WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 28, 2008

เดินหน้าประชามติ สมาพันธ์ปชต.หนุน ลดความตึงเครียด

ครม. มีมติเดินหน้าทำประชามติ ชง 2 แนวทาง โยนกฤษฎีกาตัดสินใช้กฎหมายปี 41 หรือรอ กกต. แก้กฎหมายรองรับ ภายในวันศุกร์นี้ ก่อนดันเข้าสภา “หมอเหวง” ยื่นหนังสือสนับสนุนถึงนายกฯ ระบุเพื่อลดความตึงเครียด ปิดช่องม็อบล้มรัฐบาลใช้เป็นข้ออ้าง

ขณะที่ ฝ่ายคัดค้านต่อต้านจุดชนวนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (รธน.50) อันนำไปสู่การล้มล้างรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีกฟากหนึ่ง ฝ่ายที่สนับสนุนแก้ รธน.50 กำลังเดินหน้าในกระบวนการตามกฎหมายเพื่อผลักดันให้การแก้ รธน. เกิดขึ้นอย่างชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย อันมีประชาชนคนไทยเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง

ความคืบหน้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ได้แถลงภายหลังถึง ครม. เห็นชอบที่จะให้มีการลงประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยพิจารณา 2 แนวทาง คือ 1.ขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการนำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 มาใช้ในการทำประชามติรับฟังความเห็นจากประชาชน เกี่ยวกับการแก้ รธน.50 ได้หรือไม่

และ 2.หากคณะกรรมการกฤษฎีกายืนยันว่าไม่สามารถนำมาใช้ได้ รัฐบาลก็จะรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาทำกฎหมายประชามติ โดยเบื้องต้นคาดว่า กกต. จะยก ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แล้วเสร็จในวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคมนี้

วันเดียวกัน นพ.เหวง โตจิราการ พร้อมแกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย ในฐานะตัวแทนคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผ่านทาง นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการลงประชามติต่อการแก้ไข รธน.50 เพื่อลดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และปิดช่องที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะอาศัยสถานการณ์นำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง ส่งผลให้พวกเผด็จการทหารอำมาตยาธิปไตยไม่อาจทำรัฐประหารได้อีกต่อไป

นายสมัคร นายกรัฐมนตรี แถลงที่ทำเนียบรัฐบาล ว่าวันนี้ (27 พ.ค.) ครม. ได้รับฟังความเห็นของตนและเห็นชอบให้มีการลงประชามติ เมื่อตรวจสอบกับทางคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว พบว่ามีกฎหมายประชามติที่ออกไว้ตั้งแต่ปี 2541 แต่มีข้อถกเถียงกันอยู่ว่ากฎหมายดังกล่าวจะหายไปพร้อมกับ รธน.40 หรือไม่ เพราะเป็นกฎหมายลูก จึงได้ขอให้ทางกฤษฎีการับเรื่องนี้ไปตรวจสอบ ถ้าเรื่องสามารถกลับมาได้เร็ว ก็จะใช้กฎหมายฉบับนี้ดำเนินการทำประชามติ แต่ถ้าเรื่องไม่สามารถกลับมาได้เร็ว การจะออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ตามที่เคยคิดไว้แม้จะสามารถทำได้ แต่เมื่อเรื่องเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร คาดการณ์ได้ว่าจะมีผู้คนทำให้เรื่องนี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้ โดยการเอาเรื่องไปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็จะไม่มีอนาคตว่าจะสามารถทำประชามติได้เมื่อไร

นายกฯ กล่าวต่อว่า ดังนั้น ช่องทางที่จะเป็นไปได้จริง กกต. ซึ่งได้ให้ความเห็นว่า ขณะนี้กำลังทำกฎหมายเรื่องนี้อยู่ กำลังจะเสร็จ กกต. ก็รับปากว่าจะเร่งทำให้เสร็จก่อนที่จะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ (ในวันที่ 9 มิ.ย.) และจะเอากฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาในทันที เสร็จเรียบร้อยแล้วจะส่งให้วุฒิสภา หากวุฒิสภาบอกว่ายินดีจะพิจารณาให้ก็จะขยายเวลาการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญออกไป

ทั้งนี้ ตนจะประสานงานกับประธานวุฒิสภา ว่าถ้าจะพิจารณาให้เราก็จะเปิดยืดเวลาของการเปิดสภาสมัยวิสามัญออกไปหลังการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2552 แต่ถ้าวุฒิสภาบอกว่า ยังไม่อยากจะพิจารณาก็จะรอถึงเดือนกรกฎาคม ให้สภาเปิดประชุมสมัยสามัญ เราก็จะรอ แต่เมื่อสภาเปิดวุฒิสภาก็ต้องพิจารณากฎหมายนี้เป็นวาระแรก และเมื่อกฎหมายเสร็จก็จะเอาไปทำประชามติ

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากที่รัฐบาลเห็นชอบในแนวทางดังกล่าวแล้วส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติปี 2541 คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์

ด้าน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวว่า ขณะนี้ กกต. กำลังเร่งดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ โดยทางด้านกิจการพรรคการเมืองจะประชุมเพื่อพิจารณาเป็นนัดแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม และคาดว่าจะแล้วเสร็จอย่างเร็วที่สุดในวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม และส่งมาให้ กกต. พิจารณาในวันเดียวกัน จากนั้นจะส่งให้ ครม. เสนอต่อรัฐสภาได้