WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 13, 2011

"ดร.สุเมธ-ดร.โกร่ง"รับจ๊อบยักษ์ ฟื้นฟูไทย-จัดระเบียบน้ำ "ปู"รับอานิสงส์-สยบการเมือง

ที่มา มติชน



วิเคราะห์




ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ กับกรุงเทพมหานครที่มีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์กุมการบริหารอยู่ยังคงดำเนิน ต่อไป

ความขัดแย้งดังกล่าว รัฐบาลเป็นฝ่ายตั้งรับ เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องน้ำท่วมมาตั้งแต่ต้น

และ ความล้มเหลวในการป้องกันน้ำครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอดจนความขลุกขลักในการบรรเทาเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลดังขึ้นเรื่อยๆ

โพ ลสำรวจความคิดเห็นประชาชนให้คะแนนรัฐบาล "สอบตก" ในการทำงานรอบ 3 เดือน แม้จะให้โอกาส น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมต่อไปก็ตามที

เสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวนำไปสู่การก่อกระแสกดดันให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่ง

เสียงวิจารณ์ดังกล่าว เกิดกระแสปรับคณะรัฐมนตรีหลังน้ำลด

และนำไปสู่การเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

แต่ขณะที่เสียงวิจารณ์รัฐบาลดังกระหึ่ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลก็ได้จัดแถลงข่าวเปิดตัวคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขึ้นมา 2 ชุด

ชุดแรกชื่อ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ทำหน้าที่จัดระเบียบการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยใหม่ทั้งหมด

ชุดที่สองชื่อ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. ทำหน้าที่เรียกความเชื่อมั่นและฟื้นฟูประเทศหลังประสบมหาอุทกภัย

คณะ กรรมการทั้งสองชุดได้รับแต่งตั้งขึ้นมาก่อนมหาอุทกภัยจะสิ้นสุด แต่ภารกิจที่ได้รับมอบหมายยิ่งใหญ่และท้าทาย เพราะมีผู้คาดการณ์เอาไว้ว่าเป็น 2 ทาง

ฝ่ายหนึ่งมองว่าหลังจากน้ำท่วมเศรษฐกิจไทยจะสะดุด สมควรหามาตรการรับรองให้ดี

อีก ฝ่ายหนึ่งมองว่าหลังน้ำท่วมจะเป็นโอกาสของเศรษฐกิจไทย เพราะเม็ดเงินและโครงการต่างๆ จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมหาศาล แต่ก็ต้องหามาตรการรับรองให้ดี

ดังนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะสะดุด หรือจะเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็ต้องมีมาตรการองรับให้ดี

การตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขึ้นมา จึงได้รับการขานรับ

อย่าง ไรก็ตาม ยังปรากฏสิ่งที่ตามมา หลังจากการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ดังกล่าว ทั้งนี้เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาทำงานในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ไม่ใช่ "คนคุ้นเคย" ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

หนึ่ง คือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมาตั้งแต่ต้น

อีกหนึ่ง คือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร คนที่เคยปฏิเสธรับตำแหน่งใดทางการเมืองจากพรรคเพื่อไทยมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว แม้แต่ตำแหน่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

แต่สำหรับภารกิจนี้ ดร.สุเมธยอมรับตำแหน่งที่ปรึกษา กยน. และ ดร.วีรพงษ์ยอมรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ กยอ.

ทั้งสองคนให้สัมภาษณ์ในทำนองเดียวกันว่า ภารกิจนี้ต้องทำ เพราะเรื่องที่ทำไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล หากแต่เป็นเรื่องของประเทศและประชาชน

สถานการณ์น้ำท่วม ณ เวลานี้อยู่เหนือ "การเมือง" จึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแบ่งพรรคแบ่งพวก

เท่ากับว่า ดร.สุเมธ และ ดร.วีรพงษ์ ยึดชัยภูมิที่สูงกว่า "การเมือง" เป็นจุดยืนในการรับภารกิจ

แม้การรับปาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ร้องขอให้มาทำงานช่วยชาติ ทำให้บรรดาฮาร์ดคอร์การเมืองหงุดหงิด แต่ทั้ง ดร.สุเมธ และ ดร.วีรพงษ์ได้แสดงวุฒิภาวะที่เหนือกว่าและตอบตกลงทำงาน

การเปิดเผยจุดยืนที่อยู่เหนือ "การเมือง" นี้ ทำให้มองเห็น "การเมือง" ชัดแจ้งขึ้น

มองเห็น "การเมือง" ที่มัวแต่ให้ความสำคัญพื้นที่ของตัวเองมากกว่าพื้นที่คนอื่น

มองเห็น "การเมือง" ที่ยังแบ่งสีแบ่งฝ่าย แบ่งพรรคแบ่งพวก

มองเห็น "การเมือง" ที่จับจ้องมองหาจุดโหว่เพื่อเปิดเกมทำร้ายฝ่ายตรงข้าม

มองเห็น "การเมือง" ที่มีแต่ทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลงไป เป็น "การเมือง" ที่ไม่เหมาะกับการกอบกู้สถานการณ์วิกฤตของประเทศ

ดังนั้น การแสดงจุดยืนของ ดร.สุเมธ และ ดร.วีรพงษ์ ที่ปักหมุดอยู่เหนือความขัดแย้ง และมุ่งทำงานแก้ไขปัญหาให้คนส่วนใหญ่ จึงเป็นการใช้ "การทำงาน" เอาชนะ "ไม่ทำงาน"

ใช้ "การสร้างสรรค์" เอาชนะ "การทำลาย"

ใช้ "ส่วนรวม" เอาชนะ "ส่วนตัว"

นอกจากนี้ การที่ ดร.สุเมธ และ ดร.วีรพงษ์ ตอบรับคำเชิญของรัฐบาล ส่ง ผลให้กระแสกระหน่ำรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่น้ำเริ่มท่วม และเกิดอาการ "เอาไม่อยู่" เริ่มผ่อนคลาย

เสมือนเป็น "บิ๊กแบ๊ก" มาขวางกระแสการเมืองที่เชี่ยวกรากเอาไว้

ทั้ง นี้อาจเป็นเพราะการตอบรับเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ทั้ง 2 คณะ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าประเทศไทยเผชิญหน้ากับวิกฤตมาถึงขีดสุด

ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้ามากอบกู้และฟื้นฟูประเทศ

ภารกิจนี้ลำพังใครคนใดคนหนึ่งมิอาจทำให้สำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย

การที่ ดร.สุเมธ และ ดร.วีรพงษ์ รับตำแหน่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯตามคำเชิญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงช่วยยั้งกระแสการเมืองมิให้ถล่มรัฐบาลหนักเท่าช่วงเวลาที่ผ่านมา


หน้า 3,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2554