WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 11, 2011

ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี: เกาหลีเปลี่ยนแล้ว ไทยทราบแล้วเปลี่ยน?

ที่มา Thai E-News

ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี

ดาวน์โหลดหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี

เกาหลีเปลี่ยนแล้ว เมืองไทยทราบแล้วเปลี่ยน?

โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ

(ข้าพเจ้าพยายามเขียนเท่าที่สติปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้าจะพอ สรุปออกมาได้ เนื่องเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการเมืองเกาหลี ถ้ามีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย)

>1000+6+1+2+1+77+41+48+91+?????

50 ปีแห่งการปลดแอกเผด็จการทหารในการเมืองของประเทศเกาหลีใต้ โดยพลังประชาชน

  • 2491-2500 ผ่าเกาหลีที่เส้นขนานที่ 38 เป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เกาหลีใต้โหมโครงการล้างสมอง “สงครามจิตวิทยาต้านคอมมิวนิสต์”
  • 2503 ทศวรรษแห่งขบวนการนักศึกษาเพื่อขับไล่เผด็จการ
  • 2513 ทศวรรษแห่งการต่อสู้ของกรรมกรโรงงานนรก การประท้วงของชุน เต-อิล
  • 2522 การประท้วงของภาคประชาชน ต่อรัฐประหาร ประท้วงกฎอัยการศึกของรัฐบาลชุน ดู-วาน และโร แต-วู
  • 2523 เริ่มจากการลุกขึ้นสู้ของชาวกวางจู
  • 2530 หนึ่งปีเต็ม แห่งการสไตรค์ของสหภาพแรงงานประชาธิปไตยเกาหลีใต้
  • 2531 ลุกขึ้นสู้ทั้งประเทศเพื่อร่วมกันขับไล่เผด็จการจนสำเร็จในปี →ปัจจุบันพวกเขากำลังสู้กับลัทธิเสรีนิยมใหม่

ห้าสิบปีของการต่อสู้ของประชาชน ประเทศเกาหลีเปลี่ยนผ่านได้สำเร็จ แต่การต่อสู้ยังไม่จบ และภาคประชาชนเกาหลีใต้ ก็กำลังต่อสู้อย่างหนักหน่วงในการต่อต้านการนำแนวนโยบายการเมือง เสรีนิยมใหม่ การเมือง ที่ทุนบอกรัฐว่าอยู่เฉยๆ นายทุนชาติและทุนข้ามชาติจะใช้แนวเศรษฐกิจเสรีดูแลประชาชนเอง ทั้งจัดการด้านเรื่องงาน และชีวิตความเป็นอยู่ โดยจะมีน้ำใจแบ่งปันให้ตามสะดวก หลังจากหักกำไรมหาศาลแล้ว เพราะมีภาระกิจอันสำคัญยิ่งที่จะต้องสร้างความมั่งคั่งเพื่อแข่งขันเป็น บรรษัทที่ร่ำรวยที่สุดในโลกเพื่อหน้าตาของประเทศชาติ รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลแค่เรื่องนโยบายที่อำนวยความสะดวกให้ทุนมากทีสุดก็ พอแล้ว

ซึ่งต่างกันสุดขั้วกับแนวคิด “สังคมนิยมประชาธิปไตย” รัฐ ในฐานะตัวแทนที่ประชาชนเลือกมา ต้องทำหน้าที่ขจัดทุกข์และบำรุงสุขให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน โดยมุ่งเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ที่พวกคนเกาหลีต่อสู้ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตให้ได้มา

ทั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกันมากในบริบทการเมืองของไทยและเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการเมืองระบบทหาร ที่หนุนหลังอย่างสุดโต่งโดยสหรัฐอเมริกา ภายใต้สงครามจิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์ และการต่อสู้ระหว่างภาคประชาชนกับทหาร โดยทั้งเผด็จการไทยและเผด็จการเกาหลีใต้ ได้รับอัดฉีดทั้งเงินและแนวนโยบายการเมืองจากกองทัพและรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้แผน “Psychological warfare” หรือสงครามจิตวิทยาประชาชน”

ผู้นำทหารทั้งไทยและผู้นำทหารเกาหลีได้ต่างก็ได้รับการเชิญ ให้ไปเรียนรู้ยุทธศาสตร์ “สงครามจิตวิทยาประชาชน” ยังทำเนียบขาว และแพนตากอนกันเลยทีเดียวในช่วงปี 2500 – 2510

>1000+6+1+2+1+77+41+48+91+?????

เรามาทำความรู้จักการต่อสู้ของประชาชนเกาหลีอย่างคร่าว

ห้าสิบปีแห่งเกาหลีใต้ภายใต้การปกครองของทหาร

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เกาหลีใต้เปลี่ยนผ่านการอยู่ภายใต้อาณานิคมจากญี่ปุ่น( 2453 – 2488) หลังสหประชาชาติได้ทำการแบ่งเกาหลีออกเป็นสองซีกตามแรงกดดันของรัสเซียและ สหรัฐ เกาหลีเหนือโจมตีเกาหลีใต้ โดยใช้เส้นแบ่งคู่ขนานที่ 38 เส้นเขตแดน

สงครามเกาหลีปะทุขึ้นมาเมื่อเกาหลีเหนือบุกเข้ามาโจมตีเกาหลีใต้ มันคือส่งครามของสองขั้วมหาอำนาจในปแผ่นดินเกาหลี (สงครามระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ กับ ค่ายทุนนิยม) (2493-2496) ระหว่างนั้นสหรัฐอเมริกมีบทบาทชี้นำการเมืองเกาหลีใต้เกือบเบ็ดเสร็จ และได้แทรกแซงจนรัฐบาลซิง มัน-รี (2493 – 2500) เด็กดีของสหรัฐฯ ได้เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ที่ดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามคำแนะนำของสหรัฐฯ พร้อมทั้งใช้เพื่อการหวังผลทางการเมืองในการขจัดพรรคฝ่ายค้านคู่แข่ง

เป็นเวลาถึง 18 ปี นับตั้งแต่ 2504 – 2522 เกาหลีใต้อยู่ภายใต้เผด็จการนายพลปักจุงฮี ตามมาด้วย 8 ปีภายใต้เผด็จการนายพลชุน ดู-วาน (2523 – 2531) ต่อด้วยอีก 5 ปี ภายใต้นายพลโรว แต-วู (2531 – 2536) แม้ว่าโรว แต-วู จะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีของการเมือง เกาหลีใต้ แต่ก็เป็นรัฐบาลทหาร และก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือเพื่อนร่วมชั้นเรียน และนายพลร่วมก๊วนกับชุน ดู-วาน ที่เข้ามารับตำแหน่งเพื่อรับช่วงต่อจากนายพล ชุน ดู-วาน และทำให้การลงชุน ดู-วานไม่เจ็บตัวมากนัก

การเมืองเกาหลีในยุคแรกแห่งประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และหลังจากแบ่งประเทศออกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปี 2491 นั้นจึงไม่นิ่ง ไม่มีเสถียรภาพ รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาก็คอรัปชั่น รัฐบาลพลเรือนจะอยู่ไม่ได้นานก็ถูกทหารปฏิวัติ หรือสรุปสั้นๆ ว่าประชาชนเกาหลีอยู่ภายใต้การควบคุมของเผด็จการรัฐสภา และนายพลทหารนับตั้งแต่ปี 2493 จนถึงปี 2536

ปัจจุบันเกาหลีมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นนักการเมืองเสรีนิยม และนับตั้งแต่ปี 2491 เป็นต้นมา เป็นเวลา 63 ปี ที่เกาหลีใต้ปกครองด้วยประธานาธิบดีเพียง 10 คน โดยหลายคนควบยาวสอง ถึงสามสมัย ในขณะที่ 78 ปี ประชาธิปไตยไทย มีนายกรัฐมนตรีถึง 27 คน

การประท้วงของนักศึกษาปี 2503

การลุกขึ้นสู้เผด็จการทหารของนักศึกษาในเดือนเมษายน 2503 – จนได้รัฐบาลประชาธิปไตยในช่วงสั้นๆ ก่อนจะถูกปฏิวัติโดยปัก จุง-ฮี ในปี 2504 – ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแห่งทศวรรษ 2503 และมันได้ค่อยๆ ส่งอิทธิพลต่อการเติบโตของขบวนการนักศึกษา แรงงาน และปะชาชนเกาหลีใต้

การจัดการศึกษาอย่างเข้มข้นก็เป็นเรื่องสำคัญ และบทบาทของนักศึกษาในการเข้าหามวลชนเป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นจุดเด่นในการ เติบโตของภาคประชาชนเกาหลีใต้

นักศึกษาเดินขบวนกันทั้งปี เผชิญกับการปราบปรามอย่างหนัก ทั้งกระบอง และแก๊สน้ำตา จนควันคลุ่งกระจายมาในย่านตลาดสันติภาพ ศูนย์กลางการผลิตเสื้อผ้าที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลี มีกรรมกร 30,000 คน แออัดยัดเยียดกันในห้องแคบ ทำงานเยี่ยงทาสวันละ 12-16 ชั่วโมง โดยไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน

การต่อสู้ของนักศึกษา ส่งผลต่อการก่อกำเนิดปรัชญากรรมกรในทศวรรษ 2513 ของชุน เต-อิล กรรมกรตัดผ้าวัย 22 ปี หนึ่งในคนงาน 30,000 คน ที่อยู่ในโรงงานนรกแห่งนั้นนั่นเอง คนงานหนุ่มที่พลิกชะตาตัวเอง และชนชั้นกรรมาชีพของเกาหลีใต้ ด้วยอุดมการณ์และความรักในเพื่อนร่วมชนชั้น

วีรกรรมนักบุญชุน เต-อิล

ชุน เต-อิล เป็นกรรมตัดผ้าหนุ่มวัน 22 ปี เขาเผาตัวตายประท้วงพร้อมกับหนังสือคู่มือกฎหมายแรงงานในอ้อมกอด เมื่อวันที่ 13 พฤษจิกายน 2513 ขบวนการแรงงานยกย่องเขาว่า้เป็นบิดาของขบวนการสหภาพแรงงานประชาธิปไตย เกาหลีใต้ ภาคประชาชนเกาหลีใต้ยกย่องว่าเขาเป็นนักบุญ

“พวกเราไม่ใช่เครื่องจักร”

“จงปฏิบัติตามกฎหมาย”

คือเสียงที่เปล่งออกมาจากเปลวไฟ เมื่อกรรมกรตัดผ้าหนุ่มวัย 22 ปี ชุน เต-อิล ตัดสินใจจุดไฟเผาตัวเอง ที่ตลาดสันติภาพ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าของเกาหลีใต้

เขาเสียสละชีวิตตัวเอง เพื่อประท้วงความโหดร้ายป่าเถื่อนของอุตสาหกรรมดัดเย็บเสื้อผ้าของเกาหลีใต้ เพื่อทลายกำแพงเย็นยะเยือกของสังคมเกาหลีที่เพิกเฉยต่อวิถีชีวิตอดมื้อกิน มื้อของคนยากคนจน โดยเฉพาะสภาพการทำงานในนรกของคนงานเด็กหญิงในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าของ เกาหลีในทศวรรษ 2510

เขาตายพร้อมกับคู่มือกฎหมายแรงงานในอ้อมกอด เพื่อบอกว่ากฎหมายแรงงานมันไร้ประโยชน์

เขาตายเพื่อเปิดโปงการคอรัปชั่นและสมรู้ร่วมคิดระหว่างนายจ้างและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน

จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของเขาได้ทำให้สังคมเกาหลีตื่นรับรู้ความจริงแห่ง ความหฤโหดและเย็นชาของสังคมต่อเพื่อนร่วมประเทศ และลุกขึ้นมายอมรับว่า คนชั้นล่างในสังคมก็มีศักดิ์ศรี ก็มีปรัชญาเพื่อการปลดแอกทาสได้”

การประท้วงด้วยไฟของชุน เต-อิล ในวันที่ 13 พฤษจิกายน 2513 ได้กลายเป็นประกายไฟดวงน้อย ที่ส่องแสงนำทางในยามมืดมิด เรื่องราวชีวิตและการต่อสู้ที่ชุน ได้เขียนบันทึกเอาไว้มากมาย และพินัยกรรมทิ้งเอาไว้ให้พวกเรา ทำให้น้ำตาของคนเกาหลีหลั่งไหลรวมกันเป็นสายน้ำใหญ่

การเปล่งคำพูดสุดท้ายกับเพื่อนๆ ว่า “อย่าให้ความตายของผมสูญเปล่า” ทำให้ “ความตายของเขาไม่อาจถูกลบเลือน และดำรงอยู่นิรันดร” เพราะไม่ใช่เฉพาะเพื่อนของเขาเท่านั้น แต่ปัญญาชนเกาหลีได้ช่วยกันส่งต่อสาส์นและปรัชญาของคนหนุ่มให้สามารถไปสั่น รั่วสะเทือนหัวใจคนทั้งเกาหลีได้ และในหลายประเทศทั่วโลก

การลุกข้นสู้กับรถถังและกระบอกปืน

การต่อสู้ของชุน เต-อิล ได้ส่งไม้ต่อไปยังภาคประชาชนในทศวรรษ 2522 และการประท้วงของนักศึกษา กรรมกร และประชาชนต่อปัก จุง-ฮี ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ

นายพลปัก จุง-ฮี ที่ใช้นโยบายการเมืองภายใต้การกำกับของสหรัฐฯ ไม่ต่างไปจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ของไทย ทั้งแนวนโยบายการเมืองและทางเศรษฐกิจ ตลอดจนวิธีการขึ้นมาสู่อำนาจโดยไร้คนต่อต้านในช่วงแรกๆ เพราะผลของสงครามจิตวิทยามวลชน แต่ไม่นาน การประท้วงเขามีต่อเนื่องและก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และในเดือนตุลาคม 2522 การประท้วงจากคนหลายหมื่นคนในหลายเมือง ทำให้ขั้วการเมืองชุน ดู-วานที่รอโอกาสมานาน ได้สังหารปัก จุง-ฮี ในวันที่16 ตุลาคม 2522 โดยหัวหน้าหน่วยงาน CIA เกาหลีใต้ ที่ปักจุง-ฮี ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองเขาในปี 2504 กลับเป็นหน่วยงานที่ลั่นไกสังหารตัวเขาเอง

ชุน ดู-วานทำการยึดอำนาจ และตั้งตัวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 2523 ประกาศกฎอัยการศึกและส่งกองกำลัง รถถัง และอาวุธครบมือไปคุมเมืองต่างๆ โดยเฉพาะที่เมืองกวางจู พื้นที่ของ คิม ยอง-ซัม แกนนำนักการเมืองฝ่ายค้านที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนั้น จนเกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน

ที่เมืองกวางจู เยาวชน นักศึกษา ได้ทำการประท้วง และถูกปราบปราบอย่างหนัก และเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเดือนพฤษภาคม 2523 โดยเฉพาะในวันที่ 18 พฤษภาคม

เมื่อสูญเสียชีวิตบุคคลที่เป็นที่รักหลายร้อยคน และต้องดูแลคนเจ็บ และพิการจากการปราบปรามอีกหลายพันคน ประชาชนชาวกวางจู โดยเฉพาะครอบครัวของวีรชน ไม่หยุดต่อสู้ พวกเขาแบ่งปันดูแลช่วยเหลือกันทางสภาพจิตใจแลละเศรษฐกิจ และโอบอุ้มดูแลผู้ได้รับผลกระทบทุกคน และประชาจากหลายเมืองทั่วเกาหลีได้ระดมเงินส่งไปช่วยเหลือพวกเขาที่กวางจู ด้วยเช่นกัน

เหตุการณ์กวางจูกลายเป็นจุดเดือดที่ทำให้สังคมเกาหลีไม่สามารถทนอยู่กับ เผด็จการได้อีกต่อไป และส่งผลให้นับตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปี 2531 เป็นช่วงเวลาแห่งการจัดตั้งทางอุดมการณ์ทั้วทั้งเกาหลีใต้ การจับกลุ่มพูดคุยปัญหาบ้านเมือง ถกกันอย่างเอาเป็นเอาตายกับทฤษฎีการเมืองต่างๆ ไม่ว่ามาร์กซิสสังคมนิยม หรือประชาธิปไตย การวางแผนการต่อสู้ เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกย่านที่พักอาศัย ย่านอุตสาหกรรม ทั้งกรรมกร ชาวนา และนักศึกษาที่กระจายตัวลงไปช่วยจัดตั้งทั้งในหมู่กรรมกร และชนบท (จริงๆ ก็มีมาต่อเนื่องนับตั้งแต่ทศวรรษนักศึกษา แต่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ)

พวกเขาจะนัดพบเจอกันในร้านเครื่องดื่มเล็กๆ พูดคุยกันจนดึกดื่นเรื่องการเมือง

ขบวนการสหภาพแรงงานประชาธิปไตยเกาหลี

นับจากชุน เสียชีวิตเพื่อขบวนการแรงงาน การจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ดำเนินต่อเนื่อง และเข้มข้นมากขึ้น แม้จะประสบกับความยากลำบากมากมายจากปัก จุง-ฮี และชุน ดู-วาน

เมื่อขบวนการแรงงานประชาธิปไตยเกาหลีสไตรค์ครั้งใหญ่ ในปี 2530 มันก็ได้ทำให้ประชาชนเกาหลี และขบวนการแรงงานทั่วโลกตื่นตลึงไปกับคลื่นขบวนคนงานและขบวนการสหภาพแรงงาน ของเกาหลีใต้ ที่มีกว่า 1,060 สหภาพแล้วในยามนั้น ที่สไตรค์ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และสมานฉันท์ระหว่างกัน เป็นการสไตรค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของขบวนการแรงงานทั่วโลก การประท้วงและสไตรค์กระจายทั่วทุกย่านอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ต่อเนื่องทั้งปี จนทำสถิติสไตรคื 3,458 ครั้งในปีนั้น

ขบวนการแรงงานทั่วโลกพากันกล่าวขานถึงการประท้วงของคนงานเกาหลีใด้ ที่ทั้งสง่างาม สนุกสนาน เข้มแข็ง มีวินัย กล้าหาญ และเปี่ยมพลัง ทั่วโลกรู้จักสหภาพแรงงานเกาหลีมากขึ้น ก็เพราะการประท้วงใหญ่ในปี 2530 นี่เอง

หลังจากนั้น เกาหลีใต้เป็นประเทศที่นักสหภาพแรงงานจากทั่วโลกเดินทางไปเยี่ยมและศึกษา เรียนรู้จากสหภาพแรงงานและขบวนการประชาชน (ประเทศไทยนำร่องโดยคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งได้เป็นหัวหน้าทีมพาตัวแทนคนงานหญิงสองคน และข้าพเจ้าเดินทางไปศึกษาดูงานขบวนการแรงงานเกาหลีสองอาทิตย์ในเดือน สิงหาคม ปี 2535 พวกเราได้เยี่ยมคารวะสุสานของวีรชนเกาหลีตลอดเส้นทางดูงานจากกรุงโซล จนไปถึงเมืองท่าปูซาน)

หนึ่งในหัวใจที่ทำให้มีการเติบโตของสหภาพแรงงานที่เกาหลีใต้อย่างเข้ม แข็งและทรงพลัง คือการเสียสละของแกนนำ ที่จะอยู่แถวหน้าของขบวนและเป็นคนแรกๆ ที่ถูกจับ และจากการสร้างความเข้มแข็งจากฐานมวลชน เป็นการทำงานจัดตั้งอย่างเข้มข้น ที่ใส่ใจในเรื่องการศึกษาหาความรู้ มีการประสานกำลัง (กรรมาชีพ) และองค์ความรู้ (นักศึกษา) เข้าด้วยกันอย่างเหมาะเจาะและให้ความเคารพซึ่งกัน อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่เราสัมผัสได้คือการไม่ทอดทิ้งกัน คนที่อยู่นอกคุก ดูแลครอบครัวคนที่ติดคุก คนที่อยู่ ดูแลครอบครัววีรชนที่เสียสละชีวิต

สาส์นชุน เต-อิล ที่บอกว่า “ถ้าเขามีเพื่อนเป็นนักศึกษาก็คงจะดี มาก เพราะจะได้ช่วยอธิบายกฎหมายแรงงานที่คลุมเคลือให้เขาเข้าใจ และสอนเรื่องเคนิคการเดินขบวนต่างๆ ให้กับคนงาน” ิ สะเทือนใจนักศึกษายิ่งนัก ทำให้นักศึกษาซึ่งเข้มแข็งอยู่แล้วในยามนั้น เพื่อขับไล่เผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตย พากันไหล่หล่ังมาย่านอุตสาหกรรม เพื่อช่วยขบวนการแรงงานด้วย ทั้งช่วยสอนหนังสือ ร่วมในกิจกรรมของสหภาพและคนงาน รวมทั้งเข้าไปสมัครงานเป็นกรรมกรในโรงงานต่างๆ เป็นปี เพื่อช่วยคนงานจัดตั้งสหภาพ ขบวนการสหภาพแรงงานจึงเติบโตขึ้น และในปี 2530 คนงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่เกาหลีใต้กว่า 20 % เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (สมาชิกสหภาพแรงงานในประเทศไทยเมื่อเทียบกับกำลังแรงงานทั้งประเทศมีเพียง 1.3% และมีเพียงประมาณ 3% ของคนงานเอกชนทั้งในภาคอุตสาหกรรม และบริการ)

การประท้วงทั่วประเทศ

ด้วยความยืนหยัดและการต่อสู้อย่างเข้มแข็งทั้งกรรมกร นักศึกษาและองค์กรภาคประชาชน การประท้วงทั้งประเทศในเดือนมิถุนายน 2531 ของประชากรทั้งประเทศร่วมสองล้านคน ใน 34 เมือง และแม้จะมีผู้ถูกจับกุมร่วมสี่พันคน ก็ไม่หยุดประท้วง ทำให้ประธานาธิบดีชุนดู-วาน ไม่สามารถต้านทานแรงกดดันได้ ต้องประกาศลาออกในเดือนกรกฎาคม 2531

สหภาพแรงงานประชาธิปไตยรวมตัวก่อตั้ง สภาแรงงานประชาธิปไตยเกาหลี (KCTU)

ขบวนการแรงงานก็ร่วมขับเคลื่อนกับขบวนการนักศึกษาและประชาชนจนจัดการกับเผด็จการทหารได้ในที่สุดในปี 2531

หลังจากปี 2530 เป็นต้นมาขบวนการสหภาพแรงงานประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อประสบความสำเร็จในการจัดตั้งสหภาพในทุกกิจการของเครือฮุนได และอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเกหลีใต้

ส่งผลให้ทศวรรษ 2530 เข้มข้นไปด้วยการสไตรค์เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างที่กดค่าแรง และสวัสดิการมาอย่างยาวนานภายใต้การคุ้มครองของรัฐบาลทหาร ต้องยอมเจรจากับสหภาพแรงงาน และทำข้อตกลงสภาพการจ้าง ส่งผลให้เกิดการก้าวกระโดดอย่างเห็นได้ชัดของค่าแรง คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพในเกาหลีใต้

ขณะเดียวกันทุนเกาหลี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และราคาถูก โดยเฉพาะตัดเย็บเสื้อผ้า สิ่งทอ และรองเท้า ได้เริ่มย้ายและขยายการผลิตของทุนเกาหลีลงมาทางใต้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าก็ย้ายไปไกลที่ลาตินอเมริกา (ไปทะเลาะกับคนงานที่นั่นต่อ)

สหภาพแรงงานประชาธิปไตยหลายร้อยแห่งได้ตัดสินใจรวมตัวกันตั้งสภาแรงงานประชาธิปไตยเกาหลี (Korean Confederation of Trade Unions – KCTU) ในปี 2538 เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับทุนและรัฐบาลได้อย่างเข้มแข็งขึ้น และภายในไม่กี่ปี KCTU ก็สามารถเบียดสภาแรงงานแห่งชาติเกาหลีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและเป็น ที่ยอมรับของทุนมากกว่า ให้ตกไปอยู่ขอบเวที

แม้ว่าจะมีบางกระแสวิจารณ์ว่า KCTU มุ่งใช้แนวนโยบายการสไตรค์หยุดงาน มากกว่าแนว “แรงงานสัมพันธ์ดีเด่นเช่นที่สหภาพส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นและยุโรปก็ตาม แต่เป็นที่ประจักษ์ชัดในทศวรรษ 2540 ว่าได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่ามีพลังและเข้มแข็งมากที่สุดประเทศหนึ่งใน โลก ขบวนการแรงงานเกาหลีใต้ครองใจมหาชนโลก แม้ว่าไม่ใช่จากขบวนการแรงงานญี่ปุ่น และยุโรป แต่จากขบวนการแรงงานแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย และมาร์กซิส และขบวนการประชาชนในขั้วโลกใต้ โดยเฉพาะลาตินอเมริกา อาฟริกา และเอเชีย

พรรคประชาธิปไตยแรงงาน (Democratic Labour Party (DLP)

KCTU และหลายองค์กรภาคประชาชนที่เกาหลีรวมกันตั้งพรรคการเมืองในเดือนมกราคมปี 2543 ในชื่อ พรรคประชาธิปไตยแรงงาน (Democratic Labour Party (DLP) ในการลงแข่งขั้นในสมัยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2547 ผู้สมัครพรรค 10 คน ชนะการเลือกตั้งได้เข้าไปนั่งในสภา แต่หลังจากสมัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2550 ซีกขบวนการประชาชนแยกตัวออกไปตั้งพรรคของตัวเองในชื่อพรรคก้าวหน้าใหม่ (New Progressive Party) ทำให้สมัยการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2551 พรรคประชาธิปไตยแรงงานได้รับการเลือกตั้งเพียง 5 คน ในขณะที่พรรคก้าวหน้าใหม่ ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาแม้แต่คนเดียว

กระบวนการยุติธรรม

หลังจากไล่เผด็จการแล้วก็ถึงคราวชำระสะสางความผิด ในปี 2538 เมื่อรัฐบาลฝ่ายค้านที่สู้รบตบมือกับรัฐบาลนายพลมาร่วมสามทศวรรษ คือรัฐบาลของ คิม ยอง-ซัม ได้ร่วมมือกับชาวกวางจู ฟ้องอดีตประธานาธิบดีชุนดู-วาน (2523-2531) อดีตประธานาธิบดี โรว แต-วู (2531 – 2536) และคณะเพื่อให้คืนเงินที่ยักยอกไประหว่างเรืองอำนาจกว่าสี่แสนล้านวอน (ประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท) ในหลายข้อหาทั้งรัฐประหาร 2522 ปราบปราบประชาชน 2523 และคอรัปชั่น และอื่่นๆ

ศาลฎีกาแห่งเกาหลีใต้ได้ตัดสินในเดือนสิงหาคม 2539 สั่งจำคุกชุน ดู-วาน ตลอดชีวิต และและโรว แต-วู 17 ปี เมื่อถูกว่ามีการกระทำผิดหลายกรรมหลายวาระ อาทิ ผู้นำการก่อการจราจล สั่งเคลื่อนกองทหารโดยไม่มีอำนาจ ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก ฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ระดับสูง มีส่วนร่วมในการกบถ รวมทั้งการรับสินบนต่างๆ เขาถูกส่งเข้าห้องขังนับตั้งแต่วันนั้น

ศาลยังสั่งให้จ่ายค่าเสียหาย 220,500,000,000 วอน (5,952 ล้านบาท) ชุนดูฮวานจ่ายได้เพียงไม่ถึงหนึ่งในสี่ของค่าเสียหาย หรือจ่ายได้เพียงห้าหมื่นสามพันล้านวอน (หนึ่งพันสี่ร้อยล้านบาท)

ในเดือนธันวาคม 2540 ชุน ดูวาน และโรว แต-วู ได้รับการอภัยโทษหลังจากถูกจำคุกเพียงแค่ปีเดียว

พอถึงปี 2551 จำนวนประชาชนและครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามของรัฐบาลทหาร ที่่ได้รับการจ่ายค่าชดเชย มีรวมกันทั้งสิ้น 4,540 คน แบ่งเป็น ผู้เสียชีวิตและสูญหาย 314 คน บาดเจ็บ 3,059 คน และถูกจับกุมและขังคุกอีก 1,168 คน

การให้คุณค่ากับชีวิตที่เสียสละ

ถ้าจะมองว่าอะไรเป็นจุดแข็งของการขับเคลื่อนภาคประชาชนเกาหลีใต้? หนึ่งในหัวใจแน่นอนทีเดียว คือการให้คุณค่าสูงยิ่งต่อทุกชีวิตที่เสียสละ ผู้เสียหายหลายพันคนคงจะไม่ได้ค่าชดเชยในปี 2551 ถ้าบรรดาครอบครัวของชาวกวางจู ไม่สร้างสุสานวีรชน เพื่อที่พวกเขาจะไปดูแลหลุมศพ ประดับดอกไม้ให้กับดวงวิญญาลูกและสามี และนั่งพูดคุย ให้กำลังใจกัน ปลอบโยนกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และชวนกันดำเนินกิจกรรมอย่างต่เนื่อง

ตลอดสี่สิบปีที่ผ่านมา นักกิจกรรมทั่วทั้งเกาหลีพากันหลั่งไหลกันไปเคารพสถานที่เผาตัวตายของชุนที่ ตลาดสันติภาพ ่เดินทางไปสุสานวีรชนที่กวางจู เพื่อไปเคารพสุสานฝังศพวีรชน ร่วมรำลึกถึงวีรกรรมของพวกเขา เพื่อขอบคุณในความเสียสละของพวกเขา และประกาศเจตนารมย์ว่าจะสานต่ออุดมการณ์

่ไม่ใช่เฉพาะคนเกาหลีใต้เท่านั้น แม้แต่นักกิจกรรมและนักสหภาพแรงงานต่างประเทศ เมื่อไปเยียนเกาหลี ทำเนียมที่สหายชชาวเกาหลีจะทำคือพาพวกเราไปเคารพสุสานวีรชนของพวกเขา ในทุกเมืองที่พวกเราเดินทางไป และพูดถึงพวกเขาด้วยความภาคภูมิใจ

คนกวางจูและคนทั้งประเทศบริจากเงินเข้ากองทุนประชาชนกวางจู เพื่อใช้ในการต่อสู้ และสนับสนุนกิจกรรมด้านประชาธิปไตย ขณะนี้ ชาวกวางจูได้จัดตั้งทั้งมูลนิธิหลายแห่ง และให้เงินทุนเพื่อกิจกรรมประชาธิปไตยกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย มูลนิธิที่มีบทบาทเด่นได้แก่ มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม (The May 18 Memorial Foundation ที่ก่อตั้งในปี 2537 ขณะนี้ได้จัดกิจกรรมมากมายทั้งเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศ และสร้างความสมานฉันท์ข้ามพรมแดน - โครงการสมานฉันท์นานาชาติรางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจู - เวทีสันติภาพนานาชาติกวางจู - โรงเรียนสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย -โครงการแลกเปลี่ยนนานาชาติ – โครงการความร่วมมือกับขบวนการประชาธิปไตยในเอเชีย – และโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศเกาหลี

มีการก่อตั้งมูลนิธิรำลึกชุน เต-อิล (Chun Tae-il Memorial Foundation) เพื่อเผยแพร่ และสานต่องานของเต-อิล โดยเฉพาะการส่งเสริมการศึกษาในหมู่คนงาน

ประชาชนเกาหลีใต้ ให้คุณค่ากับการเสียสละ และด้วยประกายไฟของชุน เต-อิลที่บอกว่า “อย่าให้ความตายของผมสูญเปล่า” การเชื่อมประสานระหว่างนักศึกษา กรรมกร นักบวช และประชาชนในเกาหลีได้ได้กลายเป็นแสงตะเกียงหลายล้านดวงที่ขับไล่ความกลัว แห่งยุคมืดเผด็จการออกไป และทำให้ดอกไม้เกาหลีเบ่งบานทั่วโลกแม้แต่ในฤดูอันเหนับหนาว

>1000+6+1+2+1+77+41+48+91+?????

ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี

การประท้วงของชุน เต-อิล คือสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ในเกาหลีใต้แห่งทศวรรษ 2513 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการปลดแอกชนชั้นกรรมาชีพ

วรรณกรรม “ชีวิตและความตายของกรรมกรหนุ่ม” ซึ่งบัดนี้ได้ชื่อภาษาไทยว่า “ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี” ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นวรรณกรรมแห่งชนชั้นที่คลาสสิคของเกาหลีใต้เล่มนี้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้รับการแปลในหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย

พวกเราต้องขอบคุณผู้นำนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ โช ยอง-เร ที่ได้ใช้เวลาถึงสามปีในระหว่างการหนีการจับกุมเพราะเข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษา รวบรวมบันทึกของชุน เต-อิล และพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวของชุน จนได้วรรณกรรมกรรมกรเล่มนี้ ที่เป็นหนังสือใต้ดินที่นักเคลื่อนไหวทุกคนในเกาหลีต้องอ่าน

โชว ยอง-เร ศึกษานิติศาสตร์ ที่ใช้ชีวิตระหว่างเรียนเข้าร่วมการประท้วงมากกว่าอยู่ในห้องเรียน ที่เมื่อเรียนจบแล้ว เลือกที่จะรวมกับเพื่อนๆจัดตั้งองค์กรด้านกฎหมาย เพื่อให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกละเมิดสิทธิ มากกว่าจะเป็นทนายว่าความค่าตัวแพง

เขาใช้เวลาศึกษาปรัชญาและการต่อสู้ของชุนจนเข้าถึงแก่นแท้แห่งปรัชญาของ เขา โช ยอง-เน ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการเอาทฤษฎีสังคมนิยมประชาธิปไตยมาอธิบายวิธี คิด มุมมอง และการต่อสู้ของชุน เต-อิล ได้อย่างมีอรรถรสและน่าติดตามยิ่ง หนังสือ “ชีวิตและความตายของกรรมกรหนุ่ม” ที่เขียนเสร็จในปี 2519 ท่ามกลางการเมืองร้อนระอุ จึงไม่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่่สู่สาธารณชนเกาหลีจนถึงปี 2526” มันถูกแบนโดยทันทีตามที่สำนักพิมพ์คาดการณ์ไว้ แต่มันได้กลายเป็นหนังสือ
ใต้ดินที่มีผู้ต้องการมากที่สุด แทบจะทันทีที่พิมพ์ออกมา มันเป็นดุจดั่งคำภีร์ที่กรรมกร นักศึกษา และภาคประชาชนเกาหลีต้องอ่าน เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยที่เกาหลีมาร่วมสามทศวรรษ

กระนั้นก็ตามการต่อต้านสหภาพของพวกนายจ้างที่เกาหลีไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทำให้การเป็นนักสหภาพแรงงานที่แท้จริงที่เกาหลีนั้นต้องผ่านบทเรียนการ ต่อสู้อย่างเข้มข้น และยาวนานทั้งชีวิต

“เวลาผมรู้สึกท้อแท้ ไม่มีกำลังใจ ผมจะไปยังสุสานวีรชน ไปอยู่ที่น่ังเพื่อรำลึกถึงการเสียสละและวีรกรรมของเขา” นี่คือเสียงสะท้อนจากนักสหภาพหลายคนที่ข้าพเจ้าพบในช่วงที่ไปศึกษาขบวนการ สหภาพแรงงานที่เกาหลีในปี 2535 และในปี 2543

แกนนำที่เพิ่งออกจากคุกบอกเราว่า “การเข้าคุกคืองานหลัก ออกมานอกคุกคืองานอดิเรก” แม้แต่คนจบ ดร. อาจารย์มหาวิทยาลัยเพื่อนของข้าพเจ้าก็เข้าคุก 6 เดือนเพราะกิจกรรมนักศึกษา เขาบอกว่า ชุน เต-อิล คือแรงบันดาลใจให้เขาและนักศึกษาเกาหลีใต้

นักกิจกรรมและนักสหภาพแรงงานที่เกาหลีบอกว่า การจะขึ้นมาเป็นประธานสหภาพนั้นดูกันว่า “ใครเข้าคุกมากี่ครั้ง” “เข้าคุกมากี่ปี” ใครไม่เคยสู้ ไม่เคยถูกจับเข้าคุก มักไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นประธานสหภาพแรงงาน และตัวคนนั้นเองก็ไม่กล้ารับตำแหน่งประธานสภาพด้วย

>1000+6+1+2+1+77+41+48+91+?????

ประเทศไทยทราบแล้วเปลี่ยน

การเชื่อมั่นในการต่อสู้ด้วยพลังประชาชน ไม่ปรานีปรานอมกับการเมืองฉ้อฉล และการเชิดชูวีรชนที่เสียสละคือยุทธวิธีที่ผู้นำการปลดแอกทางการเมืองไม่ว่า ในประเทศไหนก็ตามควรจะน้อมนำมาเป็นหนึ่งในหัวใจของการขับเคลื่อนการต่อสู้

ประเทศไทยเรามีผู้เสียสละเพื่ออุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย ต่อสู้เพื่อให้รัฐฯ บริหารจัดการงบประมาณเพื่อมุ่งเพื่อประโยชน์อันสูงสุด เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยเฉพาะคนยากคนจน ในการพยายามต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมนี้ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ที่เป็นตัวเลขทางการที่ข้าพเจ้านำมาร่วมกันในท้ายบทความนี้มีถึง 290 วีรชน นับตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมา

ปรีดี พนมยงค์ ผู้ที่จุดประกายสังคมนิยมประชาธิปไตยในประเทศไทย ผู้มีความเชื่อในนโยบาย รัฐประชาชน “รัฐในฐานะผู้รับผิดชอบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน” ได้สร้างแรงบันดาลใจให้นักการเมืองน้ำดีเข้าสู่สภาฯ หลายคน โดยเฉพาะจากภาคอีสาน แต่สังคมไทยปล่อยให้พวกเขาถูกขบวนการฝ่ายขวาปราบปรามอย่างไร้มนุษยธรรม ไม่นับว่ารัฐมนตรีหลายคนแห่งค่ายสังคมประชาธิปไตย ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด ปรีดี ป๋วย หรือแม้แต่จอมพล ป. สามผู้ที่มีบทบาทนำในการเมืองไทยยุคนั้น ต้องไปเสียชีวิตที่ต่างแดน และไม่ได้กลับบ้านเกิดอีกเลย

การปล่อยให้การให้ค่าว่า “สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดคือความเป็นไทย สิ่งใดคือความเป็นธรรม” ถูกใช้เพื่อการปรองดองแห่งชาติ เพื่อความสมานฉันท์มาทุกครั้งหลังจากการปล้นอำนาจประชาชนและสังหารผู้ ประท้วงสัก 30 40 หรือ 100 ศพ คือการไม่ให้คุณค่ากับวีรชน คือการดูถูกชีวิตที่เสียสละ
คือการย้ำยีซ้ำบนซากศพและบนชีวิตคนยากคนจนที่ยังมีลมหายใจเหลืออยู่

เป็นพฤติกรรมที่ไม่ต่างกันเลยไม่ว่าหัวขบวนฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวา และเป็นความผิดพลาดหนึ่งของการต่อสู้ของภาคประชาชนไทยนับตั้งแต่ปี 2475 เพราะหัวขบวนปรานีปรานอมระหว่างกัน หัวขบวนต่างอ้างความเป็น “ผู้มีความรักยิ่งในองค์พระมหากษัตริย์ยิ่งกว่าผู้ใด” เหล่าบรรดาหญ้าแพรกที่อดยาก ยากจนทั้งหลายก็แหลกราญ ถูกลืมเลือนหายไปในประวัติศาสตร์ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เหลือเพียงจำนวนตัวเลขไว้ให้เล่าขาน อาทิ การลุกขึ้นสู้ใน 14 ตุลาฯ มีผู้เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857 คน

แต่น้อยคนที่จะรู้จักชื่อ รู้จักหน้า แม้แต่ในหมู่ครอบครัววีรชน ก็อาจจะไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้รวมตัวสู้ร่วมกันอย่างเข็มแข็ง ไม่ได้กำหนดทิศทางการใช้เงินค่าชดเชยร่วมกัน

การเสียสละของนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้ถูกนำมาเป็นขวัญ กำลังใจให้การต่อสู้ของคนรุ่นหลังเท่าที่ควร แต่ถูกพวกฝ่ายขวารอยัลลิสต์หัวเราะเยาะว่าเป็นคนโง่ เอาชีวิตมาทิ้งเปล่าๆ คนส่วนใหญ่นำมาปรามลูกหลานว่า “เห็นไหม สู้แล้วได้อะไร สู้แล้วก็ตายเปล่า อย่าไปยุ่งกับเขาดีกว่า”

นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม 78 ปีประชาธิปไตยไทยยังนำมาซึ่งคำถามจากชาวบ้านว่า “ ปรีดี คือใคร?” และก็คงจะถามว่า ถวิล จำลอง เตียง ป๋วย จิระ ฯลฯ คือใคร? ด้วยเช่นกัน เพราะระดับบิดาของการนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทย ก็ไม่ได้รับการยกย่องและแนะนำให้ประชาชนรู้จัก มิหนำซ้ำยังถูกปลักปลำว่าเป็นคอมมิวนิสต์

ตุ้มๆ ต่อมๆ ไปกับการลุกขึ้นสู้ของคนเสื้อแดง

การต่อสู้ของเกาหลีใต้เปลี่ยนผ่านไปได้ในระดับที่ทั่วโลกพอจะถอนหายใจได้ เฮือกใหญ่ แต่ประชาธิปไตยในประเทศไทยยังเป็นเด็กเดินเตาะแตะ ล้มลุกคลุกคลานอยู่เช่นเดิม หรือนี่อาจจะเป็นยุทธศาสตร์การเมืองโลกต่อประเทศไทย ที่กำกับโดยสหรัฐฯ ชาติมหาอำนาจที่ครอบงำการเมืองไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้อาจด้วยสภาพภูมิศาสตร์การเมืองของไทยในอินโดจีนและเอเชียตะวันออก จึงถูกวางยาประเทศไทยไว้ไม่ให้เข็มแข็ง ยอมรับเฉพาะรัฐบาลเด็กดี ที่โลกมหาอำนาจเรียกใช้เมื่อไหร่ก็ได้?

นัก ทฤษฎีปฏิวัติส่วนใหญ่่ใช้เวลาไม่น้อย หมดไปกับขวดเบียร์ และถกกันทั้งคืนเกี่ยวกับ 100 ปัญหาที่(อาจจะ) เกิดขึ้นเพราะการต่อสู้ มากกว่าจะโฟกัสไปยังยุทธวิธีเดียวที่จะชนะได้ ซึ่งมีบทเรียนมากกมายจากทั่วโลกคือ “การขับเคลื่อนร่วมสู้กับมวลชน ให้มวลชนนำหน้า เคารพซึ่งกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ” คนที่คิดเรื่องแพ้มากกว่าคิดเรื่องชนะ มักจะสู้ไปถอยไป และก็อาจจะไม่เคยชนะเลยก็ได้”

จริงอยู่มันมีความแตกต่างของไทยกับหลายประเทศ ทุกการต่อสู้จะมีเอกลักษณ์บางอย่างที่เป็นตัวแปรนิดๆ หน่อยๆ เช่น เปรียบเทียบไทยกับเกาหลีใต้ เราก็อาจจะมีข้ออ้าง หรือคำอธิบาย (ที่เป็นเรื่องจริง)ได้ว่า คนเกาหลีใต้โชคดีกว่าไทย ที่สู้กับเฉพาะทหารและนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ เท่านั้น ไม่เหมือนประเทศไทย ที่สลัดการใช้อำนาจมิชอบของทหารและเหลือบที่เกาะกินยังไม่หลุดเสียที เพราะต้องสู้แบบหนึ่งต่อสี่ ไม่ใช่หนึ่งต่อสองแบบเกาหลีใต้ เพราะเรามีชนชั้นสูงเพิ่มเข้ามาด้วย กลายเป็นการต่อสู้ของประชาชนที่ไม่จัดตั้ง (1) กับ ทหารโง่ (1) +พรรคการเมืองไดโนเสาร์ (2) + ชนชั้นสูงเต่าล้านปี (3) และ + สงครามจิตวิทยามวลชนของสหรัฐฯ (4))

แต่นับตั้งแต่เหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนพฤษภาคปีที่ผ่านมา และการเดินหน้าสู้ต่อเนื่องของคนเสื้อแดง ในหลากหลายรูปแบบในเมืองไทย ทำให้นานาชาติจับตามองอย่างไม่กระพริบ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งนี้เพราะ พลังประชาชนกว่าล้านคนในประเทศไทย ที่ร่วมขับเคลื่อนกับคนเสื้อแดงมาตลอดสองปี ทำให้นานาชาติเริ่มให้ความสำคัญ ต่อความจริงจังของการต่อสู้ และวิตกกังวลต่อความล่อแหลมที่อาจจะมีความรุนแรงในการเปลี่ยนผ่านทางการ เมืองท้ังในประเทศไทย ทั้งการเมืองเลือกตั้งและการเมืองรัชทายาท ในขณะที่ดูเหมือนกับว่าไม่เคย – Take it seriously – กับประเทศไทยมากเท่านี้มา ซึ่งจากการพูดคุยกับคนต่างชาติ เนื่องเพราะตราบใดที่พวกเขายังมีพื้นที่การท่องเที่ยวโดยไม่ถุกรบกวน การเมืองไทยก็ไม่ใช่ปัญหา และสำหรับคนที่เป็นนักต่อสู้ ก็มองว่า “การเมืองไทยเป็นการเมืองที่ “ไม่มีกระดูกสันหลัง – ลื่นไหลไปได้เรื่อยๆ” จนไม่มีอะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเข้ามาสนับสนุนการต่อสู้ของคนไทย

แต่สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไป . .

การต่อสู้ของคนเสื้อแดงอาจจะทำให้การเมืองไทยมีถูกมองว่าไม่มีกระดูกสัน หลัง สามารถสร้างกระดูกสันหลังขึ้นมาก็ได้ ถ้ายึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพราะมันเป็นการลุกขึ้นสู้ครั้งยิ่งใหญ่และต่อเนื่องยาวนานที่สุดใน ประวัติศาสตร์ 100 ปีของไทย นับตั้งแต่การลุกขึ้นสู้ของกลุ่ม “ผีบุญ” ในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ ในปี 2444 – 2445 ซึ่งปีนี้ก็ครบรอบ 110 ปี ของผู้กล้า ที่ประวัติศาสตร์ไทยเรียกพวกเขาว่า “กบถผีบุญ”

กบถ ผีบุญ คือการต่อสู้ของชนชั้นล่างกับชนชั้นสูงในอาณาบริเวณที่ถูกเรียกว่าประเทศไทย ในปัจจุบัน เป็นการจุดประกายการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม เสรีภาพ และเรียกร้องแนวนโยบายรัฐที่มุ่งตอบสนองคนชั้นล่าง และต่อต้านระบบการขูดรีดภาษีจากคนจนเพื่อเอามาหล่อเลี้ยงเมืองหลวง โดยที่เงินภาษีกว่า 80% ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาความอำนวยสะดวกให้เมืองหลวงเท่านั้น โดยปล่อยให้ภูมิภาคอดยาก ยากแค้นและขาดแคลนไปเสียทุกสิ่ง ผ่านไป 110 ปี แนวนโยบายปล้นคนชนบทเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเมืองก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นความจริงที่ภูมิภาคห่างไกลในประเทศไทยต้องทนกล้ำกลืนมาจนถึงบัดนี้

กระนั้นก็ตาม ทั้งคนเสื้อแดงและคนที่เอาใจช่วยคนเสื้อแดง ก็ยังตุ้มๆ ต่อมๆ ไปกับท่าทีของแกนนำเป็นระยะๆ ที่ดูเหมือนว่ามุ่งเรื่องการขับเคลื่อนทางยุทธวีธีมากกว่าจัดขบวนการต่อสู้ให้เป็นประชาธิปไตย ขณะเดียวกันพวกเราก็เอาใจช่วยแกนนอน ที่ไม่กล้านำเพราะเข้าใจดีว่าไม่ควรนำ และเริ่มมีความหวังกับมวลชนคนเสื้อแดง ที่เข็มแข็ง มีวินัย มุ่งมั่น และตาสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคง จนเริ่มสร้างความหวังลึกๆ ในใจว่า “ฤาครั้งนี้จะเรียกได้ว่าเป็นการลุกขึ้นสู้ของประชาชในประเทศไทยอย่างเต็มภาคภูมิได้เสียที”

ยามนี้ การศึกษาบทเรียนขบวนการต่อสู้ของคนเกาหลีใต้ จนสามารถปลดแอกทหารในทางการเมือง(โดยทางตรง) ได้ในปี 2531 อาจจะมีประโยชน์ที่จะนำมาใช้ศึกษาเทียบเคียงกับการเมืองไทยได้บ้าง เพราะไทยเองก็เคยคิดว่าก้าวพ้นระบบทหารมาได้แล้วเมื่อการลุกขึ้นสู้ในเดือน พฤษภาคม 2535

ก้าวย่างที่ต้องรอบคอบเพื่อชัยชนะอย่างยั่งยืน

คนต่างชาติไม่สนใจการเมืองไทยอย่างแท้จริงมาก่อน จนกระทั่งเหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ของคลื่นคนเสื้อแดงที่เพื่อความเข้มข้นใน ทุกขณะเขาบอกข้าพเจ้าว่า “การเมืองไทย ประเทศไทย ไม่มีกระดูกสันหลัง” เพราะเขาเห็นว่าไม่มีใครยึดหมั่นในหลักการหรืออุดมการณ์ เล่นการเมืองกันไปหมดไม่ว่าฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายขวา เจราจาและปรานีปรานอมระหว่างกัน หรือที่เริ่มพูดกันมากขึ้นว่ายุทธวิธี “สู้ไป กราบไป” โดยไม่เคารพในอุดมการณ์และหลักการประชาธิปไตยประชาชน

วิถีการต่อสู้ “แบบไทยๆ” ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน จึงสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะในหมู่ประชาขนและนักกิจกรรมใน ประเทศไทยเท่านั้น แต่ในหมู่นักผู้ห่วงใย และนักประชาธิปไตยนานาชาติด้วย เพราะสำหรับเขา “เหลืองที่เป็น NGO ที่เขารู้จักก็อ้างว่า “ทำเพื่อประชาธิปไตย” และ “แดง” ที่เริ่มต้นจากค่ายพรรคการเมืองที่เขาเห็นว่าไม่โปรงใส ก็อ้างว่า ” เพื่อประชาธิปไตย”

แต่คนเสื้อแดงกำลังพิสูจน์กับโลกว่า “เขาจริงจังในการต่อสู้” และนั่นก็ต้องยืนยันกับประชาคมคนไทย และประชาคมโลกด้วยยุทธวิธีที่ตรงไปตรงมา ไม่มองทุกอย่างเป็นเกมส์การเมือง ที่มักบิดเบี้ยว สกปรกและทุกคนเบือนหน้าหนีอีกต่อไป

สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอมอบหนังสือ “ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลีที่ข้าพเจ้าจัดทำในรูปแบบ PDF นี้ ให้กับทุกคน และขอคารวะวีรชนคนไทยที่เสียสละชีวิตเพื่อประชาธิปไตยไทยตลอด 100 กว่าปี แห่งถนนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ขออย่าได้ตัดทอนรายชื่อเหล่านี้ แม้จะกินพื้นที่เวบก็ตาม แต่ขอให้ได้รำลึกถึงพวกเขาในฐานะคนมีชื่อ หรือไม่มีชื่อ ที่ไม่ใช่ตัวเลข 77 41 44 หรือ 91 คน อีกต่อไป

>1000+6+1+2+1+77+41+48+91+?????

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการสังหารของมาเพียการเมืองไทยนับตั้งแต่ปฏิวัติล้มปรีดีและคณะราษฎร์ ปี 2492

เท่าที่รวบรวมได้ 290 คน ขอบคุณ และคารวะวีรชนทุกท่าน

การปราบปรามกลุ่มปรีดีในปี 2492 หลังกบฎวังหลวง

4 รัฐมนตรี และนายตำรวจที่สนับสนุนปรีดี

  1. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ และเป็นอดีตรัฐมนตรีถึง 6 สมัย,
  2. นายถวิล อุดล อดีต ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ,
  3. นายจำลอง ดาวเรือง อดีต ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม
  4. ดร.ทองเปลว ชลภูมิ อดีต ส.ส.จังหวัดนครนายก และเลขาธิการพรรคแนวรัฐธรรมนูญ
  5. พันตรีโผน อินทรทัต ถูกกระสุนปืนยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าผาก ศพอยู่ที่พบที่อำเภอดุสิต
  6. พันตำรวจเอกบรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล

2495

  1. เตียง ศิริขันท์ ถูกฆ่ารัดคอและเผาศพทิ้ง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2495 ในสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร

30 มิถุนายน 2502

  1. ศุภชัย ศรีสติ กรรมกรที่ถูกตัดสินประหารด้วยมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์

31 พฤษภาคม 2504

  1. ครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารชีวิต ข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับ
  2. ทองพันธ์ สุทธิมาศ

5 พฤษภาคม 2509

  1. จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิด นักเขียน และนักสู้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เชิงเขาภูพาน

ช่วงปราบปรามคอมมิวนิสต์ มีหลายการประมาณการตัวเลขผู้เสียชีวิต ไม่มีใครรู้ได้แน่ว่ามีตัวเลข ร้อย พัน หรือหมื่น บางคนประมาณการสูงถึง 30,000 คน

รายชื่อผู้เสียชีวิตในช่วงและเนื่องจากเหตุการณ์ 14 -16 ตุลาคม 2516

มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน,

ผู้เสียชีวิตเพื่อประชาธิปไตยกลุ่มเดียวที่ได้รับการพระราชทานเพลิงศพ

ข้อมูลจากเวบไซด์ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

  1. นายคธากร ชีพธำรง อายุ 18 ปี นักเรียนปีที่ 4 พาณิชยการเซนต์จอห์น ถูกตำรวจยิง
  2. นายคง เงียบตะคุ อายุ 28 ปี ลูกจ้างคนงาน ได้ยืนดูเหตุการณ์อยู่ที่หน้าต่างชั้นบนของร้าน และถูกกระสุนปืนเข้าบริเวณคอด้านหลัง
  3. นายคงไฮ้ แซ่จึง อายุ 27 ปี ลูกจ้างคนขับรถยนต์ ถูกยิงด้วย M16 ที่สะโพกด้านซ้ายทะลุหน้าท้อง เสียชีวิตในวันที่ 16 ตุลาคม 2516
  4. นายจีระ บุญมาก อายุ 29 ปี นักศึกษาปริญญาโทสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นผู้ถือธงชาติเดินเข้าไปขอร้องมิให้ทหารยิงนักเรียน นักศึกษา และประชาชนบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์แต่กลับถูกยิง กระสุนปืนเจาะเข้าที่ขมับด้านซ้ายเสียชีวิตทันที
  5. นายจำรัส ประเสริฐฤทธิ์ อายุ 47 ปี ผู้ช่วยช่าง สังกัดโรงเบ็ดเตล็ด แผนกผลิต กองซ่อมรถพ่วงการรถไฟแห่งประเทศไทย
  6. ถูกยิงที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ณะที่กำลังไปช่วยเด็กนักเรียนที่ถือธงชาติ
  7. นายเจี่ยเซ้ง แซ่ฉั่ว อายุ 17 ปี ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ถูกยิงหน้ากรมประชาสัมพันธ์
  8. นายจันทรครุป หงษ์ทอง อายุ 16 ปี เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 1 โรงเรียนช่างกลบางซ่อน ถูกยิงทางด้านหลัง
  9. นายฉ่อง จ่ายพัฒน์ อายุ 50 ปี ช่างแก้เครื่องยนต์ ได้นำข้าวห่อไปบริจาคให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกทหารยิงกระสุนเข้าเหนือคิ้วทะลุศีรษะด้านหลังเสียชีวิตทันที
  10. นายชูศักดิ์ ไชยยุทะนันท์ อายุ 15 ปี นักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม ถูกยิง หน้าโรงเรียนเพาะช่าง
  11. นายชัยศิลป์ ลาดศิลา อายุ 25 ปี ช่างวิทยุ และโทรคมนาคมของสถานีวิทยุ 1 ปณ. และเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกยิงที่หน้าอก หน้าสำนักงานกองสลาก
  12. นายชีวิน ชัยโตษะ อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นปีที่๒ แผนกช่างกลโรงงาน โรงเรียนช่างกล
    พระนครเหนือ
  13. นายไชยยศ จันทรโชติ อายุ 16 ปี ช่างเชื่อมเรือ ถูกกระสุนปืนในขณะขับรถเมล์ขาว พุ่งเข้าชนรถถัง
  14. นางชูศรี พักตร์ผ่อง อายุ 42 ปี พับถุงกระดาษขาย ไปตามหาบุตรที่เชิงสะพานบางลำพู ขณะที่วิ่งหลบกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ ได้หกล้ม ละศีรษะฟาดพื้นอย่างแรง
    จึงเสียชีวิตขณะถูกนำส่งโรงพยาบาล
  15. นายดนัย กรณ์แก้ว อายุ 24 ปี พนักงานขายไอศครีม บริษัทฟอร์โมส จำกัด
    ได้ถูกแก๊สน้ำตา ขณะวิ่งหนีไปทางบางลำพู ถูกกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์
  16. นายตือตี๋ แซ่ตั้ง อายุ 24 ปี ช่างปูพื้นปาเก้ถูกยิงใต้รักแร้ซ้าย
  17. นายถนอม ปานเอี่ยม อายุ 19 ปี กุ๊กทำอาหารประจำโรงแรม ถูกยิง
    บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  18. นายทอง จันทราช อายุ 40 ปี ลูกจ้างขับรถยนต์ ถูกยิงบริเวณ
    หน้าโรงเรียนเพาะช่างพาหุรัด
  19. นายธาดา ศิริขันธ์ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาช่างยนต์วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
    ถูกยิงทะลุที่ซี่โครง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2516 เพราะไปดื่มฉลองที่ประชาชนได้รับชัยชนะ ระหว่างดื่มพูดถึง 3 ทรราช ทำให้ชาย 4 คนในร้านไม่พอใจ และลุกขึ้นชักปืนยิง บริเวณถนนวิสุทธิกษัตริย์ เสียชีวิตทันที
  20. นายนิยม อุปพันธ์ อายุ 20 ปี นักเรียนน ม. 5 แผนกช่างไฟฟ้าโรงเรียนช่างกลบางซ่อน เข้าร่วมในหน่วย “ฟันเฟือง” ถูกยิงกระสุนเข้ากะโหลกศีรษะข้างขวาหลังใบหู และกระสุนฝังใน เสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช
  21. นายนพ พรหมเจริญ อายุ 40 ปี กรรมกรท่าเรือ ถูกยิงกะโหลกศีรษะแตกหน้ากรมประชาสัมพันธ์
  22. นายนิติกร กีรติภากร อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นม.2 โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร ถูกตีและถูกแก๊สน้ำตา ที่บริเวณหน้าพระราชวังสวนจิตร และได้ถูกล้อมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์มีอาการประสาทหลอนและเป็นลมตลอดมา เสียชีวิตวันที่ 21 พฤศจิกายน 2516 จากอาการหัวใจวาย
  23. นายบรรพต ฉิมวารี อายุ 25 ปี นักศึกษาภาคค่ำชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    ไปร่วมเดินขบวน หกล้มหัวฟาดบาทวิถี แล้วมีคนล้มทับ แต่สามารถกลับถึงบ้าน และได้เสียชีวิตเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกในวันรุ่งขึ้น (15 ต.ค,)
  24. นายบัญทม ภู่ทอง อายุ 18 ปี ลูกจ้างทำงานโรงแรม ถูกยิง บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  25. นายประเสริฐ วิโรจน์ธนะชัย อายุ 19 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 4โรงเรียนช่างฝีมือ ปัญจวิทยา ที่บริเวณ สะพานผ่านฟ้าลีลาศขณะไปช่วยน้องที่ถูกยิงด้วM 16 จึงถูกยิง รวมทั้งนายสมควร แซ่โง้ว เพื่อนที่วิ่ง ตามมาจะเข้าช่วยก็ถูกยิงที่ท้อง และหน้าอก
  26. นายประสาน วิโรจน์ธนะชัย อายุ 17 ปีนักเรียนโรงเรียนภาษาศาสตร์ ถูกยิงด้วยเอ็ม 16 ที่คอและหน้าอก พรุนทั้งร่าง
  27. นายประเสริฐ เดชมี อายุ 19 ปี กำลังจะศึกษาต่อ ถูกยิงเสียชีวิต
  28. นายประยงค์ ดวงพลอย อาย ุ21 ปี ขับรถรับจ้างสองแถว ถูกยิงที่สมอง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม หน้าสถานีตำรวจสมุทรปราการ
  29. นายประณต แซ่ลิ้ม อายุ 28 ปี ลูกจ้างทำเป็ดย่าง ส่งตามภัตตาคาร ถูกยิง
  30. นายประยุทธ แจ่มสุนทร อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นม. 4 โรงเรียน ผดุงศิษย์พิทยา ถูกยิงที่หลังขณะเอาน้ำไปให้นักศึกษาที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  31. นายประวัติ ภัสรากุล อายุ 18 ปี ค้าขาย ถูกยิงหน้าอกทะลุหัวใจ เสียชีวิตทันที
  32. นายประสพชัย สมส่วน อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ขณะที่กำลังนั่งอยู่บนรถดับเพลิงที่ยึดมาได้ พร้อมกับกลุ่มนักเรียนได้ขับรถมุ่งไปทางบางเขน เพื่อไปบริจาคโลหิตที่โรงพยาบาลภูมิพลฯ ขณะที่รถผ่านบริเวณหน้ากรมป่าไม้บางเขต ถูกยิงที่หน้าท้องทะลุหลัง
  33. นายพูลสุข พงษ์งาม อายุ 20 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ โรงเรียนช่างกลวิทยา
    ถูกยิงที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กระสุนเข้าหน้าอกขวา ถูกปอดแล้วทะลุเอวซ้าย
  34. นายพันธุ์สิริ เกิดสุข อายุ28 ปี พลฯ สำรองพิเศษกำลังรอติดยศ (นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ถูกยิงที่รักแร้ซ้ายไปทะลุซี่โครงขวา
  35. นายมณเฑียร ผ่องศรี อายุ 20 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนช่างกลนนทบุรี ถูกยิง บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ กระสุนเข้าตรงขมับทะลุท้ายทอย เสียชีวิตทันที
  36. สามเณรมนตรี โล่ห์สุวรรณ อายุ 15 ปี สามเณรที่กำลังศึกษาบาลีมัธยมสาธิต วัดบางแพรกเหนือ จังหวัดนนทบุรี ถูกยิงจากเฮลิคอปเตอร์ ที่บริเวณวัดบวรนิเวศ ถูกกระสุนเข้ากลางศีรษะ
  37. นายมงคล ปิ่นแสงจันทร์ อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นม. 2 โรงเรียน อำนวยศิลป์ธนบุรี ถูกยิงบริเวณหน้าโรงเรียนเพาะช่าง
  38. นายรัตน์ งอนจันทึก อายุ 40 ปี พนักงานขับรถบรรทุก 10 ล้อ ถูกยิงที่ศีรษะและหน้าอก
  39. นายเรียม กองกันยา อายุ27 ปี ขับรถสามล้อเครื่องถูกยิง บริเวณใกล้หัวถนนนครสวรรค์ โดยตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ในขณะขับรถให้นักเรียน และบาดเจ็บสาหัส ได้คลานไปหลบกระสุนบริเวณใกล้ๆ กัน เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศให้ผู้ที่ไม่ใช่พวกก่อการจลาจลออกมา นายเรียมจึงได้คลานออกมา และถูกยิงเสียชีวิตทันที
  40. นายเลิศ คงลักษณ์ อายุ 46 ปี ลูกจ้างสำนักงาน ก.ต.ป. ถูกไฟคลอก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เนื่องจากสำนักงานกองติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ถูกประชาชนเผา
  41. นายวิจิน บุญส่งศรี อายุ 19 ปี เป็นช่างเครื่องถูกยิงสะบักขวา
  42. นายวิชัย สุภากรรม อายุ 18 ปี คนงานโรงงานทอผ้า ถูกยิงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  43. นายวิเชียร พร้อมพาณิชย์ อายุ 25 ปี นักศึกษาแพทย์ปีที่ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    สติฟั่นเฟือน หลังจากได้ไปช่วยรักษาผู้บาดเจ็บ บริเวณกรมประชาสัมพันธ์ ้ผูกคอตายเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2517
  44. นายศิลบุญ โรจนแสงสุวรรณ อายุ 18 ปี พ่อค้าขายอาหารสด ถูกยิงที่หน้าอกขวา บนดาดฟ้าตึกของบริษัทเดินอากาศไทย
  45. นายสมควร แซ่โง้ว อายุ 18 ปี ทำงานเป็นช่างซ่อมรถยนต์ และขับรถรับจ้าง
    ถูกยิงที่ศีรษะด้านหลัง เนื่องจากจะเข้าไปช่วย นายประเสริฐ และนายประสาน วิโรจน์ธนะชัย
  46. นายสมชาย เกิดมณี อายุ 20 ปี แผนกช่างวิทยุโรงเรียนช่างกลนนทบุรีถูกยิง หน้าโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย
  47. นายสุรพงษ์ บุญรอดค้ำ อายุ 16 ปี พนักงานขายผ้า ถูกยิง บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า โดนกระสุนเข้าที่หน้าอก 2 นัดศีรษะ 1 นัด
  48. นายสุดที ปิยะวงศ์ อาย ุ26 ปี รับจ้างทำลังไม้ถูกยิงที่ขมับ
  49. นายสมเกียรติ เพชรเพ็ง อายุ 19 ปี เป็นลูกจ้างขายแก๊ส ถูกยิง ที่บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช
  50. นายสุรินทร์ ศรีวีระวานิชกุล อายุ 20 ปี พนักขายแก๊ส ถูกยิงที่โคนขาขวาด้วยปืนเอ็ม 16 บริเวณบางลำพู
  51. นายสุภาพ แซ่หว่อง อายุ 16 ปี ช่างตัดเสื้อ ถูกยิง หน้ากรมประชาสัมพันธ์จากเฮลิคอปเตอร์ โดยกระสุนเจาะเข้าที่ไหปลาร้าทะลุสะโพก
  52. นายเสวี วิเศษสุวรรณ อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนอาชีวศิลป์ รับประทานอาหารเป็นพิษ อาหารนี้มีผู้นำไปบริจาค บริเวณท่าช้างวังหลวง เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2516
  53. นายสุกิจ ทองประสูตร อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นม. 1 โรงเรียนเสสะเวชวิทยา ได้ไปทำการช่วยระดมคนไปร่วมต่อสู้ทางฝั่งธนบุรี แต่ประสบอุบัติเหตุ รถที่นั่งไปชนกับสิบล้อ ถึงแก่ความตายบริเวณถนนเพชรเกษม
  54. นายสุพจนา จิตตลดากร อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นม. 1 โรงเรียนดุสิตพาณิชยการ ถูกกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกระสุนถูกที่ศีรษะ ไหปลาร้า และตามร่างกายอีกหลายแห่ง
  55. นายสุรศักดิ์ พวงทองอายุ 25 ปี ลูกจ้างบริษัทเอกชน ถูกยิงที่หน้ากรมประชาสัมพันธ์ โดยกระสุนปืนกลรถถัง เจาะเข้าระหว่างเข่าซ้ายทะลุเข่าขวา เสียชีวิตวันที่ 27 ตุลาคม 2516 โรงพยาบาลกลาง
  56. นายสาโรจน์ วาระเสถียร อายุ 48 ปี หัวหน้าแผนกจัดส่ง องค์การเภสัชกรรม ถูกลอบทำร้ายหลังจากกลับจากไปดูประชาชน บุกเข้าเผากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
  57. นายสุพจน์ เหรียญสกุลอยู่ดี อายุ 19 ปี ช่างทำเฟอร์นิเจอร์ ถูกยิงกระสุนเข้าท้ายทอยทะลุเบ้าตา จึงตกลงไปในคลอง บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เนื่องจากจะเข้าไปช่วยชายข้างเคียงที่ถูกยิง
  58. นายสมเด็จ วิรุฬผล อายุ 18 ปี นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกยิงทางด้านหลัง ทะลุอกและขาทั้ง 2 ข้าง จากทหาร-ตำรวจในกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
  59. นายสาย ฤทธิ์วานิช อายุ 44 ปี ช่างไม้ ถูกกระสุนปืนเข้าทางด้านหลังทะลุหน้าท้อง ขณะที่ผ่านไปหน้ากรมประชาสัมพันธ์
  60. นายแสวง พันธ์บัว อายุ 16 ปี รับจ้างทั่วไป ถูกยิง ที่หน้าผาก หน้ากรมสรรพากร เพราะไปช่วยนักเรียนหญิงที่ถูกแก๊สน้ำตา
  61. ด.ช. สมพงษ์ แซ่เตียว อายุ 14 ปี เป็นนักเรียนม. 1 โรงเรียนวัดมกุฎษัตริยาราม ถูกยิง บริเวณบางลำพู ขณะไปร่วมในเหตุการณ์
  62. นายสมพงษ์ พลอยเรืองรัศมี อายุ 20 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ถูกแทงสีข้างซ้ายเข้าทรวงอกขณะเข้าแย่งปืนจากทหาร ใกล้กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
  63. น.ส.หนูผิน พรหมจรรย์ อายุ 17 ปี นักศึกษา ป.กศ. ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช นั่งรถสองแถวเล็กไปร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ รถชนกัน ถูกกระแทกที่บริเวณศีรษะส่วนหน้า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  64. นายอภิสิทธิ์ พรศิริเลิศกิจ อายุ 18 ปี พนักงานขายอุปกรณ์วิทยุ ถูกยิงบริเวณขมับข้างซ้าย ขณะออกไปตามหาเพื่อน ที่บริเวณใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  65. นายอรรณพ ดิษฐสุวรรณ อายุ 17 ปี ทำงานกับหนังเร่ฉายต่างจังหวัด ถูกยิงโดยปืนกลรถถัง ที่สนามหลวง
  66. นายเอนก ปฏิการสุนทร อายุ 41 ปี เจ้าของร้านขายอาหาร ถูกยิงขณะบุกเข้ายึด
    กองบัญชาการนครบาลผ่านฟ้า
  67. นายเอี่ยมซวง แซ่โกย อายุ 22 ปี ลูกจ้าง ถูกยิงเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช
  68. วีรชนนิรนาม (สตรี)ถูกยิงที่อกทะลุหลัง ตกลงไปน้ำเสียชีวิตทันที ขณะไปร่วมเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ (ศพไม่มีญาติ)
  69. วีรชนนิรนาม (บุรุษ)
    ถูกยิง บริเวณหน้ากอง บัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า กระสุนปืนเข้าที่สีข้างซ้าย
  70. ไม่มีข้อมูล
  71. ไม่มีข้อมูล
  72. ไม่มีข้อมูล
  73. ไม่มีข้อมูล
  74. ไม่มีข้อมูล
  75. ไม่มีข้อมูล
  76. ไม่มีข้อมูล
  77. ไม่มีข้อมูล

วีรชนที่เสียชีวิตจากการสังหารโหด 6 ตลาคม 2519

ศพวีรชนที่ระบุชื่อได้มีการมอบให้ญาติไปจัดการตามประเพณี 30 คน ชาย 26 คน หญิง 4 คน

  1. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  2. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  3. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  4. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  5. ไม่ทราบชื่อ
  6. ไม่ทราบชื่อ
  7. ไม่ทราบชื่อ
  8. ไม่ทราบชื่อ
  9. ไม่ทราบชื่อ
  10. ไม่ทราบชื่อ
  11. นายวันชาติ ศรีจันทร์สุข ผูกคอตายที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน
  12. นายพงษ์พันธ์ เพรามธุรส ถูกระเบิด
  13. นายวิชิตชัย อมรกุล ถูกของแข็งมีคม ถูกรัดคอ
  14. นายอับดุลรอเฮง สาตา ถูกกระสุนปืน
  15. นายมนู วิทยาภรณ์ ถูกกระสุนปืน
  16. นายสุรสิทธิ์ สุภาภา ถูกกระสุนปืน
  17. นายสัมพันธ์ เจริญสุข ถูกกระสุนปืน
  18. นายสุวิทย์ ทองประหลาด ถูกกระสุนปืน
  19. นายบุนนาค สมัครสมาน ถูกกระสุนปืน
  20. นายอภิสิทธิ์ ไทยนิยม ถูกกระสุนปืน
  21. นายอนุวัตร อ่างแก้ว ถูกระเบิด
  22. นายวีระพล โอภาสพิไล ถูกกระสุนปืน
  23. นายสุพจน์ พันธุ์กาฬสินธุ์ ถูกกระสุนปืน
  24. นางสาวภรณี จุลละครินทร์ ถูกกระสุนปืน
  25. นายยุทธนา บูรศิริรักษ์ ถูกกระสุนปืน
  26. นายภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ถูกกระสุนปืน
  27. นางสาววัชรี เพชรสุ่น ถูกกระสุนปืน
  28. นายดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง ถูกกระสุนปืน
  29. นายไพบูลย์ เลาหจีรพันธ์ ถูกกระสุนปืน
  30. นายชัยพร อมรโรจนาวงศ์ ถูกกระสุนปืน
  31. นายอัจฉริยะ ศรีสวาท ถูกกระสุนปืน
  32. นายสงวนพันธุ์ ซุ่นเซ้ง จมน้ำ
  33. นางสาววิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ ถูกกระสุนปืน
  34. นายสมชาย ปิยะสกุลศักดิ์ ถูกกระสุนปืน
  35. นายวิสุทธิ์ พงษ์พานิช ถูกกระสุนปืน
  36. นายสุพล พาน หรือ บุญทะพาน ถูกกระสุนปืน
  37. นายศิริพงษ์ มัณตะเสถียร ถูกกระสุนปืน
  38. นายวสันต์ บุญรักษ์ ถูกกระสุนปืน
  39. นายเนาวรัตน์ ศิริรังษี ถูกกระสุนปืน
  40. นายปรีชา แซ่เซีย ถูกของแข็ง อาวุธหลายชนิด และถูกรัดคอ
  41. นางสาวอรุณี ขำบุญเกิด ถูกกระสุนปืน

รายชื่อเหล่านี้ยังไม่นับรวมถึงผู้สูญหายอีกจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ติดตามหาศพไม่พบหรือมีการทำลายศพ
โดยเฉพาะนายจารุพงษ์ ทองสินธุ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่โดนคนของรัฐลากคอที่สนามฟุตบอล

เหตุการณ์พฤษภาเลือดปี 2535

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย ดังนี้

  1. ทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาแรงงาน
  2. กฤษฎา เนียมมีศรี ถูกตีและถูกกระสุนปืน
  3. กิตติกรณ์ เขียวบริบูรณ์ ถูกกระสุน
  4. กิตติพงษ์ สุปิงคลัด ถูกกระสุน
  5. เกรียงไกร จารุสาร ถูกกระสุน
  6. กอบกุล สินธุสิงห ถูกกระสุน
  7. จักรพันธ์ อัมราช ถูกกระสุน
  8. จักราวุธ นามตะ ถูกกระสุน
  9. เฉลิมพล สังข์เอม สมองบอบช้ำ
  10. ชัยรัตน์ ณ นคร ถูกกระสุน
  11. ซี้ฮง แซ่เตีย ถูกกระสุน
  12. ณรงค์ ธงทอง ถูกกระสุน
  13. ทวี มวยดี ถูกตีศีรษะ
  14. ทวีศักดิ์ ปานะถึก ถูกกระสุน
  15. นคร สอนปัญญา ถูกกระสุน
  16. บุญมี แสงสุ่ม
  17. บุญมี วงษ์สิงโต ถูกกระสุน
  18. บุญคง ทันนา ถูกกระสุน
  19. ปรัชญา ศรีสะอาด ถูกกระสุน
  20. ประสงค์ ทิพย์พิมล ถูกกระสุน
  21. ปรีดา เอี่ยมสำอางค์ ถูกกระสุน
  22. พิพัฒน์ สุริยากุล ถูกกระสุน
  23. ภูวนาท วิศาลธรกุล ถูกกระสุน
  24. ภิรมย์ รามขาว ถูกกระสุน
  25. มะยูนัน ยีดัม ถูกกระสุน
  26. มนัส นนทศิริ ถูกกระสุน
  27. วีระ จิตติชานนท์ ถูกกระสุน
  28. วงเดือน บัวจันทร์ ถูกกระสุน
  29. วีรชัย อัศวพิทยานนท์ ถูกกระสุน
  30. ศรากร แย้มประนิตย์ ถูกกระสุน
  31. สมชาย สุธีรัตน์ ถูกกระสุน
  32. สำรวม ตรีเข้มถูกกระสุน
  33. สาโรจน์ ยามินทร์ ถูกกระสุน
  34. สมเพชร เจริญเนตร ถูกกระสุน
  35. สุชาต พาป้อ ถูกกระสุน
  36. สุรพันธ์ ชูช่วย
  37. สมาน กลิ่นภู่ ถูกกระสุน
  38. สัญญา เพ็งสา ถูกกระสุน
  39. หนู แก้วภมร ถูกกระสุน
  40. อภิวัฒน์ มาสขาว ถูกกระสุน
  41. เอกพจน์ จารุกิจไพศาล ถูกกระสุน
  42. เอียน นิวมีเก้น

รัฐประหาร 2549 และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

  1. 31 ตุลาคม 2549 นวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่พุ่งชนรถถังเพื่อประท้วงการปฏิวัติ และผูกคอตายประท้วงที่หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  2. 2 กันยายน 2551 ณรงค์ศักดิ์ กรอบไทสง ถูกกลุ่มพันธมิตรรุมตีเสียชีวิต

การประท้วงของคนเสื้อแดงปี 2552

  1. นายนัฐพงษ์ ปองดี อุดรธานี ถูกทำร้าย มัดมือแล้วผลักลงแม่น้ำเจ้าพระยา
  2. นายชัยพร กันทัง แพร ่ ถูกทำร้ายมัดมือแล้วผลักลงแม่น้ำเจ้าพระยา

วีรชนคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเพราะการให้ใบอนุญาตฆ่าโดยรัฐบาลอภิสิทธิระหว่าง 10 เม.ย.-19 พ.ค.”53

ที่มา สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการ
เมืองของกลุ่ม นปช.ตั้งแต่ 10 เม.ย.- 19 พ.ค.2553 รวม 89 ราย บาดเจ็บ 1,855 คน

  1. Mr. Hiroyuki Muramoto อายุ 43 ปี ถูกยิงอกซ้าย เสียชีวิตก่อนถึง รพ. (ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์)
  2. นาย สวาท วงงาม อายุ 43ปี ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย
  3. นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข อายุ 36 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
  4. นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
  5. นาย จรูญ ฉายแม้น อายุ 46 ปี ถูกยิงอกขวากระสุนฝังใน
  6. นาย วสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
  7. นาย สยาม วัฒนนุกุล อายุ 53 ปี ถูกยิงอก ทะลุหลัง
  8. นาย มนต์ชัย แซ่จอง อายุ 54 ปี ระบบหายใจล้มเหลวจากโรคถุงลมโป่งพอง เสียชีวิตที่รพ.
  9. นาย อำพน ตติยรัตน์ อายุ 26 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
  10. นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
  11. นาย ไพรศล ทิพย์ลม อายุ 37 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย เสียชีวิตที่ รพ.
  12. นาย เกรียงไกร ทาน้อย อายุ 24 ปี ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง เสียชีวิตที่รพ.
  13. นาย คะนึง ฉัตรเท อายุ 50 ปี ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังใน
  14. พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อายุ 25 ปี แผลเปิดกะโหลกท้ายทอย
  15. พลฯ อนุพงษ์ เมืองร าพัน อายุ 21 ปี ทรวงอกฟกช ้า น่อง 2 ข้างฉีกขาด
  16. นายนภพล เผ่าพนัส อายุ 30 ปี ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตที่ รพ.
  17. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม อายุ 43 ปี ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาด เสียชีวิตที่รพ.
  18. พลฯ สิงหา อ่อนทรง อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด
  19. พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี อายุ 22 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  20. นายสมิง แตงเพชร อายุ 49 ปี ถูกยิงศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  21. นาย สมศักดิ์ แก้วสาน อายุ 34 ปี ถูกยิงหลัง ทะลุอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
  22. 22 นาย บุญธรรม ทองผุย อายุ 40 ปี ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน
  23. 23 นาย เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ อายุ 29 ปี แผลที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
  24. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 40-50 บาดแผลเข้าสะโพกขวาตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ เสียชีวิตที่รพ.
  25. นาย มานะ อาจราญ อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะ ด้านหลังทะลุหน้า
  26. นายอนันต์ สิริกุลวานณิชย์ อายุ 54 ปี ถูกยิงเสียชีวิต
  27. นางธันยนันท์ แถบทอง อายุ 50 ปี ถูกสะเก็ดระเบิด เสียชีวิตถนนสีลม
  28. รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ วันที่ 28 เมษายน 2553
  29. พลทหารณรงค์ฤทธิ สาระ เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ
  30. สต.อ.กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันเพ็ญ อายุ 38 ปี มีบาดแผลกระสุนปืน เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ
  31. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี อายุ 35 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณหน้าอกด้านขวา เสียชีวิต รพ.
  32. พล.ต.ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 58 ปี ถูกยิงที่บริเวณ ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  33. นายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี มีแผลเปิดบริเวณท้ายทอย เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ
  34. นายปิยะพงษ์ กิติวงค์ อายุ 32 ปี ถูกยิง เสียชีวิตที่สวนลุมพินี
  35. นายประจวบ ศิลาพันธ์ ถูกยิง สวนลุมพินี
  36. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ ถูกยิง ที่ศาลาแดง
  37. นายอินทร์แปลง เทศวงศ์ อายุ 32 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  38. นายเสน่ห์ นิลเหลือง อายุ 48 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  39. นายชัยยันต์ วรรณจักร อายุ 20 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  40. นายบุญทิ้ง ปานศิลา อายุ 25 ปี ถูกยิงที่คอ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ (อาสาสมัครวชิระฯ)
  41. นายมนูญ ท่าลาด - เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
  42. นายพัน คำกลอง อายุ 43 ปี ถูกยิงหน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
  43. นายกิติพันธ์ ขันทอง อายุ 26 ปี แผลที่ชายโครง เสียชีวิตที่รพ.
  44. นายสรไกร ศรีเมืองปุน อายุ 34 ปี แผลที่ศีรษะ
  45. ชายไม่ทราบชื่อ โดนยิงขาหนีบ ราชปรารภ
  46. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 14 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน ซอยหมอเหล็ง
  47. นายชาญณรงค์ พลอยศรีลา อายุ 32 ปี ถูกยิงหน้าท้องและแขน ที่ราชปรารภ
  48. นายทิพเนตร เจียมพล อายุ 32 ปี แผลที่ศีรษะ
  49. นายสุภชีพ จุลทัศน์ อายุ 36 ปี แผลที่ศีรษะ
  50. นายวารินทร์ วงศ์สนิท อายุ 28 ปี แผลที่หน้าอกขวา
  51. นายมานะ แสนประเสริฐศรี อายุ 22 ปี แผลถูกยิงที่ศีรษะ (อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง)
  52. นางสาวสันธนา สรรพศรี อายุ 34 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขนเสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
  53. นายธันวา วงศ์ศิริ อายุ 26 ปี แผลที่ศีรษะ
  54. นายอำพล ชื่นสี อายุ 25 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  55. นายสมพันธ์ ศรีเทพ 25 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  56. นายอุทัย อรอินทร์ 35 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  57. นายพรสวรรค์ นาคะไชย อายุ 23 ปี ถูกยิงหลายตำแหน่ง เสียชีวิตที่รพ.
  58. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง อายุ 25 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  59. นายประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี เสียชีวิตที่เจริญกรุงประชารักษ์
  60. นายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล อายุ 25 ปี ถูกยิงที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
  61. นายวงศกร แปลงศรี อายุ 40 ปี ถูกยิงที่หน้าอก เลือดออกในช่องอก เสียชีวิตที่รพ.
  62. นายสมชาย พระสุวรรณ อายุ 43 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  63. นายสุพรรณ ทุมทอง อายุ 49 ปี
  64. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 26 ปี
  65. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์ อายุ 27 ปี ถูกยิงใต้ราวนมขวา เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  66. นายสุพจน์ ยะทิมา อายุ 37 ปี
  67. นานธนากร ปิยะผลดิเรก อายุ 50 ปี
  68. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ อายุ 31 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ
  69. นายสมพาน หลวงชม อายุ 35 ปี ถูกยิงที่ท้อง
  70. นายมูฮัมหมัด อารี(ออง ละวิน ชาวพม่า) อายุ 40 ปี มีแผลที่หน้าอกทะลุหลัง
  71. MR.Polenchi Fadio ( นักข่าวชาวอิตาลี ) อายุ 48 ปี ถูกยิงที่หน้าอก
  72. นายธนโชติ ชุ่มเย็น อายุ 34 ปี บาดแผลกระสุนปืนทะลุไตซ้ายและเส้นเลือดใหญ่
  73. หญิงไม่ทราบชื่อ ถูกยิง
  74. นายถวิล คำมูล อายุ 38 ปี มีแผลที่ศีรษะ
  75. ชายไม่ทราบชื่อ มีแผลที่ศีรษะ
  76. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ อายุ 44 ปี
  77. นายปรัชญา แซ่โค้ว อายุ 21 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายตับ
  78. นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด หัวใจ
  79. นายมงคล เข็มทอง อายุ 37 ปี ถูกยิงปอด หัวใจ (อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง)
  80. กมนเกด อัคฮาดอายุ 25 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง
  81. นายวิชัย มั่นแพร อายุ 61 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด ตับ
  82. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด
  83. ชายไม่ทราบชื่อ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก สมองช ้า จากการถูกระแทก
  84. นายนรินทร์ ศรีชมภู บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง เสียชีวิตที่รพ.
  85. น.ส.วาสินี เทพปาน
  86. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ อายุ 60 ปี แผลที่ก้น เสียชีวิต 21 พค.53 06.15น
  87. นายกิตติพงษ์ สมสุข อายุ 20 ปี ไฟใหม้ตึกเซ็นทรัลเวิร์ลพบศพวันที่ 21 พค.2553 เวลา 15.00 น.
  88. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว อายุ 33 ปี ขอนแก่น แผลที่หน้าอก
  89. นายเพลิน วงษ์มา อายุ 40 ปี อุดรธานี เสียชีวิตที่รพ.20 พค.53 เวลา 06.25น.
  90. นายสมัย ทัดแก้ว อายุ 36 ปี เสียชีวิตจากการปะทะหลายจุด(เป็ยรายชื่อที่เพิ่มมาจากศูนย์เอราวัณ ซึ่งตามบันทึกของ สพฉ.ไม่มีชื่อนี้)

หมายเหตุ ทั้งหมดเป็นรายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุคาวมไม่สงบ ในเขต กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่ วันที่12 มีนาคม 2553 ถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2553

ผู้เสียชีวิตจากการกวาดล้าง

นอกจากผู้เสียชีวิตในช่วงการชุมนุม 91 ศพแล้ว หลังยุติการชุมนุม คนเสื้อแดงถูกสังหารเพิ่มอีก 5 ราย คือ

  1. ศักรินทร์ กองแก้ว (อ้วน บัวใหญ่) เสื้อแดงโคราชที่เคยมีบทบาทไปยกป้ายประท้วงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
  2. สวาท ดวงมณี การ์ดเสื้อแดงระยอง ถูกยิงเสียชีวิต
  3. นายธนพงศ์ แป้นมี การ์ดของนาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถูกรถกระบะพุ่งชนเสียชีวิต
  4. กฤษดา กล้าหาญ (น้องเจมส์ การ์ด DJ อ้อ) เชียงใหม่ ถูกกระหน่ำยิงด้วยปืน M 16
  5. น้อย บรรจง (แดง คชสาร) เชียงใหม่ ถูกกระหน่ำยิงด้วยอาวุธปืนร่วมร้อยนัด

บางคนบอกว่ามีหลายคนที่ถูกสังหารหลังปราบปราบเสื้อแดงที่ไม่สามารถระบุได้

มีผู้เสียชีวิตจากการปกป้องสิทธิมนุษยชน ช่วงปี พ.ศ.2542-2548 จนถึงปัจจุบันดังนี้

  1. นายทองม้วน คำแจ่ม จ.หนองบัวลำภู
  2. นายสม หอมพรมมา จ.หนองบัวลำภู
  3. นายอารี สงเคราะห์ จ.สุราษฎร์ธานี
  4. นายจุรินทร์ ราชพล จ.ภูเก็ต
  5. นายนรินทร์ โพธิ์แดง จ.ระยอง
  6. นายพิทักษ์ โตนวุธ จ.พิษณุโลก
  7. นายฉวีวรรณ ปึกสูงเนิน จ.นครราชสีมา
  8. นายสุวัตน์ วงศ์ปิยะสถิตย์ จ.สมุทรปราการ
  9. นายบุญสม นิ่มน้อย จ.เพชรบุรี
  10. นายปรีชา ทองแป้น จ.นครศรีธรรมราช
  11. นายบุญฤทธิ์ ชาญณรงค์ จ.สุราษฎร์ธานี
  12. นายบุญยงค์ อินต๊ะวงศ์ จ.เชียงราย
  13. นายคำปัน สุกใส จ.เชียงใหม่
  14. นายชวน ชำนาญกิจ จ.นครศรีธรรมราช
  15. นายสำเนา ศรีสงคราม จ.ขอนแก่น
  16. นายสมชาย นีละไพจิตร จ.กรุงเทพฯ
  17. นายสุพล ศิริจันทร์ จ.ลำปาง
  18. นางพักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น จ.อ่างทอง
  19. นายเจริญ วัดอักษร จ.ประจวบคีรีขันธ์
  20. พระสุพจน์ สุวโจ จ.เชียงใหม่

แล้วยังมีอีก กี่สิบ กี่ร้อย กี่พัน หรือกี่หมื่นชื่อที่ตกลงเพราะผลพวงแห่งการปราบปรามนักต่อสู้เพื่อความเท่า เทียมและเพื่อประชาธิปไตย ที่ไม่มีใครรับรู้ และจดจำ