WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 28, 2008

โศกนาฏกรรม (กลเกม) การเมือง

ร้อนตัว!

พลันที่ จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงเกี่ยวกับคำบรรยายที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (เอฟซีซีที) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550

ซึ่งเป็นประเด็นถูกตั้งคำถามถึง เนื้อหา และ ถ้อยคำ ที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 26 พฤษภาคม 2551

ไม่เพียงเป็น ข้อกล่าวหา ที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิต “คนไทย” ของเขา

แต่นับเป็น โศกนาฏกรรมการเมือง ที่บังเกิดขึ้นแล้ว...

ในห้วงที่บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะ ระส่ำระสาย แทนที่ความ สงบสันติสุข

พลันที่ “คำกล่าวหา” จากบุคคลหนึ่ง ผสมโรงจากฟาก ประชาธิปัตย์ และ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เขย่าผ่าน สื่อมวลชน จนลุกลามบานปลายกลายเป็น ประเด็นใหญ่โต ของบ้านเมือง

“ผมถูกกล่าวหาทางสังคมโดยคำพูดคนอื่น ไม่ใช่คำพูดตัวเอง...”

ถ้อยคำสั่นเครือสะท้อนบาดลึกเข้าไปในอารมณ์ของผู้ฟัง

จุดเริ่มต้นโศกนาฏกรรม...

ต้นเหตุจากการ “บิดเบือน” ผนวกกับ “เงื่อนเวลา” ที่ยาวนาน “เข้าทาง” กลเกมการเมืองอย่างมิ
ทันตั้งตัว

เหตุบิดเบือน ที่เจ้าตัวได้แถลงไขต่อหน้าสาธารณชน นำพาวิเคราะห์ไปที่ “เหตุ 3 ประการ” ที่
บิดเบือนได้มาก บิดเบือนยาวนาน นั่นคือ

ประการหนึ่ง เป็นคำบรรยายภาษาอังกฤษที่พูดสด ไม่มีคำบรรยายละเอียดแบบคำต่อคำล่วงหน้า โดยใช้เวลา 45 นาที

อันหมายความว่า ถ้าหากจะเข้าใจในถ้อยกระบวนความทั้งหมดนั่น ต้องแปลเป็น “ไทย” เท่านั้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นกับ “คนแปล” ว่าจะแปลอย่าง “ซื่อสัตย์” หรือ “ฉ้อฉล”

ประการที่สอง เป็นการพูด ต่อหน้า ชาวต่างประเทศ ซึ่ง คนเหล่านี้ ต้องยอมรับในแง่ของความเข้าใจต่อสังคมไทย ที่มี น้อยกว่า คนไทยด้วยกันเอง

เช่นนั้นแล้ว การจะบรรยายอะไรให้ฟังนั้น ต้องลำดับความเป็นขั้นๆ โดยละเอียด ก่อนผู้พูดจะมุ่งสู่ข้อสรุป

ดังนั้นแล้ว การอธิบายศัพท์ สำนวนต่างๆ จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับ “บริบท” ในการพูดกับคนไทยได้

และประการที่สาม การบรรยายดังกล่าวเป็น “เชิงวิชาการ” ไม่ใช่ “บรรยายการเมือง”

“...ผมยอมรับ รู้สึกโกรธที่ถูกกล่าวหาในความไม่จงรักภักดี นำเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาชี้ประเด็นสร้างความเสื่อมเสียแก่ ผม รัฐบาล และครอบครัว ญาติสนิท ที่ต้องได้รับผลกระทบ กินไม่ได้นอนไม่หลับไปด้วย มีความกังวลใจตลอดเวลา

ขอยืนยัน ความจงรักภักดีของผมและครอบครัวนั้น เป็นที่ประจักษ์มาหลายชั่วอายุคน…”

บางส่วนในห้วงความรู้สึกของผู้ที่ “ถูกกระทำ” ย่อมสะเทือนไปถึง ครอบครัว ส่งแรงกระเพื่อมไปถึง “รัฐบาล” ในความเป็น “รัฐมนตรี” อย่างหลีกเลี่ยงมิได้

และอีกเช่นกัน ที่แรงตีกลับได้ถูกส่งไปที่ “ผู้กระทำ” การครั้งนี้ในทันที

ฉับพลันในวันรุ่งขึ้น (27 พ.ค.)...

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ ผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร เปิดแถลงข่าวตอบโต้ในทันที

ถ้อยแถลงประหนึ่งแสดงถึง ความไม่สบายใจ ต่อ การกระทำในวันนี้ อันด้วยเรื่องที่หยิบยกมาขยายความเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

แต่ก็ด้วยข้ออ้างถึง “ความจำเป็น” ที่จะต้องแถลงข่าว อันเนื่องด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ใช้สถานะความเป็นรัฐมนตรีให้มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐ

เหตุนั้นมิเท่ากับ มีการกล่าวหาตน และ พรรคประชาธิปัตย์ จึง ขอความเป็นธรรม จากสื่อทุกแขนงในการให้พื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้อย่างสมบูรณ์และรอบด้าน

เพียงแค่เกริ่นโหมโรงก็ให้เห็นถึง “ความไม่บริสุทธิ์ใจ” ซ้ำร้ายยังมิวาย แอบอ้าง “ประชาชน” อันเป็น “ทาง” ที่ถนัดเสียจนเป็น...

วาจาที่เอื้อนเอ่ยออกมายังตอกย้ำในจุดยืน ข้อกล่าวหา..เดิมๆ - ทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตบท้ายด้วยเล่ห์ของการจี้จุดไปที่ “ความไม่เหมาะสม” ในตำแหน่งเก้าอี้ “รัฐมนตรี” อีกต่อไป

เป็นเป้าประสงค์ที่ “ตรงจุด” และ “ชัดเจน”…

หากแม้โศกนาฏกรรมการเมือง จะบังเกิดขึ้นแล้วกับ บุรุษสายล่อฟ้า - จักรภพ เพ็ญแข

กระบวนการจ้อง “ล้มล้าง” รัฐบาล ก็บังเกิดขึ้นแล้วในอีกฟากฝั่งหนึ่ง...เช่นกัน

สายน้ำจันทน์ (แทน)