ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เรียบเรียงโดย Nangfa
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง สินค้าปลอม (ตอนที่ ๑)
โดย กาหลิบ
ในสมัยก่อน ผู้บริโภคที่พบสินค้าปลอมแปลงอาจจะโยนของชิ้นนั้นทิ้งไปโดยไม่คิดอะไรมาก
และไม่คิดจะดำเนินการอะไรต่อ หน้าที่ในการแจ้งความดำเนินคดีเป็นของฝ่ายรัฐ
และผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่บัดนี้ผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตน
และอันตรายในการสินค้าหลอกลวงเช่นนี้มากขึ้น
การประท้วงทวงสิทธิจึงเริ่มจะรุนแรงขึ้น
และได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่ลากคนที่เกี่ยวข้องมากระทืบเสียแทบเป็นภัสม์ธุลี
สินค้าปลอมแปลงล่าสุดที่ถูกส่งสู่ตลาดใหญ่ที่มีผู้บริโภคถึง ๖๕ ล้านคน
และกำลังจะถูกประจาน ประณาม
และชี้ถึงอันตรายอันใหญ่หลวง ก็คือนโยบายล่าสุดของรัฐบาลไทยปัจจุบัน
ซึ่งเป็นกรรมต่อเนื่องของระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตย ที่เรียกอย่างหรูว่า
โครงการประชาวิวัฒน์
และในชื่อจริงว่าโครงการเร่งรัดปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทยจำนวน ๙ ข้อ
๙ ข้อนี่แหละที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกว่าเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลของเขา
สู่ประชาชนผู้เสียภาษีอากร
ลองมาวิสัชนากันหน่อยปะไร แล้วจะรู้ว่าหาก ๙ ข้อนี่เป็นของขวัญ
ก็ไม่ต่างอะไรจากซื้อเหล้าเป็นของขวัญในเทศกาลต่างๆ
ซึ่งอาจจะลงท้ายด้วยอุบัติเหตุจราจรหรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับขึ้นมาเฉยๆ
๑. “ให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์
เจ็บป่วยเสียชีวิต รวมถึงเบี้ยชราภาพ
หรือประชาชนจ่ายเงิน ๑๐๐/๑๕๐ บาทต่อเดือน
จ่าย ๗๐ บาทรัฐสมทบ ๓๐ บาท
หรือ จ่าย ๑๐๐ บาทรัฐสมทบ ๕๐ บาท กรณีหลังจะประกันกรณีชราภาพด้วย”
นายอภิสิทธิ์ฯ รู้หรือไม่ว่า โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
หรือโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาลที่นำโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งเขาพยายามเลียนแบบเพื่อเอาคะแนนนิยมสู่พรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นโครงการ
ที่มิได้แอบอิงทุนสะสมของกองทุนประกันสังคมเอาเลย
ผู้ใดที่เอะอะก็คว้าเอาเงินในกองทุนประกันสังคมมาใช้
ผู้นั้นก็คือมนุษย์ลวงโลกที่สะสมปัญหาไว้ให้ลูกหลานเหลนโหลนไปแก้ไขในวันข้างหน้า
กองทุนประกันสังคมถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ๓ ฝ่ายคือ
ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เป็นเรื่องของความเป็นธรรม
ในหมู่ผู้สร้างงาน (productivity) ให้กับบ้านกับเมือง
มิได้ออกแบบมารองรับสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลในกรอบใหญ่ขนาดทั้งประเทศไทย
หากนายอภิสิทธิ์ฯ จะแย้งว่าตนจะใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศและในประเทศ
จะไม่แอบใช้ในกองทุนประกันสังคมเลย (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้)
ก็จะเดินตรงไปสู่ปัญหาที่สอง คือโยนเงินกู้ที่ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเข้าสู่ระบบสาธารณสุขแห่งชาติ
ที่ยังฉ้อฉลและขาดประสิทธิภาพอย่างรุนแรง
รัฐบาลทักษิณจึงริเริ่มโครงการ ๓๐ บาท ซึ่งแท้ที่จริงคือ
วิธีการใหม่ในการบริหารต้นทุนและการบริการของระบบสาธารณสุขของประเทศ
หลักการที่สำคัญคือ ยึดเอาความพอใจและสิทธิของผู้ป่วยเป็นหลัก
ไม่ใช่เอาผลประโยชน์และความสะดวกของโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลัก
อย่างที่ทำมาตั้งแต่รัชกาลก่อนๆ
หลังจากนั้นแต่ละสถานพยาบาลเริ่มเรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบบริการเพื่อผูกใจคน
เพื่อรักษา “ค่าหัว” ของผู้ป่วยแต่ละรายมารวมเป็นงบประมาณของตน
แต่วิธีการจอมปลอมของรัฐบาลอภิสิทธิ์
นอกจากจะทำให้เกิดระบบรักษาพยาบาลที่ด้อยประสิทธิภาพทั้งประเทศแล้ว
ยังสิ้นเปลืองเงินทุนมหาศาลจากกองทุนประกันสังคม และเงินงบประมาณอื่นๆ
จนอาจถึงขั้นทำให้กองทุนนั้นขาดทุนในระยะยาว รัฐบาลมีปัญหางบประมาณในระยะไกล
ส่งผลกระทบถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงานในทุกระดับและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ถ้าสื่อมวลชนและนักวิชาการส่วนใหญ่ของไทยยังมีมโนธรรมอยู่บ้าง
ขอให้ไปติดตามผลการดำเนินการของนโยบายข้อนี้อย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนเอาเองเถิด แล้ว
จะเกิดสยองขวัญขึ้นเองว่าสิทธิของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้กำลังจะถูกทำลายลงอย่างไร
ยังไม่ต้องพูดถึงความสามารถในการแข่งขันของชาติที่จะถูกกระหน่ำซ้ำเติมอย่างหนัก (ยังมีต่อ)
http://democracy100percent.blogspot.com/2011/01/blog-post_15.html
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง สินค้าปลอม (ตอนที่ ๑)
โดย กาหลิบ
ในสมัยก่อน ผู้บริโภคที่พบสินค้าปลอมแปลงอาจจะโยนของชิ้นนั้นทิ้งไปโดยไม่คิดอะไรมาก
และไม่คิดจะดำเนินการอะไรต่อ หน้าที่ในการแจ้งความดำเนินคดีเป็นของฝ่ายรัฐ
และผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่บัดนี้ผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตน
และอันตรายในการสินค้าหลอกลวงเช่นนี้มากขึ้น
การประท้วงทวงสิทธิจึงเริ่มจะรุนแรงขึ้น
และได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่ลากคนที่เกี่ยวข้องมากระทืบเสียแทบเป็นภัสม์ธุลี
สินค้าปลอมแปลงล่าสุดที่ถูกส่งสู่ตลาดใหญ่ที่มีผู้บริโภคถึง ๖๕ ล้านคน
และกำลังจะถูกประจาน ประณาม
และชี้ถึงอันตรายอันใหญ่หลวง ก็คือนโยบายล่าสุดของรัฐบาลไทยปัจจุบัน
ซึ่งเป็นกรรมต่อเนื่องของระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตย ที่เรียกอย่างหรูว่า
โครงการประชาวิวัฒน์
และในชื่อจริงว่าโครงการเร่งรัดปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทยจำนวน ๙ ข้อ
๙ ข้อนี่แหละที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกว่าเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลของเขา
สู่ประชาชนผู้เสียภาษีอากร
ลองมาวิสัชนากันหน่อยปะไร แล้วจะรู้ว่าหาก ๙ ข้อนี่เป็นของขวัญ
ก็ไม่ต่างอะไรจากซื้อเหล้าเป็นของขวัญในเทศกาลต่างๆ
ซึ่งอาจจะลงท้ายด้วยอุบัติเหตุจราจรหรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับขึ้นมาเฉยๆ
๑. “ให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์
เจ็บป่วยเสียชีวิต รวมถึงเบี้ยชราภาพ
หรือประชาชนจ่ายเงิน ๑๐๐/๑๕๐ บาทต่อเดือน
จ่าย ๗๐ บาทรัฐสมทบ ๓๐ บาท
หรือ จ่าย ๑๐๐ บาทรัฐสมทบ ๕๐ บาท กรณีหลังจะประกันกรณีชราภาพด้วย”
นายอภิสิทธิ์ฯ รู้หรือไม่ว่า โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
หรือโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาลที่นำโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งเขาพยายามเลียนแบบเพื่อเอาคะแนนนิยมสู่พรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นโครงการ
ที่มิได้แอบอิงทุนสะสมของกองทุนประกันสังคมเอาเลย
ผู้ใดที่เอะอะก็คว้าเอาเงินในกองทุนประกันสังคมมาใช้
ผู้นั้นก็คือมนุษย์ลวงโลกที่สะสมปัญหาไว้ให้ลูกหลานเหลนโหลนไปแก้ไขในวันข้างหน้า
กองทุนประกันสังคมถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ๓ ฝ่ายคือ
ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล เป็นเรื่องของความเป็นธรรม
ในหมู่ผู้สร้างงาน (productivity) ให้กับบ้านกับเมือง
มิได้ออกแบบมารองรับสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลในกรอบใหญ่ขนาดทั้งประเทศไทย
หากนายอภิสิทธิ์ฯ จะแย้งว่าตนจะใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศและในประเทศ
จะไม่แอบใช้ในกองทุนประกันสังคมเลย (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้)
ก็จะเดินตรงไปสู่ปัญหาที่สอง คือโยนเงินกู้ที่ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเข้าสู่ระบบสาธารณสุขแห่งชาติ
ที่ยังฉ้อฉลและขาดประสิทธิภาพอย่างรุนแรง
รัฐบาลทักษิณจึงริเริ่มโครงการ ๓๐ บาท ซึ่งแท้ที่จริงคือ
วิธีการใหม่ในการบริหารต้นทุนและการบริการของระบบสาธารณสุขของประเทศ
หลักการที่สำคัญคือ ยึดเอาความพอใจและสิทธิของผู้ป่วยเป็นหลัก
ไม่ใช่เอาผลประโยชน์และความสะดวกของโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลัก
อย่างที่ทำมาตั้งแต่รัชกาลก่อนๆ
หลังจากนั้นแต่ละสถานพยาบาลเริ่มเรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบบริการเพื่อผูกใจคน
เพื่อรักษา “ค่าหัว” ของผู้ป่วยแต่ละรายมารวมเป็นงบประมาณของตน
แต่วิธีการจอมปลอมของรัฐบาลอภิสิทธิ์
นอกจากจะทำให้เกิดระบบรักษาพยาบาลที่ด้อยประสิทธิภาพทั้งประเทศแล้ว
ยังสิ้นเปลืองเงินทุนมหาศาลจากกองทุนประกันสังคม และเงินงบประมาณอื่นๆ
จนอาจถึงขั้นทำให้กองทุนนั้นขาดทุนในระยะยาว รัฐบาลมีปัญหางบประมาณในระยะไกล
ส่งผลกระทบถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงานในทุกระดับและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ถ้าสื่อมวลชนและนักวิชาการส่วนใหญ่ของไทยยังมีมโนธรรมอยู่บ้าง
ขอให้ไปติดตามผลการดำเนินการของนโยบายข้อนี้อย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนเอาเองเถิด แล้ว
จะเกิดสยองขวัญขึ้นเองว่าสิทธิของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้กำลังจะถูกทำลายลงอย่างไร
ยังไม่ต้องพูดถึงความสามารถในการแข่งขันของชาติที่จะถูกกระหน่ำซ้ำเติมอย่างหนัก (ยังมีต่อ)
http://democracy100percent.blogspot.com/2011/01/blog-post_15.html