ที่มา มติชน เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีการจัดสัมนา "เมืองไทยหลังวิกฤติ?: ทิศทางการเมือง การบริหาร และการต่างประเทศไทย" โดยในงานมีการสัมนาหัวข้อ "ทิศทางการต่างประเทศไทย" มีรศ.ดร. จุลชีพ ชินวรรโณ นำเสนอบทความเรื่อง "การต่างประเทศไทยในภาวะวิกฤติ" และผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล นำเสนอบทความเรื่อง "สื่อต่างประเทศไทยกับวิกฤติการเมืองไทย" ดังนั้น เมื่อมีข้อมูลข่าวสารต่างประเทศจากต่างประเทศเข้ามาในช่วงปลายสงครามเวียดนาม สื่อไทยก็เริ่มมาตรวจสอบ ในเรื่องขอการตรวจวางฐานทัพต่างๆ ในประเทศไทย แล้วมองว่าเรากลายเป็นฐานทัพของเครื่องบินสหรัฐฯ ที่บินไปบอมบ์ประเทศเพื่อนบ้านตามที่ต่างๆ กลายเป็นว่าตอนนั้นไทยได้อยู่ในกรอบวัฒนธรรม "เสรีนิยม" ฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นข้อมูลการติดต่อที่สามารถเป็นตัวกรองท้ายสุดที่จะต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในช่วงนั้นได้ และผลประโยชน์ของชนชั้นกลางภายในประเทศไทยช่วงนั้นเองก็เชื่อมโยงกับสื่อต่างประเทศในเรื่องที่สื่อต่างประเทศจะมีอุดมการณ์เสรีนิยมทางประชาธิปไตย นอกจากนั้น สื่อต่างประเทศยังให้ภาพความหวังในในวาทกรรมที่เรียกว่า "โลกาภิวัฒน์" ดังนั้นจะเห็นได้ว่าชนชั้นกลางยังมีความหวังในการเปิดประเทศเพื่อให้ตนเองเป็นเสรีนิยมทางประชาธิปไตยที่จะเปิดตัวเองไปเชื่อมโยงกับต่างประเทศด้วย ช่วงพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2553 ในการประชุมของนปช.เป็นการปะทะกันระหว่างอุดมการณ์เสรีนิยมอุดมการณ์แบบประชาชาธิปไตย ฝั่งหนึ่งอยากจะให้มีการถ่วงดุลอำนาจก็มาในนามของเสื้อหลากสีเป็นกลุ่มชนชั้นกลางในประเทศและอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่เชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยการโหวตลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในปี 2553 นี้สื่อต่างประเทศไม่ได้เป็นฮีโร่ของชนชั้นกลางไทยอีกแล้วเพราะว่า ภาพที่ออกมา คือสื่อต่างประเทศเองก็ได้รายงานแบบที่อยู่ในอุดมการณ์เดิมของเขาก็คือประชาธิปไตย ในการรับรู้ของคนไทยยุคนี้ อินเทอร์เน็ตมาแรงมาก แต่คนยังเชื่อถือข่าวสารในสื่อโทรทัศน์อยู่ สำหรับการนำเสนอข่าวสารในโทรทัศน์ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่ข่าวในเมืองไทยทั้งหมดจะเน้นหนักข่าวเสื้อแดงในช่วง เมษายน-พฤษาภาคม โดยสังเกตการณ์ถึงความสูญเสียต่างๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น และมองรัฐในแง่ลบหรือนำเสนอเกี่ยวกับความรุนแรงของผู้ชุมนุม มากกว่าจะทำการวิเคราะห์ แต่สื่อต่างประเทศกลับสัมภาษณ์แกนนำผู้ชุมนุม ลงลึกในพื้นที่ไปพูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านที่มาร่วมชุมนุม และพยายามนำเสนอว่าพวกเขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง รวมทั้งฉายภาพว่าการดำรงชีวิตของชาวบ้านเหล่านั้นเป็นอย่างไร โดยเน้นในเรื่องของการทำงานหนักของคนต่างจังหวัด ที่ว่าไม่ได้เป็นพวกรอรับของแจก หรือเป็นพวกที่ขออย่างเดียว
(ภาพประกอบข่าว)
การต่างประเทศในภาวะวิกฤต พ.ศ.2553
รศ. ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับภาวะการต่างประเทศของไทยเคยคิดว่า เราเกิดภาวะวิกฤติมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเห็นได้ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นการต่างประเทศของไทยค่อนข้างจะวิกฤติ เพราะรัฐบาลไทยละวางสงครามไปร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างน้อยเราก็ไม่ได้ถูกยึดครองเหมือนญี่ปุ่นหรือเยอรมัน ช่วงค.ศ. 1975 ไทยก็เผชิญภาวะวิกฤติอีกทางด้านการต่างประเทศ
ในปัจจุบันภาวะวิกฤติของประเทศไทยไม่ได้มาจากปัจจัยภายนอก แต่มาจากการเปลี่ยนแปลงภายใน ที่ผ่านมาเราเผชิญกับภาวะวิกฤติอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก ภาวะวิกฤติของไทยเป็นภาวะวิกฤติจากภายในสถานการณ์ความขัดแย้งของการเมืองภายใน ที่มีความรุนแรงและเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 ที่มีการยึดอำนาจจากรัฐบาลของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร หลังจากนั้น จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งแตกแยกส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการเมืองระหว่างประเทศหรือต่อการต่างประเทศของไทย เห็นได้จากการชุมนุมประท้วงนำไปสู้การยึดสนามบิน การยึดทำเนียบรัฐบาลในปี 2009 และมีการบุกเข้าไปในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
การเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทย ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อภายในประเทศแต่ยังส่งผลกระทบต่อการต่างประเทศของไทย กล่าวได้ว่าการเมืองระหว่างของไทยอาจเป็นผลจากปัจจัย 3 ประการคือ หนึ่ง ความขัดแย้งแตกแยกภายในของไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการต่างประเทศของไทย, สอง รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเรื่อง การดำเนินการต่างประเทศต้องมีความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฏรเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะในอดีตที่ผ่านมา การดำเนินการทางการทูตก็จะดำเนินไปโดยกระทรวงการต่างประเทศ และ สาม ผู้แสดงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายมีมากขึ้น ทางด้านการต่างประเทศมีผู้มีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าผู้เกี่ยวของมีทั้งภาคประชาสังคม ทั้งคนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ และคนที่ไม่ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนต่างๆ นี่ก็จะเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบ
ทั้งนี้ เมื่อขัดแย้งกันต้องแก้ไขข้อพิพาทด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธี อีกทั้งยังควรสร้างความร่วมมือในการสร้างเขตการค้าเสรีหรือที่เรียกกันว่าอาฟต้า นอกจากนั้นแล้วประเทศไทยยังเป็นเจ้าภาพการจัดความมั่นคงในภูมิภาค ในการจัดประชุมเอเชียยุโรป เป็นต้น
สื่อต่างประเทศกับวิกฤติการเมืองไทย
ผศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในวิกฤติการณ์ของการเมืองไทยในปีพ.ศ. 2553 สำนักข่าว CNN ได้มีการรายงานข่าวโดยผู้สื่อข่าวทื่ชื่อ "แดน ริเวอร์" มีการรายงานและทำให้เกิดกระแสที่มีการต่อต้านสื่อโดยชนชั้นกลางไทย จะเห็นได้ว่าวิกฤติทางการเมืองปี 2553 ไม่ใช่เฉพาะผู้นำหรือชนชั้นนำทางการเมืองเท่านั้น แต่มีการปะทะกันทางประชาสังคมด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งที่มีการปะทะกัน คือในเรื่องของสื่อ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ เมืองไทยเป็นด่านกั้นประตูที่คัดกรองข่าวสารต่างๆที่จะเข้าเมืองไทยและอีกส่วนหนึ่งเหมือนเป็นตัวกรองข้อมูลข่าวสาร ตัวกรองตรงนี้หลายคนอาจมองว่า สื่อไทยมีหน้าที่ในการไปเอาข้อมูลและเนื้อหาสื่อจากต่างประเทศมาแปลมาตีความ เป็นผู้กรอง แต่เมื่อมองลึกลงไปอาจไม่ใช่แค่สื่อไทยเท่านั้นที่เป็นตัวกรองหรือว่าเป็นด่านกั้นประตู นอกจากสื่อไทยแล้วยังมีระบบกฏหมาย ระบบการปกครองและชนชั้นนำในช่วงนั้น ซึ่งมาประกอบโครงสร้างของสื่อและความสัมพันธ์ของสื่อกับตัวชนชั้นนำในเมืองไทยที่เหมือนเป็นตัวกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศอีกทีหนึ่ง
"สื่อไทย" กับ "ชนชั้นนำไทย" มีความสัมพันธ์กันแบบระบบอุปถัมภ์ในลักษณะที่ใครเป็นนักข่าวก็จะรู้ว่าเวลาเราจะหาข้อมูลต่างๆได้ต้องใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว สืบเสาะข้อมูลข่าวสารให้ได้มากที่สุดตามสไตล์นักข่าวไทย ในขณะเดียวกันนักข่าวไทยคือต้องรู้รักษาตัวรอดด้วย ลำพังเงินเดือนก็น้อยอยู่แล้ว ต้องมาทำงานเสี่ยงชีวิตอีก เราก็ควรที่จะเห็นใจ การรู้รักษาตัวรอดตรงนี้มันก็เลยทำให้มีอิทธิพลของสื่อต่างประเทศเข้ามาด้วย ซึ่งอิทธิพลของสื่อต่างประเทศตรงนี้จะเห็นได้ว่าการรู้รักษาตัวรอดของสื่อไทยจะต้องเอาไปใช้ประโยชน์จากสื่อต่างประเทศ และสิ่งที่สื่อต่างประเทศพูด ก็อาจเอามานำมาเสนอในสื่อไทยอีกรอบหนึ่ง อาจจะเป็นการหยิบเนื้อหาบางส่วนหรือว่าทั้งหมดมาใช้ก็แล้วแต่สื่อไทย นี่คือสิ่งที่สื่อไทยต้องปรับตัว และก็สามารถปรับได้ในระดับหนึ่ง
จากการวิจัยที่ทำมา จะเห็นได้ว่าในช่วงสงครามเย็น "สื่อใหม่" ได้เข้ามาในบริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป มีการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และเสรีนิยม จะเห็นได้ว่าผู้คัดกรองข่าวสารไม่ว่าจะเป็นสื่อไทยหรือชนชั้นนำของไทยเอง คือ รัฐบาลทหาร ถูกกล่อมเกลาด้วยวัฒนธรรมที่เรียกว่า "ชาตินิยม"
แต่ต่อมา นักข่าวไทยเองก็รู้สึกว่าชาวต่างชาติจะมารู้เรื่องเหล่านั้นได้ดีกว่าคนไทยได้อย่างไร ตรงนี้เองถือเป็นการสร้าง "ความเป็นอื่น" ให้สื่อต่างประเทศ ว่าข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศที่เข้ามาในยุคสงครามเย็นตอนนั้นไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อประเทศไทย ขณะที่สื่อใหม่ที่เข้ามาคือสื่อโทรทัศน์กับวิทยุซึ่งเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็ถูกควบคุมและนำเข้ามาโดยชนชั้นนำไทย ซึ่งอยู่ในส่วนรับผิดชอบของกรมประชาสัมพันธ์
มาถึงช่วงพฤษภาทมิฬ ปี 2535 เราเริ่มมีชนชั้นกลางขึ้นมาแล้วและไปเป็นส่วนหนึ่งในส่วนของผู้ผลิตเองด้วย แต่ยังคงมีระบบอุปถัมภ์โทรทัศน์วิทยุอยู่ สื่อสิ่งพิมพ์เองจะออกมาในเรื่องที่ค่อนข้างเป็นไปในการเรียกร้องให้มีการสร้างอุตสาหกรรมในแนวเสรีนิยมประชาธิปไตยด้วย ซึ่งเขาจะมีอิสระมากกว่า ตรงนี้เองจะมีการปะทะกันเองระหว่างชนชั้นกลางที่มีโครงการเสรีนิยมประชาธิปไตยกับอีกกลุ่มคือยังมีอุดมการณ์เก่าๆในลักษณะที่เป็นของหน่วยงานทหารอยู่ เกิดการปะทะกัน ตรงนี้เองเห็นได้ว่า ตอนนั้นสื่อต่างประเทศมาอยู่ในรูปของวีรบุรุษ เนื้อหาของสื่อต่างประเทศเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเสรีนิยมประชาธิปไตยให้กับกลุ่มสื่อบางกลุ่มของประเทศไทยด้วย
ในเหตุการณ์ปี 2535 เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารในลักษณะที่มีการรายงานโดยตรงจากนักข่าวไทยไปถึงสำนักข่าวอื่นๆ มีการรายงานข่าวของ CNN และ BBC ในเหตุการณ์ที่ราชดำเนินนั้น คนที่จะเข้าถึงสื่อได้ในตอนนั้นคือคนที่เข้าถึงสื่อต่างประเทศ เห็นภาพความจริงจริงๆ เพราะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทยถูกปิดหมด เมื่อชนชั้นกลางที่เข้าถึงสื่อต่างประเทศเห็นแล้วก็พยายามที่จะติดต่อสื่อสารไปที่คนที่อยู่ในม็อบด้วยมือถือว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ขณะนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ตตามบ้านเรือน ตอนนั้นเองจะเห็นการติดต่อกันระหว่างสื่อกระแสหลักกับการสื่อสารแบบส่วนบุคคล ที่คล้ายกับเฟซบุ๊คในปัจจุบันแต่ว่าคุณจะโทรหาแต่คนที่คุณรู้จักเท่านั้น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารก็จะโทรกันแต่ในหมู่เพื่อน
"ผู้กรองข่าวสารของเราก็เห็นว่ารายงานของสื่อต่างประเทศไม่ได้เกิดประโยชน์กับสิ่งที่เราต้องการ จึงทำให้เกิดการปะทะกันในเรื่องของสื่อ สื่อกระแสหลักเป็นของชนชั้นกลางและก็มีแรงกดดันจากชนชั้นกลางต่างๆซึ่งทำให้มองว่าสื่อต่างประเทศกำลังคุกคามสังคมไทย"