WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 13, 2011

ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ห้องแถว และดอกเตอร์ประเทศโลกที่สาม

ที่มา Thai E-News



ดร.วีระ สมความคิด,ดร.หญิงเป็ด,ดร.กล้าณรงค์ และดร.ฯลฯ-(ภาพบน)กำธน สินธุวานนท์ องคมนตรี และนายกสภามหาวิทยาลัย กับดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ถ่ายภาพร่วมกับ วีระ สมความคิด ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ซ้ายสุด)ส่วนภาพล่างเป็นการมอบดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คตส.ทั้งชุด งานนี้เลยมีดร.หญิงเป็ด ดร.กล้าณรงค์ และดร.ใหม่อีกราว 1 โหล


โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

ประเด็นปัญหาของมาตรฐานการศึกษาไทยในปัจจุบันก็คือ การที่เรามีดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ห้องแถว และดอกเตอร์โลกประเทศโลกที่สามอยู่เกลื่อนเมืองจนแทบจะเดินชนกันตาย

ซึ่งไม่รู้ว่าอันไหนจริง อันไหนเสมือนจริงและอันไหนเก๊ ผมในฐานะอาจารย์ในหลักสูตรดอกเตอร์ด้วยกันกับเขาคนหนึ่ง จึงอยากจะร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ดังนี้

ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์

ปัญหาที่ถกเถียงในเรื่องนี้ก็คือว่า คนที่ได้ปริญญาเอกปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ใช้ ดร. นำหน้าชื่อได้หรือเปล่า มีทั้งบอกว่าใช้ได้ กับที่บอกว่าใช้ไม่ได้

โดยที่คนที่บอกว่าใช้ได้ให้เหตุผลว่า ก็เขาได้ปริญญาเอกแล้ว ต้องใช้ได้ซิ ส่วนคนที่บอกว่าไม่ได้ก็ให้เหตุผลว่าเขาไม่ได้จบปริญญาเอก จริง ๆ เป็นการให้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นเกียรติเท่านั้น จึงไม่สมควรที่จะใช้คำว่า “ดอกเตอร์”

คำว่าปริญญากิตติมศักดิ์นั้น มาจากภาษาลาตินว่า honoris causa ad gradum เป็นสิ่งที่ได้จากผลงานที่เกี่ยวกับทางวิชาการ ถือเป็นสิ่งประดับตัวบุคคล เพราะปกติแล้วการจะได้ปริญญาต้องไปสอบเข้าและเรียนเป็นเวลาหลายปี ส่วนปริญญากิตติมศักดิ์มักจะเป็นการให้จากสถาบันศึกษาแก่ผู้รับ โดยปริญญาที่ให้อาจจะเป็นปริญญา ตรี โท หรือเอก ซึ่งที่พบบ่อยสุดคือปริญญาเอก

โดยวันรับปริญญาจะเป็นวันที่ทำพิธีกันอย่างเอิกเกริกเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้รับ และมหาวิทยาลัยที่ให้ก็จะได้ประโยชน์ในแง่ที่ได้คนที่มีชื่อเสียงมาเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อออกไปสู่สังคม และ เป็นการเพิ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเอง

ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนแรกที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ คือ Lionel Woodville ปี ๑๔๗๐ ของ Oxford

ปริญญากิตติมศักดินั้น มักจะมอบให้พร้อมกับพิธีประสาทปริญญาโดยทั่วไป และในต่างประเทศผู้รับมักจะได้รับเชิญให้กล่าวคำปราศรัยด้วยในงานรับปริญญาเพื่อแสดงภูมิหรือ “กึ๋น”ของตนเอง

ซึ่งการกล่าวคำปราศรัยนี้มักจะเป็นจุดเด่นของงาน โดยปกติแล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะเสนอชือผู้จะได้รับหลายคน ซึ่งชื่อเหล่านี้จะผ่านการกลั่นกรองจากกรรมการมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาความเหมาะสม โดยผู้มีชื่อรับเลือกมักจะไม่ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยได้เสนอชื่อตนเอง จนกว่าจะได้รับเลือกเป็นทางการ และปกติแล้วการเลือกผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์นี้ถือเป็นความลับอย่างมาก

ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้ได้รับกลายเป็นพวกคนดัง เช่น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจใหญ่ นักแสดง ฯลฯ แทนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเช่นในอดีต

คำว่า ปริญญากิตติมศักดิ์หรือ honorary degree นี้ แท้จริงแล้วเป็นการประสาทหรือให้เป็นตัวปริญญาจริง ๆ ตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งต่างจากปริญญาที่ต้องเรียนมา (earned degree) โดยทางมหาวิทยาลัยยกเว้นการใช้เวลาศึกษาในห้องเรียน วิจัย การต้องเข้าชั้นเรียน หรือ ผ่านการสอบ

เพราะผู้ที่ได้รับการยกเว้นที่ว่านี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีชื่อเสียงและเป็นปราชญ์ในสาขานั้นๆ จึงได้รับการยกเว้นตามความต้องการของมหาวิทยาลัย

แต่ในปัจจุบันความหมายเดิมค่อยๆเปลี่ยนความหมายไป ปริญญากิตติมศักดิ์กลายเป็นปริญญาที่ไม่เท่ากับปริญญาที่ต้องเรียนต้องสอบมา ซึ่งหมายความว่าของเดิมนั้นให้คนเก่งจริงๆ ฉะนั้น ปริญญากิตติมศักดิ์จึงมีศักดิ์ศรีมาก

แต่ปัจจุบันไม่ได้มีความหมายเช่นนั้นแล้ว

แม้ว่าปริญญาเอกหรือดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ทางมหาวิทยาลัยจะให้ปริญญาีเป็น DSc, DLitt, ฯ ซึ่งมักจะหมายความว่าแม้จะใ้ห้เป็นแบบกิตติมศักดิ์ก็ตาม แต่ปริญญาเหล่านี้ ( DSc, DLitt ฯ) สามารถจะได้จากการศึกษาเล่าเรียนเช่นกัน คือ ทำการศึกษาเพื่อให้่ได้ปริญญาจริง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักร โดยสามารถยื่นผลงานการทำวิจัย ซึ่งมักจะทำอยู่หลายปี และผลงานนี้ มีผลต่อวงการวิชาการสาขาวิชานั้นเป็นอย่างมาก โดยทางมหาวิทยาลัยจะตั้งกรรมการศึกษาผลงาน และรายงานผลการตัดสินให้ทางมหาวิิทยาลััยว่าจะให้ผ่านได้รับปริญญาที่ว่าหรือไม่

โดยปกติผู้เสนอเข้ารับปริญญามักจะเกี่ยวข้องกับสาขานั้นๆ เช่น เป็นอาจารย์สอน หรือ จบมาและดีเด่นอยู่หลายปี

มีหลายมหาวิทยาลัยที่พยายามให้มีความแตกต่างระหว่างดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ( Univ หรือ Doctor of the University') กับดุษฎีบัณฑิตธรรมดา โดยให้เห็นถึงความแตกต่างของสองขั้ว คือ ฝ่ายให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้มีชื่อเสียง กับ ฝ่ายที่ให้แก่ผู้ที่มีความรู้จริง

ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์โดยปกติแล้วจะไม่ใช้คำนำหน้าว่า 'doctor หรือ ดร.' แต่หากผู้ที่ได้รับนั้นได้มาเพราะมีความสามารถในสาขานั้นจริงๆ ก็อาจจะเหมาะสมที่จะใช้เป็นคำนำหน้า ชื่อของตนเอง

ในหลายๆประเทศ เช่น United Kingdom, Australia, New Zealand, and United States ถือว่าการใช้ doctor หรือ ดร. ของผู้ได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะได้มาโดยทางใดก็ตาม

มีข้อยกเว้นอยู่คนเดียว คือ ในสหรัฐอเมริกาที่ Benjamin Franklin ซึ่งได้รับดุษฎีบัณฑิตจาก University of St. Andrews ในปี ๑๗๕๙ และ University of Oxford ในปี ๑๗๖๒ จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น เขาจะอ้างถึงตนเองว่า "Doctor Franklin."

ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ อาจจะใช้ตัวย่อต่อท้ายชื่อได้ แต่ต้องให้เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นกิตติมศักดิ์ โดยเพิ่มคำว่า "honorary" หรือ "honoris causa" หรือ"h.c." เข้าไปในวงเล็บ และในหลายประเทศ ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิต อาจจะใช้คำนำหน้าว่า doctor โดยใช้คำย่อว่า Dr.h.c. หรือ Dr.(h.c.). ในบางครั้งอาจจะใช้ Hon ก่อนปริญญาว่า Hon DMus.

ในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีความยุ่งยากสับสนเรื่องดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งพยายามแยกออกเพื่อให้ชัดเจนโดยให้ดุษฎีบัณฑิตใช้ LLD หรือ Hon.D. เท่านั้น แทน Ph.D. และมีหลายมหาวิทยาล้ย รวมทั้งมหาวิทยาล้ยเปิดใช้ Doctorates of the University (D.Univ.) และใช้ Ph.D หรือ Ed.D สำหรับปริญญาเอกที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียน

สำหรับของไทยเรานั้น สกอ.ได้มีหนังสือ ที่ ศธ.๐๕๐๖(๒) ว/๕๐๕ ลงวันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๒ เรื่อง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปริญญากิตติมศักดิ์ โดยระบุว่า คำนำหน้าว่า ดร. ใช้เฉพาะกับผู้ศึกษาจบระดับปริญญาเอก มิได้รวมถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

หรือพูดง่าย ๆ ผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใช้คำว่า ดร. ไม่ได้ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยนัก ผมคิดว่าหากอยากจะเรียกดอกเตอร์ก็เรียกไป เพราะเป็นรับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่า คำเรียกขานดอกเตอร์ใช้กับคนที่ได้รับปริญญาในระดับดุษฎีบัณฑิต หรือแพทย์ศาสตร์บัณฑิต(Medical Doctor-M.D.) ซึ่งเขาก็ได้รับดุษฎีบัณฑิตมาแล้วเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นกิตติมศักดิ์ก็ตาม

แต่ต้องใช้ว่า “ดร.(กิตติมศักดิ์)”เพราะจะเป็นการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นกิตติมศักดิ์ แต่หากเป็นดอกเตอร์กิตติมศักดิ์แล้วไปพิมพ์นามบัตรหรือเรียกตนเองว่าว่าดอกเตอร์เฉยๆก็ถือได้ว่าอยู่ในข่ายหลอกลวงประชาชน ปลิ้นปล้อน คบไม่ได้ ฯลฯ ดังเหตุผลที่ผมยกตัวอย่างจากต่างประเทศ มาข้างต้นนั้นเอง

ที่สำคัญก็คือในนานาอารยประเทศทั้งหลายคำว่าดอกเตอร์นั้น ส่วนใหญ่เขาจะเอาไว้ใช้เรียกผู้ที่เป็นแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ เห็นมีแต่พี่ไทยเราเท่านั้นแหละครับ ที่นิยมใช้คำว่าดอกเตอร์นำหน้าชื่อตัวเอง ทั้งดอกเตอร์ธรรมดาและ ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ จนมีเรื่องเล่าว่าในเครื่องบินโดยสาร ลำหนึ่งมีคนป่วยฉุกเฉิน แอร์โฮสเตสประกาศว่า มีใครเป็นดอกเตอร์(หมอ)บ้าง ปรากฏว่าพี่ไทยเรายกมือกันตั้งหลายคนเล่นเอาแอร์โฮสเตสเป็นงงไปเลย

ดอกเตอร์ห้องแถว

สมัยก่อนเราเคยได้ยินแต่เพียงว่า มีอยู่ในเมืองนอกที่คนมีสตางค์ส่งลูกหลานไปชุบตัว แล้วได้ปริญญากลับมาโดยไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่ไปติดต่อ แล้วเสียสตางค์ให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีลักษณะเป็นห้องแถว มีกิจการขายใบปริญญาบัตรเป็นการเฉพาะ แต่ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีมหาวิทยาลัยดังกล่าวมาตั้งสาขากันอยู่ทั่วไป

ที่สำคัญก็คือมีมหาวิทยาลัยไทยเราเอง ที่เปิดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ เข้าลักษณะ “จ่ายครบ จบแน่” ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะหมายความถึงมหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังตัวอย่างที่ว่ามีการรับนักศึกษาปริญญาเอก เพียงแต่ลงทะเบียนและจ่ายเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท รอให้เวลาใกล้ ๒ ปี ค่อยไปสอบปากเปล่ากับอาจารย์เพียง ๔ คน

และก่อนไปสอบ จะมีคนมาช่วยสอนให้พูดด้วย มิหนำซ้ำยังมีการขึ้นชื่อผู้ทีมีชื่อเสียงต่างๆ หรือตำแหน่งสูงๆ ในวงราชการว่าเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยตนอีกด้วย (อย่าให้ยกตัวอย่างเลยครับเดี๋ยวเคืองกันเปล่าๆ)

ดอกเตอร์ประเทศโลกที่สาม

คำว่าดอกเตอร์ประเทศโลกที่สามนี้ เป็นคำที่ใช้เรียกขานบรรดาดอกเตอร์ทั้งหลายที่แม้ว่า จะจบจากมหาวิทยาลัยของรัฐก็ตาม แต่เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น จะต้องมีอาจารย์จบวุฒิปริญญาเอก หรือ เป็นรองศาสตราจารย์จำนวนเท่านั้นเท่านี้

หรือหากไม่มีจริงๆก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามคุณวุฒิที่กำหนด แต่ก็ไม่เป็นไปตามนั้น หรือมีการละเลยมาตรฐานขั้นต่ำในระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่กรรมการในสภามหาวิทยาลัยเหล่านั้น บางคนก็เป็นกรรมการหลายแห่งจนไม่มีเวลามาเอาใจใส่ในเรื่องนี้ หรือถึงแม้จะพยายามเอาใจใส่ก็ไม่ได้ข้อมูลอยู่ดี

ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีคดีไปถึงศาลปกครองแล้ว เพียงแต่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าวแพร่หลายไปในวงกว้างเท่านั้นเอง

ฉะนั้น ผู้ที่อยากได้คำว่า “ดร.”โดยไม่อยากยุ่งยากเสียเวลาและเสียเงินเป็นแสนเป็นล้าน ผมขอแนะนำให้ไปยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อที่อำเภอเป็น “ดร”(อ่านว่า”ดอน”แปลว่า พ่วงหรือแพ)เป็นชื่อแรก และใช้ชื่อเดิมเป็นชื่อรอง เสียเงินไม่กี่สิบบาทก็มีคำว่า”ดร”เช่นกันเพียงแต่ไม่แต่ไม่มีจุด (.)เท่านั้นเอง

--------------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔