WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 11, 2011

หลายภาคส่วนอัด "ประชาวิวัฒน์" ไร้กระบวนท่า-ไม่ชัดเจน

ที่มา ประชาไท

เอกชน-นักวิชาการ วิพากษ์นโยบาย "ประชาวิวัฒน์" แค่นโยบายหาเสียงไร้ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาชัดเจน ห่วงปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม เพิ่มต้นทุน ด้านแรงงานนอกระบบเผยนโยบายไม่ชัดเจน

10 ม.ค. 54 - ภาคเอกชนและนักวิชาการ ได้วิพากษ์วิจารณ์โครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทย (โครงการประชาวิวัฒน์) เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน 9 โครงการ ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ประกาศโครงการอย่างเป็นทางการ วันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในภาพรวม ส.อ.ท.ถือว่ามีเจตนาดีที่จะดูแลประชาชนและเพิ่มโอกาสผู้ที่มีรายได้น้อย แต่ก็เห็นว่านโยบายดังกล่าวที่ออกมาช่วงนี้เป็นนโยบายหาเสียงทางการ เมืองอย่างชัดเจน และรัฐบาลไม่ควรคิดว่าการอุ้มประชาชนในทุกเรื่อง จะเป็นเรื่องดี เพราะอาจมีผลระยะยาว และถ้าพิจารณาในบางมาตรการที่ดูแลประชาชนจะกระทบกับส่วนอื่นด้วย อาทิเช่น นโยบายให้ประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยได้ใช้ไฟฟ้าฟรี และนโยบายแยกราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ของครัวเรือนและการขนส่งออกจากภาคอุตสาหกรรมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ของผู้ประกอบการ และเมื่อต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นก็จะทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับราคา สินค้าขึ้น ชี้รัฐทิ้งภาคอุตสาหกรรม

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ควรมุ่งให้ความช่วยเหลือกับเอสเอ็มอีเป็นลำดับแรก ที่ไม่มีความสามารถในการเปลี่ยนเครื่องจักร ที่ผ่านมารัฐบาลก็สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซแอลพีจี แต่ปัจจุบันมีนโยบายลอยตัวราคาก๊าซในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถ้ารัฐบาลจะใช้มาตรการนี้จริง ก็เหมือนทิ้งการดูแลภาคอุตสาหกรรม โดยเห็นว่ารัฐบาลควรมีแนวทางใดมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ และก่อนที่จะถึงเดือน ก.ค.2554 ที่มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ก็ต้องช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งการลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจีของภาคอุตสาหกรรม แต่ยังตรึงราคาของภาคครัวเรือนและขนส่ง จะเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซมาก เช่น เซรามิค หวั่นภาระงบฯ ระยะยาว

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการดูแลประชาชนที่หลายเรื่องเป็นประชานิยม ซึ่งในหลักการเห็นด้วยเพราะประชาชนบางส่วนเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ และเชื่อว่ารัฐบาลมีเป้าหมายส่วนหนึ่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการสร้างรายได้เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอย โดยเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลออกมาตรการมาเป็นแพ็คเกจครอบคลุมหลายเรื่อง แต่ก็เป็นห่วงงบประมาณ ที่จะใช้ในอนาคต เพราะบางมาตรการให้แล้วเลิกไม่ได้และจะเป็นภาระของรัฐบาลตลอดไป โดยรัฐบาลคงจะมีแผนด้านภาษีไว้รองรับ แล้วร้องรัฐช่วยเอกชนเปลี่ยนเทคโนโลยี

นายพรศิลป์ กล่าวว่า มาตรการเก็บค่าไฟฟ้าของบ้านที่คนรวยที่ใช้ไฟฟ้ามากเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น แต่การเก็บค่าไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมสูง จะทำให้ผู้ประกอบการออกมาร้องเรียนซึ่งถ้าขึ้นค่าไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมทันที อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน โดยเห็นว่ารัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการได้ใช้เทคโนโลยีลดการ ใช้พลังงาน ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ควรจะมีมาตรการส่งเสริมมากขึ้น โดยไม่ควรดูเฉพาะการลดภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่แล้วแต่อาจพิจารณาลดภาษีเงินได้ ด้วย

นายพีระ เจริญพร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในทีมโพลีซีวอทช์ กล่าวว่า ห่วงว่าโครงการลักษณะนี้ จะมีต้นทุนแฝงที่ค่อนข้างสูง และหลายโครงการมีความเสี่ยงต่อฐานะการคลังของรัฐบาลในอนาคตด้วย

"หลายโครงการมีความเสี่ยง เช่น โครงการโฉนดชุมชน ซึ่งดูเหมือนเป็นการจูงใจให้คนบุกรุกที่ดินสาธารณะ และนักการเมืองก็มีแนวโน้มว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็จะเข้าไปช่วยเหลือ โดยการออกโฉนดที่ดินให้ แต่เกิดว่าวันหนึ่งรัฐบาลต้องใช้ที่ดินผืนนั้นในการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างถนน ขุดคลองเพิ่มเติม การจะเอาที่ดินที่ให้ไปคืนก็ทำได้ยาก ที่ทำได้ก็คือต้องจ่ายค่ารื้อถอน" นายพีระกล่าว

นายพีระ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ประชาชนส่วนใหญ่อยากรู้ คือ รัฐจะเอาเงินจากไหนมาสนับสนุนในโครงการลักษณะนี้ เพราะท้ายสุดจะทำให้ภาระการคลังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลถือว่าโชคดีที่เศรษฐกิจเติบโตได้ในระดับค่อนข้างสูง ทำให้มีเงินมาสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้โดยไม่ต้องกู้เพิ่มเติม แต่หากอนาคตเศรษฐกิจเกิดชะลอตัว เกรงว่าจะเป็นปัญหากับภาระการคลังได้ ชี้แผนยังขาดยุทธศาสตร์

นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางที่ออกมายังขาดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นหลักที่ยังไม่ชัดเจน ได้แก่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การกระจายรายได้และการใช้พลังงาน ส่วนเรื่องการใช้งบประมาณในโครงการประชานิยม ความสำคัญอยู่ที่วินัยการคลังเป็นหลัก

“การกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนต้องกำหนดให้ชัด เพราะตอนนี้เราเหมือนเป็นแครกเกอร์หรือกล้วยปิ้งที่ประเทศที่มีความสามารถ สูงอยู่ ข้างล่างก็มีประเทศที่กำลังไล่เราขึ้นมา สังคมกำลังรอดูว่าจะไปทางไหน ยุทธศาสตร์ประเทศไทยยังไม่เห็นชัดเจน ที่น่าห่วงคือเอาเงินที่ไหนมาใช้”

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วมองว่าโครงการนี้แม้จะเป็นการปรับระบบทางโครงสร้าง แต่ก็ยังต้องใช้เม็ดเงินมากพอสมควร อย่างไรก็ตามเขามองว่าสิ่งที่ยังขาดหายไปคือ โครงการระดับแม็คโคร หรือโปรเจคระดับชาติ ที่ยังมีหลายโครงการที่ต้องแก้ไข ซึ่งไม่มีอยู่ในทั้ง 9 ข้อที่ประกาศมา อาทิเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำ, การศึกษา, โลจิ สติกส์ และพลังงาน แต่เราก็อยากเห็นโครงการใหญ่ระดับแม็คโครควบคู่ไปด้วย ชี้รัฐต้องมีวินัยทางการเงิน

นพ.บุญ วนาสิน ประธานที่ปรึกษาเครือข่ายโรงพยาบาลธนบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายประชานิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะการช่วยคนจนในเรื่องสาธารณสุขพื้นฐาน การประกันสังคม โดยเฉพาะมาตรการไฟฟ้าฟรีสำหรับผู้ใช้ไฟน้อย การขยายประกันสังคม แต่สิ่งรัฐบาลต้องควรระวังคือการปล่อยกู้ให้กับอาชีพต่างๆ อาทิเช่น กลุ่มแท็กซี่ รัฐบาลรอบคอบไม่ใช่เป็นการให้เปล่า เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นสร้างวินัยการใช้เงินที่ผิดให้กับประชาชน และทำให้ประชาชนนั่งรอการช่วยเหลือจากมาตรการประชาวิวัฒน์ที่ออกมาอย่าง เดียว

นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับมาตรการเร่งด่วนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาให้สวัสดิ การแรงงานนอกระบบร่วมประกัน สังคมตามมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.ประกันสังคม เพราะไม่เหมาะสมทั้งเรื่องของตัวเงินและสิทธิประโยชน์ ที่ได้รับ แต่ยังไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนว่าแรงงานเลือกจ่าย 100 150 หรือ 280 บาท มีรายละเอียด อย่างไรบ้าง

“ภาพรวมยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ส่วนใหญ่คือการเอื้อสวัสดิการและประกันความเสี่ยงให้กับแรงงานนอกระบบ เพราะแรงงานกลุ่มนี้มีความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพมาก และยังคงไม่มีหลักประกันอะไรรับรอง” นางวรวรรณ กล่าว

สำหรับประเด็นที่รัฐบาลจะให้แรงงาน นอกระบบออมเงินผ่านระบบประกันสังคม นั้น นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอมองว่า ควรจะแยกการออมเงินชราภาพออกจากระบบประกันสังคมให้ชัดเจน และให้กองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.) บริหารงานมากกว่า เพราะเชื่อว่า กอช.มีความเสี่ยงต่ำกว่าประกันสังคม และการบริหารงานในส่วนนี้ กอช.มีความสามารถมากกว่า รวมถึงระบบการจ่ายเงินก็เป็นแบบบำนาญซึ่งมีความเหมาะสมกับแรงงานในกลุ่มนี้

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย (การพัฒนาแรงงาน) ทีดีอาร์ไอ มองว่า โดยหลักการเห็นด้วยกับรัฐบาลที่มีนโยบายประชาวิวัฒน์เพื่อพัฒนาประเทศ แต่ต้องดูและวิเคราะห์ให้ลึกโดยเฉพาะแหล่งเงินที่ใช้ ส่วนในเรื่องนโยบายที่จะดึงคนงานเข้าสู่ประกันสังคมที่เลือกจ่ายใน 3 อัตรานั้นเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อผู้ประกันตนแต่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด เชื่อว่ามาตรฐานนี้จะสามารถช่วยให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ มากกว่า 50% หากมีการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ทราบ

โดยส่วนตัวนโยบายของรัฐ ดังกล่าวถ้าทำตามขั้นตอนอย่าง เป็นระบบและยึดหลักที่ประกาศไว้เชื่อว่าน่าจะช่วยได้ พร้อมยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่รัฐบาลต้องการคะแนนเสียง

นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการประกาศมาตราการดังกล่าว แม้ว่าจะยังไม่ดีมากนักและไม่เท่าเทียมกับแรงงานในระบบก็ตาม แต่อย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะที่ผ่านมาได้มีการเรียกร้องผลักดันเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม

นางสุจิน กล่าวว่า จากการพูดคุยกับสมาชิกเครือข่ายแรงงานนอกระบบล้วนมีความเห็นตรงกันว่าสำนัก งานประกันสังคม (สปส.) ควรเก็บเงินสมทบกับแรงงานนอกระบบให้น้อยลงและให้รัฐบาลเข้ามาร่วมจ่ายมาก ขึ้น หรือไม่เช่นนั้นควรเพิ่มสิทธิ์ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อจูงใจให้แรงงานนนอกระบบเข้ามาสู่ระบบประกันสังคม นอกจากนี้อยากเปลี่ยนจากสิทธิ์บำเหน็จชราภาพมาเป็นบำนาญชราภาพ เนื่องจากเงินบำนาญถือเป็นหัวใจสำคัญของแรงงานนนอกระบบในการดำรงชีวิตใน สังคม ทั้งนี้การประกาศมาตราการดังกล่าว ทำให้สปส.มีสถานะอยู่ภายใต้ระบบประชาภิวัฒน์ที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งมีผลบังคับใช้ภายในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อหมดวาระรัฐบาลจะมีใครรับประกันได้ว่ามาตราการดังกล่าวจะไม่ล่ม ดังนั้น รัฐบาลจะทำอย่างไรให้เงินสมทบประเดิมกองทุนสปส.นี้มีผลระยะยาวและใช้ได้ตลอด ไป ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน

น.ส.วาสนา ลำดี ผู้ประสานงานโครงการสื่อสารแรงงาน กล่าวว่า การที่รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของแรงงานนอกระบบ โดยเฉพาะในเรื่องของหลักประกันชีวิต ถือเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัตินั้นยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้จริงและเข้าถึงแรง งานนอกระบบกลุ่มนี้ได้หรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวยังใหม่และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นรัฐบาลและสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะต้องประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เช่น ในเรื่องการติดต่อขอแบบฟอร์มและวิธีการจ่ายเงินสมทบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องยาก หากจะทำควรจะเป็นในลักษณะคล้ายกับการขายประกันลงพื้นที่ทุกกลุ่ม ทั้งนี้หากมองในภาพรวมแล้วบุคลากรของสปส.ยังมีจำกัดและไม่สามารถทำได้

น.ส.วาสนา กล่าวว่า การที่นายกฯออกมาประกาศนำร่องแรงงานนอกระบบใน 3 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง คนขับรถแท็กซี่และหาบเร่แผงลอยเห็นจะไม่ถูกต้อง หากต้องการลดความเหลื่อมล้ำจริงต้องไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มอาชีพเหล่านี้ นอกจากนี้ในส่วนของการเก็บเงินสมทบ จำนวน 2 อัตรา คือ 100 บาทและ150 บาทต่อเดือนนั้น เป็นการกำหนดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและหวังผลในการเลือกตั้ง เพราะหากโปร่งใสจริงจะต้องมีการปรึกษาหารือถึงเกณฑ์การเก็บเงินสมทบดังกล่าว ก่อน ไม่ใช่กำหนดขึ้นมาลอยๆโดยไม่ทราบว่าใช้อะไรเป็นตัวตั้ง นอกจากนี้หากมีแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคมเป็นจำนวนมากกว่าที่รัฐบาล คาดการณ์ไว้ จะส่งผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมหรือไม่และรัฐบาลจะดำเนินอย่างไรต่อไป

ด้านนายธนธรณ์ แปงคำใส ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างย่านดินแดง กล่าวว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างหรือวินมอเตอร์ไซด์ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ขณะเดียวกันการจัดระเบียบก็ยังมีช่องว่างทางกฎหมาย เมื่อมีการจัดระเบียบเกิดขึ้น เพราะเสื้อวินในกฎหมายกำหนดไว้ห้ามขาย แต่บางคนต้องซื้อเสื้อวินต่อจากคนอื่น หรือเช่าเสื้อ เพราะไม่สามารถทำเป็นรถรับจ้างป้ายสีเหลืองได้ เมื่อเจ้าหนี้ที่ตำรวจเรียกตรวจใบอนุญาตก็จะถูกเปรียบเทียบปรับ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกเก็บเงินจากวินมอเตอร์ไซด์บางวิน จึงอยากฝากรัฐบาลดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ ส่วนที่รัฐบาลต้องการให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งรวมไปถึงวินมอเตอร์ไซด์เข้าไปอยู่ในระบบประกันสังคมโดยที่จ่ายใน 2 อัตรา คือ 100 บาทต่อเดือน รัฐช่วยสมทบ 30 บาท ซึ่งได้สิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และ 150 บาท รัฐช่วยสมทบ 50 บาท ได้สิทธิ์ 4 กรณี โดยเพิ่ม สิทธิ์เงินออมบำเหน็จชราภาพนั้น ก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่อยากทราบรายละเอียดสิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะได้รับให้ชัดเจนกว่านี้

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: กรุงเทพธุรกิจ, เนชั่นทันข่าว, โพสต์ทูเดย์