WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 11, 2011

นักวิชาการชี้ถกแก้สัมพันธ์โครงสร้างรัฐให้บ้านเมืองเดินต่อ

ที่มา ประชาไท

10 ม.ค. 54 - ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) คณะรัฐศาสตร์ จัดสัมมนาประจำปี 2554 เรื่อง " เมืองไทยหลังวิกฤติ : ทิศทางการเมือง การบริหาร และการต่างประเทศไทย" โดยเชิญนักวิชาการหลายคนมาร่วมเสวนา มี รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวในหัวข้อ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข : ที่มาและที่ไป" ใจความสำคัญว่า การปกครองที่ผ่านมาเป็นการปรองดองของชนชั้นนำไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 รอบเหตุการณ์ ซึ่งแบ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพลังนำ เนื้อหาและวิธีการปรองดองกับประชาธิปไตย โดยทุกเหตุการณ์ยังคงมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอ

ได้แก่ 1.ระบอบประชาธิปไตยภายใต้การนำของคณะราษฎร 2.ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยความสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ 3.ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 4.ระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ 5.ระบอบกึ่งประชาธิปไตยใต้ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

"เกษียร" ชี้ทหาร-ตุลาการน่าห่วง-นายกฯตกต่ำ

นาย เกษียร กล่าวต่อไปว่า ตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.2492 โดยเฉพาะประเด็น นายปรีดี พนมยงค์ มองรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตย์โดยแท้จริง ซึ่งปัจจุบันกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ใช้เป็น หลักในการวิพากษ์การเมืองไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเมือง ระบุว่า “ จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว เมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมืองจริง ๆ อย่างเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516”

นายเกษียร ยังกล่าวถึงบทบาทสำคัญของนักกฎหมายมหาชน มีบทบาทต่อการตีความกฎหมาย โดยกล่าวถึงนายมีชัย ฤชุพันธ์ กรรมการกฤษฎีกา นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ ว่า ขอให้นักกฎหมายเหล่านี้ต้องรักษาอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ให้ได้ ส่วนกรณีระบอบกึ่งประชาธิปไตยภายใต้ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของอำนาจเครือข่ายของกองทัพ กับตุลาการเกิดขึ้น ทำให้อำนาจทหารถูกต่อต้านอย่างรุนแรง เนื่องจากที่ผ่านมา ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นทางการล่วงล้ำอำนาจที่เป็นทางการ เช่น การประชุมลับของตุลาการ หรือการหารือในมื้ออาหารย่านสุขุมวิท จนถูกมองว่า นายกรัฐมนตรีถูกคุกคามอำนาจ ถึงขั้นตกต่ำมาก โดยรวมถือว่าอำนาจดังกล่าวไม่เวิร์ก

"ประจักษ์ "ชี้กองทัพรัฐซ้อนรัฐ-รัฐประหารเกิดได้

ต่อ มา นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวในหัวข้อ "รัฐสองขั้ว ประชาสังคมสองเสี้ยว โครงสร้างความรุนแรงการเมืองไทย" ว่า ความขัดแย้งในภาคประชาสังคมไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะคนเราย่อมมีทัศนคติที่แตกต่างกัน แต่ในส่วนของคนไทยที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะการเผชิญหน้าเป็นสองฝักสองฝ่ายในภาคประชาสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้บริบท อำนาจรัฐขาดเอกภาพ อีกทั้งสถาบันทางการเมืองไม่พัฒนาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของคนในสังคมจึง ทำให้เกิดความุรนแรง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา ในกรณีของไทยไม่เรื่องศักยภาพ แต่เป็นปัญหาที่สถานะทางการเมืองหลักถูกแทรกแซงจากศูนย์อำนาจนอกการเลือก ตั้ง ที่มีปรากฏการณ์ทหารแตงโม ตำรวจมะเขือเทศ ที่ทุกหน่วยงานมีภาวะความแตกขั้วของการจงรักภักดีทางการเมือง โดยเฉพาะกลไกภาครัฐด้านความมั่นคง กองทัพมีอิสระอย่างสูงเหนือจากกลไกรัฐที่มาจากการเลือกตั้งถือเป็นปัญหาใหญ่ รวมไปถึงกรณีที่บางฝ่ายฝากความจงรักภักดีไว้กับศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือก ตั้ง และอีกฝ่ายยอมรับศูนย์อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

"กองทัพเป็นเหมือนสภาวะรัฐซ้อนรัฐ ทำให้เกิดการรัฐประหารขึ้นได้ การเมืองไทยมีความซับซ้อนมาก โดยเฉพาะความขัดแย้งหลักทางการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร หรือพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือกลุ่มคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดง แต่เป็นความขัดแย้งที่มาจากศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งและศูนย์อำนาจนอก เหนือจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ทางออกอยู่ที่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐและสถาบันการเมืองหลักของชาติ คือการเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในพื้นที่สาธารณะด้วยเหตุผลที่สร้างสรรค์ เราจะวางตำแหน่งและวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ สถาบันองคมนตรี กองทัพ ตุลาการ พรรคการเมือง รัฐสภา และขบวนการมวลชนอย่างไร"

นายประจักษ์ กล่าวสรุปว่า ทางออกป้องกันความรุนแรงคงหนีไม่พ้นต้องปฏิรูปโครงสร้างของรัฐและสถาบันการ เมืองหลักของชาติ ยกตัวอย่าง สเปน และ ญี่ปุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงกองทัพต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และไม่ดึงสถาบันลงมาเป็นคู่ขัดแย้ง ขณะเดียวกัน ต้องพิทักษ์ปกป้องพื้นที่ประชาธิปไตยอันเป็นที่แสดงออกของประชาชน ทั้งนี้ ต้องลดทอนอำนาจนอกระบบเลือกตั้งให้มากที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อมาในช่วงบ่าย การสัมมนาหัวข้อ “ทิศทางการต่างประเทศไทย” โดยมีหัวข้ออภิปรายในบทความ “การต่างประเทศไทยในภาวะวิกฤติ” โดยนายจุลชีพ ชินวรรโณ ย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายเตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ใจความสำคัญระบุถึงสถานการณ์ด้านต่าง ประเทศของไทยในรอบปีที่ผ่านมา มีการชุมนุมจนนำไปสู่การใช้กำลังจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในกระทบต่อการเมืองการต่างประเทศด้วย โดยมีปัจจัย 3 ประการคือ 1.ความขัดแย้งแตกแยกภายในประเทศ 2.รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 โดยเฉพาะมาตรา 190 ที่ต้องเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร 3.คู่แสดงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านการต่างประเทศมีผู้มีส่วนร่วม มากขึ้น ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีทั้งภาคประชาสังคม ทำให้ส่งผลกระทบต่อความละเอียดอ่อนด้านการต่างประเทศของไทย

"จุลชีพ"ห่วงปม"พระวิหาร-4.6ตร.กม.-เอ็มโอยู43"

นาย จุลชีพ อธิบายถึงช่วง 6 เดือนหลังของปี 2553 ว่า มีการท้าทายอย่างมากต่อเรื่องทางการไทยส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท ให้สหรัฐอเมริกา โดยอ้างข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ขณะเดียวกัน รัสเซียไม่ต้องการส่งตัวให้สหรัฐฯ มีกระแสวิพากษ์ว่า การตัดสินของศาลไทยกรณีนายวิกเตอร์ บูท ถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจ อย่างไรก็ตาม วิกิลีกส์ เปิดเผยข้อมูลอ้างว่ามีการหารือระหว่างทูตสหรัฐฯ กับนายกรัฐมนตรีไทย ขอให้ดำเนินคดีกับนายวิกเตอร์ บูท

ซึ่งกรณีนายวิกเตอร์ บูท อาจทำให้อเมริกาต้องดำเนินการต่างตอบแทนกับรัฐบาลไทย แม้จะไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซีย ถือเป็นการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกาด้วย กรณี พ.ต.ท.ทักษิณขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตความสัมพันธ์ไทย- จีน - ญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์เฉื่อยลง เนื่องจากมีช่างภาพญี่ปุ่นเสียชีวิต

นายจุลชีพ ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านว่า ด้านความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียดหลังจาก 7 คนไทยถูกกัมพูชาจับ ส่วนรัฐบาลไทยก็เจรจากับกัมพูชาเพื่อลดความตึงเครียด เรื่องเขตแนวชายแดน ประเด็นการพิจารณามรดกโลกปราสาทพระวิหาร ส่งผลให้กัมพูชาเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ เกิดพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาในรอบ 4 เดือน คือ 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ถอนตัวเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจกัมพูชา 2.การส่งทูตกลับคืน 3.มีการพบปะระหว่างผู้นำทางทหารระหว่างไทย-กัมพูชา พัฒนาการดังกล่าวหลายฝ่ายมองว่าความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาจะดีขึ้น แต่กรณี 7 คนไทย โดยเฉพาะ นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนายวีระ สมความคิด ถูกจับกุมขึ้นศาลกัมพูชา ทำให้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศต้องร่วมมือกันดำเนินการประสานความเข้าใจที่ถูกต้อง

นายจุลชีพ เสนอประเด็นที่น่าเป็นห่วงระหว่างความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา มีดังนี้ 1.กรณีปราสาทพระวิหารมีข้อถกเถียงยังหาข้อสรุปไม่ได้ 2.พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ต่างฝ่ายจะอ้างสิทธิทับซ้อน 3.กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะเข้าสู่ที่ประชุมยูเนสโก้ กลางปีนี้ ที่บาห์เรน 4.ข้อตกลงตามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา(เอ็มโอยู 2543 ) ต้องนำมาพิจารณาตามคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เจบีซีถือเป็นปัญหาสำคัญ รัฐบาลทั้ง 21 ประเทศ ต่างใช้กระบวนการเจรจา และกระบวนการยุติธรรม ไม่ให้มีอุปสรรคต่อการเจรจา

นายจุลชีพกล่าวด้วยว่า แนวโน้มความสัมพันธ์ไทยระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต คือ 1.การเมืองภายในของไทยและความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งภายในอำนาจรัฐและ ภาคประชาสังคม ถือเป็นตัวแปรสำคัญ 2.รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ามีบทบัญญัติกรณีใดบ้างต้องพิจารณาเข้าสู่สภา 3.ด้านภาคประชาสังคมขอให้มีสติในการดำเนินการใดๆ ที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

"เตช"มองประชาสังคมไม่เป็นปัญหา-แต่ 2 ปีไร้ระเบียบ

ด้าน นายเตช บุนนาค อภิปรายว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งตราบใดการเมืองภายในของไทยไม่มีเสถียรภาพ การดำเนินการด้านต่างประเทศจะไม่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มาตรา 190 มีปัญหาระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้มีปัญหาต่อกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ คิดว่าควรจะแก้ไขหรือมีพ.ร.บ.หรือกฎหมายลูกเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคประชาสังคม คิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อการดำเนินการด้านการต่างประเทศ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น 2 ปีคือภาคประชาสังคมเข้าร่วมไม่มีระเบียบวินัย หรือไม่พิจารณานโยบายด้านการต่างประเทศได้อย่างสร้างสรรค์ ทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพในการพิจารณา

นายเตช กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจ กรณีศึกษานายวิกเตอร์ บูท รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ถือว่าตกต่ำลงอย่างมากเมื่อเทียบกับพ.ศ.2546 ในฐานะไทยเป็นเจ้าภาพอาเซียน ถือว่าประวัติการทูตดีสูงสุด แต่ในฐานะที่ไทยไม่สามารถเป็นผู้นำสูงสุดได้ เนื่องจากการเมืองภายในประเทศ ในกรอบอาเซียน การประชุมอาฟต้า ฟรีเทรดแอเรีย ไทยถือเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน อาฟต้า หรือ"แอคมิค" ถือเป็นความริเริ่มของไทยทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การล้มประชุมอาเซียนที่พัทยา ถือเป็นความน่าละอายใจอย่างยิ่ง รัฐบาลนี้ได้อานิสงค์มาจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งสิ้น

กรณีการจับกุมนายวิกเตอร์ บูท วิพากษ์รัฐบาลไทยควรจะร่วมมือจับกุมนายวิกเตอร์บูทหรือไม่ กรณีวิกิลีกส์เปิดเผยข้อมูลการทูตถึง 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับนายวิกเตอร์ บูท ที่นายอีริค จี จอห์น อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถือเป็นการพูดในทุกโอกาส ทุกระดับ และถือว่าเป็นการซึมซับข้อมูลไปยังทุกระดับ จนกระทั่งมีการส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปยังสหรัฐฯ

นายเตช กล่าวถึงกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ไทย-กัมพูชา เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ส่วนกรณี 7 คนไทยถูกจับกุมและพิจารณาเข้าสู่ศาลของกัมพูชา จะไม่ขอพูดเนื่องจากจะมีผลต่อนโยบายด้านการต่างประเทศและการตัดสินคดีของศาล กัมพูชา

"ตราบใดการเมืองภายในไม่มีเสถียรภาพจะ ทำให้ไม่สามารถทำให้นโยบายด้านการต่างประเทศมีประสิทธิภาพได้ ผมเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลไม่ได้ทำ เท่าที่จะทำได้ คือรัฐบาลเคยออกมาพูดว่าหวังว่าจะไม่มีการเชื่อมโยงกรณีนายพนิช กับความสัมพันธ์กับกัมพูชา แต่ศัพท์ที่รัฐบาลใช้ คือคำว่า ดีลิงค์ ความสัมพันธ์ ซึ่งส่งผลต่อการเจรจาการปักปันเขตแดน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับรองนายกฯกัมพูชา นายซก อัน จะหารือกับผู้แทนไทย นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผมคิดว่าผู้จะได้ประโยชน์มากคือประเทศไทย ถนนบริเวณจังหวัดพิษณุโลก เหมือนกับที่นายกรณ์ จาติกวณิชย์ มักพูดเสมอเรื่องการท่องเที่ยวว่าควรดีลิงค์ การท่องเที่ยวกับจังหวัดอื่น ๆ ด้วย" นายเตช กล่าว

ที่มาข่าว: กรุงเทพธุรกิจ