ที่มา thaifreenews
โดย bozo
Read more from ประเทศไทย, สิทธิมนุษยชน
วันนี้หนังสือพิมพ์และแหล่งข่าวหลายแห่งพากันกล่าวถึง
การจัดอันดับ “เสรีภาพในโลก” ขององค์กร
Freedom house ในวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา
ประเทศไทยยังคงถูกจัดอยู่ในประเภทของ “ประเทศที่มีเสรีภาพเพียงบางส่วน”
โดยอยู่ในประเภทดังกล่าวติดกันเป็นเวลา 4 ปี
ส่วนลำดับของสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของพลเรือน
ยังอยู่ในลำดับเดิมตั้งแต่ปีที่แล้ว
องค์กร Freedom House กล่าวอย่างคร่าวๆว่า
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เสรีภาพของพลเรือนลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในหลายปีที่ผ่านมา
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ หากพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
แม้องค์กร Freedom House จะสังเกตเห็นว่า
ว่า ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นตกต่ำลง
แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ควรจะดีใจที่องค์กร Freedom House ไม่ได้ประนามรัฐบาลรุนแรงกว่านี้
เพราะมันยากที่จะเชื่อว่าเสรีภาพโดยรวมของประเทศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากปีที่แล้ว
เพราะมีการใช้พรก.ฉุกเฉินติดต่อกันเป็นเวลาถึง 9เดือน จะเห็นว่า
รัฐบาลไทยได้ประโยชน์จากการจัดลับดับที่เต็มไปด้วยอคติขององค์กร Freedom House
ที่มีมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น นักรัฐศาสตร์อย่าง Kenneth Bollen ได้แสดงทัศนะว่า
องค์กร Freedom House มักจะผ่อนปรนกับเผด็จการที่เป็นมิตรกับรัฐบาลอเมริกามากกว่า
เราลองจินตนาการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการจัดลำดับเสรีภาพในเวเนซูเอล่า
หาก Hugo Chavez สังหารผู้ชุมนุมกว่า 90 รายบนท้องถนนกรุงคาราคัส
หรือบิดเบือนการใช้กฎหมายฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงคือ ลำดับของสิทธิพลเรือนในเวเนซูเอล่าลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในหลายปีที่ผ่านมา แม้ Hugo Chavez ไม่ได้กระทำเรื่องดังกล่าวเลยก็ตาม
นอกจากนี้ ใครก็ตามที่หวังดีกับประเทศไทยอย่างแท้จริง
ก็ต้องรู้สึกแย่เมื่อต้องทนดูประเทศไทยกำลังจมดิ่งลงสู่หุบเหวภายการนำของรัฐบาลนี้
เพราะการจัดลำดับ “สิทธิทางการเมือง” ในประเทศไทย (ได้คะแนนลำดับ 5)
ถูกจัดให้อยู่ในลำดับเดียวกับประเทศอย่างประเทศบูร์กินาฟาโซ, บุรุนดี,
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, แกมเบีย, อูกานดา, กินี, อิรัค, โคโซโว,คีร์กีซสถาน,
เลบานอน, โมรอคโค, ไนเจอร์, สิงคโปร์, ศรีลังกา, โทโก และเวเนซูเอล่า
ในขณะที่คะแนนในเรื่อง “สิทธิพลเรือน” นั้นดีกว่านิดหน่อย (ได้ 4คะแนน)
และอยู่ในลำดับเดียวกับประเทศอาร์มาเนีย, บังคลาเทศ, โคลัมเบีย, โคโมรอส,
ติเมอร์ตะวันออก, ฟิจิ, กัวเตมาลา, กินี-บิสเซา, ฮอนดูรัส, โคโซโว, ลิเบอร์เลีย,
มาดากัสการ์, มาลาวี, มาเลเซีย, มัลดีฟส์, โมรอคโค, เนปาล, นิคาร์รากัวร์,
ไนเจอร์, ไนจีเรีย, สิงคโปร์, ศรีลังกา, โทโก, อูกานดา และแซมเบีย
แม้ว่ามาตรฐานของระบอบประชาธิปไตยของไทยจะตกต่ำเป็นเวลาหลายปี
แต่การที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ลำดับเดียวกับประเทศเหล่านั้นถือเป็นสิ่งที่น่าอับอาย
ประการแรกคือ ประเทศไทยพัฒนาไปไกลกว่าประเทศอื่นที่อยู่ในลำดับเดียวกัน
ในการจัดลำดับสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเรือน
ซึ่งยกเว้นประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่พัฒนากว่าประเทศไทย
ในแง่ของความมั่งคั่ง อายุขัยของประชากร และระบบการศึกษาเท่านั้น
แต่ทั้งสองประเทศนี้ไม่ได้เป็นประเทศตัวอย่างที่ดี
ในแง่ของเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตยเลย ประเทศอย่างแซมเบีย,
แกมเบีย, มาลาวี, กินี,สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ,บูร์กินาฟาโซ,
ลิเบอร์เลีย, กินี-บิสเซา, บุรันดี และไนเจอร์
ถูกจัดให้อยู่ใน 20 ลำดับสุดท้ายของประเทศด้อยพัฒนาที่สุด
ประการที่สอง สถาบันทางประชาธิปไตยในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนามายาวนาน
โดยประเทศส่วนใหญ่ที่ถูกจัดให้อยู่ในลำดับเดียวกับประเทศไทยนั้น
ต่างเคยเป็นประเทศในอาณานิคมของตะวันตกมาก่อน
และเมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์วุ่นวาย
และสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในบางประเทศเหล่านี้ด้วย
ส่งผลให้ประชาชนหลายแสนคนเสียชีวิต เป็นเวลากว่า 8ทศวรรษแล้ว
ที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
แต่ประเทศไทยยังคงถูกจัดให้อยู่ในลำดับเดียวกันกับประเทศ
อย่างเลบานอน, ลิเบอร์เลีย, ไนจีเรีย หรือศรีลังกา
ประเทศที่องค์กร Freedom House จัดให้อยู่ในลำดับเดียวในประเทศไทยนั้น
อาจมีข้ออ้างที่ฟังขึ้นว่าเหตุใดจึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย
แต่ประเทศไทยนั้นหมดข้ออ้างไปนานแล้ว
ปัญหาของระเทศไทยไม่ได้อยู่ที่เรื่องความไม่พัฒนา
หรือขาดความคุ้นเคยกับประชาธิปไตย
แต่อยู่ที่ตัวของผู้นำกลุ่มอำมาตย์ที่ปกครองประเทศโดยไม่ฟังเสีียงประชาชน
มักชอบอ้างว่าตนเองนั้นเป็น “คนดี” และ “มีคุณธรรม”
ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยสมควรมีรัฐบาลที่ดีเท่ากับประชาชน
แต่เป็นที่ชัดเจนว่า หนทางนั้นยังอีกไกล
http://robertamsterdam.com/thai/?p=662
วันนี้หนังสือพิมพ์และแหล่งข่าวหลายแห่งพากันกล่าวถึง
การจัดอันดับ “เสรีภาพในโลก” ขององค์กร
Freedom house ในวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา
ประเทศไทยยังคงถูกจัดอยู่ในประเภทของ “ประเทศที่มีเสรีภาพเพียงบางส่วน”
โดยอยู่ในประเภทดังกล่าวติดกันเป็นเวลา 4 ปี
ส่วนลำดับของสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของพลเรือน
ยังอยู่ในลำดับเดิมตั้งแต่ปีที่แล้ว
องค์กร Freedom House กล่าวอย่างคร่าวๆว่า
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เสรีภาพของพลเรือนลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในหลายปีที่ผ่านมา
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ หากพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
แม้องค์กร Freedom House จะสังเกตเห็นว่า
ว่า ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นตกต่ำลง
แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ควรจะดีใจที่องค์กร Freedom House ไม่ได้ประนามรัฐบาลรุนแรงกว่านี้
เพราะมันยากที่จะเชื่อว่าเสรีภาพโดยรวมของประเทศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากปีที่แล้ว
เพราะมีการใช้พรก.ฉุกเฉินติดต่อกันเป็นเวลาถึง 9เดือน จะเห็นว่า
รัฐบาลไทยได้ประโยชน์จากการจัดลับดับที่เต็มไปด้วยอคติขององค์กร Freedom House
ที่มีมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น นักรัฐศาสตร์อย่าง Kenneth Bollen ได้แสดงทัศนะว่า
องค์กร Freedom House มักจะผ่อนปรนกับเผด็จการที่เป็นมิตรกับรัฐบาลอเมริกามากกว่า
เราลองจินตนาการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการจัดลำดับเสรีภาพในเวเนซูเอล่า
หาก Hugo Chavez สังหารผู้ชุมนุมกว่า 90 รายบนท้องถนนกรุงคาราคัส
หรือบิดเบือนการใช้กฎหมายฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงคือ ลำดับของสิทธิพลเรือนในเวเนซูเอล่าลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในหลายปีที่ผ่านมา แม้ Hugo Chavez ไม่ได้กระทำเรื่องดังกล่าวเลยก็ตาม
นอกจากนี้ ใครก็ตามที่หวังดีกับประเทศไทยอย่างแท้จริง
ก็ต้องรู้สึกแย่เมื่อต้องทนดูประเทศไทยกำลังจมดิ่งลงสู่หุบเหวภายการนำของรัฐบาลนี้
เพราะการจัดลำดับ “สิทธิทางการเมือง” ในประเทศไทย (ได้คะแนนลำดับ 5)
ถูกจัดให้อยู่ในลำดับเดียวกับประเทศอย่างประเทศบูร์กินาฟาโซ, บุรุนดี,
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, แกมเบีย, อูกานดา, กินี, อิรัค, โคโซโว,คีร์กีซสถาน,
เลบานอน, โมรอคโค, ไนเจอร์, สิงคโปร์, ศรีลังกา, โทโก และเวเนซูเอล่า
ในขณะที่คะแนนในเรื่อง “สิทธิพลเรือน” นั้นดีกว่านิดหน่อย (ได้ 4คะแนน)
และอยู่ในลำดับเดียวกับประเทศอาร์มาเนีย, บังคลาเทศ, โคลัมเบีย, โคโมรอส,
ติเมอร์ตะวันออก, ฟิจิ, กัวเตมาลา, กินี-บิสเซา, ฮอนดูรัส, โคโซโว, ลิเบอร์เลีย,
มาดากัสการ์, มาลาวี, มาเลเซีย, มัลดีฟส์, โมรอคโค, เนปาล, นิคาร์รากัวร์,
ไนเจอร์, ไนจีเรีย, สิงคโปร์, ศรีลังกา, โทโก, อูกานดา และแซมเบีย
แม้ว่ามาตรฐานของระบอบประชาธิปไตยของไทยจะตกต่ำเป็นเวลาหลายปี
แต่การที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ลำดับเดียวกับประเทศเหล่านั้นถือเป็นสิ่งที่น่าอับอาย
ประการแรกคือ ประเทศไทยพัฒนาไปไกลกว่าประเทศอื่นที่อยู่ในลำดับเดียวกัน
ในการจัดลำดับสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเรือน
ซึ่งยกเว้นประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่พัฒนากว่าประเทศไทย
ในแง่ของความมั่งคั่ง อายุขัยของประชากร และระบบการศึกษาเท่านั้น
แต่ทั้งสองประเทศนี้ไม่ได้เป็นประเทศตัวอย่างที่ดี
ในแง่ของเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตยเลย ประเทศอย่างแซมเบีย,
แกมเบีย, มาลาวี, กินี,สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ,บูร์กินาฟาโซ,
ลิเบอร์เลีย, กินี-บิสเซา, บุรันดี และไนเจอร์
ถูกจัดให้อยู่ใน 20 ลำดับสุดท้ายของประเทศด้อยพัฒนาที่สุด
ประการที่สอง สถาบันทางประชาธิปไตยในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนามายาวนาน
โดยประเทศส่วนใหญ่ที่ถูกจัดให้อยู่ในลำดับเดียวกับประเทศไทยนั้น
ต่างเคยเป็นประเทศในอาณานิคมของตะวันตกมาก่อน
และเมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์วุ่นวาย
และสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในบางประเทศเหล่านี้ด้วย
ส่งผลให้ประชาชนหลายแสนคนเสียชีวิต เป็นเวลากว่า 8ทศวรรษแล้ว
ที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
แต่ประเทศไทยยังคงถูกจัดให้อยู่ในลำดับเดียวกันกับประเทศ
อย่างเลบานอน, ลิเบอร์เลีย, ไนจีเรีย หรือศรีลังกา
ประเทศที่องค์กร Freedom House จัดให้อยู่ในลำดับเดียวในประเทศไทยนั้น
อาจมีข้ออ้างที่ฟังขึ้นว่าเหตุใดจึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย
แต่ประเทศไทยนั้นหมดข้ออ้างไปนานแล้ว
ปัญหาของระเทศไทยไม่ได้อยู่ที่เรื่องความไม่พัฒนา
หรือขาดความคุ้นเคยกับประชาธิปไตย
แต่อยู่ที่ตัวของผู้นำกลุ่มอำมาตย์ที่ปกครองประเทศโดยไม่ฟังเสีียงประชาชน
มักชอบอ้างว่าตนเองนั้นเป็น “คนดี” และ “มีคุณธรรม”
ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยสมควรมีรัฐบาลที่ดีเท่ากับประชาชน
แต่เป็นที่ชัดเจนว่า หนทางนั้นยังอีกไกล
http://robertamsterdam.com/thai/?p=662