WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 14, 2011

รัฐบาลท่ามกลางม็อบเหลือง-แดง

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



การออกมานัดชุมนุมถี่ขึ้นของกลุ่มคนเสื้อแดง และการเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เร่งช่วยเหลือ 7 คนไทย ที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัวฐานรุกล้ำดินแดนของม็อบเสื้อเหลือง หรือในนามเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ

ถูกมองว่าเป็นปัจจัยเร่งเร้าให้รัฐบาลประกาศยุบสภาเร็วขึ้น นอกเหนือจากปัญหาความไม่ลงรอยกันภายในพรรคร่วมรัฐบาลต่อกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องระบบการเลือกตั้งและจำนวนส.ส.

การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง-เสื้อเหลือง จะส่งผลต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อย่างไรหรือไม่ หลายฝ่ายได้วิเคราะห์ไว้ดังนี้



จาตุรนต์ ฉายแสง

อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย



การชุมนุมที่เกิดขึ้นทั้งกลุ่มคนเสื้อแดงและกลุ่มเสื้อเหลือง ไม่น่าจะเป็นเหตุกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องยุบสภาหนี เพราะขณะนี้ไม่มีผู้ชุมนุมกลุ่มใดเรียกร้องให้ยุบสภา

การเรียกร้องให้ยุบสภาของคนเสื้อแดงก็ผ่านไปแล้ว ส่วนกลุ่มเสื้อเหลืองที่ออกมาชุมนุมขณะนี้ไม่ว่าเรื่องเกี่ยวกับเขตแดน หรือกรณี 7 คนไทยถูกจับกุมที่กัมพูชา ดูแล้วไม่น่าเป็นเหตุถึงขั้นคุกคามเสถียรภาพรัฐบาลได้

การชุมนุมลักษณะนี้อาจส่งผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา แต่การปลุกกระแสรักชาติแบบผิดๆ หรือการปลุกกระแสคลั่งชาติเช่นนี้ คงไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ของสังคม

ที่สำคัญรัฐบาลนี้ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำในสังคมที่มีอำนาจแท้จริง และผู้นำกองทัพ ก็คงไม่ฉกฉวยโอกาสนี้ซ้ำเติมรัฐบาล

แม้ชนชั้นนำที่มีอำนาจและกองทัพจะไม่พอใจรัฐบาลนี้อยู่บ้างในประเด็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ก็ยังต้องสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้อยู่ เพื่อเป็นข้ออ้างทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามต่อไป

แม้เขาจะรู้อยู่ว่ารัฐบาลชุดนี้ทุจริตมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร แต่ถอยหลังไม่ได้แล้ว ต้องเดินหน้าฆ่าลูกเดียวต่อไป เพื่อทำ ลายฝ่ายตรงข้ามให้สิ้นซาก

โดยอ้างว่าเพื่อทำลายระบอบทักษิณ แต่สุดท้ายเป็นการทำลายประชาธิปไตยไป ถือเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของชนชั้นนำที่มีอำนาจที่แท้จริง

และน่าอับอายไปทั่วโลกที่สนับสนุนรัฐบาลที่โกงกินมากที่สุดมาบริหารประเทศ

พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



การเคลื่อนไหวของทั้งม็อบเหลืองและม็อบแดง ไม่เกี่ยวกับการสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล

คิดว่าทั้ง 2 ม็อบไม่ได้สนใจรัฐบาลนี้แล้ว ไม่มีใครต้องการโค่นล้มรัฐบาล รัฐบาลนี้จะมีใครไปโค่นล้มได้ ในเมื่อเขาแข็งแรงขนาดนี้

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประเด็นการเคลื่อนไหวของทั้ง 2 ม็อบไม่ชัดเจน ไม่สอดคล้องกับความต้องการโดยรวมของสังคม

ม็อบเหลืองมุ่งไปที่เรื่องชายแดน ซึ่งต้องเผชิญกับกระแสสังคมที่สวนทางกัน ทั้งคนไม่เห็นด้วยกับม็อบเหลือง หรือคนไม่เชื่อว่ารัฐบาลนี้จะมีความสัมพันธ์เข้มข้นกับรัฐบาลกัมพูชา

ส่วนม็อบแดง ตอนนี้กลายเป็นการเรียกร้องเพื่อตัวเอง เช่น เรื่องคดีความ แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องส่วนรวม เช่น มาตรการ 9 ข้อของรัฐบาล

แต่การเคลื่อนไหวของม็อบสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีปัญหาอีกมากที่รัฐบาลนี้ทำค้างเอาไว้ และไม่ใช่แค่ม็อบ แต่ยังมีการเคลื่อนไหวภายในสภาอีก แต่รัฐบาลยังไปได้เรื่อยๆ

ฉะนั้น เสถียรภาพของรัฐบาลจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับม็อบ ยกเว้นว่าถ้าม็อบกระตุ้นไปสู่ความรุนแรง และรัฐบาลบริหารจัดการม็อบไม่ดี อาจนำไปสู่ความวุ่นวายได้

ความวุ่นวายนี้ไม่ได้มาจากตัวปัญหา แต่มาจากการ บริหารจัดการที่ไม่ดีมากกว่า

ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลไหนก็มีปัญหากับม็อบทั้งนั้น ถ้าการบริหารจัดการม็อบไม่ดี จะเกิดปัญหาได้ง่าย แต่เป็นคนละเรื่องกับการตอบสนอง หรือการตอบคำถามในสิ่งที่เขาต้องการ

การบริหารจัดการม็อบต่างหากที่เป็นเรื่องอันตราย

ถ้าสื่อเล่นเรื่องนี้อย่างจริงจัง นำเสนอประเด็นของม็อบ และเอาฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาตอบปัญหาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว จะลดเรื่องความรุนแรงลงได้



จิตติพจน์ วิริยะโรจน์

ส.ว.ศรีสะเกษ - ประธานคณะกรรมการ เพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา



เชื่อว่ารัฐบาลไม่สนใจการเคลื่อน ไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง

เพราะเมื่อเทียบกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 จะเห็นว่าบริบทต่างกันมาก การเคลื่อนไหวไม่รุนแรงเท่าที่ควร

เว้นแต่จะมีปัจจัยอื่นเสริม เช่น หากศาลอาญาระหว่างประเทศรับพิจารณาคดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมขึ้นมา อาจเป็นประเด็นให้เกิดการยุบสภาได้

รวมถึงประเด็นการทุจริตคอร์รัปชั่น หากเกิดขึ้นมากและถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

แต่ถ้ามีการชุมนุมแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ทั้งเสื้อเหลือง และเสื้อแดง ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจสำหรับรัฐบาล แค่กินยาแก้ปวดหัว

ประเด็นที่รัฐบาลจะตัดสินยุบสภาได้ ต่อเมื่อรัฐบาลอยู่ในสภาวะได้เปรียบทางการเมือง จุดนี้ถือเป็นหลักใหญ่ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มองไว้

ส่วนการเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มเสื้อเหลือง กรณีคนไทยถูกกัมพูชาจับกุม และมองว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือนั้น

ต้องดูว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่ามีมวลชนมากน้อยแค่ไหน แต่คนทั่วไปจะคิดว่าประเด็นของม็อบเสื้อเหลืองคือกดดันให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือคนไทยมากกว่าที่จะกดดันให้รัฐบาลยุบสภา

เชื่อว่าการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ จะไม่ทำให้เสื้อเหลืองและประชาธิปัตย์ขัดแย้งกัน เพราะบุคคลทางฝั่งเสื้อเหลืองที่ถูกจับ ยังไม่ใช่ตัวแปรที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมาแตกหักกัน

แต่อาจทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นมาเท่านั้น



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



การเคลื่อน ไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่นัดชุมนุมกันถี่ขึ้น และการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองกรณี 7 คนไทย ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อรัฐบาลมากนัก เพราะรัฐบาลยังใช้อำนาจนอกระบบอยู่

เป็นอำนาจทางการเมืองที่ถูกผูกขาดไว้ในมือของบุคคลเพียงบางกลุ่ม โดยปราศจากการตรวจสอบและกำกับจากสังคม ซึ่งผลพวงที่เป็นอยู่ในตอนนี้เกิดจากรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549

อีกทั้งการชุมนุมของเสื้อเหลืองและเสื้อแดงในขณะนี้ ไม่ได้อยู่ในระดับที่ทำให้เกิดฉันทามติของสังคม แต่เป็นการเคลื่อนไหวที่มีชนชั้นนำกำกับอยู่ มีมวลชนส่วนหนึ่งสนับสนุนและค่อนข้างเข้มแข็ง ถือเป็นการต่อสู้ของผู้ที่มีมวลชนทั้งสองฝ่าย

แต่มันจะทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากและอาจรุนแรงมากกว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งในอดีต ซึ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นเงื่อนไขให้อำนาจนอกระบบหวนกลับมา

อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มชุมนุมมีจำนวนมากแล้วทำให้รัฐบาลเกิดความตึงเครียด คิดว่าการยุบสภาก็เป็นทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้

ดังนั้น หากต้องการแก้ปัญหาในระยะยาวควรมีการปฏิรูปการเมือง เป้าหมายหลักอยู่ที่การสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

ให้ประชาชนเข้าถึงและใช้อำนาจรัฐได้อย่างเท่าเทียม สร้างกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพโดยสังคม

การปฏิรูปการเมืองต้องดำเนินตามหลักการประชาธิปไตย ปฏิเสธอำนาจนอกระบบทุกประเภทว่า

มิใช่ทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้