WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 29, 2008

ขอประณาม (ล่วงหน้า) การทำรัฐประหาร! (1)

อ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนบทความเรื่อง “ขอประณาม (ล่วงหน้า) การทำรัฐประหาร!” เพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่คุกรุ่นอยู่ในปัจจุบัน

รวมทั้งเป็นการเตือนให้เห็นถึงผลเสียที่ร้ายแรง หากมีความพยายามเรียกร้องให้ทหารเข้ามาทำรัฐประหารอีก ความดังนี้...

“สถานการณ์การเมืองในขณะนี้มีความขัดแย้งมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผชิญหน้าและการปะทะกันระหว่างฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่ายต่อต้านพันธมิตรฯ ในคืนวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม จนมีกระแสกล่าวถึงเรื่องการทำรัฐประหารตามสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง ผมเห็นว่าการทำรัฐประหารนอกจากจะมิใช่เป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาแล้ว กลับจะทำให้สถานการณ์การเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศไทย เลวร้ายหนักลงไปอีก

1.เงื่อนไขของการทำรัฐประหารมีจริงหรือ
เป็นที่ทราบกันดีว่า การเมืองไทยเวียนว่ายกับการยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง เเละทุกครั้งที่มี “ปัญหา” ทางการเมือง (ซึ่งคนไทยก็ไม่เคยเข้าใจหรือเเกล้งทำเป็นไม่เข้าใจว่า โดยธรรมชาติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ต้องมีความเห็นเเตกต่างเป็นของปกติธรรมดา) ก็มักจะมีการพูดถึงรัฐประหาร โดยเฉพาะในขณะนี้มักมีการพูดกันมากว่า “รัฐบาลอย่าสร้างเงื่อนไขของการทำรัฐประหาร” หรือที่ทหารบางท่านกล่าวว่า “อะไรจะเกิดก็เกิด” คำพูดนี้สะท้อนอะไร ในความเห็นของผมไม่มี “เงื่อนไขของรัฐประหาร” อยู่จริง นอกเสียจากการสร้างสถานการณ์ หรือประโคมข่าวอะไรบางอย่างเพื่อใช้เป็น “ข้ออ้าง” (Pretext) ในการยึดอำนาจเท่านั้นเอง

อะไรคือเงื่อนไขของการทำรัฐประหาร หากย้อนดูอดีต การยึดอำนาจมักจะอ้างปัญหาคอร์รัปชั่น เเต่เกือบทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารนั่นเองที่มีข่าวพัวพันการทุจริต แจกผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ไม่เว้นแม้แต่การทำรัฐประหาร 19 กันยายน ที่ผ่านมา

ต่อมาก็อ้างความล้มเหลวในการบริหารประเทศ ซึ่งรัฐบาลสุรยุทธ์ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ก็เป็นหลักฐานที่เห็นชัดที่สุดของความล้มเหลวของรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร ผมไม่ทราบว่าคราวนี้จะอ้างอะไรมาเป็นเงื่อนไขของการทำรัฐประหาร อาจเป็นได้ว่านำเรื่องความไม่จงรักภักดีมาเป็นข้ออ้าง แต่การทำรัฐประหารก็มิได้ทำให้ประเด็นดังกล่าวมีน้ำหนักมากพอ เนื่องจากมีมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม ที่คอยทำหน้าที่พิสูจน์ความผิดอยู่เเล้ว

อีกข้ออ้างหนึ่งที่จะนำมาใช้คือ การปะทะของมวลชน ซึ่งข้ออ้างนี้คณะรัฐประหารชุดล่าสุดก็ใช้เป็นเหตุในการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ประกอบกับเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีการปะทะกันระหว่าง ฝ่ายพันธมิตรฯ กับฝ่ายต่อต้านพันธมิตรฯ ยังผลให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมได้รับบาดเจ็บนั้น ถามว่าข้ออ้างนี้มีน้ำหนักมากพอหรือไม่ที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร

คำตอบก็คือ “ไม่” ไม่ในความหมายของผมมิได้หมายความว่า “ไม่มากพอ” แต่หมายถึง “ไม่เด็ดขาด” หากมีการยอมรับข้ออ้างนี้ เราคงเห็นการทำรัฐประหารทั่วภูมิภาคของโลกไปแล้ว เพราะว่าเกือบทุกประเทศมีความขัดแย้งหรือการชุมนุมเป็นเรื่องปกติ ยกตัวอย่างง่ายๆ เรามักได้ยินข่าวบ่อยๆ ว่า แฟนบอลประเทศโน้นประเทศนี้ปะทะกัน ตีกัน จนถึงแก่ความตายก็มี หรือหลายประเทศในยุโรปก็มีการเผาประท้วง ปิดถนน ผมก็ไม่เห็นมีการทำรัฐประหารเลย อีกทั้งเกือบทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย ก็มีตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมหรือสลายมวลชนอยู่แล้ว เช่น การยิงด้วยกระสุนยาง กระบองยาง หรือใช้น้ำฉีด เป็นต้น นอกจากนี้ การควบคุมหรือสลายการชุมนุม ประเทศที่เจริญแล้วจะใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนทหารนั้นไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อปฏิบัติภารกิจด้านนี้โดยตรง

กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใดก็ตาม ผมเห็นว่าเงื่อนไขของการทำรัฐประหารนั้นไม่มีอยู่จริงอย่างสิ้นเชิง การเสนอ “วาทกรรมเรื่องเงื่อนไขของการทำรัฐประหาร” นั้นเเสดงถึงความอับจนทางสติปัญญาของผู้พูด และแสดงถึง “ทัศนคติที่เป็นอันตราย” อย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยอยู่ร่วมโลกไม่ได้กับรัฐประหาร การพูดถึงเงื่อนไขของรัฐประหาร เท่ากับว่าเรากำลังให้ความชอบธรรมกับการทำรัฐประหาร ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สำหรับผมนั้น ไม่มีเงื่อนไขของการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเลย

ไม่ว่ากรณีใดๆ เปรียบได้ว่า เจ้าบ้านซื้อทองและแหวนเพชรไว้ในบ้าน เท่ากับเป็นการสร้างเงื่อนไขให้มีการลักทรัพย์ดอกหรือ การที่ขโมยขึ้นบ้านเอาทองและแหวนเพชรไป โจรผู้นั้นอ้างได้หรือไม่ว่า ที่ลักขโมยทองและแหวนเพชรไปเพราะว่าเจ้าของบ้านสร้างเงื่อนไขในการลักทรัพย์ โดยการซื้อทองและแหวนเพชรไว้ในบ้าน หากไม่ซื้อทองและแหวนเพชร โจรก็จะไม่ขึ้นบ้าน ตรรกะแบบนี้โจรเท่านั้นที่อ้าง วิญญูชนทั่วไปอย่าว่าแต่จะ “อ้าง” เลย แค่ “คิด” เขาก็ไม่คิดแล้ว

2.หลักความสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนเหนือทหาร (Supremacy of Civilian Government)
กรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากอย่าง Huntington เสนอ “หลักความสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนเหนือทหาร” หลักนี้หมายความว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจควบคุมการบังคับบัญชาเหนือกองทัพ และกองทัพถูกทำให้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทหารเป็นทหารอาชีพ (Profession) แต่หลักนี้ไม่เคยหยั่งรากลึกในการเมืองไทยเลย หากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทหารเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยมาโดยตลอด

อีกทั้งสังคมไทยยังมีความเข้าใจผิดๆ มาโดยตลอดว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต้องเป็นทหาร เพราะทหารเท่านั้นที่จะรู้เรื่องทหาร หากไปดูประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมักจะเป็นพลเรือน นับแต่นี้ไป กองทัพจะต้องเป็นกองทัพโดยอาชีพ การวางตัวของผู้บัญชาการกองทัพบกคนปัจจุบันถือว่าวางตัวได้ถูกต้อง ที่จะไม่นำกองทัพเข้ายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ส่วนทหารท่านใดที่แสดงความคิดเห็นในเชิงไว้ท่าทีเกี่ยวกับการทำรัฐประหาร หากเกิดขึ้นในสังคมที่เจริญแล้ว เป็นที่เชื่อแน่ว่า ทหารผู้นั้นคงโดยย้ายหรือปลดไปแล้ว เพราะขัดกับ “หลักความสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนเหนือทหาร”

การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะการสงวนท่าทีในการทำรัฐประหารนั้น ต้องถือว่าขัดกับความเป็นทหารอาชีพ และเป็นการทำลายเกียรติของคนพูดเอง