและโลมา โดยสงวนไว้เพื่อการท่องเที่ยวและการทำประมงชายฝั่งและห้ามใช้เครื่องมือประมงทำลายล้างผิดกฎหมาย

“เมื่อเป็นมติชุมชนแล้ว ก็จะให้มีตัวแทนชุมชนเป็นผู้ควบคุมกฎ ส่วนทางราชการก็ให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามมติของชุมชนด้วย” นายดาดี อธิบาย

บ้านนาปรัง-เข้าน้ำค้าง เขตห้ามสร้างเขื่อน

ด้านนางพรเพชร เพ็ชรครั่ง ชาวบ้านนาปรัง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา นำเสนอแนวคิดของกลุ่มว่า ให้มีพื้นที่สีเขียวอ่อน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งครอบคลุมมาถึงพื้นที่อำเภอจะนะ

“พื้นที่สีเขียวคือเขตอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ห้ามใครรุกล้ำ แต่ปัจจุบันเป็นพื้นที่สวนยางพาราและสวนผลไม้” นางพรเพชร กล่าว

นางพรเพชร อธิบายต่ออีกว่า วัดคือพื้นที่สีน้ำเงิน กำหนดให้เป็นศูนย์รวมของชุมชน บริเวณสีแดงกำหนดเป็นตลาดและร้านค้าสหกรณ์ สถาบันการเงินของชุมชน โดยดำเนินกิจการเปิดบ่อรับซื้อน้ำยางสด

“สำหรับพื้นที่บ้านนาปรังและเขาน้ำค้างจะกำหนดให้เป็นป่าอนุรักษ์ห้ามบุกรุกเด็ดขาด ห้ามสร้างเขื่อน ชาวบ้านจะรักษาป่าไว้เยี่ยงชีวิต สามารถปลูกยางพาราและสวนผลไม้ได้ต้องห่าง 1 กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย” นางพรเพชร ยืนยันหนักแน่น
ส่วนพื้นที่ชุมชนสีเหลืองสามารถมีสถานประกอบธุรกิจได้ แต่ห้ามมีสถานบันเทิงและโรงงานหรือร้านซ่อมเครื่องจักรที่ส่งเสียงดัง พื้นที่สีเขียวอ่อนสามารถปลูกสร้างบ้านเรือนได้ สามารถดำเนินกิจการเปิดบ่อน้ำยางหรือโรงทำยางแผ่นของชุมชน

เขตลุ่มน้ำห้ามมีการสร้างโรงแรมหรือรีสอร์ทขนาดใหญ่ พื้นที่สีเขียวเข้มห้ามประกาศยกเลิกพื้นที่ไปสร้างอ่างเก็บน้ำโดยเด็ดขาด

อาจารย์ภารนี สวัสดิรักษ์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยโจทย์ใหญ่ว่า “เราจะเอาผังเมืองฉบับนี้ไปสานต่อที่ชุมชนของเราเองหรือไม่”
พร้อมเสนอแนวทางในการสานต่อ ด้วยการประชุมหารือกับชาวบ้านเพื่อหาคณะทำงานช่วยกันหาข้อมูล สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ร่วมกัน ช่วยกันผลักดันความต้องการของชุมชน รวมถึงการวางแผนกระบวนการพัฒนาพื้นที่
วางแนวคิดผังเมืองชาวบ้านเสร็จสรรพ ผู้เข้าร่วมทั้งหมดก็ลงพื้นที่ดูสถานที่จริง สีอะไรควรอยู่ตรงไหน

ที่บ้านหลังหนึ่งแห่งบ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา แต่ละคนก็เบียดเสียดกันหลบฝนตกห่าใหญ่ หลังจากลงพื้นที่ดูโรงไฟฟ้าจะนะกับโรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย และแวะผ่านลานหอยเสียบ สถานที่ประวัติศาสตร์บริเวณการต่อสู้ของชาวบ้าน

พวกเขาคงครุ่นคิดอยู่ว่า สีอุตสาหกรรม ควรถูกหย่อนลงบนผืนผังเมืองแบบที่ชาวบ้านทำเองหรือไม่ หรือตรงไหน