WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 30, 2008

ฉะพวกถอนชื่อทรยศปชช. ถ้ากลัวอย่าเป็นส.ส.-ส.ว.ดีกว่า

นักกฎหมาย-ภาคประชาชน รุมประณาม ส.ส.-ส.ว. แห่ถอนชื่อยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทรยศประชาชน ไร้จุดยืน ไม่กล้าหาญ ขาดวิจารณญาณ-ความสง่างาม จวกซ้ำหลงกลเกมพันธมิตรฯ กลัวจนหัวหด “หมอเหวง” ปูดมีมือบงการล้มญัตติ บีบบังคับกันเป็นทอดๆ ด้าน ส.ส.พปช. ข้างความถูกต้อง เดินหน้าแก้ รธน. เข้าสู่กระบวนการรัฐสภาอย่างเต็มที่ ยันไม่ถอยแน่ ขณะที่ 8 ส.ส. กลุ่มอีสานพัฒนา คิดหนักตัดสินใจวันนี้

ขณะที่การยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยการเข้าชื่อรับรองของสมาชิกรัฐสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ที่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภาคือ 126 คนตามมาตรา 291 กำลังเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการในระบบรัฐสภา เพื่อบรรจุในวาระการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 9 มิถุนายน 2551 ซึ่งโดยกระบวนการตั้งแต่ต้นเกิดขึ้นจากความถูกต้องและชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

แต่ ณ วันนี้เสียงสนับสนุนการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญจากเดิมที่มีอยู่ทั้งสิ้น 164 เสียงในวันที่มีการยื่นรายชื่อต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 จนถึงขณะนี้ (29 พ.ค.) พบว่ามีจำนวนสมาชิกรัฐสภา 131 เสียง เป็นเสียง ส.ว. 9 เสียง และ ส.ส. 122 เสียงที่ร่วมหนุน โดยก่อนหน้ามี ส.ว.ร่ วมสนับสนุนญัตติ 30 คน แต่ก็ได้ถอนรายชื่อออกไปแล้ว 21 คน

เปิดรายชื่อ 21 ส.ว.ขวัญอ่อน
สำหรับ ส.ว. 21 เสียงได้แก่ นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ส.ว.มุกดาหาร นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี นายบุญส่ง โควาวิสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน นายจตุรงค์ ธีระกนก ส.ว.ร้อยเอ็ด นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น นายชูชัย เลิศพงษ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ นางสาวสุวิมล เมฆเสรีกุล ส.ว.เพชรบุรี พล.ต.ต.ขจร สัยวัตร ส.ว.หนองคาย พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น ส.ว.สระแก้ว นายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล นายวรวิทย์ บารู ส.ว.สงขลา นายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่ นายแวดือราแม มะมิงจิ ส.ว.ปัตตานี นายมูหามะรอสดี บอตอ ส.ว.นราธิวาส นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ ส.ว.สรรหา นายโสภณ ศรีมาเหล็ก ส.ว.น่าน นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม และล่าสุด นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง

สำหรับ 9 ส.ว. ที่ยังคงเสียงสนับสนุนความถูกต้องในญัตติดังกล่าว ประกอบด้วย นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ นางสมพร จูมั่น ส.ว.นครสวรรค์ นายบวรศักดิ์ คณาเสน ส.ว.อำนาจเจริญ นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู และนายมงคล ศรีกำแหง ส.ว.จันทบุรี

ในขณะที่มี ส.ส. ถอดชื่อคือ นายนรพล ตันติมนตรี ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อแผ่นดิน และล่าสุด นายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว พรรคประชาราช ถอนชื่อออกเช่นกัน

“หมอเหวง” ปูดมีมือบงการล้มญัตติ
ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตถึงการกระทำดังกล่าวของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. มีนัยทางการเมืองแอบแฝง เสมือนเป็นการทรยศประชาชน ในสิ่งที่ประชาชนต่างเรียกร้องลงฉันทามติให้มีการแก้ไข รธน.50 โดยเร็วที่สุด

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย ได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ว่า น่าจะมีการบีบบังคับกันมาเป็นทอดๆ อาจจะมีมือที่มองไม่เห็นหรือใครบางคนต้องการล้มญัตติบงการอยู่เบื้องหลัง เป็นสิทธิ์ที่ ส.ส.- ส.ว.จะถอนชื่อได้ แต่นั่นก็สะท้อนให้เห็นถึงวิจารณญาณของผู้ถอนชื่อออกว่าไม่มีความกล้าหาญ ไม่มีความรับผิดชอบทางการเมือง และไม่มีความหนักแน่นเพียงพอ

“เมื่อลงชื่อไปแล้ว พอมีการเผชิญหน้า ท้าทายทางการเมืองก็เอาตัวรอด ถอยกันออกมา ผมขอให้ประชาชนช่วยกันจดจำชื่อ ส.ส. - ส.ว.พวกนี้ไว้ เพราะเขาไม่กล้าหาญไม่ควรให้เป็นตัวแทนประชาชน เจอแรงกดดันหน่อยก็ถอย ไม่มีความมั่นคงทางจิตใจ การลงรายมือชื่อทำไปตาม รธน.มาตรา 291 ไม่มีอะไรผิด การถอนชื่อออกแสดงว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม เท่ากับเป็นการทรยศต่อประชาชนที่เลือกมา น่าเสียใจจริงๆ” นพ.เหวง กล่าว

ซัดทรยศ ปชช.-ไล่พ้น ส.ส.-ส.ว.
ด้านนายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 (สสร.40) มองว่าการถอนชื่อเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ก็ไม่ควรทำ การเข้าชื่อเป็นเอกสิทธิ์ที่ได้รับตาม รธน. คนอื่นจะมาใช้สิทธิในการถอดถอน ส.ส.- ส.ว. ที่เข้าชื่อไม่ได้ แต่เป็นเพราะความไม่รู้สิทธิของตนเองตาม รธน. เมื่อถูกคนเพียงไม่กี่คนข่มขู่จึงเกิดความกลัว เท่ากับเป็นการทรยศต่อพี่น้องประชาชนที่เลือกเข้ามาเป็นปากเป็นเสียงแทน การจะมาอ้างว่าถูกหลอกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรอ้าง ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ควรมาเป็น ส.ส. เพราะไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดถี่ถ้วน

“เรื่องสำคัญอย่างนี้จะมาหลับหูหลับตาเซ็นชื่อลงไปได้อย่างไร เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ไม่มีความสง่างามในหน้าที่ พอมีเงื่อนไขเข้ามาก็รีบถอนชื่อออกทันที คนที่เข้ามาเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนต้องเชื่อในสิ่งที่ตัวเองทำ ประชาชนอุตส่าห์เลือกเข้ามา ถ้ามัวแต่ไม่เชื่อคนที่มาข่มขู่ก็อย่ามาเป็นส.ส.- ส.ว.เลย ลาออกเถอะ เพราะไม่มีจุดยืน ประชาชนพึ่งพาไม่ได้แล้ว” อดีต สสร. กล่าว

นายคณิน กล่าวอีกว่า ในโลกนี้ไม่มีประเทศใดบอกว่า ส.ส.-ส.ว. เข้าชื่อยื่นญัตติแล้วจะถูกถอดถอน เป็นอย่างนี้จะทำให้ระบบรัฐสภาเสื่อม แต่ทั้งนี้แม้รายชื่อไม่ครบจำนวนก็ใช่ว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะหยุดชะงัก กระบวนการต่างๆ ยังดำเนินต่อไป เราสามารถยื่นญัตติใหม่ได้อีก

อ.จรัลชี้หลงกลเกมพันธมิตร
ขณะที่ อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) กล่าวเช่นกันกันว่า แม้เป็นสิทธิ์ของ ส.ส. และส.ว. เนื่องด้วยคิดว่าการถอนรายชื่อออกไปนั้นอาจเป็นผลดีต่อบ้านเมือง และจะทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหยุดการชุมนุมได้ แต่ส่วนตัวคิดว่า ส.ส.-ส.ว. คิดผิดที่ทำเช่นนั้น เพราะเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ใช่ค้านแก้ รธน. แต่ได้เปลี่ยนเป้าหมายเป็นการล้มล้างรัฐบาล เข้าข่ายนิทานอีสปเรื่อง “หมาป่ากับลูกแกะ”

“ส.ส.-ส.ว. คงกลัวกลุ่มพันธมิตรฯ จะถอดถอนออกจากตำแหน่ง และเกรงว่าสถานการณ์จะเลวร้ายมากไปกว่านี้ จึงคิดว่าถ้าถอนรายชื่อออกไปแล้วกลุ่มพันธมิตรฯ จะต้องหยุดการชุมนุม เป็นการคิดที่ผิดอย่างสิ้นเชิง” ประธาน คปพร. กล่าว
พร้อมระบุถึงการถอนรายชื่อดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อการรวบรวมรายชื่อของประชาชน 1.5 แสนชื่อ เพื่อเสนอร่างแก้ไข รธน.50 ต่อสภา เนื่องจากญัตติจะตกไปก็ต่อเมื่อประธานสภาฯตรวจสอบรายชื่อไม่ครบ 5 หมื่นและสำเนาเอกสารไม่ครบเท่านั้น

จวกซ้ำ ส.ส.พปช. ไร้จุดยืน
ขณะที่ นายคารม พลทะกลาง ทนายความชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน กล่าวเช่นกันว่าในทางกฎหมายเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส.และ ส.ว. แต่เมื่อมีการถอนออกไปก็ให้เข้าใจได้ว่า เพราะกลัวคำขู่ กลัวกระแสอำนาจของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่อาจทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรง ทั้งที่ ส.ส. และ ส.ว. โดยเฉพาะ ส.ส.พรรคพลังประชาชน เคยประกาศนโยบายหาเสียงว่าสิ่งแรกที่เข้ามาหลังจัดตั้งรัฐบาลคือการแก้ไข รธน.ที่มาจากเผด็จการ

“เป็นการไม่ทำตามเจตนารมณ์ตามที่ประกาศไว้ต่อหน้าประชาชน จึงขอใช้คำว่า ทรยศประชาชน ไม่มีหลักการ จุดยืนของตัวเอง ทั้งที่ควรจะยืนยันและแสดงจุดยืนแก้ รธน.ที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย มัวแต่กลัวอำนาจนอกถนน” ทนายความผู้นี้ กล่าว และว่า ทางกลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะเข้าใจตั้งแต่แรกแล้วว่า รธน.50 นั้นนำมาใช้ชั่วคราว และต้องมีการแก้ไขทีหลัง แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ให้มีการแก้ไข

พปช.ไม่ถอย ยันเดินหน้าแก้รธน.
แม้จะมี ส.ส.-ส.ว. ทยอยถอนรายชื่ออย่างต่อเนื่อง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ยังมี ส.ส. ที่ยืนหยัดในอุดมการณ์และแสดงจุดยืนต่อการแก้ รธน.อย่างแน่วแน่ เช่น นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส. พรรคพลังประชาชน ย้ำว่า จะให้การเสนอแก้ไข รธน. เป็นไปตามวิถีทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยต่อไป โดยจะไม่ถอนชื่อออกอย่างแน่นอน เพราะถือว่าที่ผ่านมาได้ถอยมาตลอด จนกระทั่งให้มีการทำประชามติแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ยอมรับกฎเกณฑ์กัน เปลี่ยนข้อแม้ไปเรื่อยๆ ส่วนตัวตอบไม่ได้ว่าปัญหานี้จะยุติลงได้อย่างไร ส่วนที่มีการกดดันให้ถอนรายชื่อนั้น การพยายามลักษณะนี้ถือเป็นการทำลายความเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้ไทยสูญเสียความเชื่อมั่นในสายตาต่างประเทศ

ปัดไม่มีสัญญาณ“ผู้ใหญ่”ให้ถอน
เช่นเดียวกับ นายนิสิต สินธุไพร กรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคพลังประชาชน ยืนยันในฐานะเป็นแกนนำล่ารายชื่อเพื่อเสนอญัตติขอแก้ไข รธน. ว่าไม่มีสัญญาณจากผู้ใหญ่ในพรรค รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ลูกพรรคถอนญัตติตามที่นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ออกมาระบุ และยืนยันจะเดินหน้าแก้ไข รธน.ผ่านกระบวนการของรัฐสภาอย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องถอนญัตติ เพื่อรอการทำประชามติของรัฐบาล เพราะเมื่อบรรจุเป็นวาระแล้ว หากสมาชิกรัฐสภาหรือประธานสภาฯ เห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องนำญัตติขึ้นมาพิจารณา ก็ชะลอไว้ก่อนได้จนกว่าผลการทำประชามติจะเสร็จสิ้น

ขณะที่นายสุนัย จุลพงศธร ประธานประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันเช่นเดียวกันว่า ไม่เคยมีสัญญาณจากผู้ใหญ่ให้ถอนญัตติ จึงไม่เข้าใจเจตนาของนายเสนาะที่นำข้อมูลการพูดคุยกับผู้ใหญ่ของพรรค มาอ้างอิงเพื่ออะไร

8 ส.ส.อีสานพปช.ส่อถอนเพิ่ม
ความคืบหน้าของกลุ่ม ส.ส.อีสานพัฒนา จะมีความชัดเจนต่อเรื่องดังกล่าวในวันนี้ (30 พ.ค.) นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด 1 ใน 8 ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวภายหลังหารือนอกรอบ ถึงท่าทีของกลุ่มก่อนตัดสินใจครั้งสุดท้าย ว่าจะถอนการสนับสนุนญัตติหรือไม่ แต่กลุ่มมองว่าเป็นโอกาสที่จะปลดชนวน ถอดสลัก หรือยุติความขัดแย้งปัญหาที่มีอยู่ให้ได้ ก็น่าจะทำ เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวม โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ส.ส.ขอนแก่น แกนนำกลุ่มอีสานอาวุโส เข้าร่วมประชุมด้วย

ส่วนที่ ส.ส.ของกลุ่มจะถอนตัว อาจทำให้ ส.ส.บางส่วนในพรรคไม่พอใจนั้น แม้ไม่สบายใจ แต่สามารถลดหรือปลดชนวนปัญหาได้ ก็ไม่เป็นไร เพราะถือเป็นเรื่องธรรมดาในพรรคขนาดใหญ่ต่างก็มีวิถีทางในการทำงาน

พปช.นัดถกแก้รธน.-หย่าศึก ในพรรค
ด้าน ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ เวลา 14.00 น. พรรคพลังประชาชนนัดประชุม ส.ส.โดยมีวาระสำคัญหารือเรื่องญัตติการแก้ไขรธน. ซึ่งจะต้องพูดคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุที่ ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา เตรียมถอนรายชื่อ มาจากปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคนั้น เรื่องนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และไม่มีทีท่าในการถอนชื่อ เพราะนายสมศักดิ์ รองประธานสภาคนที่ 1 ก็ยังไม่ได้เดินทางกลับจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ส.ส.ในพรรคคงจะหารือกัน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ กลุ่มนั้น กลุ่มนี้ ซึ่งคงจะไม่เป็นผลดีต่อพรรคนัก

“ชัย” แย้มยังไม่บรรจุต้องดูให้รอบคอบ
ก่อนหน้านี้ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่ามีใครถอนหรือไม่ แต่ที่ได้รับรายงานพบว่าจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่ลงชื่อสนับสนุนญัตติยังมีจำนวน 134 คน ส่วนที่มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายให้ ส.ส. ถอนญัตติไปก่อนนั้น ยังไม่ทราบว่าใครเป็นคนเสนอ เห็นแต่สื่อเขียนเรื่องนี้ เห็นแต่คนที่ออกมาคัดค้าน แต่ยังไม่เห็นว่าจะมีใครถอนชื่อ ส่วนการเคลื่อนไหวคัดค้านของ 51 ส.ว.นั้น ถ้าจะคัดค้านก็ควรทำในสภา โดยทุกคนมีสิทธิอภิปรายคัดค้านได้ หากญัตติเข้าสู่ที่ประชุม

พร้อมระบุต่อว่า ญัตติแก้ไข รธน. จะยังไม่เข้าสู่การพิจารณาทันทีในการเปิดสมัยประชุม โดยตนขอพิจารณาอย่างรอบคอบ และขอดูเหตุผลของประชาชนทั้งประเทศว่าความเดือดร้อนของประชาชนสำคัญกว่าปัญหารัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไรก็ดี หากร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญถูกต้องตามข้อบังคับ รวมถึงรายชื่อผู้สนับสนุนญัตติยังสมบรูณ์ ประธานรัฐสภาจะต้องบรรจุญัตติเข้าสู่การพิจารณา เพราะหากไม่ทำเช่นนั้น ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

สำหรับการยกร่างพ.ร.บ.การทำประชามติแก้ไข รธน. นั้น ยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาหรือไม่ ต้องรอดูคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งเรื่องมาก่อน